วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560

ประเพณีเดือนสิบเอ็ด



.........เดือนสิบเอ็บ ชาวพุทธเรามีกิจกรรมสำคัญ ๆ 2 อย่างคือ งานออกพรรษา และ บุญกฐิน ออกพรรษา สมัยก่อนมีการจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยเฉลิมฉลองให้ ส่วน กิจกรรมของพระ ท่านทำของท่านเอง ไม่มีอะไรมาก ทำวัตรเสร็จก็แจ้งให้คณะทราบว่า ครบไตรมาสแห่งการจำพรรษาแล้ว มาทำพิธีปวารณากัน  คือพิธีบอกกล่าวอนุญาตให้ ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ถ้าพบเห็นเพื่อนสหธรรมิก กระทำผิด ถูกว่ากล่าวก็จะไม่โกรธกัน ส่วนชาวบ้านก็ทำบุญทำทานตามปกติ การเฉลิมฉลองก่อนเตรียมกันมาทั้งธูปเทียนน้ำมัน เพื่อจุดบูชา ธูปนี่ต้องเหลาก้านธูปเอง ผงสำหรับปั้นธูป ก็หาไม้เนื้อหอม ไม้บง เอาแต่ ผงตากแห้ง ผสมเครื่องหอมแล้วนำมาปั้นธูป ตากแห้งดีก็นำไปถวายพระและจุดบูชา นอกจากนี้ยังมีเทียนที่ฟั่นเองจากผึ้งที่สะสมไว้ ผึ้งที่ตลาดไม่มีขาย ส่วนน้ำมันนิยม ใช้นำมันพืชเช่น ถั่ว งา สบูดำ ละหุ่ง มะพร้าว ใส่กระบอกไม้ไผ่ จุ่มใส้จุดเหมือนตะเกียง  วันออกพรรษาก็มีการจัดไฟบูชากัน วัดจะจัดโรงเรือนไว้ให้ ทำด้วยต้นกล้วย ก้านมะพร้าว ประดับดอกไม้สวยงามดี มีที่ปักธูบเทียนให้ หมู่บ้านใกล้แม่น้ำก็จะมีจุดไฟ แบบไหลเรือไฟน้ำโขง ก็สนุกกันไป
.........กิจกรรมเดือนสิบเอ็ดอีกอย่างคือบุญกฐินซึ่งมีช่วงเวลาทำเพียง 1เดือนนับแต่ ออกพรรษา ต้องรีบ ๆทำให้ทันเวลา เพราะช่วงเวลานี้พระกำลังหาผ้ามาผัดเปลี่ยนพอดี บุญกฐินนิยมกันมานาน เมื่อจะเล่าให้คนรุ่นใหม่ฟัง ก็น่าจะได้เลือกเอาประเด็นหลัก ๆ มาเล่าสู่กัน ฟัง เช่น
1. ทำไมเกิดมีการทำบุญกฐินขึ้น
2. จริงหรือไม่ทำบุญกฐินได้บุญมากกว่าทำบุญอย่างอื่น
3. เราทำบุญกฐินแต่ไม่เป็นกฐิน หมายความอย่างไร
4. ถวายกฐินต้องถวายในเขตกฐินเท่านั้น นอกเขตถวายไม่ได้
5. ถวายกฐิน ทำไมพระไม่รับแต่ให้วางทอดไว้
6. ธงรูปสัตว์ในงานกฐิน ใช้ทำอะไร
.......1.ความเป็นมาของการอนุญาตให้ทำกฐิน ขอเล่าย่อ ๆ เพราะมีคนเล่ากันมากมาย ในโลกออนไลน์ เรื่องเล่าว่า พระภิกษุ 30 รูปชาวเมือง ปาฐา เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ที่วัดเชตวัน มาถึงเมืองสาเกตุเข้าพรรษาพอดี จำต้องหยุดเดินทาง 3 เดือน พอออก พรรษาก็เดินทางต่ออีก 6 โยชน์ (6 X 400 เส้น = 2400 เส้น x 40 เมตร = 96000 เมตร = 96 กม) ถึงวัดเชตวันได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงเห็นความลำบากในการเดินทาง และความยุ่งยากที่จะเกิดในการแสวงหาผ้ามาผัดเปลี่ยน เวลาเพียง 20 กว่าวัน พระ 30          
รูปจากต่างถิ่น ผ้าหายากด้วย จึงให้จัดกิจกรรมสามัคคีตัดเย็บผ้า พระที่อยู่จำพรรษาวัด เดียวกัน พรรษา
ไม่ขาด ช่วยกันหาผ้ามาทำจีวร เสร็จ 1 ผืน ใน 1 วัน ทำได้จะมีรางวัล พระ 30 รูปทำเสร็จได้จริง ๆ พระ 
พุทธเจ้าจึงสรุปว่า ผ้าที่ช่วยกันทำผืนนี้คือ ผ้ากฐิน มีผลให้ได้อานิสงส์ ผ่อนผันพระวินัย 5 ข้อ และขยาย
จีวรกาลออกไปถึงกลางเดือนสี่ นี่คือความเป็นมาของการทำกฐิน จำไว้ด้วย พระช่วยกันทำผ้ากฐิน ผ้าพระหามากันเอง ส่วนต่อมาชาวบ้านทราบ ก็หาผ้าไปถวายให้พระได้ทำกฐินกันสะดวก
..........2. ทำบุญกฐินได้บุญมากกว่าบุญอื่น ๆ จริงไหม ไม่จริง การทำบุญอะไรได้ บุญมากน้อยกว่ากัน มันวัดไม่ได้ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยและผลประโยชน์ที่เกิดจากการทำบุญ ตัวอย่างเราทำบุญกฐิน 5 กอง แต่ชาวบ้านเขาสร้างอาคารเรียนปริยัติธรรมถวายวัด มูล ค่าก็ต่างกัน ประโยชน์ใช้สอยก็ต่างกัน กฐินถวายเสร็จก็จบ ของแบ่งพระเณรไป บางอย่าง ก็เป็นของกลางสงฆ์ แต่โรงเรียนใช้สอนนักธรรม บาลี ได้อีกหลายสิบปี บุญก็มากน้อยต่าง กันแน่นอน
.........3. เราทำบุญกฐิน แต่ไม่เป็นกฐิน ก็บอกแต่แรกแล้วนี่ว่า พระชาวเมืองปาฐา ท่านช่วยกันทำผ้ากฐิน ไม่ใช่ชาวบ้านทำผ้ากฐิน เราเป็นใครล่ะจะทำผ้ากฐินได้ เก่งมาก ก็แค่หาผ้าไปถวายพระ ท่านจะทำ ไม่ทำ ก็เรื่องของท่าน ถ้าท่านใช้ผ้าที่เราไปถวาย ผ้านั้นก็เป็นผ้ากฐิน ถ้าไม่ได้ใช้ก็ไม่เป็นผ้ากฐิน เป็นหรือไม่เป็น ขึ้นอยู่กับผู้ทำ ผ้ากฐิน
.........4. การถวายกฐิน ต้องทำในเขตกฐินเท่านั้น(ออกพรรษา ไปจนถึงวันลอยกระทง) กำหนดเวลานี้ไม่เกี่ยวกับชาวบ้านครับ สำหรับพระโดยเฉพาะ ความหมายคือ พระจะทำ ผ้ากฐิน ทำได้เฉพาะช่วงเวลานี้เท่านั้น โยมขอเอี่ยวด้วย ไม่จำเป็นครับ เอี่ยวทำให้เรา ทำบุญยากเปล่า ๆ ความจริงคือ การทำบุญกฐิน   ก็คือการถวายผ้าให้พระใช้ทำผ้ากฐิน สะดวก ไม่ต้องไปหาผ้าเอง เอาผ้าที่เราถวายนี่ไปทำกฐินได้เลย ถ้าเกิดเราถวายแต่ ตอนยังจำพรรษาอยู่ พระรับไว้ ออกพรรษาจะทำผ้ากฐิน เปิดตู้เอาผ้าเราถวายไว้นั่น
มาทำผ้ากฐิน ก็ไม่ผิดอะไรนี่ครับ หรือบางวัดมีผ้ามากมายในตู้ ปีนี้ไม่มีโยมมาถวายกฐิน เดี๋ยวพระในวัดเสียประโยชน์อานิสงส์กฐิน เจ้าอาวาสให้พระไปเลือกผ้าดี ๆสักผืน มากราลกฐินกัน พระเลือกมาผืนหนึง เออผ้าผืนนี้ได้เมื่อสองปีที่แล้ว ตอนเจ้าอาวาส ได้สมณศักดิ์พระครู เจ้าคณะภาคมอบให้ ก็ทำกันในเขตกฐิน ถึงจะกราลกฐินได้ เรื่องของพระครับ
........4. ถวายกฐิน ทำไมพระไม่รับจากมือ แต่ให้วางทอดไว้ ก็แค่ปรับให้เข้ากับเรื่่องราวความเป็นมาของกฐิน  บังเอิญทอดวางในวัด ผ้าก็เป็นของกลาง ลำบากคณะสงฆ์ต้องมาสวดประกาศว่ามีโยมน่ำ ผ้ามา ทอดวางไว้ สงฆ์มีอำนาจพิจารณาว่าผ้าควรจะให้ใครนำไปตัดเย็บ และผ้ดเปลี่ยน เป็นผ้ากฐิน หรือกราลกฐิน ก็แค่สมมติให้สอดคล้องเรื่องราวการทำกฐิน พระจะรับไป ก่อนค่อยพิจารณามอบผ้าให้พระไปกราลกฐินทีหลังก็ทำได้
........6. งานกฐินมีธงรูปสัตว์หลายธง คืออะไร ทำเพื่ออะไร ก็เห็นนะ แต่ไม่ค่อยรู้จัก เช่น รูปจระเข้ ตะขาบ แมงป่อง นางเงือก เต่า ถามผู้เฒ่า ก็เล่าแบบนิยาย นิทาน แต่ ในแง่พุทธธรรม เรามักตีความว่าเป็นปริศนาสอนธรรมด้วยรูปภาพ จระเข้ ตัวใหญ่ ปากกว้าง กินจุ เหมือความโลภ ตะขาบแมงป่องพิษร้ายแรง คล้ายโทสะพ่นใส่ใครก็เจ็บปวดยังกะ ถูกพิษ  นางเงือกงามรูปเหมือนความดีความงามใครก็อยากมีอยากได้ ส่วนเต่าก็ความสงบ ความอดทน สติสมาธิ  ก็คงตีความได้แค่นี้ 

.........จบเรื่องกฐินที่ชาวบ้านเราควรรู้จัก อยากรู้มากกว่านี้ไปทอดกฐินสักงานซิ เดี๋ยวมีพระเทศน์ให้ฟังเอง