วันอาสาฬหบูชา
ได้ถูกกำหนดให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501
โดยคณะสังฆมนตรี (มหาเถรสมาคม) ในสมัยนั้น ได้มีมติให้เพิ่ม
วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา
(ในประเทศไทย) ตามคำแนะนำของ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี)[1]
โดยคณะสังฆมนตรีได้ออกเป็นประกาศสำนักสังฆนายก
เมื่อวันที่
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501
กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกำหนดพิธีอาสาฬหบูชาขึ้น[2]
ทำให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 เป็นต้นมา
วันอาสาฬหบูชา แปลว่า
"การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ"
คือเดือน 8 ทางจันทรคติ ปีใด 8 สองหน จะกำหนด วันอาสาฬหบูชา ใน เดือน 8
หลัง เหตุผล
ที่ยกย่อง
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเนื่องจาก มีเหตุผลสำคัญ หลายประการ
ได้แก่
1.
เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก (ปฐมเทศนา) คือ
(ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) แก่ปัญจวัคคีย์
2.
การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะ 1 ใน 5 ปัญจวัคคีย์
เกิดดวงตาเห็นธรรมหรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน จัดเป็นพระอริยสาวกรูปแรก
ของพระพุทธเจ้า
3.
โกญทัญญะทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า (พระพุทธศาสนา)
ทรงอแนุญาตด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา พระอัญญาโกณฑัญญะจึงกลายเป็นพระสงฆ์สาวก
องค์แรกในโลก
4. พระรัตนตรัยครบองค์ 3
บริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบสามรัตนะ
ด้วยเหตุผลสำคัญดังกล่าวจึงยกย่องให้เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เหมือนวันวิสาขบูชา
และ มาฆบูชา
การทำบุญวันอาสาฬหบูชา
อาจไม่เห็นเด่นชัดเหมือนวันวิสาขบูชาและมาฆบูชา เนื่องจากติดกับวันเข้าพรรษา
กิจกรรมที่เตรียมงานวันเข้าพรรษาอาจดูเอิกเกริกกว่า
จนลืมวันอาสาฬหบูชา ยกเว้นข้าราชการนักเรียนนักศึกษา มักจะจำได้ดี เพราะเป็นวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตามในฐานะชาวพุทธหากจะทำบุญเป็นพิเศษ
ในวันอาสาฬหาบูชาก็สามารถ
ทำได้ตามควรแก่ฐานะของตนเช่น
1. ทานมัย
ทำบุญ ตักบาตร
บริจาคข้าวปลาอาหาร ไปทำที่วัด
หรือสถานที่ที่มีผู้รับสิ่งของที่จะให้ทาน เช่นโรงเรียน โรงพยาบาลสถานสงเคราะห์ต่าง
ๆ หรือ ให้ลูก
หลานญาติพี่น้องก็ถือเป็นการทำทานได้เช่นกัน
2. สีลมัย
ตื่นเช้าที่บ้านแหละครับ สมาทานศีล
และถือปฏิบัติเคร่งครัดมิให้ขาดหรือบกพร่อง ตลอดวัน วันอื่น ๆ อาจไม่ถือเคร่งครัดศีลบางข้ออาจด่างพร้อยไปบ้าง แต่วันสำคัญ ๆ
เช่นนี้ตั้งใจไว้เลยจะไม่ให้ขาดหรือบกพร่อง
แม้แต่ข้อเดียว
3. ภาวนามัย
แสวงหาปัญญาทางธรรม ให้ได้อย่างน้อย 1 เรื่อง ในโอกาสวันสำคัญเช่นนี้ เช่นยังโง่เขลาเรื่องวัน อาสาฬหบูชา ก็ไปหาเอกสารตำรามาอ่านหรือถามผู้รู้ จนเข้าใจ
ได้ปัญญา 1
เรื่อง ขจัดความโง่ได้ 1 ตัว
หรือยังโง่เรื่อง ทานมัย ทำไมพระจึงเทศน์ว่า ธรรมทานย่อมชนะทานทั้งปวง ไปหาหลวงพี่หลวงพ่อถามท่าน ได้คำตอบคือปัญญามา ขจัดโง่ได้อีกตัว
ยังโง่เรื่องวิธีอบรมสมาธิ
ไปหาพระอาจารย์ให้ท่านแนะนำวิธีที่ถูกต้องให้ นี่ก็เป็นปัญญาอีกตัว ขจัดโง่ได้ 1
ตัวเช่นกัน วันสำคัญ ๆ
ถ้าอบรมให้เกิดปัญญา ขจัดความโง่ไปได้ แม้เพียงตัวเล็กๆ
แต่ก็ถือเป็นบุญที่มีค่ามหาศาล
เพราะมันจะอยู่กับตัวเราไปได้นาน
ประเพณีทั่วไปที่นิยมทำกันคือไปวัดทำบุญตักบาตร เวียนเทียนและฟังเทศน์ มีทำกันแทบทุกวัด หากสนใจจะไปร่วมกับชาวบ้านก็คงมีครับ หากวัดไม่ได้จัด ก็จำหลัก
ทำบุญ 3
อย่าง ดังกล่าวแล้ว นำไปใช้
ได้บุญเช่นกันครับ
หมายเหตุ ชื่อ 12 เดือนภาษาบาลีที่เกี่ยวข้องกันวันบูชาต่างๆ
มิคสิรมาส เดือน
1
ปุสสมาส เดือน
2
มาฆมาส เดือน
3
ผัคคุณมาส เดือน
4
จิตตมาส เดือน
5
วิสาขมาส เดือน
6
เชฏฐมาส เดือน
7
อาสาฬหมาส เดือน
8
สาวนมาส เดือน
9
ภัทรปทมาส เดือน
10
อัสสยุชมาส เดือน 11
กัตติกมาส เดือน
12
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น