ข้อเขียนจากเวบไซท์ เดิมเป็นบทสนทนา
เปิดบุญ โอนบุญ
--------------
............ยายที่บ้านแกบ่นว่า ได้ยินชาวบ้านเขาใช้ถ้อยคำแปลก ๆ เปิดบุญ โอนบุญ เบิกบุญ มันคืออะไรคะคุณตา ได้ยินแล้วก็ขำ คนสมัยนี้ช่างพูดช่างสรรหาถ้อยคำมาพูดจากันให้มันมึนงงกันดีนัก จากคำว่าบุญ ที่ระบุ คงเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเพราะพวกเราชอบทำบุญกัน เลยถือโอกาสตามหาข้อมูลจากอินเตอร์เนตพบหลายเวบไซท์ ชักชวนให้เปิดบุญ อ่านดูก็พอเข้าใจเลยนำเล่าสู่กันฟัง ดังนี้
............. บุญคืออะไร จากหลักคำสอนพุทธศาสนา บุญมาจากการทำกิจกรรม 3 อย่างคือ ทานมัย
สีลมัย และภาวนามัย แม้จะมีการขยายความเป็น10 อย่าง ก็ประมวลลงใน 3 กลุ่มนี่เอง ทำทานก็ได้บุญ รักษาศีลก็ได้บุญอบรมก็ได้บุญ รวมเรียกง่ายๆว่าเป็นการทำความดีนั่นแหละ ความดีที่ทำไว้ถึงจะมอง
สีลมัย และภาวนามัย แม้จะมีการขยายความเป็น10 อย่าง ก็ประมวลลงใน 3 กลุ่มนี่เอง ทำทานก็ได้บุญ รักษาศีลก็ได้บุญอบรมก็ได้บุญ รวมเรียกง่ายๆว่าเป็นการทำความดีนั่นแหละ ความดีที่ทำไว้ถึงจะมอง
ไม่เห็นแต่มันจะสะสมมากขึ้น
ๆกลายเป็นพลังมหาศาลส่งผลดีแก่ผู้กระทำ ทั้งในอดีตปัจจุบันและอนาคต
และยังเชื่อกันว่าความดีเหล่านี้จะติดตามไปตลอดภพตลอดชาติที่ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ จนกว่าจะตัดกระแสวัฏฏะขาดคือบรรลุนิพพาน
เป็นอันจบด้วยความเชื่ออย่างนี้เองทำให้คนเรามีบุญอยู่ 3 สถานะ คือ บุญที่เคยทำไว้ในอดีต บุญที่ทำอยู่ในปัจจุบันและบุญที่จะทำในอนาคต
ส่วนจะมีมากมีน้อยแค่ไหนแล้วแต่การกระทำครับ
....... บุญในอดีต
มีด้วยกันทุกคน เพราะสิ่งที่ส่งผลให้มาเกิดเป็นคนมาจากบุญครับ ไม่ใช่บาป
แสดงว่าเรามีบุญที่เคยทำไว้ในอดีตกันทุกคนในภพปัจจุบัน เราก็เคยทำความดีสะสมมาตั้งแต่ยังเด็ก
เคยแบ่งปันสิ่งของ เคยทำทานกับพระ
เคยรักษาศีล เคยศึกษาอบรม มากบ้างน้อยบ้าง
ปัจจุบันเราก็มีบุญที่สะสมไว้เหมือนกัน ส่วนในอนาคตเราก็คงต้องทำความดีต่อไป แต่เป็นบุญที่ยังไม่เกิด
เอามาใช้ไม่ได้ สรุปได้เลยว่าเราทุกคนมีบุญมีความดี
............การใช้บุญ มี 2
แบบครับคือ แบบปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติและแบบที่เราเจาะจงใช้
แบบธรรมชาติเราจะทำบุญสะสมไปเรื่อย ๆ
ปล่อยให้บุญมันผลิดอกออกผลเอง
ทำทานมาก ๆ กลายเป็น
คนใจกว้างไม่ตระหนี่ถี่เหนียว รักษาศีลสม่ำเสมอกลายเป็นผู้ทรงศีล กายวาจาสงบเยือกเย็น ฝึกอบรมมาก ๆกลายเป็นคนฉลาดไม่โง่งมงาย การทำบุญหรือทำความดีแบบนี้ ผู้ทำจะได้รับผลเหมือน ๆ กัน จะมากจะน้อยแล้วแต่พลังแห่งบุญที่ทำไว้ แต่บางครั้งก็ทำให้สงสัยเหมือนกันเมื่อพบว่าบางคน เราเห็นทำบุญไม่มากแต่เขาได้รับแต่สิ่งดีงาม ได้รับมากกว่าเราที่ทำบุญมากกว่าอีก ความจริงเราเห็นบุญที่เขาทำน้อย แต่บุญในอดีตที่เราไม่เห็นเขาอาจมีบุญมากมายที่สะสมไว้ ดังนั้นเรื่องของบุญจึงคาดเดาได้ยาก
คนใจกว้างไม่ตระหนี่ถี่เหนียว รักษาศีลสม่ำเสมอกลายเป็นผู้ทรงศีล กายวาจาสงบเยือกเย็น ฝึกอบรมมาก ๆกลายเป็นคนฉลาดไม่โง่งมงาย การทำบุญหรือทำความดีแบบนี้ ผู้ทำจะได้รับผลเหมือน ๆ กัน จะมากจะน้อยแล้วแต่พลังแห่งบุญที่ทำไว้ แต่บางครั้งก็ทำให้สงสัยเหมือนกันเมื่อพบว่าบางคน เราเห็นทำบุญไม่มากแต่เขาได้รับแต่สิ่งดีงาม ได้รับมากกว่าเราที่ทำบุญมากกว่าอีก ความจริงเราเห็นบุญที่เขาทำน้อย แต่บุญในอดีตที่เราไม่เห็นเขาอาจมีบุญมากมายที่สะสมไว้ ดังนั้นเรื่องของบุญจึงคาดเดาได้ยาก
............การใช้บุญแบบเจาะจง
ได้แก่การอุทิศบุญ ซึ่งพอจะรู้จักกันบ้าง เวลาทำบุญตักบาตร
คงเคยกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล แต่พอได้บุญจากการรักษาศีล
ได้จากการอบรมภาวนา
อาจนึกไม่ออกว่าเคยอุทิศบุญส่วนนี้บ้างหรือเปล่าถ้าไม่เคยก็ไม่เป็นไรหลัง
จากได้บุญไปแล้ว บุญก็จะรวม ๆ กันอยู่ตอนสวดมนต์ไหว้พระหรือนั่งสมาธิ
อย่าลืมแผ่ส่วนบุญกุศลนี่ก็เป็นการใช้บุญแบบเจาะจงเหมือนกัน การแผ่กุศลก็เหมือนการ
อุทิศบุญเวลาทำทานนั่นแหละ บุญที่แปรสภาพเป็นพลังกายหรือสติปัญญา นี่ก็สามารถนำมาใช้
แบบเจาะจงใช้ ภาวนาคืออบรมโลกิยปัญญาจนจบปริญญา เอาไปสอบบรรจุเข้าทำงานได้ แบบนี้
เป็นต้น
แบบเจาะจงใช้ ภาวนาคืออบรมโลกิยปัญญาจนจบปริญญา เอาไปสอบบรรจุเข้าทำงานได้ แบบนี้
เป็นต้น
.............การเปิดบุญ
เป็นการอธิษฐานจิตใช้บุญที่มีในอดีตและบุญที่มีในปัจจุบัน คล้ายกับเปิดขุมทรัพย์มาใช้ประโยชน์นั่นเอง จะเปิดมาทำอะไรก็แล้วแต่ความต้องการ แต่ส่วนมากเปิดมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ ผู้อื่น
เช่น เปรต อสุรกาย ภูติ ยักษ์ มาร เทพ พรหมเจ้ากรรมนายเวร สัตว์ดิรัจฉาน
มนุษย์เมื่ออธิษฐานจิตเปิดบุญให้ ผู้ที่รับทราบก็สามารถรับส่วนบุญได้ด้วยการ
อนุโมทนา เราก็ได้บุญเพิ่มขึ้น การอธิษฐานเปิดขุมทรัพย์บุญของเรา ทำได้ตลอดเวลาที่ต้องการ
วันละกี่ครั้งก็ได้
จะเปิดให้บริการเป็นสัปดาห์เป็นเดือนเป็นปี ตามใจชอบ อธิษฐานเอาเองครับ
........ การโอนบุญ
เป็นสำนวนคำเทียบเคียงกับการโอนทรัพย์สินต่างๆ
ของที่เรามีหรือทำขึ้น สามารถโอนให้คนอื่นได้ฉันใด การโอนบุญก็ทำได้เช่นกัน
บุญที่นิยมโอนมักเป็นบุญที่ทำเสร็จใหม่ ๆ โอนให้ทันที โอนเป็นบุญหรือขอให้ปรับบุญเป็นอาหาร
สำหรับผู้รับ ก็อธิษฐานเอาเอง การโอนบุญ
เห็น
พูดกันว่านิยมให้ผู้รับที่อยู่ในภูมิไม่สูงนักเช่น
เปรตภูติ ผีเจ้ากรรมนายเวร
เท่าที่สังเกตดูวิธีการโอนบุญก็เป็นการอุทิศส่วนบุญ แบบหนึ่งนั่นเอง
........การเบิกบุญ สำนวนเหมือนบริการธนาคารจริง ๆ ลองอ่านดูวิธีเบิกบุญจากสวรรค์มาใช้
เขาแนะนำไว้ว่าผู้จะเบิกบุญควรอธิษฐานให้ชัดเจนจะเบิกบุญมาทำอะไร
ให้ใคร ตัวอย่าง
..........“ขออาราธนาบารมีคุณพระพุทธ คุณพระธรรม
คุณพระสงฆ์ได้บันดาลบุญของข้าพเจ้าที่เคยสร้างสมมาตั้งแต่อดีตชาติจนถึงชาติปัจจุบันโดยส่งกระแสบุญนี้ถึง
….(นายเวร ภูตผี ปีศาจ เปรต อสูรกาย ยักษ์
คนธรรม์ นาคากุมพัน ครุฑ มาร แบคทีเรีย ไวรัส เทวดา พรหม ที่เป็นญาติของข้าพเจ้า
(อาจ
กล่าวทั้งหมดหรือเลือกกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้)……..ประจำตัว
ของ…(ข้าพเจ้า)….หรือ…(พ่อแม่
พี่ น้อง ฯลฯ)จะระบุเป็นชื่อหรือไม่ก็ได้)……ขอให้ท่านช่วยให้……….(ระบุ)……………….”
.......... จากตัวอย่างคำอธิษฐานเบิกบุญ ที่ใช้กัน พอเข้าใจได้ว่า
เป็นการขออำนาจบารมีแห่งบุญที่ตนเองทำไว้ได้ส่งผลมอบให้แก่ ผู้รับที่ต้องการให้มอบบุญไปให้
และยังขอให้ผู้ได้รับบุญ ช่วยเหลือทำสิ่งที่อยากได้เช่นหายทุกข์ โศก หายโรคภัย
เป็นต้น
สรุปแล้ว การปิดบุญ
โอนบุญเบิกบุญ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญของชาวพุทธนอกจากจะทำบุญแล้วยังต้อง
การให้มีการแผ่ส่วนบุญไปให้ผู้อื่น ซึ่งเป็นวิธีที่ปฏิบัติกันอยู่แล้ว เพียงแต่การเปิดบุญ โอนบุญและเบิกบุญ ค่อนข้างจะเอาจริงเอาจังจนน่าเป็นห่วงเหมือนกัน
คือกลัวจะหลงบุญจนกลายเป็นกิเลสตัวใหม่เกิดมาแทน
อย่าลืมว่าเราทำบุญด้วยการทำทานเพื่อลด โลภะ
รักษาศีลเพื่อลดโทสะและภาวนามัยเพื่อลดโมหะ
เอาแค่พอดี ๆ ก็น่าจะพอแล้วแหละครับ
..........ปุจฉา...ทำบุญอุทิศให้พ่อแม่ที่ตายไป
ท่านจะได้รับไหมครับอาจารย์
............ ลูกหลานเขาทำบุญแจก ข้าว
หลังคุณพ่อเสียชีวิตครบ 100 วัน
ก็พากันทำบุญอุทิศ ล้มวัวไป 1 ตัว
หมู 2 ตัว ไก่ 10 ตัว ปลาหลายสิบกิโลกรัม ไก่และปลาซื้อจากตลาด
ที่ล้มเองก็คือวัวกับหมูให้ลูกน้องจัดการให้
ของทำบุญเป็นผ้าสบงสำหรับถวายพระ 9 รูป
ถังใส่เครื่องใช้สำหรับพระที่เรียกถังสังฆทาน 9 ชุดเครื่องบังสุกุลเป็นเครื่องสำหรับใช้ในบ้าน
มีที่นอน หมอน มุ้ง เสื้อผ้า ถ้วยโถ โอ ชาม และอื่น ๆ เชิญแขกทั้งหมู่บ้าน
เลี้ยงโต๊ะจีน 40 โต๊ะ เครื่องดื่มมีสุราทุกโต๊ะเห็นว่าหมดไปหลายหมื่น น่าจะถามหลวงพ่อนะ
เพราะผมเองก็ไม่ใช่พวกมีจตูปปาตญาณ จะได้รู้เห็นว่าเป็นอย่างไร มาถามแบบนี้ก็ต้องอาศัยตำราตอบให้
............ ประการแรก การทำบุญครั้งนี้
พวกเธอได้ทั้งบาปและบุญ บาปก็มากโขอยู่
ฆ่าวัว 1 ตัว หมู 2 ตัว ถึงให้คนอื่นฆ่า เจตนาก็ชัดแล้วว่าพวกเธอฆ่าเอาเนื้อมาใช้ในงานบุญ
อันนี้บาปเต็ม ๆ ส่วนที่ซื้อจากตลาด
บาปน้อยหน่อย เป็นเพียงการสนับสนุนคนอื่นให้ฆ่า แต่ก็ยังไม่ใช่บุญ โต๊ะจีน 40 โต๊ะ เหล้า 40 ขวดมีคนกินไม่เหลือซักขวด
บาปเท่ากับกินเหล้าเอง 40 ขวดนั่นแหละ
นอกจากนี้ก็อาจมีบาปเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการจัดงาน ก็รวม ๆ
ไว้ในส่วนที่ เป็นกองบาป
ก็คงมากโขอยู่
............ ประการที่ 2 บุญที่จะได้ ในงานครั้งนี้คงมาจาก การให้ทาน
ข้าวปลาอาหารให้แขกที่เชิญมา ถวายภัตตาหาร เครื่องไทยทานต่าง ๆ ถ้ารักษาศีล 5 ด้วยก็ได้มาอีก ฟังเทศน์รู้เรื่องฉลาดขึ้นก็ได้บุญมาอีก ตอนอุทิศส่วนบุญให้ผู้ตายก็ได้มาอีก ก็คงมีเท่านี้สำหรับการทำบุญแจกข้าวครั้งนี้
ชั่งน้ำหนักบุญกับบาป ชักน่าเป็นห่วงเหมือนกัน
กลัวบาปจะหนักมากกว่าบุญ
........... ประการที่ 3 การอุทิศส่วนบุญ ก็คงทำไปแล้ว
บาปอุทิศไม่ได้ไม่มีใครอยากได้ผ่านไป
อุทิศส่วนบุญเจาะจงให้ผู้ตาย
ที่มีคำถามก็ตรงนี้เองว่า ผู้ตายจะได้รับไหม ในตำราพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖
พระสุตตันตปิฎก ติโรกุฑฑเปตวัตถุ ข้อ 90
เล่าถึงการทำบุญของพระเจ้าพิมพิสาร ครั้งแรกทำแล้วไม่ได้อุทิศส่วนบุญ
เปรตที่เคยเป็นญาติทราบข่าวจึงรีบมารอรับส่วนบุญ
ครั้งแรกผิดหวังจึงส่งเสียงประท้วงอื้อึงยามค่ำคืน พระเจ้าพิมพิสารตกใจกลัว
ถามราชบัณฑิตก็ไม่มีใครอธิบายได้
จนเมื่อได้พบพระพุทธเจ้าจึงทราบเรื่องและได้ทำบุญอีกครั้ง
ทำบุญเสร็จก็อุทิศส่วนบุญให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
เปรตที่เป็นญาติเหล่านั้นก็อนุโมทนาได้รับส่วนบุญตามอัตตภาพ
พ้นจากสภาพที่เป็นเปรตทุกตน ถ้าญาติของเราที่ตายไป อยู่ในสถานะแบบเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร
ก็ตอบได้เลยว่า มีโอกาสได้รับส่วนบุญที่เราอุทิศให้ ถ้าผู้ตายทราบว่าบุตรหลานทุบุญอุทิศให้
และได้อนุโมทนารับเอาส่วนบุญ อันเป็นวิธีที่ทำให้เกิดบุญวิธีหนึ่งใน บุญกริยาวัตถุ
10
ทาน การให้
ศีล การรักษากายวาจาให้สะอาด
ภาวนา
การอบรมจิตใจด้วยสมถะและวิปัสสนา
เวยยาวัจจะ
การขวนขวายช่วยเหลือกิจการงานอันชอบธรรมของผู้อื่น
อปจายนะ กระประพฤติอ่อนน้อม
*****ปัตติทาน การให้ส่วนบุญที่ตนทำแล้วแก่ผู้อื่น****
ปัตตานุโมทนา
การอนุโมทนาคือชื่นชมยินดีในบุญที่ผู้อื่นกระทำแล้ว
ธัมมัสสวนะ การฟังธรรม
ธัมมเทศนา การแสดงธรรม และ
ทิฏฐุชุกัมม์
การทำความเห็นให้ตรง
..........การทำบุญอุทิศให้ญาติพี่น้องที่ทำกันอยู่
ทำกันตอนที่ตายไปแล้ว บุญที่อุทิศให้ ถึงบ้าง ไม่ถึงบ้าง แล้วแต่เหตุปัจจัยเห็นบางแห่ง
นิยมทำพิธีชักบุงสุกุล
หาข้าวของไปถวายพระให้ท่านชักบังสุกุลให้ บางทีไปทำที่เก็บกระดูก
ไปทำที่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ไปทำที่ท่าน้ำ(เอากระดูกมาลอยน้ำ)
ก็เป็นวิธีทำบุญ พอได้บุญก็อุทิศไปให้
แต่ที่แปลก ๆ คือมีการทำบังสุกุลเป็น เขาทำบุญบ้าน
พระฉันเสร็จก็เรียกเจ้าภาพคนที่จะชักบังสุกุลเป็นมานอนลงตรงหน้าพระ เอาผ้าขาวคลุมยังกะห่มผ้าศพ เอาห่อบังสุกุลมาวางข้าง
ๆ แล้วพระก็สวดชักอนิจจาให้
เห็นบอกว่าจะทำให้ได้บุญเอง ทำให้หายเคราะห์หายโศก หายเจ็บป่วย
.... ....การทำบังสุกุลเป็น
ขอแนะนำให้ทำแบบตัวเป็น ๆ ถึงแน่นอน 100 %
พ่อแม่ตัวเป็น ๆ นี่แหละ อยากให้ท่านได้รับเครื่องนุ่งห่มสวย
ๆ งาม ๆ ไปซื้อหามา แล้วไปกราบท่าน ยกวางใส่มือท่านบอกว่า
กระผม ดิฉัน ขอทำบังสุกุลเป็นให้คุณพ่อคุณแม่ด้วยเครื่องนุ่งห่มชุดนี้
พร้อมทั้งปัจจัย 1 พันบาท พอวางเสร็จ
ถึงผู้รับทันทีแบบเต็ม ๆ ไม่มีตกหล่น ไม่ต้องรอให้ท่านตายก่อนด้วยหลักเดียวกันนี้
จะชักบังสุกุลเป็นให้ญาติพี่น้องที่ยัง
ไม่ตาย ก็ทำได้เช่นเดียวกัน
รับรองผู้รับบังสุกุลที่เราทำให้ยินดีอย่างยิ่งขอรับ
----------------------
ขุนทอง ตรวจทาน 1/8/59
----------------------
ขุนทอง ตรวจทาน 1/8/59
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น