วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การทำบุญของชาวพุทธ


สนทนกันถึงการทำบุญ
------------

------------------------

.............ถามอยากเรียนถามท่านอาจารย์ว่า การทำบุญ ของชาวพุทธ มีกี่วิธีคะ ?

               เพื่อนร่วมงานที่โรงเรียนเขาถาม มองหน้าแล้วเห็นท่าทางอยากรู้จริง ๆ เขาบอกว่าศาสนา
อื่นทำบุญพร่ำเพรื่อแบบชาวพุทธใหม ทำไมมีการ เชิญชวนทำบุญตลอดปี เลยถามกลับจำได้ไหม ถูกชวนทำบุญอะไรบ้าง    ฟังเพื่อนเล่านับว่าหลากหลายจริง ๆ เขาเล่าว่า จำไม่ไหวมันมีเยอะ เช่น ทำบุญ ฉลองลูกเกิด ทำบุญโกนผมไฟ ทำบุญโกนจุก ทำบุญบวช ทำบุญเสริมมงคลลูกจะไปฝึกทหาร พ้นเกณฑ์ทหารก็ทำบุญฉลองรับขวัญ ทำบุญบ้านลูกจะแต่งงาน บุญ ประจำเดือนต่าง ๆ  เดือนอ้าย - บุญเข้ากรรม เดือนยี่ - บุญคูณลาน เดือนสาม - บุญข้าวจี่ เดือนสี่ - บุญพระเวส เดือนห้า - บุญสงกรานต์   เดือนหก - บุญบั้งไฟ เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน เดือนสิบ - บุญข้าวสาก เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา เดือนสิบสอง - บุญกฐิน ทำบุญตักบาตรตอนเช้า ทำบุญฉลองกุฏิ ทำบุญวางศิลาฤกษ์ ทำบุญยกช่อฟ้า ทำบุญผูกพัทธสีมา ทำบุญฝังลูกนิมิตร ทำบุญฉลองอุโบสถ ทำบุญฉลองศาลา การเปรียญ ทำบุญต่ออายุสัตว์ วัว ควาย ผ้าป่า ทำบุญงานศพ ทำบุญสามวัน ทำบุญเจ็ดวัน ทำบุญร้อยวัน ฯลฯ
                ต้องบอกว่า พอแล้ว ๆ เยอะจริง ๆ ปกติก็ไม่ค่อยจะสนใจนับหรอก พอฟังเพื่อนเล่าแล้วยอมรับแหละว่ามาก ชาวพุทธเราขยันทำบุญกันจริง ๆ เพราะอะไรหรือครับ เพราะบุญเป็นเหมือนทรัพย์สินที่สามารถนำไปแลกสิ่งที่มีคุณค่ามาก ๆ ได้ อะไรคือสิ่งมีคุณค่าที่ชาวพุทธอยากได้กัน
               อยากมีโชค มีลาภ
               อยากมีการงานดี ๆ
               อยากร่ำรวยมีเงินทอง
              อยากมีความสุขความเจริญ
              อยากมีศิริมงคล ความดีความงาม
              อยากพ้นทุกข์พ้นโศก ไม่มีโรคภัย
              ยังมีอีกมากมายความอยากที่ชาวพุทธอยากได้ อยากพบ ทุกอย่างที่อยากได้ พระท่านว่าแลกได้ด้วยบุญ ไม่มีบุญก็ไม่มีโอกาสจะได้จึงมีสำนวนว่า บุญทำกรรมแต่ง     อันเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวพุทธขยันทำบุญกันตลอดปี ตลอดชีวิต ตายแล้วยังบอกลูกหลานให้ช่วยทำแล้วอุทิศบุญให้ด้วย อย่าคิดว่าเป็นเรื่องล้อเล่นนะครับ เรื่องจริงถ้าใครไม่ ขยันทำบุญจะลำบาก หาความสุขได้ยาก ทำบุญแบบไหนจึงจะนำไปแลกกับสิ่งที่เราอยากได้สำเร็จ
               หลักพุทธศาสนาระบุไว้ชัดเจนครับ ทานมัย สีลมัย และภาวนามัย ทำ 3 อย่างนี้แล้วเราจะได้บุญครับ มาดูว่าได้อย่างไร
              ทานมัย อามิสทาน คือการรู้จักให้ รู้จักแบ่งปัน ทำมาก ๆ จะได้รับบุญสำคัญ ๆ คือ ไม่ตระหนี่ มีเพื่อนมาก ธรรมทาน ให้สิ่งที่เป็นนามธรรม เช่นความรัก ความเมตตา ให้อภัย ให้คำแนะนำ ให้วิชาความ
รู้ บุญที่ได้รับคือเป็นคนไม่เห็นแก่ตัว มีบารมีมาก น่าเคารพศรัทธา สิ่งเหล่านี้แลกด้วยบุญจากทานมัยครับ
             สีมัย บุญจากการปฏิบัติศีล ต้องปฏิบัติให้เป็นปกติ คือรักษาศีลตลอดเวลาที่ตื่น เว้นตอนหลับไม่ต้องรักษา แบบนี้ได้บุญมาก ทำให้เป็นคนที่มีกาย วาจา เรียบร้อย  น่าเคารพนับถือ สีเลน สุคติง ยันติง ทางดำเนินขีวิตครอบครัวปัจจุบันนี้แหละเป็นสุคติได้เพราะมีศีล    สีเลนโภคสัมปทา สั่งสมโภคสมบัติ
ได้ดีเมื่อมีศีล    สีเลน นิพพุติง ยันติ เย็นกายเย็นใจไม่เดือดร้อนก็เพราะมีศีล เงินทองก็ซื้อไม่ได้ครับ ต้
องแลกด้วยบุญที่เกิดจากการปฏิบัติศีลเท่านั้น
             ภาวนามัย บุญได้จากการฝึกอบรม คือปัญญา คือความฉลาด บุญจากภาวนามัยมี 2 ประเภทครับคือ โลกียปัญญา และโลกุตตรปัญญา ความฉลาดในทางโลกคือโลกียปัญญา ยิ่งมีมากยิ่งดี สามารถนำไปแก้ปัญหา นำไปประกอบอาชีพได้ เหมือนที่เราเห็นประกาศรับผู้จบการศึกษาระดับ.......สาขา.......... อันนี้คือบุญหรือความดีที่ได้มาจากการฝึกอบรม หรือการศึกษาเล่าเรียนนั่นแหละครับถึงจะแลกเอาได้ ใครมีปัญญาประเภทนี้มากก็มีโอกาสดีกว่าคนที่มีน้อย  ส่วนโลกุตตรปัญญา คือความฉลาดรอบรู้ในไตรลักษณ์ จนสามารถละตัณหาอุปาทานที่มีต่อกายต่อจิตได้ ท่านเรียกว่าบรรลุมรรคผล ปัญญาประเภทนี้ได้มาจากการภาวนาสมถวิปัสสนาครับ
              จากหลักการทำบุญทั้ง 3 อย่างที่นำเสนอนี้ ก็เพื่อจะบอกว่า การทำบุญเป็นภารกิจสำคัญที่เราต้องทำ เพียงแต่ต้องรู้จักเลือก ฉลาดในการทำบุญ การโฆษณาเชิญชวนให้ทำบุญ บางทีก็ไม่จำเป็นสำหรับเรา ก็ผ่าน ๆ ไปบ้าง เช่นชวนทำบุญผูกพัทธสีมา เห็นชื่อเพราะดี แต่ที่จริงคือการปักเขตที่ประชุมของพระเณร เท่านั้นเอง พระทำของท่านเองก็ได้  หรือชวนทำบุญยกช่อฟ้าใบระกา เรื่องของช่างเขาต้องทำให้เสร็จไม่เกี่ยวอะไรกับเราเลย ดังนี้เป็นต้น การทำบุญต่าง ๆ ที่ยกมากล่าวถึงตอนต้น บางอย่างจะนำมาพูดคุยกันย่อ ๆ พอเข้าใจดังต่อไปนี้
             ทำบุญโกนผมไฟ ทำบุญโกนจุก เป็นการทำบุญปรารภเหตุการโกนผม การตัดจุก ทำได้ง่าย ๆ ตั้งแต่ตักบาตรหน้าบ้านที่พระเดินผ่านตอนเช้า แล้วให้ผู้ใหญ่โกนผม ตัดจุก ไปจนถึงทำบุญบ้านนิมนต์พระมาเจริญพุทธมนต์ และให้มีพิธีโกนผม ตัดจุก 
             ทำบุญเฉลิมฉลองไปรับราชการทหาร ได้งาน กลับจากไปต่างประเทศ กลับจากเกณฑ์ทหาร ฯลฯ มีวิธีทำง่าย ๆ แบบจัดเจรียมของไปถวายพระแล้วศีลขอพรจากท่าน  ไปจนถึงทำบุญบ้านใหญ่โต เชิญหมอขวัญมาทำพิธีเชิญขวัญเสริมมงคล ตามแต่พอใจครับ
              บุญคูณลาน ปรารภการกองข้าวไว้ที่ลานรอการนวด บุญข้าวจี่ปรารภการทำข้าวจี่ถวายพระพร้อมกันทั้งหมู่บ้าน เป็นการทำบุญเฉลิมฉลองความสำเร็จในการทำนา นินต์ พระมาทำบุญ ถวายภัตตาหารและไทยทานตามศรัทธา
             บุญพระเวสส เดิมทีต้องการทำบุญฟังเทศน์ชาดกเรื่อง พระเวสสันดร แถวชนบทอาจยังมีอยู่ แต่ในเมืองคงหายากแล้ว
             บุญสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่แบบ จันทรคติ เดือนเมษายนทุกปี ถือโอกาสทำบุญฉลองปีใหม่ ด้วยวิธีที่สะดวกของแต่ละคน ส่วนการละเล่นต่าง ๆ เป็นประเพณีการเล่นสนุกสนานไม่ใช่ทำบุญ
             บุญบ้องไฟ ประเพณีพื้นบ้าน จุดบูชาพระยาแถน ขอให้โปรยปรายฝนให้ตกลงมา ส่วนการทำบุญเป็นการประยุกต์ใช้โอกาสทำบุญเลี้ยงพระไปด้วย
             บุญซำฮะ ขับไล่ภูติผีปีศาจให้หมู่บ้าน เลี้ยงปู่ตาอารักษ์ ชาวบ้านประยุกต์การทำบุญเลี้ยงพระพร้อมกันไปด้วย
             บุญเข้าพรรษา โอกาสพระอธิษฐานเข้าพรรษา แรม 1 ค่ำเดือนแปด ชาวบ้านก็จัดข้าวของมาถวายพระ ทำบุญไปด้วย
             บุญข้าวประดับดิน การ การแสดงความขอบคูณแม่ธรณี และทำบุญอุทิศญาติพี่น้องผู้ล่วงลับ 
อาจมีบางคนเป็นเปรต สัมมเวสี มาขอส่วนบุญชาวบ้านจะจัดเตรียมหมาก พลู บุหรี่ อาหาร น้ำดื่ม ไปวางไว้ริมกำแพงวัด กระจายไปตามพื้นดิน จุดธูปเทียนบอกกล่าวให้มารับเอา ตอนสายก็จัดข้าวปลาอาหารไปถวายพระที่วัด
             เดือนสิบ บุญข้าวสากบุญสารท เป็นประเพณีในวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งชาวบ้านจะจัดเตรียมสำรับอาหาร ซึ่งบรรจุข้าวเหนียว อาหารแห้ง เช่น ปลาย่าง เนื้อย่าง แจ่วบองหรือน้ำพริก ปลาร้า และห่อข้าวเล็ก ๆ อีกห่อหนึ่งสำหรับอุทิศให้ญาติผู้ล่วงลับและนำไปทำบุญที่วัด โดยจะเขียนชื่อเจ้าของ สำรับอาหารและเครื่องไทยทานใส่ไว้ในบาตร เพื่อให้พระในวัดจับสลาก หากภิกษุรูปใดจับสลากได้ชื่อผู้ใด 
ก็จะได้สำรับอาหารพร้อมเครื่องไทยทานของเจ้าภาพนั้น
             บุญออกพรรษา เข้าพรรษาครบ 3 เดือนก็ถึงคราวออกพรรษา ชาวบ้านถือโอกาสไปทำบุญกัน ผ้าจำนำพรรษา จะถวายตอนนี้ก็ดี เพราะพระจะเริ่มเทศกาลเสาะหาผ้ามาทำไตรจีวรกัน มีเวลาแค่ 1 เดือนเอง
             บุญกฐิน เวลาหาผ้ามาทำจีวร หลังออกพรรษา 1 เดือน พระพุทธเจ้า อนุญาตให้วัดที่มีพระจำพรรษา 5 รูป ขึ้นไป รับกฐิน ได้ ชาวบ้านนิยมจัดกองกฐินไปถวาย พระรับกฐินช่วยกันกราลกฐิน ได้รับอานิสงส์แล้วยังได้ขยายเวลาหาผ้าออกไปอีก 3 เดือน
              ทำบุญฉลองกุฏิ ทำบุญวางศิลาฤกษ์ ทำบุญยกช่อฟ้า ทำบุญผูกพัทธสีมา ทำบุญฝังลูกนิมิตร ทำบุญฉลองอุโบสถ ทำบุญฉลองศาลา การเปรียญ เป็นการทำบุญปรารภเหตุตัาง ๆ กัน ส่วนมากเป็น
กิจของพระ แต่ชาวบ้านอยากมีส่วนร่วมจัดหาไทยทานไปช่วยพระ เรียกว่าทำบุญปรารภเหตุนั้น ๆ
              ทำบุญต่ออายุสัตว์ วัว ควาย ปล่อยนกปล่อยปลา ช่วยให้สัตว์ที่กำลังจะถูกฆ่า รอดจากความตาย ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ทำบุญแหละครับ ดูว่าใช่สัตว์ที่ตกอยู่ ในอันตรายอาจถึงแก่สิ้นชีวิตหรือไม่ แล้วค่อยทำ เพราะเดียวนี้คนที่จัด เขาต้องการเงินมากกว่าจะช่วยสัตว์
              ผ้าป่า เป็นการนำผ้าไปถวายพระ ทำได้ตลอดปี แต่พระรับผ้าได้เฉพาะ 1 เดือน หลังออกพรรษา พ้นจากนั้นผ้าเป็นอติเรกจีวร ปฏิบัติไม่ดีต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ ผ้าป่าสมัยนี้มุ่งหาเงินมากกว่า อยากให้พระมีผ้าไปใช้จ  ะทำบุญผ้าป่าก็ใช้วิจารณญาณเอาเองครับ
              ทำบุญงานศพ การทำบุญเมื่อมีคนตาย มีระเบียบประเพณีแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน บางถิ่นนิยมตั้งศพที่บ้าน 3 วัน 7 วัน แล้วค่อยเผาหรือฝัง นิยมนิมนต์พระมาสวดอภิธรรมหน้าศพ ตอนเย็นทุกวัน สำหรับวันเผาศพ จะสวดก่อนเคลื่อนศพ ไปถึงเมรุเผาศพ สวดอีกรอบ การทำบุญนิยมจัดของถวายพระ
ทุกครั้งที่มีการสวด เป็นการถวายแบบให้พระชักบังสุกุล ตอนศพวางบนเมรุนิยมจัดระเบียบเชิญแขกคนสำคัญช่วย วางทอดผ้าไตรบนโลงศพ แล้วนิมต์พระใหชักบังสุกุล เสร็จแล้วถึง จะเปิดโลงตรวจดูความเรียบร้อย และนำเข้าเตาเผา ให้ลูกหลานช่วยกันจุดไฟเผาศพ แล้วปล่อยให้ลุกไหม้ จนวันรุ่งขึ้นค่อยมาเก็บอัฐิ จัดระเบียบเถ้าถ่านให้เป็นรูปหุ่นคนแล้ว นิมนต์พระทำพิธีชักบังสุกุลตาย กลับหุ่นหันด้านศีรษาะไปทิศตะวันออก แล้วพระชักบังสุกุลเป็น ให้ ก็จบ นำอัฐิไปบรรจุเจดีย์ ที่เหลือนำไปลอยอังคาร เล่าย่อ ๆ พอเข้าใจนะครับ
             ทำบุญสามวัน ทำบุญเจ็ดวัน ทำบุญร้อยวัน เป็นการทำบุญอุศส่วนกุศลให้ผู้ตาย หลังการเผาศพผ่านไป 3 วัน 7 วัน 100 วัน ทำง่าย ๆ แบบเตรียมของไปถวายพระที่วัดก็ได้ หรือจะทำใหญ่โตที่บ้าน ตามสะดวกครับ
             การทำบุญมีมากมายหลายวิธี แต่มีข้อสังเกตคือ ส่วนมากเป็นการทำทาน และเป็นอามิสทาน เป็นหลัก ที่จริงการทำบุณควรทำให้ครบทั้ง 3 หลัก ให้มีทั้งทานมัย สีลมัย  และภาวนามัย ถ้าเราหมั่นตรวจสอบตนเองทุกวัน แล้วเลือกทำบุญอย่างเข้าใจ จะช่วยให้เราได้ทำบุญทุกวัน เช่นตื่นเช้ามา สวดมนต์ไหว้พระแล้วก็ สมาทานศีลและปฏิบัติทุกวัน ทุกเวลา ทุกสถานที่ นั่นแหละสีลมัยของเรา บุญที่เกิดทุกวันมีมากมายเช่น  เจอลูกหลานก็ให้ความรักความเมตตา เด็กทำผิดพลาดก็ให้อภัย มีโอกาสก็แนะนำสั่งสอน นี่คือทานมัยแบบธรรมทานครับ ส่วนอามิสทานทุกท่านทำบ่อยอยู่แล้ว ขอผ่าน   สำหรับบุญจาก   ภาวนามัยได้แก่ หมั่นฝึกอบรมให้เกิดปัญญาในเรื่องที่เรายังไม่รู้ มีมากมายครับโดยเฉพาะยุค ไอที มีสิ่ง
ที่เราควรเรียนรู้มากมาย เรียนรู้แล้วโลกียปัญญาก็เกิด นั่นแหละบุญจากภาวนามัย  มีโอกาสแวะไปวัดสนทนาธรรมกับพระขอเรียนกัมมัฏฐาน เพื่อหาโลกุตตรปัญญาครับ แบบนี้เรามีโอกาสทำบุญได้มากมาย มีบุญเหลือกินเหลือใช้แน่นอนครับ 
----------------------
ขุนทอง ตรวจทาน 2/8/59













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น