ประเพณีทำบุญ
(ต่อ)
พัทธสีมา
.......... ถาม ...เดินทางไปต่างจังหวัดเห็นป้ายชวนเชิญปิดทองฝังลูกนิมิต ของวัดต่างๆ อยากทราบว่าลูกนิมิตนี่สำคัญอย่างไร ?
.......... ถาม ...เดินทางไปต่างจังหวัดเห็นป้ายชวนเชิญปิดทองฝังลูกนิมิต ของวัดต่างๆ อยากทราบว่าลูกนิมิตนี่สำคัญอย่างไร ?
............ เพื่อนครูไปเที่ยวสงกรานต์กลับมาเล่าให้ฟัง เห็นมีทั่วไปแหละครับ โดยเฉพาะทางภาคกลางภาคตะวันออก เศรษฐกิจดี ชาวบ้านมีเงินมีทอง เลยมีงานบุญกันมาก ส่วนอีสานบ้านเฮา
นานๆจะเห็นงานแบบนี้ซักครั้งหนึ่ง พอเพื่อนถามก็งงเหมือนกันไม่รู้จะตอบอย่างไรดี
เปิดตำราก็ไม่มีคำตอบที่พอจะนำ
มาอ้างอิงได้
พอดีนึกได้ว่าลูกนิมิตที่ทำกันเกี่ยวเนื่องกับพระอุโบสถ เลยตามไปค้นดูในหนังสือวินัยมุข เล่ม 3
และดูในพระวินัยปิฎก พอจะได้ข้อมูลมาเล่าสู่กันฟังบ้างดังนี้ครับ
.......... วัดที่จะสร้างพระอุโบสถ
จะต้องขอพระราชทานวิสุงคามสีมาก่อนแล้วก็สร้างอาคารตามแบบที่นิยมกันมีการ
วางศิลาฤกษ์ครั้งหนึ่ง แล้วก็ดำเนินการก่อสร้างไปจนจะเสร็จ
เหลือช่อฟ้าใบระกาไว้ ทำพิธียกช่อฟ้า
เป็นอันเสร็จการก่อสร้าง
หลังจากนั้นก็มีการทำบุญฝังลูกนิมิต
และพิธีผูกพัทธสีมา เป็นอันจบกระบวนการ มีคำสำคัญที่อาจถูกถามว่าคืออะไรอยู่หลายคำเช่น
พระอุโบสถ วิสุงคามสีมา
พิธีวางศิลาฤกษ์ พิธียกช่อฟ้า การฝังลูกนิมิต และพิธีผูกพัทธสีมาเรื่องค่อนข้างยาว
จะพยายามสรุปย่อ ๆพอรู้เรื่องกันครับ
............ พระอุโบสถ
เป็นชื่ออาคารที่ใช้เป็นที่ประชุมทำสังฆกรรมของภิกษุสงฆ์ ระเบียบวินัยสงฆ์ระบุ
ไว้ ถ้ามีกิจที่ต้องร่วมกันทำโดยคณะภิกษุหลายรูป เช่น 4 รูป 5 รูป 8 รูป 20 รูป ให้ประชุมกันที่ที่มีขอบเขตจำกัน มีหลักเขต (สีมา) กำหนดความกว้าง-ยาว ไว้ ชัดเจนทั้ง 4 ทิศ เรียกว่าประชุมกันใน
เขตสีมา ผู้เข้าประชุมต้องนั่งให้อยู่ในเขตหัตถบาศของกันและกันตลอดเวลาที่ประชุม มติที่ประชุมใช้เอกฉันท์ปราศจากการคัดค้าน ขณะประขุม ต้องไม่มีฆราวาส หรือภิกษุอื่น ๆเข้ามาใกล้ระยะหัตถบาส ถ้ามีการประชุมครั้งนั่นถือว่าใช้ไม่ได้ เป็นสังฆกรรมวิบัติ
............เดิมทีเขตสีมายังไม่มีอาคารใช้บริเวณที่มีที่นังเพียงพอสำหรับผู้เข้า ประชุมมีการสวดสมมติเขตแดน 4 ทิศ แล้วใช้เป็นที่ประชุมทำสังฆกรรมได้เลย ปัจจุบันมีการสร้างอาคารสวยงาม ใช้เป็นที่ประชุมทำสังฆกรรม กิจที่ทำบ่อยคือการสวดพระปาฏิโกข์ ที่พระท่านสวดในวันอุโบสถ 14 ค่ำ 15คำ
คือเดือนละ 2 หน คงเพราะเหตุนี้เลยได้ชื่อว่าพระอุโบสถ ดังนั้นถ้าถามว่าพระอุโบสถใช้ทำอะไร คำตอบก็คือเป็นหอประชุมทำสังฆกรรมนั่นเอง
ไว้ ถ้ามีกิจที่ต้องร่วมกันทำโดยคณะภิกษุหลายรูป เช่น 4 รูป 5 รูป 8 รูป 20 รูป ให้ประชุมกันที่ที่มีขอบเขตจำกัน มีหลักเขต (สีมา) กำหนดความกว้าง-ยาว ไว้ ชัดเจนทั้ง 4 ทิศ เรียกว่าประชุมกันใน
เขตสีมา ผู้เข้าประชุมต้องนั่งให้อยู่ในเขตหัตถบาศของกันและกันตลอดเวลาที่ประชุม มติที่ประชุมใช้เอกฉันท์ปราศจากการคัดค้าน ขณะประขุม ต้องไม่มีฆราวาส หรือภิกษุอื่น ๆเข้ามาใกล้ระยะหัตถบาส ถ้ามีการประชุมครั้งนั่นถือว่าใช้ไม่ได้ เป็นสังฆกรรมวิบัติ
............เดิมทีเขตสีมายังไม่มีอาคารใช้บริเวณที่มีที่นังเพียงพอสำหรับผู้เข้า ประชุมมีการสวดสมมติเขตแดน 4 ทิศ แล้วใช้เป็นที่ประชุมทำสังฆกรรมได้เลย ปัจจุบันมีการสร้างอาคารสวยงาม ใช้เป็นที่ประชุมทำสังฆกรรม กิจที่ทำบ่อยคือการสวดพระปาฏิโกข์ ที่พระท่านสวดในวันอุโบสถ 14 ค่ำ 15คำ
คือเดือนละ 2 หน คงเพราะเหตุนี้เลยได้ชื่อว่าพระอุโบสถ ดังนั้นถ้าถามว่าพระอุโบสถใช้ทำอะไร คำตอบก็คือเป็นหอประชุมทำสังฆกรรมนั่นเอง
...............คำวิสุงคามสีมา หมายถึง
สีมาที่พระราชาพระราชทานพื้นที่ตัดแยกออกจากแผ่นดินของพระองค์ แผ่นดินทั้งหมดถือว่าเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อคณะสงฆ์
จะกำหนดเขตทำสังฆกรรม
ถาวร ต้องขอพระราชทานก่อนเมื่อได้รับพระราชทานแล้ว เรียกบริเวณนั้นว่า วิสุงคามสีมา คณะสงฆ์จึงจะกำหนดเขต(ผูกพัทธสีมา) กว้าง-ยาวจุ พระภิกษุอย่างน้อย 21 รูป นั่งหัตถบาส กันได้ และหาเครื่อง หมาย(นิมิต) หลักเขต(ใบเสมา) มาปักไว้ให้เห็นชัดเจน
ถาวร ต้องขอพระราชทานก่อนเมื่อได้รับพระราชทานแล้ว เรียกบริเวณนั้นว่า วิสุงคามสีมา คณะสงฆ์จึงจะกำหนดเขต(ผูกพัทธสีมา) กว้าง-ยาวจุ พระภิกษุอย่างน้อย 21 รูป นั่งหัตถบาส กันได้ และหาเครื่อง หมาย(นิมิต) หลักเขต(ใบเสมา) มาปักไว้ให้เห็นชัดเจน
............ใบเสมาสมัยโบราณ นิมิต และสีมา
สมัยพุทธกาลท่านกำหนดขอบเขตที่ประชุมสงฆ์ด้วยวิธีบอก นิมิต
คือที่หมายในทิศต่างๆมีพระภิกษุประกาศท่ามกลางสงฆ์บอกให้รู้ว่าทิศไหนถืออะไรเป็นที่หมายขอบเขตสีมาเรียกว่าการทักนิมิต มีพระภิกษุผู้รอบรู้คอยอกให้ทราบตัวอย่างเช่นถามว่า
.....ทิศอุดร ถืออะไรเป็นนิมิต (ผู้ตอบอาจบอกว่า เขตสีมานับแต่ก้อนหินก้อนนั้นเข้ามา )
.....ทิศอุดร ถืออะไรเป็นนิมิต (ผู้ตอบอาจบอกว่า เขตสีมานับแต่ก้อนหินก้อนนั้นเข้ามา )
.....ทิศอีสาน ถืออะไรเป็นนิมิต (ผู้ตอบอาจบอกว่า
เขตสีมานับแต่ภูเขาลูกนั้นเข้ามา)
.... ทิศอาคเนย์ถืออะไรเป็นนิมิต (ผู้ตอบอาจบอกว่า เขตสีมานับแต่ภูเขาลูกนั้นเข้ามา)
.... ทิศทักษิณถืออะไรเป็นนิมิต (ผู้ตอบอาจบอกว่า
เขตสีมานับแต่แนวป่าไม้ตรงนั้นเข้ามา)
.....ทิศหรดี
ถืออะไรเป็นนิมิต (ผู้ตอบอาจบอกว่า เขตสีมานับแต่จอมปลวกลูกนั้นเข้ามา)
.....ทิศปัจจิมถืออะไรเป็นนิมิต (ผู้ตอบอาจบอกว่า
เขตสีมานับแต่ถนนเส้นนั้นเข้ามา)
..... พายับถืออะไรเป็นนิมิต (ผู้ตอบอาจบอกว่า เขตสีมานับแต่แม่น้ำสายนั้นเข้ามา)
.......... จากตัวอย่างแสดงว่าการกำหนดสีมาท่านใช้สิ่งที่มี ตามธรรมชาติบอกให้รู้กันว่าขอบเขตถึงไหน ซึ่งพบว่านิมิตที่ท่านใช้มีถึง 8 อย่าง
ซึ่งความเป็นจริงอาจมีเพียง
1 หรือ 2 อย่าง เช่นทิศเหนือก็มีภูเขาทิศตะวันออกก็ภูเขา ทิศใต้ก็ภูเขา
ทิศที่เหลือเป็นป่าไม้ดังนี้เป็นต้น
นิมิตแบบโบราณก็สะดวกสำหรับยุคสมัยนั้นเขตสีมาของท่านก็คงกว้างขวาง ต่อมาคงต้องการขอบเขตสีมาแคบลง
และระบุให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงมีการทำนิมิตขึ้นมาใช้เอง ที่นิยมทำคือ ก้อนหินนำไปวางไว้ในทิศทั้ง
8 ทำให้ชัดเจนและสังเกตง่ายขึ้น
การฝังลูกนิมิตลงใต้ดินคงทำเพื่อมิให้เคลื่อนย้ายโดยง่ายแต่เกิดปัญหาใหม่
คือบางลูกจมมิดมองไม่เห็น เลยมีการทำเสาหินปักเป็นหลักเขตให้โผล่มาให้เห็นได้ง่ายและกลายเป็นใบสีมาอย่างที่ใช้กันใน
ปัจจุบัน ในปัจจุบันเราก็ได้เห็น
การฝังลูกนิมิตไว้ใต้ดินและปักใบเสมาให้มองเห็น เป็นเขตพัทธสีมา
...........ลูกนิมิต งาน ปิดทองฝังลูกนิมิต พิธีกรรมของสงฆ์มีเพียงการนำลูกนิมิตไปวาง ณ
ตำแหน่งที่กำหนดเป็นเขตสีมา
และปักใบเสมากำกับไว้ ถ้าจะกำหนด 8
ทิศ ก็วาง 8
จุด ส่วนจุดกึ่งกลาง นิยมฝัง
ลูกนิมิตไว้อีก 1 ลูก แถมเรียลูกประธานด้วย มีการทักนิมิต ปักใบสีมาทุก ๆ จุดจนครบก็เป็นอันเสร็จ สีมาก็สมบูรณ์ใช้งานได้การทักนิมิตกำหนดเขตสีมาเป็นสังฆกรรมพระท่านสวดของ ท่านเอง ชาวบ้านไม่ได้ยุ่งเกี่ยวอะไร ส่วนการชักชวนปิดทอง บูชาหวายที่ใช้ผูกแขวนลูกนิมิตเพื่อเป็นของที่ระลึก เป็นกุศโลบายชักชวนให้ไปทำบุญทำทานกัน ตามอัธยาศัยครับ
-------------------
ขุนทอง ตรวจทาน 1/8/59
ลูกนิมิตไว้อีก 1 ลูก แถมเรียลูกประธานด้วย มีการทักนิมิต ปักใบสีมาทุก ๆ จุดจนครบก็เป็นอันเสร็จ สีมาก็สมบูรณ์ใช้งานได้การทักนิมิตกำหนดเขตสีมาเป็นสังฆกรรมพระท่านสวดของ ท่านเอง ชาวบ้านไม่ได้ยุ่งเกี่ยวอะไร ส่วนการชักชวนปิดทอง บูชาหวายที่ใช้ผูกแขวนลูกนิมิตเพื่อเป็นของที่ระลึก เป็นกุศโลบายชักชวนให้ไปทำบุญทำทานกัน ตามอัธยาศัยครับ
-------------------
ขุนทอง ตรวจทาน 1/8/59
่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น