...............ชาวบ้านทั่วไปสนใจอยากทราบเรื่องราวของบุญกฐิน แต่ไม่รู้จะถามใคร ไปวัดก็ไม่ค่อยมีพระอธิบายให้ทราบ ในที่สุดก็เข้าใจบุญกฐินแตกต่างกันไป จนทุกวันนี้กฐินกลายเป็นเรื่องใหญ่ คนมีเงินต่ำกว่าแสน อย่าคิดทำบุญกฐินเลย เพราะค่านิยมมันเปลี่ยนไปมาก มีคำถามแปลก ๆ ว่า วัดนี้รับกฐินแล้วได้เงินเท่าไร วัดโน้นทอดกฐินได้เงินเข้าวัดเป็นล้าน.....ฯลฯ ลองมาศึกษาเรื่องบุญกฐินกันดูว่า จริง ๆ แล้ว สมัยพุทธกาลท่านทำอย่างไร
...............ตำนานกฐิน
...............เล่ากันว่า สมัยนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีย์ มีพระภิกษุชาวเมือง
ปาถา 30 รูป ล้วนแต่พระที่ถือธุดงค์พากันเดินทางจะมาเฝ้าพระพุทธเจ้า มาถึงเมืองสาเกต เป็นวันเข้าพรรษาพอดี เหลือทางอีก อีก 6 โยชน์ ( 2 เมตรเท่ากับ 1 ว่า 20 วา เท่ากับ 1 เส้น 400 เส้นเป็น 1 โยชน์)
ก็จะถึงวัดเชตวัน แต่จำเป็นต้องหยุดจำพรรษาที่เมืองสาเกต พอออกพรรษา ฝนยังไม่ขาดดี หนทางยังเปื้อนดินโคลน ก็ไม่รอพากันออกเดินทางต่อไป เมื่อไปถึงวัดพระเชตวัน สภาพทุลักทุเล มอมแมม
พระพุทธเจ้าไถ่ถามสาระสุขทุกข์และทราบเรื่องราวความลำบากของพระภิกษุกลุ่มนี้แล้วจึงปรารภเหตุ
อนุญาตให้มีการกราลกฐินความว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำพรรษาแล้วได้
กรานกฐิน พวกเธอผู้ได้กรานกฐินแล้ว จักได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ ไม่ต้องอาบัติเพราะ 5 เรื่องต่อไปนี้
๑. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
๓. ฉันคณะโภชน์ได้
๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
๕. จีวรอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ (ปกติต้องแบ่งให้พระที่มาเยือนด้วย )
..........ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ จักได้แก่เธอทั้งหลายผู้ได้กรานกฐินแล้ว"
..........ตำนาน กฐินบัน ทึกไว้ในพระไตรปิฏกชัดเจน เป็นกิจกรรมหาผ้ามาตัดเย็บเป็นผ้านุ่งห่มสำหรับ
๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
๓. ฉันคณะโภชน์ได้
๔. ทรงอติเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
๕. จีวรอันเกิดขึ้น ณ ที่นั้นจักได้แก่พวกเธอ (ปกติต้องแบ่งให้พระที่มาเยือนด้วย )
..........ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ จักได้แก่เธอทั้งหลายผู้ได้กรานกฐินแล้ว"
..........ตำนาน กฐินบัน ทึกไว้ในพระไตรปิฏกชัดเจน เป็นกิจกรรมหาผ้ามาตัดเย็บเป็นผ้านุ่งห่มสำหรับ
พระที่อยู่จำรรษามาครบ 3 เดือนแล้ว พอออกพรรษาก็เป็นเวลาสำหรับหาผ้ามาตัดเย็บเปลี่ยนของเก่าที่ใช้มานานคือไตรจีวร มีเวลาเพียง 1 เดือน จากแรม 1 ค่ำเดือน 11 ออกพรรษา ไปจนถึงกลางเดือน 12 เวลา 1 เดือนนี้เรียกว่า จีวรกาลคือเวลาสำหรับหาผ้าผัดเปลี่ยนกัน พระพุทธเจ้าเห็นความจำเป็นของ
พระภิกษุบางพวก บางกลุ่มที่อาจหาผ้าตัดเย็บไม่ทัน จึงให้มีกิจกรรมสำคัญคือ ...
..........1. ช่วยกันหาผ้ามาตัดเย็บเป็น สบง จีวร หรือสังฆาฎิ ผืนใดผืนหนึ่ง มอบให้พระษุรูปใดรูปหนึ่งนำไปใช้ผัดเปลี่ยนผ้าเดิม การตัดเย็บจนผ้าใช้นุ่งห่มได้เรียกว่าการกราลกฐิน ของพระที่ได้รับผ้าผืนนั้น
..........2. พระภิกษุต้องช่วยกันทำ เป็นกิจกรรมสามัคคี จึงจะได้รับรางวัล ภิกษุรูปไหนไม่ช่วย ไม่มีสิทธิรับรางวัล (อนุโมทนาทุกรูปที่ช่วยทำและอนุโมทนา อนุโลมให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ได้ กราลกฐิน ด้วย)
..........3. โดยทำในเวลาที่เป็นจีวรกาล เท่านั้น คือ 1 เดือนนับแต่ออกพรรษา (ระยะเวลาทอดกฐิน)
..........4. รางวัลที่จะได้รับ ก็คือ อานิสงส์ 5 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
...........วิธีกรานกฐิน พระท่านทำกันอย่างไร ในตำนานกฐินยังได้กล่าวถึงวิธีกรานกฐินไว้ด้วย ความว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้ คือภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา เมื่อเอาผ้ากฐินไปถวาย หรือพระท่านได้ผ้ามาจะทำการกรานกฐิน จะมีการประชุมสงฆ์ในวัด และสวดมอบให้ผ้า แก่พระรูปหนึ่งซึ่งสามารถกรานกฐินได้ คงเคยฟังพระสวด
กรรมวาจาให้ผ้ากฐิน ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่..........(ภิกษุมีชื่อนี้)เพื่อกรานกฐิน นี้เป็นญัตติ (หัวข้อประกาศในที่ประชุม)
..........1. ช่วยกันหาผ้ามาตัดเย็บเป็น สบง จีวร หรือสังฆาฎิ ผืนใดผืนหนึ่ง มอบให้พระษุรูปใดรูปหนึ่งนำไปใช้ผัดเปลี่ยนผ้าเดิม การตัดเย็บจนผ้าใช้นุ่งห่มได้เรียกว่าการกราลกฐิน ของพระที่ได้รับผ้าผืนนั้น
..........2. พระภิกษุต้องช่วยกันทำ เป็นกิจกรรมสามัคคี จึงจะได้รับรางวัล ภิกษุรูปไหนไม่ช่วย ไม่มีสิทธิรับรางวัล (อนุโมทนาทุกรูปที่ช่วยทำและอนุโมทนา อนุโลมให้ได้ชื่อว่าเป็นผู้ได้ กราลกฐิน ด้วย)
..........3. โดยทำในเวลาที่เป็นจีวรกาล เท่านั้น คือ 1 เดือนนับแต่ออกพรรษา (ระยะเวลาทอดกฐิน)
..........4. รางวัลที่จะได้รับ ก็คือ อานิสงส์ 5 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
...........วิธีกรานกฐิน พระท่านทำกันอย่างไร ในตำนานกฐินยังได้กล่าวถึงวิธีกรานกฐินไว้ด้วย ความว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงกรานกฐินอย่างนี้ คือภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศ ให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา เมื่อเอาผ้ากฐินไปถวาย หรือพระท่านได้ผ้ามาจะทำการกรานกฐิน จะมีการประชุมสงฆ์ในวัด และสวดมอบให้ผ้า แก่พระรูปหนึ่งซึ่งสามารถกรานกฐินได้ คงเคยฟังพระสวด
กรรมวาจาให้ผ้ากฐิน ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่ง ของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่..........(ภิกษุมีชื่อนี้)เพื่อกรานกฐิน นี้เป็นญัตติ (หัวข้อประกาศในที่ประชุม)
..............(ฟังอีกครั้ง)ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ผ้ากฐินผืนนี้เกิดแล้วแก่สงฆ์ สงฆ์ให้ผ้ากฐิน ผืนนี้แก่......(ภิกษุมีชื่อนี้)เพื่อกรานกฐิน (ท่อนที่ 2 เรียกอนุสาวนา)
.............(บทสรุปการประชุม)..การให้ผ้ากฐินผืนนี้แก่..........(ภิกษุชื่อนี้) เพื่อกรานกฐิน ชอบ แก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด............(เว้นระยะให้ผู้ร่วมประชุมพิจารณา)
..............ผ้ากฐินผืนนี้ สงฆ์ให้แล้วแก่.........(ภิกษุมีชื่อนี้) เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
..............ผ้ากฐินผืนนี้ สงฆ์ให้แล้วแก่.........(ภิกษุมีชื่อนี้) เพื่อกรานกฐิน ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้.
จบการสวดทุติยกรรมวาจาให้ผ้ากฐิน
ในพระไตรปิฏกมีคำพระศาสดาตรัสว่า.... ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล กฐินเป็นอันกราน"
...............การตัดเย็บจีวรจากผ้ากฐิน
..............เมื่อได้รับผ้ามา ก็จะนำไปตัดเย็บเป็น 1 ใน 3 ของไตรจีวร พระในวัดจะมาช่วยกันทำ แต่ตันจนเสร็จ ถ้าเป็นผ้าสำเร็จรูป ก็แค่เลาะตะเข็บตรงมุมออก แล้วเย็บใหม่ แล้วช่วยดูแลการทำกัปปพินทุผ้า
การประจุผ้าเก่าออก การอธิษฐานผ้าผืนใหม่แทน เป็นอันเสร็จกิจของพระผู้ได้รับมอบผ้ากฐิน เรียกว่าพระรูปนั้นทำการกรานกฐินด้วยผ้าที่ตัดเย็บเรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็ไปรายงานต่อที่ประชุมสงฆ์ ที่ประชุมรับทราบ และอนุโมทนา การอนุโมทนาของคณะสงฆ์ ได้เชื่อว่าทุกรูปที่เข้าร่วมประชุม ได้กรานกฐินด้วย
..............เมื่อได้รับผ้ามา ก็จะนำไปตัดเย็บเป็น 1 ใน 3 ของไตรจีวร พระในวัดจะมาช่วยกันทำ แต่ตันจนเสร็จ ถ้าเป็นผ้าสำเร็จรูป ก็แค่เลาะตะเข็บตรงมุมออก แล้วเย็บใหม่ แล้วช่วยดูแลการทำกัปปพินทุผ้า
การประจุผ้าเก่าออก การอธิษฐานผ้าผืนใหม่แทน เป็นอันเสร็จกิจของพระผู้ได้รับมอบผ้ากฐิน เรียกว่าพระรูปนั้นทำการกรานกฐินด้วยผ้าที่ตัดเย็บเรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็ไปรายงานต่อที่ประชุมสงฆ์ ที่ประชุมรับทราบ และอนุโมทนา การอนุโมทนาของคณะสงฆ์ ได้เชื่อว่าทุกรูปที่เข้าร่วมประชุม ได้กรานกฐินด้วย
มีสิทธิ์ได้รับอานิสงส์ 5 ข้อ ตามระเบียบพระวินัย ทั้งยังขยายจีวรกาลออกไปจนถึงกลางเดือนสี่ พระในวัดได้รับความสะดวกในการหาผ้ามาผัดเปลี่ยน
การกรานกฐิน เป็นตัวบ่งชี้ว่าจะได้รับอานิสงส์กฐิน 5 ข้อ และจีวรกาลขยายออกไปหรือไม่
การกรานกฐิน เป็นตัวบ่งชี้ว่าจะได้รับอานิสงส์กฐิน 5 ข้อ และจีวรกาลขยายออกไปหรือไม่
มีข้อสังเกตคือ กราลกฐิลของบุคคล และการกรานกฐินของคณะสงฆ์ บุคคลกรานกฐิน คือพระภิกษุผู้
ได้รับผ้าจากคณะสงฆ์มอบให้ เอาไปตัดเย็บเป็นผ้า สบง จีวร หรือสังฆา ผืนใดผืนหนึ่ง พระในวัดมาช่วย
ดูแลการทำ ช่วยกะ ช่วยตัด ช่วยเย็บ ถ้าผ้าสำเร็จรูป ก็ช่วยตรวจความเรียบร้อย ตะเข็บไม่ดี เลาะออกเย็บใหม่ ทำให้เป็นผ้าที่ตัดเย็บเรียบร้อยจากการช่วยกันทำ จากนั้นก็ทำการ กัปปะ พินทุ ก่อนนำไปให้ผัด
ได้รับผ้าจากคณะสงฆ์มอบให้ เอาไปตัดเย็บเป็นผ้า สบง จีวร หรือสังฆา ผืนใดผืนหนึ่ง พระในวัดมาช่วย
ดูแลการทำ ช่วยกะ ช่วยตัด ช่วยเย็บ ถ้าผ้าสำเร็จรูป ก็ช่วยตรวจความเรียบร้อย ตะเข็บไม่ดี เลาะออกเย็บใหม่ ทำให้เป็นผ้าที่ตัดเย็บเรียบร้อยจากการช่วยกันทำ จากนั้นก็ทำการ กัปปะ พินทุ ก่อนนำไปให้ผัด
เปลี่ยน มีวิธี ปัจจุและอธิษฐาน ผ้าเก่าเปลี่ยนออก ผ้าใหม่เอามานุ่งห่มแทน แล้วกล่าวคำกรานกฐินด้วยผ้าผืนนั้น จบการกรานของบุคคล
.............จากนั้นต้องไปรายงานผลต่อที่ประชุมสงฆ์ คณะสงฆ์รับทราบและอนุโมทนากฐิน เป็นรายบุคคล
ทุกคนที่อนุโมทนากฐิน ถือว่าได้กรานกฐิน มีสิทธิได้รับอานิสงส์กฐิน 5 ข้อ และได้ขยายเขตจีวรกาลออกไปถึงกลางเดือนสี่
.............จากนั้นต้องไปรายงานผลต่อที่ประชุมสงฆ์ คณะสงฆ์รับทราบและอนุโมทนากฐิน เป็นรายบุคคล
ทุกคนที่อนุโมทนากฐิน ถือว่าได้กรานกฐิน มีสิทธิได้รับอานิสงส์กฐิน 5 ข้อ และได้ขยายเขตจีวรกาลออกไปถึงกลางเดือนสี่
คำเฉพาะที่น่ารู้เกี่ยวกับบุญกฐิน
มีคำเฉาะมากมายเกี่ยวกับการทำบุญกฐิน เช่น เขตกฐิน จองกฐิน ผ้ากฐิน เครื่องกฐิน บริวารกฐิน กองกฐิน ถวายกฐิน อุปโลกณกฐิน สวดกฐิน กรานกฐิน อานิสงส์กฐิน กฐินขาด จุลกฐิน มหากฐิน
โจรกฐิน กฐินราษฎร์ กฐินหลวง กฐินต้น ขอนำบอกเล่าความหมายสั้น ๆ พอเข้าใจ ดังนี้
เขตกฐิน ----: หมายถึงช่วงเวลาที่มีการทอดกฐินกัน ได้แก่เขตจีวรกาล 1 เดือนนับแต่ออกพรรษา
จองกฐิน ----: จับจองเป็นเจ้าภาพจะนำกฐินมาทอดถวาย สมัยก่อนวัดมีน้อย คนอยากทำบุญมีมาก ต้องจอง เดิมไม่ต้องถามใคร เดี๋ยวนี้ต้องบอกกรรมการวัด
ผ้ากฐิน ----: ผ้าสบง จีวร สังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง ใช้เป็นผ้ากฐินได้เท่ากัน
เครื่องกฐิน ----: ของทำบุญกฐินทั้งหมดเรียกว่า เครื่องกฐิน หรือกองกฐิน
บริวารกฐิน ----: นอกจากผ้าผืนเดียวที่พระใช้กรานกฐิน นอกนั้นเป็นบริวารกฐิน
กองกฐิน ----: ไทยทานของงานกฐิน เรียกกองกฐิน
ถวายกฐิน ----: เอากองกฐินไปถวายพระเรียกว่าถวายกฐิน
อุปโลกณกฐิน----: พระได้รับผ้ากฐิน จะประชุมหารือมอบผ้ากฐิน ให้พระภิกษุไปกรานกฐิน การสวด
มอบผ้าเรียกว่าการอุปโลกณ์กฐิน นิยมสวดเป็นภาษาไทย
มอบผ้าเรียกว่าการอุปโลกณ์กฐิน นิยมสวดเป็นภาษาไทย
สวดกฐิน ----: คือสวดอุปโกณ์กฐินนั่นเอง แต่สวดเป็นภาษาบาลี
กรานกฐิน ----: พระที่ได้รับผ้ากฐินจากสงฆ์ นำไปตัดเย็บให้เรียบร้อย ผัดเปลี่ยนผ้าเก่าออกใช้ผ้า
ใหม่แทน แล้วกล่าวคำกรานกฐินด้วยผ้าผืนนั้นเรียก พระภิกษุกรานกฐิน
ภาษุกรานกฐินแล้วมารายงานต่อที่ประชุมสงฆ์ ที่ประชุมอนุโมทนารายบุคคล
เรียกการกรานกฐินของคณะสงฆ์
อานิสงส์กฐิน ----: เป็นการลดหย่อนโทษอาบัติให้ บางข้อ ตลอดเวลาที่ได้รับอานิสงส์
กฐินเสดาะ ----: เมื่อหมดความจำเป็นต้องหาจีวร (จี่วรปลิโพธิ) จะไปจากอาวาส อาวาปลิโพธิ
กฐินเดาะแล้วก็ไม่ต้องใช้อานิสงส์กฐิน
จุลกฐิน ----: กฐินที่ทำอย่างเร่งด่วน ผ้า 1 ผืน เป็นดอกฝ้ายอยู่ ต้องทำเป้นผ้าให้เสร็จก่อนเที่ยง
ตอนบายไปทอดถวาย พระจะได้กรานเสร็จในวันเดียว ต้องช่วยกันทำทั้งหมู่บ้าน
พวกไม่ได้ทอผ้าก็ทำอุปกรณ์ที่เป็นบริวารกฐิน เที่ยงวัน กองกฐินพร้อมไปวัดได้
มหากฐิน ----: กฐินที่มีบรวารมากมาย จนต้องหาบหาม หรือบรรทุกรถไปวัดกัน
โจรกฐิน ----: กฐินที่จู่โจมเอาไปถวาย ไม่บอกล่วงหน้า
กฐินราษฎร์ ----: กฐินที่ชาวบ้านจัดนำไปทอดถวาย
กฐินหลวง ----: กฐินของหลวง จัดนำไปถวายพระอารามหลวง
กฐินต้น ----: กฐินของหลวง นำไปถวายวัดอื่นตามพระราชอัธยาศรัย
กฐินพระราชทาน...กฐินหลวงพระราชทานให้ผู้อื่นนำไปทอดถวายที่วัดหลวง
คำบาลีที่ใช้ในงานกฐิน
พระผู้กรานกฐิน ได้ผ้ามาจะผัดเปลี่ยน ต้องถอนผ่าเดินก่อน คำบาลีที่ใช้คือ
" อิมํ สงฺฆาฏิ ปจฺจุทธรามิ,
อิมํ อุตฺตราสงฺคํ ปจฺจุทธรามิ,
อิมํ อนฺตรวาสกํ ปจฺจุทธรามิ."
(จะถอนผืนใด พึงกล่าวแต่ผืนนั้นโดยเฉพาะ)
เมื่อถอนผ้าเดิม เสรจก็อธิษฐานใช้ผ้าใหม่ทันที ท่านให้ยกผ้าใหม่ทับผ้าเก่าแล้วกล่าวคำอธิษฐานว่า
" อิมํ สงฺฆาฏิ อธิฏฐามิ,
อิมํ อุตฺตราสงฺคํ อธิฏฐามิ,
อิมํ อนฺตรวาสกํ อธิฏฐามิ."
(จะอธิษฐานผืนใด พึงกล่าวแต่ผืนนั้นโดยเฉพาะ)
เมื่อจะกรานกฐิน พระภิกษุองค์ครองกฐินหันหน้าไปทางพระประธาน กราบพระประธานองค์แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กล่าวนะโม ๓ ครั้ง แล้วว่ากรานกฐินให้สงฆ์ได้ยินทั่วกัน จะกรานผ้าสังฆาฏิ
อุตตราสงค์ หรืออันตรวาสก ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ คำกรานว่าดังนี้
"อิมาย สงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ" (คำแปล) ข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าสังฆาฏิผืนนี้
"อิมาย อุตตราสงฺเคน กฐินํ อตฺถรามิ" (คำแปล) ข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอุตตราสงค์ผืนนี้
"อิมาย อนฺตรวาสเกน กฐินํ อตฺถรามิ"(คำแปล) ข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอันตรวาสกผืนนี้
ครั้นกรานผ้ากฐินเสร็จแล้ว พึงหันหน้ามาหาสงฆ์ทั้งปวง ประนมมือกล่าว รายงานว่า
"อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทถ"
(คำแปล) "ท่านเจ้าข้า กฐิน ของสงฆ์ กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ขอท่านทั้งหลายอนุโมทนาเถิด"
ภิกษุในที่ประชุม พึงประนมมือ กล่าวคำอนุโมทนาว่า
"อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทาม"
(คำแปล) "แน่ะเธอ กฐินของสงฆ์ กรานแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม เราทั้งหลายขออนุโมทนา"
ผู้อนุโมทนาที่พรรษามากกว่าผู้กรานพึงว่า "อาวุโส" แทน "ภันเต"เมื่อว่าพร้อมกันถึง "ภันเต"
คำบาลีถวายผ้ากฐิน
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะสาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง ปะฏิคคันหาตุ ปะฏิคคเหตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
คำแปล ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับบริวารนี้ ครั้นรับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญฯ
คำอุปโลกน์กฐิน เป็นคำกล่าวประกาศขอมติจากสงฆ์ (แบบ ใช้ผู้ประกาศ ๒ รูป)
รูปที่ ๑ ว่า... ผ้ากระฐินทานกับผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงเหล่านี้ เป็นของ... พร้อมด้วย... เป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา อุสาหะพร้อมเพรียงกันนำมาถวาย แด่พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสใน อาวาสนี้ ก็แล ผ้ากฐินทานนี้เป็นของบริสุทธิ์ ดุจเลื่อนลอยมาโดยนภากาศ แล้วแลตกลงในที่ประชุมสงฆ์ จักได้จำเพาะเจาะจงลงไปว่าเป็นของพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็หามิได้ มีพระบรมพุทธานุญาตไว้ ว่า ให้พระสงฆ์ทั้งปวงยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพื่อจะทำซึ่งกฐินัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาต และมีคำ
อรรถถาจารย์ผู้รู้พระบรมพุทธธิบายสังวรรณนาไว้ว่า ภิกขุรูปใดประกอบด้วยศีลสุตาธิคุณ มีสติสัมปญญาสามารถรู้ธรรม ๘ ประการมีปุพกิจเป็น ต้น ภิกษุรูปนั้น จึงสมควรเพื่อจะกระทำกฐินัตถาการกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาต บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งปวง จะเห็นสมควรแก่ภิกษุรูปใด จงพร้อมกันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้น เทอญ.
รูปที่ ๒ ว่า... ผ้ากฐินทานกับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้าพิจรณาแล้วเห็นสมควรแก่............ เป็นผู้มีสติ ปัญญาสามารถเพื่อจะทำกฐินัตถารกิจให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้ ถ้าภิกษุรูปใดเห็น ไม่สมควร จงทักท้วงขึ้นในท่ามกลางระหว่างสงฆ์ (หยุดชั่วขณะหนึ่ง) ถ้าเห็นสมควรแล้วไซ้ จงให้สัททสัญญาสาธุการขึ้นพร้อมกันเทอญ. ภิกษุสงฆ์กล่าวขึ้นพร้อมกันว่า "สาธุ"
ธรรม ๘ ประการ ของผู้ควรรับผ้ากฐินได้แก่
๑) รู้จักบุพกร คือ ธุระอันจะพึงทำในเบื้องต้นแห่งการกรานกฐิน ๗ อย่าง คือ ซักผ้า๑ กะผ้า๑ ตัดผ้า๑
เนาหรือด้นผ้าที่ตัดแล้ว๑ เย็บเป็นจีวร๑ ย้อมจีวรที่เย็บแล้ว๑ ทำกัปปะคือ พินทุ๑
๒) รู้จักถอนไตรจีวร
๓) รู้จักอธิษฐานไตรจีวร
๔) รู้จักการกราน
๕) รู้จักมาติกา คือ หัวข้อแห่งการเดาะกฐิน
๖) รู้จักปลิโพธิกังวล เป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน
๗) รู้จักการเดาะกฐิน
๘) รู้จักอานิสงส์กฐิน
อรรถถาจารย์ผู้รู้พระบรมพุทธธิบายสังวรรณนาไว้ว่า ภิกขุรูปใดประกอบด้วยศีลสุตาธิคุณ มีสติสัมปญญาสามารถรู้ธรรม ๘ ประการมีปุพกิจเป็น ต้น ภิกษุรูปนั้น จึงสมควรเพื่อจะกระทำกฐินัตถาการกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาต บัดนี้ พระสงฆ์ทั้งปวง จะเห็นสมควรแก่ภิกษุรูปใด จงพร้อมกันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้น เทอญ.
รูปที่ ๒ ว่า... ผ้ากฐินทานกับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้าพิจรณาแล้วเห็นสมควรแก่............ เป็นผู้มีสติ ปัญญาสามารถเพื่อจะทำกฐินัตถารกิจให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้ ถ้าภิกษุรูปใดเห็น ไม่สมควร จงทักท้วงขึ้นในท่ามกลางระหว่างสงฆ์ (หยุดชั่วขณะหนึ่ง) ถ้าเห็นสมควรแล้วไซ้ จงให้สัททสัญญาสาธุการขึ้นพร้อมกันเทอญ. ภิกษุสงฆ์กล่าวขึ้นพร้อมกันว่า "สาธุ"
ธรรม ๘ ประการ ของผู้ควรรับผ้ากฐินได้แก่
๑) รู้จักบุพกร คือ ธุระอันจะพึงทำในเบื้องต้นแห่งการกรานกฐิน ๗ อย่าง คือ ซักผ้า๑ กะผ้า๑ ตัดผ้า๑
เนาหรือด้นผ้าที่ตัดแล้ว๑ เย็บเป็นจีวร๑ ย้อมจีวรที่เย็บแล้ว๑ ทำกัปปะคือ พินทุ๑
๒) รู้จักถอนไตรจีวร
๓) รู้จักอธิษฐานไตรจีวร
๔) รู้จักการกราน
๕) รู้จักมาติกา คือ หัวข้อแห่งการเดาะกฐิน
๖) รู้จักปลิโพธิกังวล เป็นเหตุยังไม่เดาะกฐิน
๗) รู้จักการเดาะกฐิน
๘) รู้จักอานิสงส์กฐิน
...............เรื่องกฐินค่อนข้าวยาว บางท่านอาจสงสัยว่าทำไม ไปรู้เรื่องของพระมากมายแบบนี้
เฉลยครับ ผมไปเรียนเทศน์ปุจฉาวิสัชชนา สองธัมมาส อาจารย์สอนบังคับ 2 เรื่องคือ ฌาปนกิจ
เกี่ยวงานศพ กับ กฐินขันธ์ ก็เคยขึ้นธัมมาสน์ หลายงานจึงมีเรื่องเอามาเขียนได้มากมาย อยาก
เกี่ยวงานศพ กับ กฐินขันธ์ ก็เคยขึ้นธัมมาสน์ หลายงานจึงมีเรื่องเอามาเขียนได้มากมาย อยาก
บันทึกไว้ ให้หลูกหลานรุ่นหลังได้รู้บ้าง ว่าเขาทำบุญกฐินกันอย่างไร
-------------------
ขุนทอง ตรวจทาน 2/8/59
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น