วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561

บวชหาบุญ

                                        
                                                              
ถ่ายที่สวนนงนุช พัทยา

...........คนทั่วไปเชื่อว่า ทำบุญบวช ได้บุญมากกว่าทำบุญอย่างอื่น ๆ ก็เป็นความเห็น ที่กระผมเองไม่แน่ใจว่า ความคาดหวัง กับเรื่องที่แท้จริงแล้วได้บุญมากขนาดไหน เคย บวช 7 พรรษาครับ สอบได้ นักธรรมเอก เปรียญ สี่ประโยค เป็นเลขาเจ้าคณะอำเภอ อยู่ 4 ปี ค่อยลาสิกขาบท เพราะสอบเทียบได้วิชาชุด พ.ม. สอบบรรจุเป็นครูได้ ก็จบ ชีวิตนักบวชไว้แค่นั้น
...........บวชแล้วได้บุญมากจริงหรือ ความจริงก็คือ มีช่องทางทำบุญ 3 ช่องทางเท่ากันกับชาวบ้าน คือ ทานมัย สีลมัย และภาวนามัย ไม่มีพิเศษกว่าชาวบ้าน ทำน้อยได้บุญน้อย ทำมาก ก็ได้บุญมาก ไม่ได้ทำก็ไม่มีบุญให้ 
ดังนั้นคนที่คาดหวังว่าบวชได้บุญมาก....พึงรู้ความจริงนะครับว่า ถึงจะ บวชเป็นพระ ทำบุญถึงจะได้บุญนะครับ ไม่ทำก็ไม่ได้ ที่สำคัญการบวชจะดำรงชีพใน แต่ละวันต้องอาศัยชาวบ้านครับ ปัจจัยสี่ทุกอย่างมาจากชาวบ้าน อ้อขอ บอกญาติพี่น้อง พระ คือคนอื่นนะครับ ไม่ใช่พวกพระ เขาเอาสิ่งของมาถวายก็ต้องชดใช้เขาด้วยบุญ ระวังจะไม่มีบุญพอชดใช้เขา ติดลบ ไม่ค่อยดีนะครับ 
...........การบริโภคปัจจัยสี่ของผู้บวช อาศัยชาวบ้านครับ เขาให้อะไรมาต้องแลกด้วยบุญ ถ้าสะสมบุญไว้มากก็เบาใจหน่อย พระทำบุญอะไรบ้างล่ะ ก็ทำทานมัย ทำสีลมัย และทำภาวนามัยครับ เหมือนชาวบ้านเลย คนบวชใหม่ล่ะ นี่แหละสำคัญมาก เพราะยังไม่รู้ช่องทาง ทำบุญ ทำท่าจะติดหนี้ชาวบ้านได้ง่าย ๆ
...........ก่อนบวชเขามีการเข้านาค 7 วัน เพื่อศึกษาวิถีชีวิตการบวช ต้องสวดมนต์ไหว้พระ ต้องเรียนรู้การปฏิบัติศีล 227 ข้อ ต้องทำกิจวัตรต่าง ๆ 7 วัน ลองศึกษาดู น่าจะพอเข้าใจ พอบวช เสร็จจะได้รีบจัดการเรื่องสะสมบุญได้เลยไม่เสียเวลา
...........ทานมัย บวชแล้วสิ่งของที่จะทำทานมัย คงไม่มีมากมายเหมือนก่อน แต่ธรรมทาน ให้สิ่งที่เป็นนามธรรม ทำได้ง่าย เพราะชาวบ้านเคารพศรัทธาพระอยู่แล้ว เดินบิณฑบาต ทำให้ชาวบ้านเลื่อมใส ใคร่ทำบุญทำทาน พระก็ได้บุญมากนะครับ เป็นการทำให้คนมี น้ำใจใฝ่ทำบุญทำทาน คนโบราณเรียกบิณฑบาตรว่าไปโปรดสัตว์ คือการช่วยให้คนฝักใฝ่ ในทางบุญกุศล ได้บุญครับ ส่วนธรรมทาน ให้หลักธรรมจริง ๆ ต้องมีความรู้ก่อนถึงจะธรรมเทศนาได้  
ทีนี้เรื่องศีล 227 ข้อ ศึกษาให้จบในสัปดาห์แรกเลยจะยอดเยี่ยมมาก เพราะจะได้ ระมัดระวังมิให้ศีลขาด รักษาศีลเป็นแหล่งบุญสำคัญของพระ รักษาได้ 227 ข้อ ก็สุดยอด บุญก็ 45 เท่าของชาวบ้านถือศีล 5 ถ้าพระระวังศีลได้ไม่ขาด 1 วัน ก็เท่าชาวบ้านจำศีล 45 วัน นั่นแหละปริมาณบุญที่ควรจะได้จากศีล..... ถ้าบวชใหม่ไม่รู้จักศีลสักข้อล่ะ ศีลจะรักษาได้ไหม ก็ไม่ได้อะไรเลยเพราะไม่รู้จัก อย่าคิดว่าบวชแล้วจะได้บุญจากศีลเลย ต้องรักษาและปฏิบัติ ก่อนถึงจะได้บุญ
...........ภาวนามัย การฝึกอบรมได้บุญราคาแพง เพราะภาวนามัย เกิดบุญคือสติปัญญา ยิ่งเกิดฌานสมาบัติยิ่งบุญมาก ถ้าเกิดสติปัญญาธรรมดา เช่นวิชาความรู้เรื่องธรรมมะ เรื่องศาสนา การศึกษาของพระ ก็ยังมีค่า
มีบุญมาก กว่าทานมัย สีลมัย
...........มีแค่นี้แหละช่องทางทำบุญของพระ ปฏิบัติดี ๆ ได้บุญมากมาย มากพอจะชดใช้ ปัจจัยสี่ที่ชาวบ้านนำมาถวาย รับรองไม่ติดหนี้แน่นอน แต่ถ้าบวชแล้วไม่รู้สึกตัว มัวนึก เอาเองว่าเป็นพระมีบุญมาก แบบนี้ยุ่งแน่ เพราะไม่เห็นช่องจะได้บุญจากไหน ผมเขียน เรื่องนี้เพราะลูกหลานกำลังจะบวช ได้รับ
การ์ดแล้ว ออกพรรษาจะบวช 15 วัน ก็เลย เขียนส่งไปให้อ่าน วันนี้คงได้อ่านแล้ว เพราะโพสบอกที่
เฟซบุ้คแล้ว หวังว่าคงจะทำแบบ คนสมัยก่อนทำกัน คือไปหาเจ้าอาวาส ขอบวชนาคสัก 7 วัน ท่องบททำวัตรสวดมนต์ ท่องบทขานนาค ท่องศีล 227 ข้อ ท่องบทให่ศีล บทให้พร 7 วันน่าจะจบ จะบวชก็คง 
ไม่ ยุ่งยากอะไร ทำได้สบาย ๆ
...........มีเรื่องที่คนบวชพระไม่ควรทำไหม อ๋อมีมากครับ ท่านถึงให้ถือศีล 227 ข้อ แต่ละข้อก็คือสิ่งที่พระไม่ควรทำอยากรู้เรื่องอะไรบ้าง เปิดศีลพระดู แต่ในหัวข้อนี้ขอพูดถึงเรื่องที่เห็นพระชอบทำกัน แต่มันผิดวินัยพระครับ เช่นชอบพยากรณ์ คงอยากบรรยายธรรมมั้ง เห็นบอกว่าต้องละโลกธรรม ละได้แล้วก็ไม่ต้องเกิดอีกเข้านิพพานเลย... เห็นสาวิกาสาธุสลอนเลยแหละ เห็นแล้วขำไม่ออก หลวงพ่อคงไม่รู้ว่าโลกธรรม แปดประการ ไม่ใช่เรื่องที่ต้องละเลิกเพื่อบรรลุอรหันต์ กามตัณหา ภวตัณหาและวิภวตัณหา ต่างหากที่ต้องตัดให้ขาดแล้วจะบรรลุอริยสัจสี่ได้ วิธีการต้องมาทางอริยมรรคแปดครับ... วันหนึ่งก็เห็นสอนปัจจยาการ ให้ตัดอวิชชาเสีย จะได้ไม่ต้อง มีชาติ และจะหมดทุกข์ได้ แล้วก็สอนให้โยมตัดอวิชชาซะ หลวงพ่อขอรับ..... คนฉลาดระดับเจ้าชายสิทธัตถะ ใช้เวลา 6 ปี เชียวนะถึงตัดอวิชชาได้ โยมคงไม่มีปัญญาทำได้ง่าย ๆ หรอก อ้อ....การสอนเรื่องทำบุญแล้วให้รอรับผลบุญในชาติหน้า ก็เหมือนกัน น่าจะเลิกแล้วนะครับ เพราะมันช้าไป การทำบุญควรรับ ผลบุญชาตินี้แหละ  ยกไปย่อหน้าถัดไปแล้วกัน
...........ทำบุญได้บุญครับไม่มีใครเถียง แต่ทำบุญจะไปรับผลชาติหน้า ชาติไหนล่ะครับ ผลบุญที่ว่า มันเป็นตัวแบบไหน...ตอบไม่ได้หรอก อย่าไปถามเชียวเพราะไม่เคยคิด ทานมัย บุญคือความโลภเบาบางลง สีลมัย บุญคือกายวาจาสงบเรียบร้อย ภาวนามัยบุญคือ ความรอบรู้ ฉลาด มีสติปัญญา  ถามหน่อยบุญสามชนิดนี้ มันเกิดทันทีที่ทำใช่ไหม ทานเสร็จโลภก็ลดลง  ปฏิบัติศีล กายวาจาก็เรียบร้อยงดงามดี ภาวนา อบรมเสร็จก็ฉลาดรอบรู้  ให้ไปรอบรับผลชาติหน้าก็โกหกสิ  มันต้องรับทันที่ที่ทำนี่แหละ เหมือนฟังเทศน์นี่คือ ภาวนามัยก็คือการอบรมครับ ผลคือได้เรียนรู้ ฉลาด เกิดทันทีเมื่อได้ฟัง แต่ไม่เกิดเพราะ
ไม่ตั้งใจฟัง ไม่เกิดก็สูญเปล่าไม่ได้บุญ อย่าว่าจะไปรอรับผลชาติหน้าเลย หรือจะเอาให้ชัด ส่งลูกหลานไปเรียนก็ภาวนามัยนั่นแหละ หกปีน่าจะจบ ม.6 นะ รับผลทันทีที่เรียนจบ ถ้าลูกบอกให้ไปรอรับผลชาติหน้าเอาไหม มะเหงกแจกแน่ยอมไม่ได้ ขอหยุดไว้แค่นี้ก่อนนะครับ จะไปวัดร่วมงานบวชนาคนั่นแหละ






วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ออกพรรษาหน้ากฐิน



                                               
       


.........พรรษา วัสสา หมายถึงหน้าฝน ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ดีใจจะได้ดูแล นาสวน ให้เจริญงอกงาม เพื่อผลผลิตที่สมบูรณ์ดี แต่พระภิกษุอาจไม่ชอบหน้าฝน เพราะต้องหยุด เดินทางและอยู่ค้างที่วัดสามเดือน เริ่มหน้าฝนกับเริ่มพรรษาไม่ตรงกัน หน้าฝนเริ่มตาม ธรรมชาติ บางปีมาไวบางปีก็ล่า แต่พรรษาชัดเจน เพ็ญเดือนแปดเตรียมตัว แรม 1 คำ อธิษฐานอยู่จำพรรษากัน โน่นแหละแรม 1 ค่ำเดือนสิบเอ็ดออกพรรษาเรียบร้อย แล้ว ออกพรรษาต้องอธิษฐานไหม ตอนเข้าพรรษาอธิษฐานแล้ว ชัดเจน ดีแล้ว ดังคำบาลีว่า อิมัส๎มิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ ความว่า กระผมจะเข้าพรรษาสามเดือนที่ อาวาสนี้ การนับเวลา จะนับแต่วันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปด ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือนสิบเอ็ด เป็นสามเดือนเต็มตามคำอธิษฐานเข้าพรรษา ตอนออกพรรษาไม่ต้องอธิษฐานยาก ครบ สามเดือนก็ออกเองเพราะครบเวลา พระจะทำพิธีปวารณาแทน
.........สมัยพุทธกาลพระภิกษุจะจาริกไปตามป่าเขาและชนบทเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ถ้า มีชาวบ้านมาทำบุญก็ขอบคุณให้ศีลให้พร อยากฟังเทศน์ก็จัดให้ตามสมควร หน้าฝนการ เดินทางลำบาก กระทบถึงชาวบ้านด้วยเพราะเป็นฤดูทำไร่ทำนา ยินข่าวพระมาพักแรมอยู่ ใกล้หมู่บ้านก็อยากไปทำบุญ ทิ้งงานทำไร่ทำนาไปหลายวัน เลยมีผู้กราบทูลพระพุทธเจ้า ให้ทรงทราบจนเกิดสำนวนว่า"พระเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาเสียหาย" ความจริงพระก็ลูกชาวไร่ ชาวนา ทำไมจะกล้าไปเหยียบย่ำข้าวในนาสวนชาวบ้าน เป็นเพียงสำนวนเปรียบเปรยเท่านั้น พระพุทธเจ้าเห็นชอบจึงให้หยุดจาริกในหน้าฝน หาที่พักเป็นที่เป็นทางตลอดสามเดือน ก็ ที่เรียกการอยู่จำพรรษานั่นแหละ..อ้อ ปี 2561 แปดสองหน เข้าพรรษาจะเลื่อนมาแปด
ที่ 2 ส่วนปีปกติ แปดมีหนเดียว ถึงวัน แรม 1 คำเดือนแปดก็อธิษฐานพรรษากัน แต่ปีแปด 2 หน จะอธิษฐานพรรษากันแรม 1 ค่ำเดือนแปดที่ 2
.........ในพรรษาทำอะไรกัน พระหยุดจาริกก็ศึกษาปริยัติ ปฏิบัติ ตามสมควร หลายวัด สอนนักธรรม บาลี มัธยม ก็เป็นโอกาสดีศึกษาเล่าเรียนไป เคยมีคนถามว่าเป็นการเอาเปรียบ ชาวบ้านไหม ก็เลยถามกลับไปว่าพระเณรเป็นลูกชาวบ้านหรือเปล่า ให้การศึกษาพระเณร ดีแล้ว ส่วนมากสึกออกไปก็ไปเป็นชาวบ้านนั่นแหละ ดีซะอีกได้รับการศึกษา ออกไปไม่ ต้องไปเริ่มต้นใหม่ เสียเวลาเสียโอกาส สมัยก่อนนิยมให้บุตรหลานบวชเรียนก่อนค่อยลา สิกขาบทออกมาแต่งการแต่งงานได้ ออกพรรษาล่ะมีกิจกรรมอะไรน่าสนใจบ้าง มีหลาย อย่างนะที่ชาวบ้านไม่ค่อยรู้ เช่นการปวารณา จีวรกาล กฐินกาล
..........ปวารณา เป็นกิจกรรมของพระภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบสามเดือนแล้ว ออกพรรษา ก็จะแยกย้ายกันไป ก่อนแยกกันไปจะมีกิจกรรมปวารณากระทำต่อกัน ปกติก็เลือกเอาวัน ขึ้น 15 ค่ำเดือนสิบเอ็ดนั่นแหละเป็นวันอุโบสถด้วย ประชุมกันก็ทำปวารณากัน ดูคำอธิษฐาน ปวารณา พระกล่าวอะไรกัน วันอุโบสถ ปกติฟังสวดปาฏิโมกข์แต่ขึ้น 15 คำ เดือน 11 จะ ทำพิธีปวารณาแทน พระภิกษุที่ประชุมกันทำวัตรสวดมนต์เสร็จก็อธิษฐานปวารณา กันโดย กล่าวคำปวารณาต่อพระภิกษุอื่น ท่ามกลางคณะสงฆ์ ใจความว่า 
......."สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมันโต อะนุกัมปัง 
อุปาทายะ ปัสสันโต ปฏิกกะริสสามิ" แปลว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ หากท่านทั้งหลาย ได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัย ว่า...กระผมได้ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ขอท่านทั้งหลายโปรด อนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียใหม่ให้ดี"
........หลังปวารณา นับจากวันแรม 1 คำ เดือน 11 ถึง ขึ้น 15 คำเดือน 12 รวม 30 วัน หรือ 1 เดือน เป็น"จีวรกาล" คือช่วงเวลาที่พระภิกษุได้รับอนุญาตให้แสวงหาผ้ามาทำไตร จีวรผัดเปลี่ยนได้ หมายความว่าผัดเปลี่ยนผ้าใหม่กันปีละหนเดียว สมัยก่อนการแสวงหาผ้า เป็นเรื่องยาก จนมีการทำกฐินเกิดขึ้น อารามใดมีการทำกฐิน จะได้รับอานิสงส์ขยายเขต จีวรกาลออกไปจนดึงกลางเดือน 4 ชาวบ้านเลยนิยมทำบุญทอดถวายผ้าในช่วงที่พระกำลัง หาผ้ามาทำไตรจีวร จนเกิดประเพณีทอดกฐินและช่วงเวลาจากออกพรรษา ไปจนถึงกลาง เดือน 12 รวม 30 วัน เรียกเขตกฐินบ้าง กฐินกาลบ้าง ปีนี้ 2561 พรรษาครบ 3 เดือนวัน ขึ้น 14 ค่ำเดือนแปด ตรงวันที่ 23 ตุลาคม 2561 วันรุ่งขึ้น วันพระใหญ่ไม่มีสวดปาฏิโมกข์ แต่ทำพิธีปวารณาแทนคือ 24 ตุลาคม 2561 จีวรกาล จะไปสิ้นสุดกลางเดือนสิบสองคือ ขึ้น15 คำเดือน 12 ตรงกันวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 รุ่งขึ้นก็เป็นวันนอกเขตจีวรกาล และหมดเขตกฐินกาลด้วย มีข้ออนุโลมขยายเขตจีวรกาล ออกไปได้ถึงกลางเดือน 4 ถ้า อาวาสใดมีกิจกรรม "กฐินสามัคคี"
.........กฐิน คือการตัดเย็บจีวรเพื่อผัดเปลี่ยน อนุญาตให้ทำปีละครั้ง หลังออกพรรษา 1 เดือน สมัยก่อนเป็นเรื่องใหญ่ ไม่มีไตรจีวรสำเร็จรูปขายในตลาด ต้องทำเอง พระในวัดก็ช่วยกัน ช่วยหาผ้า ช่วยตัดแบบ ช่วยเย็บให้เป็นไตรจีวรแบบมีขันธ์ ย้อมสีเรียบร้อย มีเวลาเดือนเดียว วัดต้องมีแบบ(กฐิน)สำหรับตัดผ้าเป็นชิ้น ๆ เมื่อนำมาเย็บเสร็จก็จะเป็นจีวร สบง ตามแบบ ถูกต้องตามพระวินัยอนุญาต ชาวบ้านนิยมทำบุญถวายผ้าในช่วงนี้ เพื่อให้พระหาผ้ามาทำ ไตรจีวรง่ายขึ้น ได้ผ้ามาก็เอาไม้แบบ(กฐิน)มาทาบตัดเป็นชิ้น ๆ ก่อนเย็บ นานเข้าก็เรียก งานตัดเย็บผ้าสามัคคี ก็คืองานใช้กฐิน(แบบ)ตัดผ้าสามัคคีนั่นแหละ เดี๋ยวนี้เรียกสั้น ๆว่ากฐิน สามัคคี ตรงสามัคคีนี่แหละที่มีพุทธานุญาตขยายจีวรกาลออกไปถึงกลางเดือนสี่ 
.......ตำนานกฐินที่เล่าเรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ ประทับอยู่วัดเชตวัน กรุงสาวัตถี เดินทางถึงเมืองสาเกต ตรงวันเข้าพรรษาพอดี เหลือ ทางอีก 6 โยชน์ (400 เส้น เป็น 1 ยชน์ = 400 x 20 วา x 2 เมตร ) เทียบมาตราวัด 1 ว่า เท่ากับ 4 ศอก หรือ 2 เมตร ดังนั้น 400 เส้นจึงเท่ากับคูณด้วย 20 วา และคูณ ด้วย 2 เมตร ได้ความยาว 1600 เมตร ดังนั้น 1 โยชน์ก็ประมาณ 1.6 กิโลเมตร 6 โยชน์ ก็ เป็นระยะทาง 9.6 กิโลเมตร เกือบถึงวัดพระเชตวันแล้ว แต่เดินทางต่อไปไม่ได้ จึงอยู่จำ พรรษาที่เมืองสาเกต ออกพรรษา ฝนยังไม่ขาด เดินทางต่อถึงพระเชตวันในสภาพมอมแมม พอดีเป็นจีวรกาล พระภิกษุ 30 รูป ต้องหาผ้ามาผัดเปลี่ยนไตรจีวร 30 ชุด อยู่ต่างถิ่นด้วย ไม่รู้จักญาติโยม การหาผ้าบังสุกุลคงลำบากไม่น้อย เพราะพื้นที่ที่พระพุทธเจ้าอยู่จะมี พระภิกษุจำนวนมาก ต่างก็หาผ้าผัดเปลี่ยนเหมือนกัน พระพุทธเจ้าทราบปัญหาที่เกิดจึง อนุญาตให้ช่วยกันตัดเย็บไตรจีวร เสร็จ 1 ผืน มอบให้พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งผัดเปลี่ยนได้ งานนี้ต้องใช้ไม้แบบ(กฐิน) ช่วยเป็นอย่างมาก ถือเป็นกิจกรรมสามัคคีช่วยกัน มีผลทำให้ได้รับอานิสงส์ 5 อย่างและขยายจีวรกาลออกไป 3 เดือน
........อานิสงส์ช่วยกันกางแบบกฐินตัดเย็บจีวรแล้วได้อานิสงส์ 5 ข้อได้แก่ เที่ยวไปไม่ ต้องบอกลา อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ รับนิมนต์ฉันคณะโภชนาได้ เก็บอดิรกจีวรได้เกิน 10 วัน และลาภสักการะที่โยมถวายไม่ต้องแบ่งภิกษุอาคันตุกะ และที่สำคัญมากคือเวลาของ จีวรกาลขยายจาก 1 เดือนออกไปอีก 3 เดือนจนถึงกลางเดือน 4 ชาวบ้านก็ทราบผลดีของ การทำกฐินตัดเย็บไตรจีวร เลยนิยมนำผ้ามาถวาย หน้ากฐินกาล 1 เดือนนับแต่ออกพรรษา จนกลายเป็นประเพณีออกพรรษาหน้ากฐิน มีเรื่องควรทราบเกี่ยวกับกฐินในสมัยปัจจุบัน บ้างเล็กน้อย คือ.....
.........1. กฐินเป็นบุญที่ต้องทำในเขตจีวรกาล 1 เดือนนับแต่ออกพรรษา
.........2. กฐินเป็นกิจกรรมสามัคคี ภิกษุต้องช่วยกันตัดเย็บจีวรให้เสร็จใน 1 วัน ถวาย พระรูปหนึ่งนำไปผัดเปลี่ยน
.........3. กิจกรรมกฐิน พระภิกษุเป็นผู้ทำ ชาวบ้านแค่นำผ้าไปถวาย ผ้าจะเป็นกฐิน หรือไม่เป็นกฐิน ขึ้นอยู่กับการกระทำของพระภิกษุ
.........4. ภิกษุมีภาระต้องตัดเย็บจีวรให้เสร็จภายในระยะเวลากำหนดตามเขตจีวรกาล ถือเป็นเรื่องปกติ การใช้ไม้แบบ(กฐิน) ก็ไม่เรียกทำบุญกฐิน จะเรียกบุญกฐินก็เมื่อต้องการ ให้ได้รับอานิสงส์กฐิน แบบนี้ต้องทำให้ถูกต้องตามระเบียบวินัย กฐินจะเน้นความสามัคคี
..........พระภิกษุ 5 รูป เหมาะทำสังฆกรรมกฐินสามัคคี ได้ โดย 4 รูปเป็นคณะสงฆ์ อีก 1 รูปถือครองผ้าที่ตัดเย็บเสร็จในเวลา 1 วัน
..........ปฐมเหตุอนุญาตกฐินสามัคคี พระชาวเมืองปาฐา 30 รูป จำพรรษาที่เดียวกัน แต่การทำกฐินที่อนุญาต ทำกันที่วัดเชตวัน จะถือเป็นเกณฑ์คงไม่ได้ เพราะทำนอกวัด ที่อยู่จำพรรษา ตอนจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกต กฐินที่อนุญาตทำที่เชตวันกรุงสาวัตถีย์ ปัจจุบันมีเรื่องราว มากมายเกี่ยวกับการทำบุญกฐิน จนลืมไปว่าคนทำกฐินคือพระภิกษุ ไม่ใช่ชาวบ้าน การหาผ้าก็ลืมต้องรอให้ชาวบ้านนำกองกฐินมาถวายก่อน หลายวัดไม่มีคนนำกฐินมาถวาย เลยไม่ได้ทำกฐิน หมดโอกาสได้อานิสงส์กฐิน ความจริงชาวบ้านนำกองกฐินมาถวาย กฐินก็ยังไม่เกิด อานิสงส์กฐินก็ยังไม่ได้ จนกว่าคณะสงฆ์ อนุญาตให้มีการตัดเย็บจีวร เสร็จถวายพระรูปหนึ่งถือครองและอนุโมทนา แจ้งคณะสงฆ์ร่วมอนุโมทนา เป็นอันจบ การทำกฐินของคณะสงฆ์ จึงจะได้อานิสงส์ทั้ง 5 ข้อ ขยายจีวรกาลให้อีก 3 เดือน
.........พระภิกษุหาผ้ามาทำกฐินเองได้ไหม เพราะไม่มีคนนำกฐินมาถวาย เปิดตำราพระ วินัยดู ไม่เห็นมีตรงไหนบอกว่า ชาวบ้านทำกฐิน พระภิกษุต่างหากทำกฐิน ไม่มีคนนำ กองกฐินมาทอด นั่งเฉยอยู่ทำไมล่ะถ้าอยากได้อานิสงส์กฐิน หาผ้ามาตัดเย็บไตรจีวร สมัยนี้ง่ายจะตาย ขอเปิดตู้เก็บของเจ้าอาวาสดูสิ ขอผ้าสองสามชิ้นนะหลวงพ่อ เลือกเอา ที่สวย ๆ แพง ๆนั่นแหละ เอามา เลาะตะเข็บออก ตรงชายผ้าซักคืบ เย็บใหม่ เรียกว่าผ้า ผืนนี้ตัดเย็บแล้ว สีใช้ได้ไม่ต้องย้อมใหม่ แค่ซัก ตากแห้ง รีดหน่อยจะได้เรียบ ๆ ใช้ได้ แล้ว เอาไปถวายเจ้าอาวาสนั่นแหละ ให้ท่านอธิษฐานเป็นผ้ากฐินและถือครองแทนผ้าเก่า แบบนี้ใช้ได้ไหม แน่นอนใช้ได้ เพราะการทำไตรจีวรเป็นภาระหน้าที่ของพระภิกษุ
.........พระภิกษุกี่รูปรับกฐินได้ รับจากชาวบ้าน รูปเดียวก็รับได้ เห็นอ้างว่าเขาถวายสงฆ์ 5 รูปขึ้นไปถึงรับได้ คิดมากไปเองรับจากชาวบ้าน จะใช้พระกี่รูปก็เป็นแค่การรับไทยทาน ถึงคำกล่าวถวายจะออกชื่อ 
กฐินัง อตถริตุง ก็ยังไม่เป็นกฐิน จนกว่าพระจะเอาไปตัดเย็บ และอธิษฐานเป็นผ้าครองและอธิษฐาน
กฐินโน่นแหละ ถึงมีผ้ากฐินเกิดขึ้น เสร็จก็รายงาน ต่อคณะสงฆ์ สงฆ์อนุโมทนาก็จบกฐิน ยังอ้างอีกคำถวายออกคำว่าสงฆ์ต้อง 5 รูปสิ แสดง ว่าไม่เคยเห็นเขาถวายสังฆทาน ทั้งวัดมีพระรูปเดียว ไม่เห็นเถียงกันว่าไม่เป็นสังฆทาน ดีกว่าถวายผ้านะ เพราะภัตตาหาร ถวายเสร็จเป็นสังฆทานได้เลย แต่ผ้ากฐิน ถวายยังไง ก็ไม่เป็นกฐิน พระภิกษุต้องไปทำต่อจนเสร็จถึงจะเป็นกฐิน
.........จีวรกาล 1 เดือนนับแต่ออกพรรษา ไปจบวันเพ็ญเดือนสิบสองโน่นแหละ ถ้ามี กิจกรรมกฐินที่วัดก็ขยายออกไปถึงกลางเดือนสี่ จีวรกาลสำคัญอย่างไร เป็นช่วงเวลาหา ผ้ามาผัดเปลี่ยน อนุญาตให้หาในช่วงเวลานี้ สมัยก่อนผ้าหายากจึงสำคัญมาก ต้องรีบหามา ผัดเปลี่ยนให้เรียบร้อย ไม่ทันก็ใช้ผ้าเก่าไปอีกปีหนึ่ง สมัยก่อนจึงเป็นเรื่องใหญ่ สมัยนี้ไม่ สำคัญแล้วเพราะไตรจีวรหาง่าย ที่ตลาดมีจำหน่ายให้ทุกชนิดหลายราคา จนพระลืมจีวร กาลไปเลย ใช้เวลาวันเดียวก็ผัดเปลี่ยนได้เรียบร้อย
.........คุยยาวไปมากแล้ว ออกพรรษาเรื่องของพระภิกษุ แรม 1 ค่ำเดือนสิบสองนอก เขตพรรษาแล้ว เป็นช่วงจีวรกาล เวลาสำหรับหาผ้ามาผัดเปลียนซึ่งอนุญาตให้หาได้ปีละ ครั้ง พระไม่ค่อยชำนาญการตัดเย็บ ต้องมีแบบ(กฐิน)ช่วยตัดผ้าเป็นชิ้น ๆ นำมาเย็บเป็นไตร จีวรถูกต้องตามแบบที่วินัยอนุญาต ทุกวัดต้องมีแบบ(กฐิน)ไว้ให้พระนำไปใช้ตัดเย็บจีวร ปัจจุบันไม่ต้องแล้ว จีวรสำเร็จรูปมีมากมายหลายราคาให้เลือก บุญกฐินที่ชาวบ้านทำก็เป็น การทำบุญช่วงเทศกาลกฐิน แต่กฐินยังไม่เกิด เพราะชาวบ้านทำกฐินไม่ได้ คนทำกฐินคือ พระภิกษุ ถ้าพระภิกษุสามสี่รูปตัดเย็บผ้าใช้กัน ก็ไม่เรียกทำกฐินเป็นเพียงกิจกรรมช่วยเหลือกันและกันตามปกติ แต่เพราะกฐินตามพระวินัยเป็นกิจของสงฆ์ ต้องมี 4 รูปเป็นคณะสงฆ์จตุวรรค อีกรูปหนึ่งเป็นผู้ครองผ้า เลยต้องมีพระ 5 รูปถึงทำสังฆกรรมกฐินได้

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ทำบุญเพื่อชาตินี้เถอะน่า


                                              ป้าพุด  ขุนทอง  ป้าทุม สามพี่น้อง มาช่วยงาน
                                                         ในงานศพลุงบัวทอง ศรีประจง

                                                                       ---------------

.............ทำบุญเพื่อชาตินี้ดีกว่ามั้ง .........นับแต่รู่จักบุญว่าเกิดจาก ทานมัย สีลมัย และภาวนามัย ทำให้เข้าใจได้ว่า เมื่อก่อนเราเองก็เคยเชื่อว่าทำบุญเพื่อหวังผลในชาติหน้า และเป็นความหวังที่ไม่เหมาะไม่ควร ก็ใครจะไปรู้ ล่ะครับว่า......ชาติหน้าจะเกิดเป็นอะไร จะมีโอกาสถามหาบุญที่ทำไว้ไหม บุญที่ว่านั้นก็คือ ผลจากการทำบุญ เชื่อไหมว่า ผลการทำบุญต่าง ๆเหมาะสำหรับให้ผลในปัจจุบัน มากกว่า ชาติหน้า  มาพิจารณาดูกันชัด ๆ
............ทานมัย ผลบุญคือชำระโลภให้เบาบางจากใจ ชำระชาตินี้ดีกว่า รอให้ไปถึงชาติหน้า ไม่น่าจะถูกต้อง เหมือนเราทำบุญตักบาตร ผลก็คือทำให้ความโลภเบาบางจากใจเรา ทำเสร็จก็รับผลทันทีเลย ไม่ต้องรอชาติหน้าหรอก ทำบุญบ้าน ทำบุญกฐิน ขุดบ่อ ก่อศาลา ทำสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ ทานเหล่านั้นให้ผลปัจจุบันนี่แหละ โลภตัวใหญ่ ถูกขัดล้างออกไปเรื่อย จิตใจก็ผ่องใส กลายเป็น จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติปาฏิกังขา นั่นไง จิตที่ไม่เศร้าหมอง ย่อมไปสู่สุคติ .......อะไรคือสุคติ ท่านบอกมี 4 ภพภูมินะ มนุสส สวรรค์ รูปพรหม และอรูปพรหม นี่แหละสุคติ..... อ้าวงั้นเราอยู่มนุสโลกก็เป็นสุคติแล้วสิ แน่นอน อยู่สุคติภพจริง แต่จิตใจจะสุคติด้วยหรือไม่ ต้องถาม..... เป็น จิตเต อสังกิลิฏเฐ ไหม ถ้าใจคุณ อสังกิลิฏเฐ มันก็เป็นสุคติได้ แต่ตรงข้าม ถ้าใจคุณ สังกิลิฏเฐ เพราะถูกกิเลส ครอบงำ มนุสภพของคุณก็ไม่เป็นสุคติ....... เอ๊ะยังไง มนุสสภพ เป็นสุคติบ้าง ไม่เป็นบ้าง แล้วจิต เศร้าหมอง ไม่เศร้าหมองนี่เกิดจากอะไร 
.......พุทธธรรมมีสอน อกุศลมูล และกุศลมูล ให้ศึกษาแล้วจะเข้าใจได้ว่า โลภะ โทสะ และโมหะ กิเสสามตัวนี้เป็น อกุศลมูล ทำให้จิตเศร้าหมอง ต้องพยายามชำระออกไป ให้เกิด อโลภะ อโทสะและ อโมหะ แทนบ้าง... สามตัวนี้เป็นกุศลมูล ทำให้จิตสะอาดเป็น อสังกิลิฏเฐ เมื่อทราบเช่นนี้ เราต้องระวัง อกุศลมูล
มิให้เกิดกับจิตของเรา พยายามให้ กุศลมูลเกิดบ่อย ๆ จิตเราจะได้เป็น "อสังกิลิฏเฐ" มากขึ้น ทางธรรมท่านแสดงไว้ชัดเจนว่า ขำระ โลภด้วย ทานมัย ชำระโทสะด้วยสีลมัย และชำระโมหะด้วยภาวนามัย คือที่เรียกกันบ่อย ว่าทานมัย สีลมัยและภาวนามัยนั่นแหละ... กล่าวคือวิธีการทำบุญที่เรารู้จักกันนั่นเอง การทำบุญมีจุดประสงค์สำคัญคือ ได้บุญ บุญที่ได้คือ ตัวชำระโลภะให้เบาบางลง ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว รู้ให้ รู้จักแบ่งปัน อีกตัวคือตัวศีลสำหรับชำระโทสะให้เบาบางลง เป็นคนมีน้ำใจ มีเมตตากรุณา มั่นในศีลธรรมดีงาม ส่วนตัวภาวนาบุญคือความฉลาดรอบรู้ ยื่งมีมากยิ่งดี
......ทานมัย ทำทานแล้วผลทานคือโลภะเบาบางลง นั่นคือบุญที่ได้รับจากการทำทาน แล้วจะได้รับบุญเมื่อไรล่ะ ก็ได้รับทันที่ที่ทำทานนั่นเอง กล่าวคือรับผลทำทานได้ในสมัย ปัจจุบันนี่เอง มิใช่ชาติหน้า 
สีลมัยการปฏิบัติศีล..... ผลคือกายวาจาสงบเรียบร้อยเรียกว่าเป็น บุญที่ได้จากการปฏิบัติศีล ได้รับทันที
ที่ปฏิบัติศีล แล้วจะได้รับเมื่อไรล่ะ ก็ได้รับปัจจุบัน เช่นกันไม่ใช่กายวาจาไปสงบเอาชาติหน้า ภาวนามัย การฝึกอบรม กำจัดโมหะความโง่ เขลาแล้วความฉลาดคือปัญญาก็เกิดบุญคือความฉลาด ปัญญาที่ได้รับ รับในปัจจุบัน ด้วยเช่นกัน ดูการศึกษาเล่าเรียนเป็นตัวอย่าง การศึกษาเล่าเรียนเป็นการภาวนาอบรมอย่าง หนึ่ง เรียนจบสติปัญญาก็เกิด และเกิดในปัจจุบัน ไม่ใช่ไปเกิดความรู้สติปัญญาในชาติหน้า ........ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว... พอจะเข้าใจได้แล้วว่า เราทำบุญก็เพื่อชำระโลภะ โทสะและโมหะ ต้องชำระทันทีที่ทำบุญ คือชำระกันในชาตินี้แหละมิใช่รอไปชำระในชาติหน้า .....แบบไหน
.........อ้อทำทานเพื่อขัดเกลาโลภะ นี่สำคัญมาก ถ้าทำทานแล้วไม่ได้ขัดเกลาโลภะ ก็เป็น การทำทานไร้สาระ มีด้วยหรือทำทานแบบไร้สาระ มีสิ ทำทานที่ไม่สามารถทำให้โลภะเบา เบางลง เนื่องจากมีคนอยากให้ทำทานกันมากเลยมีคนหาเรื่องจูงใจว่าทำทานแล้วจะได้ผลดี อย่างนั้นอย่างนี้ เช่นทำทานแล้วเกิดชาติหน้าจะร่ำรวยเงินทอง ทำทานแล้วจะได้เกิดบน สวรรค์มีวิมารแก้ววิมารทองเป็นที่อยู่ มีบริวาร
รับใช้นับร้อยนับพัน ทำทานลงทุนไม่กี่บาท อยากได้อานิสงส์ยิ่งใหญ่ขนาดนั้น ละโลภค่าสิบบาท  ร้อยบาทเอง โลภตัวใหม่ใหญ่กว่าเดิมก่อนทำทานหลายร้อยเท่า  วิธีการทำทานที่ดีต้องทำด้วยความเข้าใจ พอใจ ละโลภได้จริง ๆ เหมือนเราให้สิ่งของเงิน ทองแก่ลูกหลาน ไม่เคยอยากได้อะไรตอบแทน การทำทานควรจะเป็นเช่นนั้น บุญก็จะได้เต็ม ๆ 
.........เราถือศีลเพื่ออบรมพฤติกรรมทางกายวาจาให้เรียบร้อย ฝึกควบคุมพฤติกรรมการ ฆ่าสัตว์ ทำร้ายสัตว์ ทรมานสัตว์ ศีลข้อ 1 กำกับอยู่   ฝึกเคารพกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ของ ผู้อื่น ศีลข้อ 2 กำกับอยู่ ฝึกเคารพสิทธิการครอบครองบุตรภรรยาของผู้อื่น ฝึกการให้ความ เชื่อภือไว้วางใจในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ฝึกหลีกเลี่ยงการเสบสุราเมรัยอันอาจทำให้เกิด ความประมาท ผลการปฏิบัติศีลทุกข้อเป็นเรื่องดีงาม ผลก็เกิดทันทีที่ถือปฏิบัติ เกิดทันทีในชาตินี้มิใช่รอไปชาติหน้า ........การ.ภาวนาคือการฝึกอบรม สมถ วิปัสสนา ก็คือการภาวนาด้วยเช่นกัน การภาวนาทุก อย่างมุ่งขจัดโมหะความเขลา และทำให้เกิดความฉลาด รอบรู้คือปัญญา ก็คือบุญนั่นเอง ภาวนาธรรมดาทั่วไป ผลภาวนาคือความรู้ ปัญญา ความฉลาด เช่นกัน...ตัวอย่าง เราส่งลูกไปอบรม ประถม จบประถมควรได้รับผลคืออ่านออกเขียนได้ ก็คือความฉลาด ปัญญาได้จากอบรม นั่นเอง ส่งไปเรียนต่อมัธยม จบแล้วก็ได้รับผลคือความรู้ตามเกณฑ์ระดับชั้นนั้น ๆ ความ รู้ความสามารถที่ระบุคือบุญของการฝึกอบรม หรือภาวนามัยระดับมัธยมนั่นเอง แม้ระดับสูง ขึ้นไป การศึกษาเล่าเรียนก็คือ ภาวนามัย ผลก็คือความรู้ความสามารถตามเกณฑ์มาตรฐาน การศึกษาระดับนั้น ๆ นั่นแหละคือบุญ ผลบุญของการภาวนามัย เกิดได้ในชาตินี้ครับไม่ใช่ รอให้เกิดผลหรือรับปริญญาบัตรในชาติหน้า 
........เล่ามายาวพอสมควรแล้วก็เพื่ออยากจะชวนเชิญนักแสวงบุญทั้งหลาย ลองทบทวน ให้ดีสิครับ ท่านทำบุญยังหวังหวังผลเพื่อชาติหน้าอยู่หรือเปล่า เสียดายนะครับผลที่ควรจะ ได้รับในชาตินี้สำคัญมากนะครับ อย่าทิ้งอย่างขว้างรีบตามหาให้เจอแล้วนำมาใช้ให้เป็น ประโยชน์เถอะ ทำทานบุญก็คือละโลภ ละชาตินี้แหละ ปฏิบัติศีล บุญคือขัดเกลากายวาจา ให้สงบระงับเรียบร้อย นี่ก็ต้องใช้ชาตินี้แหละ ไม่ต้องไปเรียบร้อยในชาติหน้า เสียหายหมด ภาวนามัยบุญคือความฉลาด คือสติปัญญา ตัวอย่างภาวนาด้วยการไปเรียนหนังสือ บุญที่ ได้รับก็คือวิชาความรู้สติปัญญา ก็ต้องฉลาดรอบรู้ในชาตินี้แหละ ใครจะเรียนปริญญาเพื่อเอาไปใช้ ในชาติหน้า อย่างกระผมคนหนึ่งละ ไม่เอา ใช้ชาตินี้ดีกว่า