วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ตอนที่ 4 ทำมาหากิน ของคนบ้านนอก





                                              
ตอนที่ 4  ทำมาหากิน ของคนบ้านนอก
.........ผมเป็นคนบ้านนอกนานแล้ว ตั้งแต่เกิดโน่นแหละ(2487) เรียนมัธยมไปเรียนในเมือง ที่ตัวอำเภอแต่ก็กลับ ไปนอนบ้านนอกเหมือนเดิม ได้ไปอยู่ในเมืองกะเขาก็ปี 2501-2503 ไปเป็นนักเรียนกินนอน จบแล้วก็กลับไปอยู่ บ้านนอกต่อ จนปี 2513 ถึงได้ไปอาศัยอยู่ที่วัดในเทศบาลเมืองเลย เป็นคนในเมืองกะเขาบ้าง 27 ปีเต็ม ๆ เป็นคน บ้านนอก ใช้ชีวิตแบบชาวบ้าน ๆ เลยพอจะเล่าถึงวิถีชีวิตแบบชาวบ้าน ได้บ้าง ในตอนนี้ขอเล่าถึง การหากิน อ้อการ หากินนะครับ คงไม่ถึงระดับทำมาหากิน เช่น ขัวหอย ส่อนฮวก เป็นต้น ค่อนข้างเยอะ จำเรื่องไหนได้ก็จะเล่าให้ฟัง
ล่ากบเขียด
.......ภาษาชาวบ้านเรียกหากบหาเขียด สอนกันตั้งแต่เด็ก ๆ เช้า ๆ ปลายหน้าฝน เดินออกนอกบ้านจะเห็นเด็กหญิง หิ้วครุ หรือตะข้อง เดินตามหลังแม่ ออกไปทางทุ่งนา ตอนนั้นไม่ทราบครับว่าผู้ใหญ่ไปหากบหาเขียด ทำไมต้องพา เด็กไปเป็นเพื่อน กลัวผี ก็ไม่น่าจะใช่ มารู้ทีหลังว่านั่นคือเขากำลังสอนลูกสาวให้รู้วิธีทำมาหากิน เดินไปตามคันนา เขี้ยดโม้ กบ โดดลงน้ำ แอบอยู่ตามกอข้าว แม่ก็ย่องลงไปงม ได้ก็ส่งให้เก็บใส่ตะข้อง ผมไม่ค่อยมีเวลาอยู่บ้าน พ่อส่งไปเรียนต่อ จนตกงานนั่นแหละถึงได้ใช้ชีวิตแบบชาวบ้านนอกเต็มที่ การงมกบเขียดที่หลบอยู่ในน้ำตื้น ๆได้ วิชานี้จากพี่สาวชื่อ สีดา ศรีประจง ทุมมา ศรีประจง สองคนนี้เขาเก่ง พี่สีแต่งงานแล้วตอนผมตามพี่เขาไปดูน้ำใน นาข้าว สะพายตะข้องตามแกไป ครูหนึ่งแกย่องลงแปลงนา เลาะไปตามต้นข้าวแล้วเรียกเราไปเอากบใส่ตะข้อง เลยย่องตามพี่ไป น้ำใส ๆ มันมีใบไม้จมอยู่พื้น บางใบมันไม่แนบดิน คล้ายมีอะไรหนุนอยู่ แกก็เสี่ยงงมดู สองสาม ครั้งก็เจอกบจนได้ ได้กับสิบกว่าตัวก็เลิก วันหลังมาคนเดียวก็เลยลองดูบ้าง ได้กบสองสามตัว ดีใจแทบตาย ช่วงเกี่ยวข้าว น้ำในนาแห้ง กบจะหนีลงไปหนองบึงช่วงน้ำลด แต่จะมีบางส่วนไม่หนี ยังอยู่ท้องนานั่นแหละ แต่หา ที่หลบ มุดลงรูปูเก่าๆ แล้วเอาดินเปียกทำฝาผิดปากรูไว้ เราเรียกกบเข้า"ไง" ไงก็คือฝาปิดที่กบมันทำนั่นแหละ กบ มาก ๆ ไม่มีรูให้หลบ มันก็ฝังตัวลงไปในดินช่วงที่ยังเป็นโคลน แบบนี้ฝังไม่ลึก แถมยังมีเนินดินเล็ก ๆโผล่ให้สังเกต ได้ คล้ายเอาถ้วยดินเผาไปครอบกบไว้ เจอไงกบแสดงว่ามีกบอยู่ ถ้าเป็นรูปูก็ขุด หรือไม่ก็ตะขอลวดเกี่ยวดึงออกมา ช่วงน้ำเขื่อนอุบลรัตน์เขาปิดกั้นใหม่ ๆ ริมฝั่งจะมีกอสวะเต็มไปหมด หน้าแล้งน้ำลด กอสวะแห้งตาย เราไปหาปลาไหลที่มักมีรูอยู่ใต้กอสวะ วันหนึ่งไปเจอกบเข้า เลยลองรื้อกอสวะแห้งดู วันนั้นได้กบร่วมสามสิบตัว ข่าวใหญ่แพร่ ไปทั่วหมู่บ้าน มาวันหลังกอสวะแห้งถูกรื้อกระจุยกระจาย รอยขุดกบยังกะเขาจะทำไร่มัน



........เบ็ดกบ หน้าฝน กบใหม่ที่แปลงกายมาจากอีฮวกหรือลูกอ๊อด กำลังตัวโตกว่าเขียดโม้ มันจะแอบซ่อนตาม พุ่มไม้ ใบ้ไม้ คอยหากินมดแมลง ยิ่งไส้เดือนมันชอบมาก ช่วงนี้ใส้เดือนใต่หาที่หลบซ่อน ดินกำลังจะจมน้ำกบน้อย ชอบจ้องไส้เดือน ทำให้เรารู้กบชอบกินไส้เดือนด้วย เลยวางเบ็ดกบใช้เหยื่อไส้เดือน ผลก็คือมีกบมากน้อย ดูจาก ที่กินเบ็ดนั่นแหละ ลานดินโคลนทรงกลม ๆ ที่เราวางเบ็ด บางทีเห็นสองตัวยืนอยู่ แต่ติดเบ็ดตัวเดียวแหละ อีกตัว คงมาหากิน แต่เขากินก่อน พอเรามากู้เบ็ดมันก็โดดหลบหนีไป วางเบ็ดสัก 20 หลัง พอแล้ว ปลดไม่ไหว ได้มากก็ ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร ขายไม่ออก คนอื่นเขาก็จับเป็น ตลาดสดตลาดนัดยังไม่เกิด (2498-2499)
.......แงบดักกบ สานด้วยไม้ไผ่ คล้ายตะข้องโดนเหยียบ ปากติดงาไว้ ก้นเปิดช่องไว้จับเอากบได้ พี่ชายเขาสาน เก่ง ทำไว้กว่า 50 หลัง อยู่ ป. 3 เลิกเรียนมา พี่สั่งให้ไปช่วยเก็บไส้เดือน ใต้ถุนหน้าฝน ดินบริเวณคอบควาย ดิน ชุ่มไส้เดือนมาหากิน ขุดลงไปเจอมากมาย ขุดสองสามทีเต็มกระลามะพร้าว กระป๋องยังไม่มีนะ ได้กระลาใบใหญ่ ๆ ดี เอาดินโปะไว้มิให้มันไต่ออก เขาเจาะกะลาเชือกร้อยเป็นสายให้หิ้ว ตามหลังไป เก็บเสร็จหิ้วตามไปทุ่งนาอีก แกเอาไส้เดือนสับ ๆ ๆ สับหลายที คลุกรำและดินเหนียว ใช้เป็นเหยื่อ ใส่ในแงบ แล้วเอาแงบไปวางดักไว้บริเวณ ที่เห็นกบเยอะ ๆ แนวป่าละเมาะ ขุดดินลงตื้น ๆ วางแงบลงไปใบไม้ปิดคลุมไว้ เหลือตรงปากเปิดช่องให้เข้าไปหา เหยื่อได้ เหยื่อจะส่งกลิ่น คงแบบกลิ่นไข่เจียว เนื้อทอด ของคน ประมาณนั้น กบได้กลิ่นใส้เดือนก็คงน้ำลายไหล เชียวแหละ เลยมุดเข้าไปกินกัน ยังกะมีปาร์ตี้ บางหลังมันเข้าไปสองตัว สามตัว จับกบด้วยแงบก็ดี กบสด ๆ ไม่ช้ำ 

........ยิงกบ อาวุธคือ หน้าไม้แบบธนู หน้าไม้จริงแบบหน้าเก้ง พลุ(ไม้ซาง)ยิงลูกดอก ธนูต้องมือแม่นจริงถึงยิงถูก ผมลองแล้ว ฝึกยิงต้นกล้วยยังไม่ค่อยถูกเลย หน้าไม้คันแข็ง ยิงแรง เขาไว้ยิงสัตว์ตัวโต ๆ แบบลิง ค่าง เอามายิงกบ แหลกหมด แต่หลายคนก็ใช้ เพราะแม่นดี ผมชอบไม้ซางยิงลูกดอก ลูกดอกจะพันด้วยนุ่น มัดแน่นด้วยเส้นฝ้ายสีดำ พันรอบ ๆ สีสวยงาม ได้ลูกดอกลายขาวดำ สีอื่นก็ได้ ถ้าแม่เขาทอผ้าแบบมีลายขาวแดง แต่ไหมแม่หวงอย่าเชียว ยิ่งกบส่วนมากหน้าแหล้ง กบจะหนีลงไปอยู่ริมน้ำ ตามทุ่งนาที่เขาขุดบ่อล่อปลาให้ลงมาอาศัย น้ำในนาข้าวค่อยงวดลง ปลาก็จะหาน้ำที่ลึกหน่อย ในนาก็มีบ่อ หรือสระ นั่นแหละ กบก็ไปอาศัยด้วย ขอบสระมักมีต้นมะขาม หรือต้นอื่น ๆ ปลูกไว้ เราใช้เป็นที่แอบยิงกบได้
อย่างดี ไม่มีก็ทำซุ้มเอาเอง ผมชอบทำซุ้ม ฟางข้าวที่ลอมฟางมาไม้ไผ่คีบโคนมัด สองตับมันติดกัน ทำเป็นหลังคา อีกตับ วางขวางหน้า ไว้พาดไม้ซาง ไม้ไผ่มีเยอะแยะเอามาทำที่ดักยิงกบ นั่งสบาย หน่อย แดดส่องไม่ถึง เดินรอบ ๆสระไล่กบลงน้ำก่อน ค่อยมานั่งซุ้ม ไม่นานกบก็โผล่ให้ยิง ฝีมือแม่นก็ยิงถูก ไม่แม่น ก็หลุดไป ได้สองสามตัวก็เลิก พอทำกับข้าวแล้ว ไม่ได้หาไปขายนี่นา 


........หาเขียด ผมเป็นเด็กครึ่งบ้านนอกครึ่งในเมือง แต่บ้านนอกมีเข้มข้นกว่า เลยรู้จักวิธีหากบเขียดดีพอนำมาเล่า สู่ลูกหลานฟังได้ เขียดตัวเล็ก ๆ เขาเรียกเขียกบักแอ๋ เขียดบักหมื่น เขียดขาคำ โตหน่อยก็เขียดโม้ เขียดบักขิก จับเขียดที่สนุกต้องหน้าแล้ว นาข้าวมีแต่ฟาง ลำห้วยน้ำแห้ง โคลนยังชุ่ม ๆอยู่ เขียดจะลงมาหากิน กลางวันก็แอบ ตามใต้ฟาง ในรู ในรอยแตกดินโคลน จับเขียดกลางคืนสนุกกว่า เพราะสาว ๆไปกันเยอะ ตรงไหนเขียดเยอะเขารู้ ชวนกันสองสามบ้าน บ้านละสองคน สามคน ไฟส่องก็ไต้ไง ใครมีตะเกียงถือว่าเยี่ยม เขียดตัวเล็ก พอไล่จับได้ไม่ ยาก แต่เขียดขาคำอย่าให้มันโดด โดดสูงท่วมหัวเลยแหละ ได้ยินแต่เสียงตกถูกฟาง ส่องไฟตามไปทีนี้ไม่ยอม พลาด จับไปจับมาได้ยินเสียงสาวด่าหนุ่ม จับความได้ว่าตะครุบเขียดพลาดไปโดนแก้มสาวเข้า ก็ขำ ๆ นะเราไม่รู้ เรื่องนี่นา มารู้ทีหลังตอนที่เขาเป้นผัวเมียกันแล้ว เลยแซวเอาว่า ตอนนี้ยังไปจับกบจับเขียดอยู่รึเปล่า เมียเก่งนะ แก วาไม่ต้องไปยากหรอก อยู่บ้านนี่ก็รับไม่ไหว พ่อเฒ่าบ้าแล้วก็หัวเราะกัน
.........ไง้เขียด
(รอยดินแตกระแหง เอาเสียมสอดงัดขึ้นเรียกว่า ไง้)ดินโคลนลำห้วยที่แห้ง หน้าแล้งจะแตกระแหง มีร่องลึก เขียดชอบลงไปแอบซ่อนเพราะด้านล่าง มันเย็น ไปหาเขียดด้วยการเอาเสียมสอดงัดดินขึ้น เขียดโดดออกมาไล่ตะครุบกัน สนุกดี ผู้ใหญ่เขางัด เด็ก ๆ เรา ช่วยกันไล่จับ ส่งเสียงเฮฮาไปด้วย ชนกันบ่อยเพราะเด็กหญิงมันน่ารักนี่ เลยแกล้งชนเอา เด็กหญิงก็โกรธ เอาคืนมั่ง จนถูกด่าแหละถึงตั้งใจจับเขียดกัน หากันจากบ่ายจนค่ำได้เขียดมากพอทำกินก็เลิก แวะไปสวนเก็บผัก ชอบนะ แกงคั่วเขียดใส่ผักหอมผักคาดผักขี แมงลัก
.........หลุมดักกบเขียด เพราะไปไง้เขียดนั่นแหละ เลยรู้ว่ามันชอบหลบในโพรง ในรู ตอนนั้นเป็นเด็กเมืองแล้ว เรียนอยู่ ม.4-5 ปิดเทอมมาบ้าน ลำห้วยที่เคยไปไต้เขียด น้ำใกล้แห้ง ไปขุดหลุมริมฝั่งห้วยไว้ ลึกสัก ศอก เรา ขุดหลุมเอียง ๆ ได้สิบกว่าหลุม เอาฟางสุมปากหลุมไว้ ทิ้งไว้สองสามวันไปดูผลงานจะมีเขียดไปแอบซ่อนไหม ก็ ไม้เขี่ยฟางออก เจอก็จับเอาได้หลุมละสองสามตัว บางหลุมมีกบด้วย เอาตะข้องมาให้พี่สาว เขาถามมึงไปเอามา จากไหน วันหลังพี่เขาไปรดผักที่สวนเลยชวนแวะไปดู แกชอบใจ วันหลังแกไปเก็บเขียดเอง ได้เขียดมาทำกับข้าว ดีกว่าไปไล่จับ
.........จับลูกกบลูกเขียด มันก็มีลูกนะ ลูกดกด้วย ที่เขาเรียกลูกอ๊อด หรือ อีฮวก อันเดียวกันนั่นแหละ ช่วงต้นฝน วันฝนตกหนักน้ำท่วมทุ่ง เสียงกบเขียดร้องระงม มันมีปาร์ตี้กัน หน่ามสาวจับคู่กันช่วยสาววางไข่ อารมณ์ดีมากร้อง เพลงเพลินไปเลย เสียงดังจนคนทนไม่ไหว หากระบอง(ไต้) ตะข้อง ได้ก็ตระเวนจับ บอกหนวกหูขนาดวางไข่อยู่ ก็จับ คนพวกนี้โหดเนาะ หลังจากนั้นไม่นานก็จะมีลูกอ๊อด นักล่าไม่พลาด ได้สวิง ครุ ตระเวณเลาะหาช้อนอีฮวก อยากได้ลูกอ๊อด ให้ชวนครูสาวคนในเมืองไปด้วย แกบอกลูกอ๊อดน่ารักดีกินได้ด้วยหรือ วันหลังพวกเด็กห่อข้าวกับ หมกฮวกไปกิน ครูมาขอแจมด้วย ตามมาถึงบ้าน สั่งหมกฮวกไปกิน ไม่มีขายหรอกครู มีแต่ให้ฟรี ๆ ใคร ๆก็รักครู เพราะสอนลูกเขา 




........จับกบจับเขียดอามาทำกับข้าวกินแหละ ทำอะไรบ้างล่ะ ได้มาตัวสองตัว เมนูง่ายสุดก็คือ ปิ้ง ย่าง มีเกลือ ก็ทำได้แล้ว อยู่กระท่อมกลางนา อยากกินปิ้งยาง ไม่มีไฟ ก็ใช้วิชาลูกเสือช่วย สีไฟ น่ะสิ สนุกดีออก ผม 14-15 ขวบ ชอบสะพายย่าม แบกปืนแก๊ป ในย่ามจะมีตะไบที่เขาใช้ตะใบมีด มันหมดสภาพแล้ว ไปขอเขามา ตัดเป็นท่อน สั้น ๆ เอาไว้ทำหลักไฟ ตีกับก้อนหิน ประกายไฟจะกระเด็นกระจาย ทำกระบอกนุ่นจุดไปเผาด้านหน้าให้เป็นเถ้าสีดำ จะติดไฟง่าย ไปบ่อหิน เลือกเอาก้อนที่ติดประกายไฟดี ๆสองสามก้อนมาเก้บไว้ใช้ ทดสอบง่าย ๆมือซ้ายกำกระบอก นุ่นกับก้อนกินไว้ด้านบน มือขวาตีเหล็กไฟลงขนก้อนหิน ประกายไฟกระจายไปโดนเถ้าสีดำ ๆที่ปากกระบอก ติดไฟ เป่าเบา ๆลามไปเต็มปากกระบอก หาขุยมะพร้าวมาจ่อ ติดไฟก็เอาไปใช้ นั่นแหละกระผมอยากกินปิ้งย่างที่กลางนา ก่อไฟด้วยวิธีนี้ อีกวิธีดินปื้น แก็บยิงปืนไง ขุยมะพร้าว มันมากับชุดยิงปืนแก๊ป หาเขียงมา โรยดินปืนนิดหน่อง แก๊ป ด้วย กาบมะพร้าววางติด ๆ สันมีดทับแก๊ประเบิดเปรี้ยง ดินปืนลุกวาบ ขุยมะพร้าวก็ติดเปลวไฟ เอาไปใช้ได้ ได้วิธีนี้ จากพี่ชาย กลางคืนเดินป่ากัน อยากสูบบุหรี่ ไม้ขีดไฟเปียกฝน แกเอาขุยมะพร้าวยัดกระบอกปืน เทดินปืนปนลงไป แก๊ปใส่นกปืนแล้วยิงเปรี้ยง ขุยมะพร้าวติดไฟพุงจากกระบอกปืน ตกลงมายังลุกเป้นไฟอยู่ จ่อบุหรี่ได้สบาย ๆ ไฝตัดแล้วก็ปิ้งย่างกบเขียดตามต้องการ อร่อยมากครับ
.......แกงอ่อม ผักที่ใช้ผักคาด ชีลาว ใบหอม มะเขือเปราะ มะเขือพวง เครื่องแกง พริกแห้ง 3 เม็ด หอมแดง 3 หัว ตะไคร้ 1 หัว ข่า 3 แว่น โขลกใช้เป็นพริกแกง น้ำปลาร้า 3 ช้อนโต๊ะ น้ำปลา ชูรส เอาไว้ปรุงแต่งรส เครื่องแกง สูตรนี้ใช้ทำกับข้าวลาวประเภท ต้ม แกง ได้ครับ กบเขียกจะทำแกงต้องทำความสะอาดให้เรียบร้อย ตัวใหญ่ก็สับ เป็นชิ้นเล็ก ๆ พร้อมก็เริ่มด้วยการคั่วให้สุกก่อน ใส่เครือ่งแกง เติมน้ำนิดหน่อยตามด้วยเนื้อกบเขียด คั่วให้เกือบสุก เติมน้ำแกง พอเดือดเติมผัก จนสุกเติมใบแมงลัก ชิมรสแล้วปรุงแต่ให้ได้รสที่ชอบใจ อันนี้เรีกว่าแกงอ่อม ถ้าเติม ข้าวเบีย หรือข้าวเบือ ทำจากข้าวเนียวนึ่งปิ้งไฟแบบข้าวจี่ ใสลงในหม้อแกง จะได้น้ำแกงเป้นยาวเหนียวแบบลาดหน้า เรียกแกงเอาะ อยากกินอ่อนก็ทำแบบแกงอ่อม อยากเอาะก็เรียกเอ๊าะ ๆมาช่วยทำ เอ๊ะใช่รึเปล่า.....
.......แกงส้มใบมะขามอ่อน เครื่องปรุงข่า ตะไคร้ หอมกระเทียม จัดการกบเขียดให้เรียบร้อย พร้อมแกง นิยมใช้ กบมากกว่า อึ่งก้ทำเมนูนี้ได้ ตั้งหม้อ ใส่ข่าตะไคร้ พริกหอมกระเทียม ตำให้ละเอียดใส่ลงไป เติมเกลือ ปลาร้า ใส่ใบมะขามอ่อน เดือดแล้วชิมดูก่อนได้ รสชอบใจแล้วค่อยเติมกบเขียดลงไป พอสุกแล้วค่อยเติมใบแมงลัก หรือ กะเพรา ใบมะกรูด จะได้แกงส้มอร่อยมาก ๆ 


.......ห่อหมก เมนูนี้ทำมาตั้งแต่ลูกอ๊อด ทำยาก เพราะต้องเอาขี้ออกให้หมดทุกตัว ค่อยไปทำห่อหมก เครื่องก็ ใช้เครื่องแกง พริกเม็ดเดียว หอมแดง กระเทียม ข่า ตะไคร้ ใบหอมสด ใบผักชี ใบแมงลัก แค่นี้ เค็มก็เกลือ ปลาร้า น้ำปลา เลือกเอา คลุกเคล้าดีแล้วก็ห่องด้วยใบตองนำไปปอ้งย่างให้สุก ถ้าตัวโตสับก่อน จะใส่หยวกกล้วยด้วยก็ดี ทำสัก 2-5 ห่อ คลุกเคล้าในกระทะก่อน ตำเครื่องปรุงใส่ลงในกระทะ เติมน้ำนิดหน่อยกันไหม้ก้อนกระทะ สุกดีเติม เนื้อกบเขียดลงไป เกือบสุกเติมผักและหยวกและข้าวเบือ คนให้เข้ากัน พอสุกเติมปลาร้า น้ำปลา ชูรส พอแล้งก็ หยุดไฟ หาใบตองกล้วยมาทำห่อหมก ค่อยเติมใบแมงลัก ห่องหมกวิธีนี้กินก่อนก็ได้เพราะมันสุกแล้ว รสอร่อยมาก ห่อเสร้จจะป้องย่างหรือนึ่งก็ตามใจ แค่ต้องการความหอมจากใบตองเท่านั้นเอง 


.......แกงหลามกบเขียด ไปเที่ยวปาดงเจอแอ่งหินมีข้ำขัง ความจริงเป็นลำห้วย หน้าแล้งน้ำไหลไปหมดเหลือค้าง ตามแอ่งหินเล็ก ๆ ยังไม่แห้ง จะมีกบเขียดไปอาศัยอยู่ ความจริงไม่รู้หรอก เฝ้าแคมป์ให้เขา ร้อน ไปหาน้ำล้างหน้า ตาหน่อย เจอก็แช่ขาลงไป โดนตัวอะไรไม่รู้ชนมั่วไปหมดรีบยกขาขึ้น ดูอีกทีคล้ายปลา งมดูถึงรู้เขียดบักหมื่น ก็เลยได้ทำแกงอ่อมแบบหลาม หม้อแกงก็มีแต่เห็นไม้ซางในดงลำใหญ่ดี ไม่ได้กินแกงหลามนานแล้ว เลยลองทำดู ไปเดินตามริมห้วยเห๋นแวบ ๆ ชะพลู เด็กดเอามาทำแกง ใบตำลึงก็เยอะ ดีเด็ดเอาแต่ยอดอ่อน ๆ หอม ผักชี ตะไคร้ ติดมาจากบ้าน ข่าในดงจะตัดเอาหน่ออ่อนไปกินบ้านยังได้ ได้ผักจะทำหลามเขียดก็ไม่ยาก เขียดทำความสะอาด พร้อมทำอาหาร เตียมผักเสร็จก็ทำแกงใช้หม้อพอจะสุกก็กรอกแกงใส่กระบอกไม้ซาง เผาต่อ มันสุกแล้วแหละแต่ จะเผาให้มันหอม ถ้าเผาแต่แรกอาจไม่ได้กิน หกทิ้งหมด เผาไฟอ่อน ๆไม่นานก็เดือด ราไฟได้ นั่งกินคนเดียวจน
อิ่มเพื่อนไปเดินป่าล่าเนื้อกลับมามือเปล่า ได้มานั่งกินหลามเขียดบักหมื่นกับเรา เลยได้หัวเราะกัน บอกว่าถ้าจะกิน เขียดไม่ต้องมาไกลขนาดนี้ก็ได้ โม้ไปงั้นแหละ มาช่วยกินหมดกระบอกแล้วนี่

หาปลามั่งดิ
.......หัวข้อนี้คงต้องรวมหลาย ๆอย่าง ที่จับได้ตอนไปหาปลา เริ่มหาปลาจริง ๆตอนเด็กครับ ไปกับพี่สาว เขาถือ สวิง แบบไปหาช้อนอีฮวกนั่นแหละ แต่เขาเน้นหาปลา หน้าหนาวข้าวกำลังแก่ ใกล้เก็บเกี่ยวแล้ว สีหลืองเต็มทุ่ง บอกให้ทราบน้ำในนากำลังจะแห้ง หลายแปลงแห้งขอดไปแล้ว แต่บางแปลงยังมีน้ำเหลืออยู่ตามมุมคันนา นั่น แหละเป้าหมายที่พี่สาวเขาพาไป เขาหยุดที่แปลงมีน้ำไม่มาก ขุดเจาะคันนา กั้นดินเป็นแอ่ง จะวิดน้ำใส่ตรงแอ่ง น้ำไหลลอดคันนาออกไปสู่แปลงนาที่อยู่ต่ำระดับกว่า เราทำหน้าที่จับสวิงตั้งให้มั่น พี่เขาใช้คันโซ่วิดน้ำ ใส่สวิง ปลา ติดมากก็หยุดเก็บปลาซะทีหนึ่ง ส่วนมากก็ปลาซิว ปลาตะเพียน มีครุเก็บปลา ใส่น้ำหน่อยหนึ่งให้ปลาว่ายไปมาได้ พี่เขาวิดจนน้ำแห้ง ปลาตัวเล็กมากับน้ำ เก็บออกจากสวิง ได้เยอะมาก ทีนี้ก็ยินเสียงปลาตัวโตแถกไปตามโคลน เป็นพวกปลาหลด ปลาดุก หลาหมอ ปลาช่อน พวกนี้ต้องแยกใส่ตะข้อง มุมเดียวได้เยอะเหมือนกัน พี่บอกพอ แล้ว เอาไปทำกับข้าวได้ แต่แม่บอกให้ไปหาเอาอีก ให้หมดทั้งนาเลย ทานข้าวแล้วต้องกลับไปอีก จับปลากันทั้ง วันเลย ได้ปลาเยอะมาก พวกตัวเล็ก ได้เป็นครุ "เป็นปลาข่อน" ถ้าไม่จับสองสามวันน้ำแห้ง หนู พังพอน อีเหน มัน มาลุยจับกินหมด แม่สั่งการให้จับถูกต้องแล้ว ได้ปลาเล็กมาทำปลาร้า ตัวโตก็ทำปลาแดดเดียวบ้าง ขังไว้ทำกับข้าว บ้าง นี่เป็นหาปลาครั้งแรกของกระผมครับ สนุกมาก โดยเฉพาะตอนไล่จับปลาช่อน ปลาดุกกับปลาหมอไม่เอา กลัว เงี่ยง กลัวแผงหลังมัน ปักมือเจ็บ ปวดมาก 


                                                  ห่อหมกปลาซิว ปลาช่อน
........ช้อนหาปลาในลำห้วย ใกล้บ้านมีลำห้วยชื่อห้วยโจด ต้นน้ำอยู่ภูเก้า ไหลผ่านป่า ทุ่งนา ใกล้บ้าน
หนองกุง หนองกุงคำไฮ หนองลุมพุก โคกป่ากุง แล้วไหลลงรวมกับลำน้ำพอง ตรงบ้านเรามีการกั้นเป็นฝายดินเพื่อกักน้ำไว้ ใช้หน้าแล้ง หน้าฝนมีช่องระบายน้ำสองข้าง ให้น้ำไหลผ่านสะดวก ฝายดินจะได้ไม่พัง ด้านท้ายเหมืองฝาย จะมี พวกสวะ แหน ขึ้นเต็ม เหมาะสำหรับจับปลา ชาวบ้านมาจับปลาเห็นทุกวัน บ้านเรือนเราอยู่ห่าง ฝายดินนี้สัก 300 เมตรเอง เลยสะดวกที่จะลงมาหาปลา พี่สาวให้ถือครุใบเล็ก ๆ พ่อสานให้สำหรับใส่ปลา ครุใช้ตักน้ำใบใหญ่ หนักไป หิ้วครุเดินตามหลังพี่ไป พี่ถือสวิง ไปถึงลำห้วยก็จ้วงตักดงแหน มีแหนติดสวิงเต็มแกก็ยกมาที่ฝั่ง เรียกเราไปช่วย เก็บ ได้กุ้งมากกว่าปลา นานเหมือนกันที่ตามช่วยเก็บปลา ได้ปลาซิว ปลาตะเพียน ปลาหมอ ปลาหลดก็มีแปลกดี กุ้งปริมาณมากกว่าปลา มีแมงกินได้ปนมาเยอะ แมงหน้างำ(ลูกแมลงปอ) แมงคันโซ่ แมงดาน้อย แมงตับเต่า พี่ให้ เก็บเอาหมด อ้อนานเข้าชักหิวก็แอบเก็บกุ้งตัวเล็ก ๆ กิน พี่สาวเห็นก็ไม่ว่าอะไร เพราะพี่นั่นแหละพากินกุ้งสด ๆ อร่อยนะ เวลาทำกับข้าว จะมีก้อยกุ้ง ป่นกุ้ง กุ้งสด ๆนั่นแหละ เดี๋ยวนี้เห็นคนรุ่นใหม่ยังกินกุ้งเต้นกันอยู่ แสดงว่าลอง 
                                        หมกย่างไฟ น่ากินมาก หอม อร่อย

กุ้งสด ๆ แล้วติดใจล่ะซี ปลาที่เราไปหาได้เยอะนะ แยกกับกุ้งแล้วได้สักถ้วยพูน ๆ ปลาซิว ตะเพียน หมอ หลด ช่อน ดุก กระดี่ สลิด ตัวไม่ใหญ่หรอก มันซ่อนตามดงแหน แต่เยอะขนาดนั้น แกงใส่หน่อไม้ดอง สูตรมาตรฐาน อร่อยมาก ๆ กุ้งก็ก้อยไง สมัยนั้นทำกุ้งเต้นไม่เป็นหรอก ใส่ครกตำเอา เครื่องก็เหมือนทำส้มตำนั่นแหละ พริกหอม กระเทียม โขลกให้แหลก แล้วใส่กุ้งสด ๆ โขลกแหลกสักครึ่ง เติมปลาร้า ข้าวคั่ว มะนาว ใบหอมผักชี แค่นี้ ก็คด ไปกินกับข้าวได้ มีก้อยกุ้งไม่มองแกงหน่อไม้ดองหรอก จนกว่าก้อยกุ้งจะหมด ทีนี้ก็หันมาดูปลาที่เหลือจากทำแกง แม่ให้พี่สาวไปตัดใบตองกล้วยมาทำห่อหมก ใส่แค่เกลือกับใบแมงลัก หอมตะไคร้ไม่ได้ใส่ เสร็จแล้วเอาไปย่าง ไฟครับ สุกแล้วมันหอมจับใจจริง ๆ ผมชอบขอแบ่งไปกินกับข้าวเหนียว ใช้อภิสิทธิ์เด็กไง ได้กินก่อนผู้ใหญ่ 
........ช้อนปลาด้วยผ้าแหย่ง(ออกเสียงไม่ตรง หาลูกอีสานตัวจริงออกเสียงให้ฟังดู) มันเสียงนาสิกน่ะครับ ก็ผ้ามุ้ง นั่นแหละ สมัยก่อนไม่ค่อยยุงเยอะ ผ้าแหย่งเขาทำไว้ใช้ ทำผ้าห่มหน้าหนาว พิลึกดี ผ้าตาห่าง ๆ แต่ห่มแล้วมันอุ่น ดีมาก เอาไว้รองใส้ผ้านวม ผ้านวมใช้ดอกฝ้าย หีบเม็ดในออก ตีให้เป็นปุย เอาผ้าแหย่งเย็บแผ่นโต ๆ เท่านขนาด ผ้านวมที่ต้องการ กางโครงไม้ทำใช้ผ้านวมลง ปูพื้นด้วยผ้าแหย่ง แล้ววางสำลีฝ้ายลงไปให้ทั่ว ใช้ด้ายสีดำสีแดง โยงทับมิให้ปุยฝ้ายแตกออกจากกลุ่ม ผ้าแหย่งทับอีกที แล้วพลิกด้านล่างขึ้นมา ปลดผ้าแหย่งออกก่อน ขึ้งเส้นฝ้าย เหมือนทำด้านล่าง ค่อยลาดทับด้วยผ้าแหย่งอีกที ก็ได้ใส้ผ้านวมไปใช้ บุญคุณผ้าแหย่งเขาละ การใช้ผ้าแหย่ง ช้อนปลาแบบสมัยนี้ใช้ผ้าพลาสติดนั่นแหละ สมัยนั้นมันยังไม่เกิด ผ้าแหย่งนี่แหละดีที่สุด หนองบึงที่จะช้อนรกนัก ก็ไม่ได้ ผ้าจะขาด หนองน้ำขุ่น ๆ กุ้งปลาจะเยอะ ไปช้อนกัน ผ้ามันยาว ลากได้หน้ากว้างดี ยกแต่ละทีกุ้งปลาติด มาเป็นถ้วย เราถือครุก็สบายปล่อยให้มันลอยน้ำ เราก็ว่ายน้ำเล่น โดนเรียกประจำให้เอาครุมาใส่ปลา เก็บปลาเสร็จ เขาลงช้อนต่อ เราก็ว่ายน้ำไล่ครุให้ตามไป มันเย็นสบายดีอยู่ในน้ำ เขาไล่ก็ไม่อยากขึ้น จนปลิงมันมาไล่แทนนั่นแหละ ไม่ยอมลงน้ำอีก เขาหัวเราะชอบใจ สมน้ำหน้าเขาพร้อมกันด่าเอา กว่าจะเลิกกันได้ปลาเยอะ เกือบเต็มครุทีเดียว มาบ้านแม่สั่งให้คัดกรอง กุ้ง ปลาตัวเล็ก ปลาใหญ่ กุ้งและปลาตัวเล็ก แม่เอาไปทำปลาส้มและปลาร้า ปลาใหญ่สอง สามตัวเอาไว้ทำแกง ปลาตะเพียน ปลาหมอ ปลาดุก 
                                       ปลาตัวเล็ก จับได้ทำปิ้งย่าง อร่อยมากนะ

.......จับปลาด้วยตุ้ม ลอบ พ่อสานตุ้มไว้ห้าหกหลัง เป็นตุ้มใส่ปลาตะเพียนน้ำไหล น้ำพองยังไม่กั้นเป็นเขื่อนอุบล รัตน์ น้ำจะไหลตลอดปี ต้นน้ำอยู่ที่ภูกระดึง ไหลผ่านหมู่บ้านต่าง ๆ มาใกล้บ้านเรา หน้าแล้งจะมีน้ำขังเป็นวัง มีเชื่อ เรียกต่าง ๆ วังปลาเคิง วังกกกอก วังสะพุง หน้าฝนน้ำล้นฝั่ง ไม่มีใครจับปลากัน เว้นพวกนักเลงจับปลาปึ่ง ปลาเค้า จะไปล่องเบ็ดน้ำเต้า เบ็ดพ่อก็มี เบ็ด เบอร์ใหญ่ ประมาณเบอร์ 2 - 3 ผูกสายดีมัดติดน้ำเต้าแห้ง ๆ ปิดจุกให้แน่น น้ำ เต้าจะเป็นทุ่น เหยื่อใช้ลูกกระเบาสุก คลุกรำและดินเหนียว พ่อบอกปลาตัวใหญ่ขอบกินกระเบาสุก ต้นมันขึ้นริมฝั่ง ลำน้ำพองสูงเท่าต้นยางเชียวแหละ ลูกขนาดมะตูมสีเขียว ๆ พ่อเล่าว่าเคยไปล่อเบ็ดกับเพื่อน ๆ ปลายฝนน้ำลดจากฝั่ง สักเมตรสองเมตรกำลังดี ไปกันสองสามคน พายเรือทวนน้ำขึ้นไปไกลมาก แล้วปล่อยเบ็ด ผูกเป็นสายยาวสัก10 ปลาเบ็ดเบอร์ 2-3 ตัวหนึ่งเกือนสิบกิโลกรัม ตุ้มยังไม่ได้ใส่เลยไปล่องเบ็ดซะก่อน รอให้น้ำลดก่อน เหลือน้ำตามวัง ต่าง ๆ นั่นแหละ บางวังน้ำไม่ลึก ลงไปวางตุ้มสบาย ๆ ลึกมากต้องมีเรือช่วย เหยือก็พวกไข่มดแดง คลุกกับรำและ
ดินเหนียว ต้องมีดินเหนียว ไม่งั้นไข่มดกับรำ ลอยหายไปกับสายน้ำหมด ทิ้งไว้ตอนเช้าไปกู้ ได้ปลาตะเพียน ปลา หมอเหยียบช้าง(ปลาก่า) ครึ่งตะข้องเชียวนา.....ลอบผมเคยทำช่วงมีเขื่อนอุบลรัตน์กักน้ำใหม่ ๆ ลงเดินเก็บผักต้อง ระวังจะเหยียบแผงหลังปลาหมอ ปลาเยอะขนาดนั้นแหละ ปลาตื่นน้ำเขื่อน ริมน้ำมีเหยื่อยั้วเยี้ยให้มันมาหากิน เรา อยากได้ตัวใหญ่ ๆ มากกว่า ทำลอบไว้ 10 คู่ วางห่างกันสองเมตร 10 คู่ก็กั้นทางปลาเข้าฝั่งได้เกือบ 50 เมตร ลอบถักตาห่าง โครงกลมขนาดเท่าครุถัง ยาวไม้ไผ่ตงสองปล้อง เวลาดัห ก้นลอบจะโผล่น้ำ ให้ปลาที่ติดได้หายใจ ไม่งั้นปลาตายก่อนไปกู้ ลอบผมปิดทางเข้าฝั่ง 50 เมตร ต้องมีปลาเข้าฝั่งมาเจอแนวกั้นแน่ ๆ มันจะเลาะไปหาทาง เข้าฝั่ง เจอปากลอบนึกว่าทางสะดวกก็เข้าไปติดอยู่ในนั่น ลอบก็ดักปลาด้วยวิธีนอนอยู่เฉย ๆ ไม่ต้องใช้เหยือ แถม ปลาตัวโตด้วยนะ ปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล ปลาสลิด ผมวางลอบ 20 หลัง เอาไว้จับปลาขายครับ ทุกเข้ามีพ่อค้าขับ เรือหางยาวมาเร่ซื้อปลา มีเท่าไรขายได้หมด 




........จับปลาด้วยการทำต้อน ช่วงเดือนสิบเอ็ดสิบสองน้ำล้นทุ่ง ปลาจากหนองบึง นิยมท่องทวนน้ำไปหาต้นน้ำ เพื่อวางไข่ ตรงไหนน้ำไหลมันรู้ดี แหวกว่ายไปทางนั้แหละ ชาวบ้านรู้ดีกว่า เลยทำต้อนเพื่อหลอกปลาว่าตรงนี้ทาง น้ำไหลนะ เชิญผ่านมาได้ หลงมาก็ติดเครื่องมือจับปลาซิครับ เขาจะเลือกแปลงนาที่น้ำลึกหน่อย จะเปิดทางน้ำไหล คันนาอาจถูกขุดตัดหลังลง ปิดด้วยฝาเผียก คือแผงกั้น ทำด้วยไม้ตอกแข็ง ขนาดไม้เรียวนั่นแหละ เหลาแบน ๆกลม ๆ ต้องการสูงแค่ไหนก็ตัดไม้ไผ่ยาวแค่นั้น แล้วมาเหลาให้ดูเรียบ เครือซูด เหนียวสม่ำเสมอยาวเก็บมาสะสมไว้ เวลาจะ ใช้ถักฝาเผียก เอามาแช่น้ำก่อน การถักก็ใช้สองเส้น บิดเกี้ยวทางเดียวตลอด ระหว่างเกลียวก็สอดตอกไม้เผียก 1 เส้น ทุกเกลียวจะมีตอกเสียบ ได้ความยาวตามต้องการก็กลับมาเริ่มถักเกลียวที่สอง ห่างกันสักคืบ ไม้ตอกอันเก่า นั้นแหละ ประมาณ แปดเกลียว จะได้ฝาเผียกสูงสัก 150 เซ็นต์ ขนาดนี้แหละทำต้อน ปักเสร็จก็ขุดดินปิดด้านหน้า ให้แน่น ให้น้ำล้นไหลผ่านฝาเผียก ลงด้านล่าง ทำเอียง ๆหน่อย น้ำไหลตกจะได้มีเสียงดัง ไว้หลอกปลาไง สอง ข้างฝาเผียกเจาะช่องไว้ดักด้วยไซ ข้างหนึ่ง อีกข้างทำเป็นหลุ่มดัก ไซต้องแบบสองงานะ ขึ้นก็เข้าได้ ลงก็เข้าได้ หลุมเอาไว้พวกชอบปี่นกำแพงหนีเรียนไง ขุดหลุมทำกำแพงสองชั้น ตรงกลางเป็นหลุม โดดข้ามไปก็หล่นลงหลุม จากหลุมน้ำนิดหน่อยเองโดดไม่ขึ้น รอครูมาจับอย่างเดียว ไปยาม(กู้)ต้อน ก็ได้ปลาที่ติดไซ และปลาที่ติดหลุม ปี ไหนน้ำดี ปลาชุม ไซต้อนแทบแตก ปลาเข้าเยอะ หลุ่มดักปลาไม่อยู่ มันเต็มหลุ่ม ตัวมาทีหลังก็ผ่านสบาย ๆ
......จับปลาด้วยการวางซูด ส่อน เครื่องมือสองอย่าง หลักการเดียวกัน ซูดถักด้วยเครือซูด ทรงกระบอก ปลายบาน ก้นเรียวแหลม ถักคล้ายตาข่ายแมงมุม แต่เป็นทรงกระบอกเหลี่ยม ๆ วิธีจับปลา ซูดจะวางดักทางปลาว่ายผ่านพง ปลาที่กำลังวางไข่ดูง่าย เพราะเข้าออกทางเดิม วางซูด ดักไว้ ไม่กี่นาทีก็ติดแล้ว ส่อนจะสานด้วยไม้ไผ่ ทรงกระบอก กลม ปากบานก้นเรียวแหลมปิด เอาไปดักตามทางปลาวิ่งผ่านพงหญ้า หรือทางน้ำไหล ปลาว่ายเข้าปาก ชนขอบ ซูดหรือส่อนตกใจว่ายพรวดติดแนบสนิทอยู่กับที่ ไม่มีเกียร์ถอยหลัง เครื่องมือสองอย่างนี้จับปลาตัวโต เคยได้ตัว ละกิโลกรัมก็มี ยิ่งปลาดุกก้ขำ ๆนะ มันจะกางเงี่ยงเมื่อโกรธปลาดุกน่าจะเลี้ยวกลับได้เพราะตัวอ่อ่น แต่ติดเงี่ยงไม่หุบ นี่แหละ ติดอยู่ก้นซูดจนได้ ส่อนยิ่งหมดทาง เพราะสานด้วยตอก ติดก็เดินหน้าไม่ถอย เรียบร้อยทุกตัวที่เข้าไป 


......จับปลาด้วยการหลอกล่อด้วยซุ้ม หนองบึงที่โล่ง ๆ ปลาหาที่แอบซ่อนยาก ถ้ามีกอหญ้า กอไม้ มันก็จะอาศัยหลบ คนทอดแหรู้ดีชอบหว่านแหคร่อมพงหญ้า กอสวะ จับได้ปลามากกว่า หว่านแหที่โล่ง ๆ กอสวะถูกคนทอดแห คน ช้อนกอสวะ ดึงมากองบนฝั่ง นานเข้าก็หมด หนองบึงแลโล่งดี แต่ปลาไม่ชอบ คนหาปลาก็ไม่รู้จะสังเกตปลาอยู่ไหน เลยมีคนคิดทำซุ้มกิ่งไม้ในหนองในบึงให้หลบซ่อน ปลาก็ชอบใจ ไปอยู่เมืองเลย เห็นเขาสานไม้ไผ่ขนาด 1.5*1.5เมตร รวบสองมุมติดกันปล่อยอีกด้านเป็นปาก ด้านที่รวบมัดคันไม้ไผ่เท่าแขนติดไว้ ยกจับดึงลากสะดวก เขาเรียกชื่อ ขานาง เอาไปดักกุ้งปลาในหนองบึง เวลาไปดักจะเอาหญ้า ฟ้าง ปิ่งไม้สุมไว้ แล้เอาไปแช่น้ำในหนองบึง ทิ้งไว้หลาย วันค่อยไปกู้ เขาทำคนละสีห้าอัน ตอนไปกู้ก็จะมีพวกกุ้ง ปู ปลา เอาหมด ได้หลายกิโลเหมือนกัน ก็ง่าย ๆ ยกให้ ขอบพ้นน้ำแล้วลากไปฝั้ง ขนไม้และขยะออก จะเห็นกุ้งปูปลาติดอยู่ก็เก็บเอา ปลาดุก ปลาสลิด ชอบ จับได้บ่อย 
.......ซุ้มกิ่งไม้กองใหญ่ ทำในห้วยหนอง น้ำลึก ทิ้งไว้หลายเดือนค่อยมากู้ ก่อนใช้ฝาเผียก ที่ทำด้วยตอกไม้ไผ่ แข็ง ๆ ถักด้วยเครือซูด แผ่นหนึ่งกว้าง 3 ปล้องไม้ไผ่ ยาวสักสองเมตร ทำไว้บ้านละสองสามผืน จะเอาไปปักล้อม ซุ้มกิ่งไม้ เดี๋ยวนี้มีตาข่าย อวน ใช้สะดวกกว่า ล้อมซุ้มไว้แล้วขนกิ่งไม้ออก เหลือปลาติดอยู่ในวงล้อม ใช้แห และ อวน ลากจับเอา เคยไปยืนดูที่กุดวังซอ บ้านแก ตอนนั้นอยู่ ป.3 มากันทั้งคุ้มบ้าน น้ำลึกซุ้มใหญ่ เล่นกันทั้งวัน ได้ปลาตัวโต ๆ ก็มาก ตัวเล็กก็มาก แบ่งกันปลาเล็กได้เป็นครุ ปลาใหญ่ก็หลายกิโล เราเป็นเด็กช่วยอะไรไม่ได้ ช่ว่ย จับปลากระดี่ ปลาสร้อย มาเผาไฟ สุกก็เขี่ยออกมากองไว้ ใครใคร่กิน กิน สิ ไม่หวง เขาเอาปลาขึ้นเป็นตะกร้า เทลง ดินให้พวกผู้หญิงคัด เราไปช่วยคัดมาเผาไฟนี่ไง ผู้ใหญ่ผ่านมาเห็นชอบใจ ไปตักเอาปลามาให้เด็กเผาให้กิน ฉลาด นิคุณน้าคุณตา เด็กห้าหกคน เผาปลาเป็นหมดแหละ เผาไป กินไป เหลือกินก็แบ่งให้ผู้ใหญ่ เขากินตัวสองตัวก็รีบ ไปลงน้ำจับปลาต่อ ไปดูเขาล้อมซุ้มจับปลาก็สนุกแบบเด็ก ๆนะ ผู้ใหญ่เขาสนุกจับปลาได้เยอะ เราสนุกอิ่มท้อง .
......จับปลาด้วยเบ็ด ได้เรียนจากพี่ชายมีสองคนคือ พี่ดีหมื่น พี่บัวทอง ศรีประจง คนนี้พ่อแม่เดียวกัน พี่ดีแม่เป็นป้า พี่สาวแม่เรา ญาติสนิท นาติดกัน บ้านชิดกัน เขาจับปลาเก่งทั้งคู่ เลิกเรียน ป.2-3 มาบ้านโดนเรียกตัวไปขุดไส้เดือน พี่เขาจะไปวางเบ็ด ตามไปถือกระโป๋เหยื่อให้ด้วย เก่งนะสมัยนั้นเดินเท้าเปล่า ไม่มีรองเท้า เจอหนามก็บ่งเอา เวลา ค่ำมืดไม่มีไฟฉาย งมเดินตามกันกลับบ้านได้ เขาวางเบ็ดไป เรียกเอาเหยื่อเรื่อย ใส้เดือนตัวหนึ่งเกี่ยวเบ็ดสองหลัง ก็หมด วางเบ็ดเกือบร้อยหลัง จนค่ำมืด นั่งพักสูบบุหรี่มวนสองมวน ก็ไปดูเบ็ด ตามเคยถือกะโป๋ไส้เดือนตามหลังไป เบ็ดเหยื่อล่อนก็เกี่ยวเหยื่อใหม่ บางหลังติดปลาส่งตะข้องให้เขาใส่ปลาลงไป สะพายไว้ตามเขาไปจนเสร็จได้ปลา เกือบสิบตัว ไปกับพี่ดีนี่แกจะแบ่งปลาให้ไปกินที่บ้าน มึงอยากตัวไหนจับเอาเอง อยากได้ตัวใหญ่จับไม่ค่อยได้ แกหัวเราะ จับใส่ตะข้องให้ เอาไปอวดแม่ แม่ก็ขังหม้อดินไว้ทำแกงให้กิน ตอนเช้าพี่มาปลุกไปกู้เบ็ด ขยันตื่นแต่ เช้ามืดตามเขาไป ปลาเยอะ หลายตัวก็ติดพงหญ้าตายก่อนไปกู้ ปลาที่ได้ก็มีปลาดุก ปลาช่อน ปลาหมอ ปลาไหล พี่เขาแบ่งให้แต่ตัวไม่ตาย ตัวตายไม่ต้องเอานะแกบอก น้าแม่แกด่ากู เอาปลาเน่าให้น้อง ก็ดีเพราะเราไปสนุกเฉยๆ ได้ไม่ได้ไม่เป็นไร 




........จากการวางเบ็ดกับพี่ชายต่อมาก็วางเองบ้าง นาเรามีทางควายชาวบ้านผ่าน หน้าแล้งก็เป็นทางเกวียนบรรทุก คนไปนา ขนข้าวจากลานขึ้นยุ้งฉาง หน้าฝนน้ำนอง ปิดตายน้ำท่วมเกวียนไปไม่ได้ กลายเป็นลำห้วยไปแล้ว ตรงนี้เอง ปลาหลดเยอะมาก พ่อทำเบ็ดปลาหลดให้ไปทดลอง ได้ลวดทองแดงจากไหนไม่รู้ แกเอามาปาดและดัดเป็นเบ็ด เบอร์เล็ก ๆสำหรับวางเหยื่อปลาหลด เชือกพ่อเล็น(ฟั่น)เองยาวพอผูกเบ็ดได่สัก 50 หลัง มีเชือก 2 เส้น ก็ได้ 2 ราว เหยื่อไส้เดือน ราวมัดก้อนหินถ่วงให้จมถึงพื้น ปลาหลดหากินลึก ผูกเบ็ดเสร็จ สองราวก็นานโข คนผูกคือพี่ชาย เสร็จราวแรก ราวที่สองพี่บอกต่อไปแกทำเอง ดีใจมาก พยายามทำแบบที่เห็นพี่เขาทำ ราวหนึ่งเสร็จจนได้ มานั่งบน คันนา สังเกตดูราวของพี่ชายมีปลาดีดน้ำสองสามครั้ง พี่บอกปลากินเบ็ด ส่วนทางราวที่เราวางเงียบ ๆ ก่อนค่ำก็ลง น้ำไปดูกัน ราวของพี่ชายได้เกือบยี่สิบตัว ราวของเราได้ดั้งสามตัว ดีใจแทบตาย จากเบ็ดปลาหลด ก็พัฒนาเป็นเบ็ด เหยื่อเขียด บ้าง เหยื่อสบู่ซันไลต์บ้าง เหยื่อแมงกะชอน เหยือปูตัวเล็ก เหยื่อแมงเม่า เหยื่อปลาเข๋งน้อย ปลาดุก ปลาหลด ปลาขาวอีไท เบ็ดจากเบอร์เล็กไปจนถึงเบอร์ 2 เคยใช้มาหมดแหละ
..........จับปลาด้วยเบ็ดบ่อยมากช่วงหยุดเรียน จบ ม. 6 สอบบรรจุไม่ได้ อายุ 16 ปี เพื่อนไปสอบเป็นเกษตรตำบล เป็นครูประชาบาลกันหมด เราตกค้าง (2504) ต้องอีก 2 ปี จึงจะอายุครบ 18 ราชการเขาไม่รอยกเลิกไม่รับ ม.6 ทีนี้ก็ตกค้างตลอดไปน่ะซี พอดีเขากักน้ำเขื่อนอุบลรัตน์มาให้จับปลา อยู่ว่าง ๆก็จับปลา จนได้ขายกะเขาด้วย ปลาเขื่อนตัวโต ๆ ที่เราไม่เคยจับได้มาก่อน อย่างชะโด ตัวละ 2 กิโลกรัมนี่ชะโดเด็ก ต้อง 3-5 กิโลถึงจะเรียกตัวใหญ่ ตอนนั้นเขากักน้ำเขื่อนใหม่ ๆ ชะโดชุมมากขนาดล้อกันเล่น อยากกินต้มปลาชะโด มึงไปตั้งหม้อไว้เลย เดี๋ยวกูไป วางเบ็ดจับมาให้ เหยื่อปลาตะเพียนที่ยังดิ้นอยู่มันชอบมาก เรามัดเบ็ดหันหัวเรือออกไม่ถึงสิบเมตรมันตีเบ็ดตูม ๆ ติดเบ็ดสิครับ กี่งสะแกขนาดนิ้วมือหักดึงจมน้ำไม้พายงัดกิ่งขึ้นมาสาวเอาเบ็ดได้ สามกิโลกรัมครับ ขายได้ 15 บาท พ่อค้าให้กิโลกรัมละ 5 บาท ก็ขาย กินจนเบื่อเขาไปขายที่ท่าเรือก็แปดบาท รู้ราคากันอยู่ 
........ยกยอจับกุ้งจับปลา ยอที่สานมาใช้ฝีมือแม่กับพี่สาว มี 2 ปาก ผมมีแหปลาซิว ที่พ่อสานจนหมดสภาพแล้ว ห่อมัดเก็บไว้ เพราะลูกแหยังไม่เปื่อยใช้ได้อยุ่วันหนึ่งไปเห็นก็เลยเลาะเอาลูกแหเก็บไว้ใช้ เอาผืนแหมาซ่อมด้วยการ ตัดส่วนที่ขาดออก เอาส่วนที่ยังดี มาปะให้เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด 1 X 1 เมตร ได้ 3 แผ่น เอาเชือกด้ายร้อยรอบมัด ให้ติดแน่น มีหู 4 มุม ลองเอาขายอ มาดึง 4 หู อ้อมันเป็นสะดุ้งดางแหดี ๆ นี่เอง อวนปลาซิวตาถี่ นี่ก็ขาดเละ จะทิ้ง ก็เสียดาย เลือกตรงที่มันยังดีอยู่ ขนาด 1 X 1 เมตรนั่นแหละ ได้ตั้ง 6 ผืน ที่เหลือเล็กไป ซ่อมยาก เอามาตัดทำ ตังบาน ตาข่ายแร้วนกคุ่ม ได้ตาข่ายตังบาน 3 อัน ตาข่ายดักนกคุ่ม 15 อัน เหนื่อย พอแล้ว ถึงตอนวางยกยอ ขา เป็นไม้ไผ่สี่ชิ้น ต้องเสียบเข้ากระบอกไม้ไผ่ที่มัดไหว้กากบาท ติดปลายด้าม 5 ผืน แบกด้ามไม่ไหว อย่างเก่งก็ทำ แค่2-3 ผืน ของเรากระบอกเสียบด้าม แค่ทำบ้วง(ห่วง)ไว้ ด้ามยกอันเดียวพอ ก็เลยวางยอได้เกิน 10 ผืน ตอนแรก ทำห่วงด้วยเชือก ตะขอเกี่ยวยากไปกว่าจะเกี่ยวติด วันหลัง เอาเครือซูดมาถักเป็นห่วงกลม ๆ มัดเชือกห้อยไว้ คล้อง 
ง่าย วาง 10 ผืน ก็เท่ากับมีคนวางยอ 10 คนนั่นแหละ ไม่ต้องถามว่าได้เยอะไหม สองสามวันให้หลังมีคนทำแข่ง มาแย่งกันวางจนมั่วไปหมด ก็หลบไปที่อื่น ลำห้วยยาวจะตาย มัวแย่งกันทำไมเนาะ
.......สาปลา(วิดปลา)
.......คนบ้านนอกบ้านนาเรา สาปลาก็คือวิดปลา ห้วยหนอง ตรงที่น้ำตื้น บางมุมมันสามารถกั้นคันคูเล็กแล้ววิดให้ น้ำแห่งเพื่อจับปลาได้ ดูว่าตรงนั้นน่าจะมีปลาไหม เช่นมีกอหญ้า กองกิ่งไม้สุมอยู่ เห็นปลาโผล่หายใจ เป็นต้น มี เครื่องมือ กาบไม้ คันโซ่ กระป๋อง ครุถัง ใช้ได้ทั้งนั้ง น้ำไม่มากก็วิดธรรมดา ๆ น้ำมากใช้คันโซ่ดีกว่า ทำร้านใช้ไม้ ไผ่สามลำมัดปลาย ถ่างขาปักสามมุม เชือกผกคันโซ่หย่อนลงมาตักน้ำ กดด้ามโยกไปเทได้ ผ่อนแรงได้เยอะดี น้ำบ่อกลางนา น้ำมาก วานเพื่อนบ้านสี่ห้าคนมาช่วยดึงปี๊บเขาใช้ไม้ไผ่มัดหุ้มแน่นหนา ผูกเชือกสี่เส้นยาวมาก สอง คนจับ ทดลองเหวี่ยงปี๋บลงไปตักน้ำในสระ ดึงสายให้ปีบน้ำลอยขึ้น โยนข้ามคันคูไปเท เหวียงลงไปอีก ถ้าเข้า จังหวะกันก็ใช้ได้ สระน้ำมาก ๆ ครึ่งวัน ใช้ปีบสองคู่ช่วยกัน บ่าย ๆได้เก็บปลาแล้ว
.......เบีย(เบื่อ)ปลา
เบื่อปลา เป็นการทำให้ปลาในน้ำเกิดอาการมึนเมา ทำให้คนลงไปลุยน้ำจับเอาได้ ไม่ใช่เบื่อจยตาย ถ้าถึงตายแสดง ว่าพิษแรง ไม่ควรบริโภค ไปป่าไปดง มีสมุนไพรหลายชนิดที่ใช้เบื่อปลาได้ ที่รู้จักกันดีคือ ไหลแดง เดี๋ยวนี้หายาก อยากใช้ต้องพกไปเอง เคยเห็นเพื่อนที่ไปเที่ยวป่าภูหลวงเขาพกไปและลองใช ทุบ ๆให้แตกแล้วแก่งในแอ่งน้ำ ทำอยู่นานเหมือนกันค่อยเห็นปลาซิวปลาสร้อยออกอาการมึนเมา ตัวใหญ่นานเกือบสามสิบนาที ได้ปลาเต็มตะข้อง เปลือกเปือยเลือดไปดักยิงเม่นที่ภูเก้ากับพี่ชาย แวะทานข้าวที่ริมแอ่งน้ำ หน้าแล้งน้ำขังอยู่ตามแอ่งหิน หินปลา ตะพัยนว่ายน้ำอยู่เดาว่าคงมีปลาที่ไม่เห็นอีกเยอะ พี่ไปถากเปลือกเปลือยเลือดมาบอกให้ทุบ ๆ ล้างน้ำ จนน้ำออก สีแดง ไม่นานปลาซิวปลาตะเพียนเมาก่อน ก็จับเอา ปลาดุกปลาช่อน ได้ตัวสองตัวเอง พอได้ปิ้งย่างก็เลิก มาทำ กับข้าวกินกัน จากนั้นมาก็ไม่ได้ทำอีก ถามคนที่รู้จักเขาบอกมีอีกหลายชนิดที่เอามาเบื่อปลาได้เช่น เครือก้ามปูแดง หนามหันแดง ต้นฮังฮ้อน หนามระเวียงเป็นต้น เขาบอกแต่ไม่เคยใช้หรอก 


ไม่ซาง ยิงลูกดอก ของซาไก  ซาลาวก็ใช้แบบนี้ แต่ลูกดอกลาวใช้ไม้ไผ่เหลากลม ๆยาวสักศอกคน ปลายพันด้วยนุ่น กกเสียบฉมวกแหลมคม ยกกบ ยิงนก


                         หล่องพลุ ในรูปชาวพื้นเมืองเขาทำ วิธีเดียวกัน ซาลาวใช้ไม้รวก ลนไฟดัดให้ตรง ตากแห้ง ค่อยเอามาแทงด้วยเหล็กปลายแหลม เขาเรียกเหล็ก ซี แปลว่า เหล็กใช้เจาแทงให้เป็นรู  เขากำลังแทงควันไฟคลุ้ง มองไม่เห็นคน พอควันจาง ถามว่า แกทำอะไร เขาจะตอบว่า หล่องพลุ  หล่องก็คือเจาะรู  ภาษาอีสานมีใช้เหลือเฟือ คนอีสานไม่ฉลาดเอง ไม่รู้จักใช้ ....เคยแทงเอง ทั้งวันได้ 2 เลา นึกว่าเก่ง มืออาชีพเขาทำได้ 5 เลาขึ้น

หน้าไม้ (หน่าเก้ง)

                                                                   หน้าไม้ (หน่าเก้ง)
......ยิงปลา
.......จับปลาด้วยวิธียิง เครื่องยิงคือ พลุ(ไม้ซาง) หน้าไม้ ปืนแก๊ป พลุ ยิงปลาต้องติดปลายด้วยเงี่ยงเหล็ก ร้อย ด้วยเชือกเอ็น ยิงโดนปลาเงี่ยงติดตัวปลา ปลาดึงลงน้ำสายเอ็นก็คลายออก ลูกดอกเป็นทุ่นให้มองเห็นแลตามจับ เอาได้ ยิงด้วยปืนแก็ปแรงกระแทกสูงปลามักสลบค่าทีจับได้ไม่ยาก เคยใช้ปืนลูกกรดแมกนั่มยิงปลา ยิงไม่ถูก แต่ ปลาสลบ งมมาหาแผลไม่มี แรงกระแทกมากจนปลาสลบ ยิงปลานี่เหมาะสำหรับปลาช่อน ชะโด ตัวโต ๆ ตัวเล็ก ยิงไม่ค่อยถูก 




..................เหล็กฉมวกที่มีขายสมัยนี้ ทำสวยดดี สมัยเราใช้ ฮวงครุถัง ไปให้ช่างตีมีดช่วยทำ ได้ 3 
เงี่ยงก็ดีใจแล้ว ด้ามทำเป็นก้านเสียบเข้ากับด้ามไม้ไผ่ ครั่งทำกาวเชื่อมติดแน่น ซัดได้เป็นปีก็ไม่หลุด หลุ่มลงน้ำก็งมหาตาดำตาแดงกว่าจะเจอ ต่อมาเมื่อมีเชือกเอ็น ดีหน่อย ร้อยฉมวก พันกับด้ามไม้ไว้ ฉมวกหลุดจากด้ามก็ตามหาไม่ยาก

......ซัดฉมวก
......ช่วงไปจับปลาที่เขื่อนอุบลรัตน์ปีแรก ๆที่เขาเก็บกักน้ำ ปลาจากห้วยหนองคลองบึงที่ถูกน้ำท่วม ตื่นน้ำ ไม่กลัว คน เลยถูกจับได้ง่าย ๆ เคยเอาตะเดียงไปเดินส่อง สุ่มเลือกจับปลาดุกปลาช่อนตัวโต ๆ ปลาตะเพียนไม่เอา เดิน ไม่ถึงกิโลเมตรหรอก เต็มตะข้องต้องกลับบ้าน แม่ถามไม่ไปอีกหรือ บอกอยากนอนมากกว่า ปลาขายไม่ออก หา มากินเฉย ๆ มีอยู่หนหนึ่งเพื่อนชวนไปจับปลาขาย เขาซื้อปลาขาวตัวเล็กกิโลกรัมละสามบาท ตัวโตห้าบาท ปลาดุกปลาช่อน 8 บาท ปลาเนื้ออ่อน แปดบาท ไปตั้งแคมป์นอนริมน้ำ ตกกลางคืนเพื่อนชวนไปแทงฉมวก เขามีตะเกียว จ้าวพายุและฉมวก แบบสามง่ามมาด้วย ก็ติดเรือเขาไป ได้ปลาหกเจ็ดตัวก็กลับ ขอลองซัดดูบ้าง ได้หัวเราะกัน ปลามองเห็นแต่ซัดไม่ถูก สุดท้ายโดนเข้าตัวหนึ่ง ปลาอีก่ำ สาม กิโล ดีใจหลาย อ้อฉมวกมีเชือกผูกปลายด้าม คลีมาผูกข้อมือไว้ จะได้ไม่ต้องลงไปงมยาก น้ำลึกสี่ห้าเมตร ใครจะกล้าลงเนาะ

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ตอนที่ 3 วิถีชีวิตชาวบ้าน






ตอนที่ 3 วิถีชีวิตชาวบ้าน


........บ้านนอกบ้านนาสมัยปี 2498 ชนบทของแท้ ทางในหมู่บ้าน ล้อเกวียนใช้จนถนนดินทราย เป็นร่องลึก หน้า ฝนเจอฝูงควายบ้านละ 5-20 ตัว เดินย่ำออกไปหากินตอนเช้า เดินไม่เดินเปล่า มันมาอึใส่ถนนให้ ตรงที่ลุ่มกลาย
เป็น ปลักโคลนที่มีขี้ควายเหลวเละ กลิ่นเหม็นกระจายไปทั่วคุ้มบ้าน ใครอยู่ใกล้ก็ได้กลิ่นทั้งวันทั้งคืน เวลาทานข้าวเย็น ภาวนาขอให้ลมพัดไปทางอื่น ตอนเย็นฝูงควายก็กลับทางเดิมแหละ บ่อยครั้งลูกควายตัวเล็ก ๆ ติดหล่มกลางถนน เจ้าของ ต้องมาช่วยอุ้มไปส่ง ถนนหนทางในหมูบ้านหน้าฝนโหดจริง ๆ หน้าแล้งดีหน่อย ทรายทั้งนั้น ทางระหว่าง หมู่บ้าน ทั้งตำบลก็แบบเดียวกัน เป็นทางเกวียน ช่วงเรียน ม.1-3(2498-2500)เดินจากบ้านไปโรงเรียน 7 กิโลเมตร ถ้าไปตามถนนก็โค้งหน่อย ทางลัดก็ตัดไปตามทุ่งนา ประมาณ 5 กม. ทางเดินก็บนคันนาที่ชาวบ้านไปนาเขานั่น แหละ ผมชอบทางลัด บางช่วงเป็นป่าไม้ที่เขายังไม่แผ้วทาง มีพวกไม้เต็ง รัง ประดู่ แดง แต้ว ผักหวาน นานาชนิด กะปอม นก เยอะมาก หน้าผักหวานก็แวะเก็บผักหวานขากลับบ้าน หน้ามดแดงไข่ แอบแหย่ไข่มดแดงกินกับแจ่ว บองตอนเช้า บางวันไม่มีกับข้าวก็ทำห่อหมกผักหวานกิน ทางลัดมันดีหลายอย่าง 
เวลาปล่อยควายออกไปหากินตรงกัน บ้านละ 3-5 ตัว รวยหน่อยก็ 10-20 ตัว เดินขบวนเต็มถนน
แบบนี้แหละ ถนนดินทรายก็กลายเป็นร่องน้ำได้ไม่ยาก

........ความเป็นอยู่ของชาวบ้านสมัยนั้นลำบากจริง ๆ ผมสนใจเครื่องไม้เครื่องมือที่ครอบครัวเราใช้ ทำ

เองแทบทั้งสิ้น อันไหนทำไม่เป็นก็ซื้อ เงินก็หายากนะ ไม่มีตลาดสดตลาดนัด ขายวัวควาย ขาวข้าวนั่นแหละถึงจะได้เงิน เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ต้องซื้อ ได้แก่หม้อนึ่ง หม้อแกง ตุ่มใส่น้ำดื่มน้ำใช้ ดินเผาทั้งนั้น ดีหน่อยเตาทำหม้อดินเผาอยู่ที่บ้าน ฝายหิน ทางไปอำเภอโนนสัง ห่างจากหมู่บ้านเรา 3 กิโลเมตร เขานำหม้อมาแลกข้าวเปลือก ก็แลกเอา ปริมาณ มากน้อยแค่ไหน ไม่รู้จักหรอก แม่กับพี่สาวตักข้าวจากเล้า(ยุ้ง)มาแลกหม้อเขา เครื่องมือสำคัญอีกอย่างคือ ครุตักน้ำ ตะกร้าหาบของ เดิมทีพ่อสาน สวยด้วย ตอนเด็กเคยช่วยเก็บ"ขี้ซี" ขันที่หล่นตามต้นเต็ง รัง เดินป่าเจอ เก็บมาไว้ให้พ่อทำน้ำยาเคลือบครุตักน้ำ ครุไม้ไผ่ก็สานคล้ายตะกร้า แต่ตอกเล็กกลม สานเสร็จแข็งแรงทนทาน ชัน ยาเคลือบทั้งนอกและใน กันน้ำรั่วซึมเอาไปตักน้ำหาบมาใส่ตุ่มที่บ้านได้ หน้าแล้งเคยตามพี่สาวไปดูเขา"คองน้ำส่าง" น้ำบ่อใสอร่อย ทั้งหมู่บ้านมีบ่อเดียว น้ำไหลซึมช้า ต้องเข้าคืว(เราเรียกคอง) ได้คนละหาบครุ อยากได้มากก็ไปหลาย 
คน บ่อลึกสักสามเมตร เดิมคงทรงกลมสวยงาม แต่วันที่เห็นมันพังไปเป็นทรงสระไปแล้ว น้ำที่เขาตักกันเป็นแอ่งเล็ก ๆ ขนาดเท่าไห ถ้าเต็มแอ่งนั่นก็จะได้น้ำ 1 หาบ 35 ครัวเรือน ดื่มน้ำจากบ่อนี้ เลยมีการเข้าคิว ตอนกลางวันคิวไม่ยาว เพราะไปทำสวนทำไร่กัน เย็น ๆ มาละ จนค่ำมืดได้น้ำก็หาบกลับ หนุ่มสาวชอบมากได้พบปะพูดคุยกัน หนุ่มรอคิวก็ยก คิวให้สาวไป ตัวเองก็ต่อท้ายใหม่ สนุกเขาละ 


น้ำส่าง คล้ายในรูป ก้นบ่อจะมีน้ำไหลซึมออกมาขัง ให้ตักไปใช้บริโภคได้

.......นอกจากคองน้ำ ก็มีกิจกรรมสำคัญอีกอย่างที่อยากเล่าถึงคือ "การลงข่วงเข็นฝ้าย"ชาวบ้านต้องทอผ้าใช้กัน เอง เพราะซื้อที่ตลาดก็แพง เงินซื้อก็หายาก ผ้าที่ทอก็มีผ้าฝ้ายและผ้าไหม ขอเล่าเรื่องลงข่วงก่อน...ผ้าฝ้าย ทุกบ้าน จะมีพื้นที่ปลูกฝ้ายไว้ใช้ จอมปลวกกลางนา ดินดีมาก ปลูกฝ้ายได้งอกงามดี เมื่อผลฝ้ายแก่เต็มที่จะแตกเห็นปุยฝ้าย ขาวเต็มผืนไร่ ไปเก็บเอามาไว้ใช้งาน ก่อนเก็บตากให้แห้งสนิกดีก่อน สานกระชุ เอาใบตองรองแล้วอัดปุยฝ้ายใส่ไว้ ช่วงเกี่ยวข้าว ลมเย็น ๆ สาว ๆจะลงข่วงเข็นฝ้ายกัน พ่อจะทำยกร้านสูงแค่เข่า พื้นที่ขนาด 2 คูณ 2 เมตร ปูด้วยฟาก ไม้ไผ่ ตรงกลางทำกองไฟ แบบเด็กเล่นแคมป์ไฟ สาวสี่คน แบกไน ลงมาล้อมวงเข็นฝ้าย แม่จะเอาดอกฝ้ายออกมา
หีบ เอาเม็ดในออก เหลือแต่ปุยล้วน ๆ เอาไปตากให้แห่งสนิท แล้วเอาไปใส่กะเพียด ไม้กงดีดจนเป็นปุยฝ้าย(สำลี) นำปุ่ย ฝ้ายมาปั้นเป็นแท่งกลม ๆ ขนาดนิ้วเรียก "ล่อฝ่าย" ยาวสักคืบ เอาไว้ใช้เวลาเข็นฝ้าย สาวลงข่วงเข็นฝ้ายจะหอบ ล่อฝ้ายมาเป็นห่อ กางไนออก แล้วก็เริ่มทำงานไป เขาชำนาญมาก ปากพูดคุยกับหนุ่ม ๆ ที่มานั้งใกล้ ๆ คอยสุมไฟ 
ให้ด้วย มือทำงานไป หนุ่มก็จีบกันไป สักห้าทุ่มถึงจะเลิก หนุ่มก็ไปส่ง ที่เป็นคู่รักก็อาจขอไปคุยที่บ้านต่อ อานิสงส์ ลงข่วงนอกจากได้งานได้การแล้วยังอาจได้แฟนด้วย หนุ่มบ้านอื่นก็มีนะวันไหนเดือนหงายก็ไปเที่ยวสาวลงข่วงต่างบ้าน เส้นฝ้ายที่ได้ก็จะใช้ เปียร์ ม้วนเก็บไว้เป็น ไน หลายไนก็เป็น ไจ เป็นปอย เก็บไว้ใช้ทอผ้าต่อไป 

                                  
ไร่ฝ้ายในตำนาน หาดูยากแล้ว

........ทอผ้าฝ้ายต่อเลย
.........ฝ้ายที่ได้จากไนเข็นฝ้ายและเก็บไว้ มีมากพอจะทอผ้าใช้ในครอบครัว แม่จะกำหนดเองว่าจะทอผ้าพื้นสี ขาวธรรมดา สำหรับตัดเสื้อ กางเกง หรือจะทอผ้ามัดหมี่ ท้อผ้าลายขิด ทอผ้าตีนจก.... ฝ้ายจะนำออกมาเพื่อทำการ ฆ่า ด้วยน้ำข้าว ก่อนจะนำไปย้อมสีเช่นสีคราม สีสารเคมีจากตลาด จากนั้นก็นำไปปั่นเอาใส่ กง แล้วใช้กวักดึงเส้น ฝ้ายมาม้วนไว้ตามสีฝ้ายที่ย้อม เช่น สีขาว สีดำ สีแดง จากนั้นก็จะนำกวักไปใช้ทำเส้นยืน เส้นสาน เช่นจะทอผ้า ขะม้า มีสองสี ขาว และดำ เส้นยืนยาวซักกี่ผืน ไม้ค้นหูกก็เอามากาง และวัดความยาวเส้นยืนจะค้นกี่รอบ ไม้ค้นหูก จะมีหลักหนึ่ง เส้นฝ้ายขาไปและกลับ ต้องลอดบน-ล่าง สลับกัน สำหรับทอผ้าลายขัด เมือค้นเครือหูกเสร็จ ตรงหลัก พิเศษก็จะเอาเชือกมัดไว้ เวลาไปเชื่อมต่อเส้นฝ้ายที่ฟืม ต้องต่อให้ถูกกลุ่ม เส้นฝ้ายจะลอดเขาหูกที่มีสองเขาสลับกัน แบบเส้นคี่เส้นคู่ เขาที่หนึ่ง เส้นคี่ล้วน เขาที่สองเส้นคู่ล้วน เวลาเขาสอดไม้เหยียบเขา จะทำให้เส้นด้ายถ่างเป็นช่อง ให้พุ่งกระสวยเส้นสานลอดช่องไปแล้วกระตุกฟืมสานให้แน่น สานไปกลับ ๆ ก็จะกลายเป็นสานลายขัดด้วยเส้นฝ้าย
ก็คือได้แผ่นผ้านั่นเอง อ้อที่รู้จัก เพราะเคยเปิดสอนวิชาการทอผ้าด้วยกี่กระตุกที่โรงเรียนมาแล้ว อกจากทอผ้าพื้น สีขาว ล้วน สีดำล้วนแล้ว ก็อาจทอผ้าลายแบบผ้าขะม้า ถือเป็นการทอแบบง่ายไม่ซีบซ้อน 


                                       

........ทอผ้าฝ้ายที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ได้แก่ การทอผ้ามัดหมี่ ทอลายจก ลายหมี่ใช้เส้นพุ่งหรือเส้นสานเป็น ตัวกำหนดลายนิยมทอลายผ้าซิ่น เลือกลายได้ค่อยมาออกแบบมัดหมี่ ข้อสังเกตลายจะซ้ำ ๆ กันทอผ้าไปสักคืบ ต่อไปลายก็จะซ้ำ การออกแบบหมัดหมี่ก็ทำได้ง่าย ปกติดจะนับความยาวของลาย 1 รอบ ใช้เส้นฝ้ายทอกี่เส้น โฮงมัดหมี่ก็นับเส้นฝ้ายเรียงตามลำดับได้เส้นด้ายครบตามลายที่ต้องการ ก็จะเริ่มมัดหมี่ตามนั้น ก่อนใช้เชือกกล้วย เดี๋ยวนี้เห็นใช้เชือกฟาง มัดเสร็จก็เอาไปย้อมสี สีเดียวก็ง่ายหน่อย หลายสีก็ย้อมหลายครั้งจนกว่าจะครบลายต้องการ เวลาเอาหมี่มาปั่นหลอดก็ต้องเรียงลำดับ เขาจะใช้เชือกร้อยไว้ เวลาทอจะได้เริ่มตั้งแต่หลอดที่ 1 ไป ถึงจะได้ลาย มัดหมี่ตามต้องการ ทอผ้ามัดหมี่ต้องใจเย็น ๆ เหมาะสำหรับผู้หญิงเขา อีกอย่างผ้าลายจก ก็แบบลายมัดหมี่นั่นแหละ ผ้าซิ่นแบบมีตีนลวดลายสวย ๆ ที่เรียกตีนจก ตีนคือตีนซิ่น จกคือลายจก ใช้ฟืมพิเศษเล็ก ๆ ทอผ้ากว้างเท่าตีนซิ่น นั่นแหละ ยาวเท่ารอบวงผ้าถุง เพราะจะเอาไปเย็บติดเป็นตีนซิ่น จะยาวเท่าไรแล้วแต่จะเอาไปติดตีนผ้าถุงกี่ผืน ส่วน
ลายอยู่ในหัวช่างทอ เส้นยืนส่วนมากสีดำ สีคราม ย้อมเสร็จก็นำมาค้นเส้นเครือหูก จากนั้นก็ไปเตรียมหลอดทอสี ต่าง ๆสาระพัดสีตามใจชอบ ยุ่งตอนเก็บลาย ใช้ไม้ไผ่ นับทีละเส้นจนครบเส้นยืน สอดด้ายสาน ก่อนฟืมกระตุก ด้านปลายเส้นยืน เอาไม้ตอกสอด เก็บลายไว้ก่อน ทุกเส้นจะสอดเก็นลายจนครบ 1 ลาย มีไม้สอด 30-40 เส้น ต่อไปก็ย้อนกลับลายเดิม ทีนี้ใช้ไม้ขนาดใหญ่ซัก 3 นิ้า สอดตามไม้เก็บลายทีละเส้น พุ่งเส้นฝ่ายสาน ฟืมฟัดให้ แน่น รอบนี้ไวหน่อย เพราะมีไม้สอดช่วย วิธีนี้เขาเรียกทอลายจก ดูลายตีนผ้าถุงสาวลาวเขาใส่ แบบนั้นแหละ
........ผ้าไหม ยุ่งยากตั้งแต่เลี้ยงไหมแล้ว ต้องมีสวนหม่อน ใบเป็นอาหารหลักตัวไหม พ่อต้องทำอุปกรณ์เลี้ยงไหม กระด้งตอก 1 เซ็นต์ สองปล้อง สานลายสองเสร็จค่อยติดขอบวงกลม ซัก 10 ใบ ถามแม่เท่าไรพอใจ จากนั้นก็ทำ ชั้นวางกระด้ง แบบแขวนขื่อ หรือแบบตั้งบนถ้วยแช่น้ำกันมดแมลง ผ้าขี้ริ้วเอาไว้ปิดกระด้งกันแมลงวันกัดตัวหนอนไหม ได้ผ้าถุงเก่า ๆ ซักเก็บไว้ ซ่อมรอยขาด ทดลองคลุมกระด้งพอดีไหม หรือต้องตัดต่อ เตรียมให้พอ เริ่มเลี้ยงใหม่ก็หาไข่ อาจเพาะเองจากตัวบี้ที่เลี้ยงรุ่นก่อน หรือไปซื้อคนอื่นมา ไข่แผ่นหนึ่งเลี้ยงได้ พอโตจะเต็มกระด้ง อาหารเลี้ยงก็ใบหม่อน จากสวน จะเลี้ยงต้องมีสวนหม่อน ผมพาแม่ไปเก็บหม่อนมาเลี้ยงไหมบ่อย ๆ แต่ไปถึงสวนปีนอยู่ยอดฝรั่งโน่น กำลุงสุก ปล่อยแม่เก็บตามลำพัง จนยินเสียงเรียกค่อยกลับมาหาแม่ ตามหลังกลับบ้าน คงสงสัยทำไมไม่ช่วยแม่เก็บใบหม่อน เคยช่วยนะแต่โดนด่า "มึงเก็บทำไมยอดอ่อน เอาใบพอดี ๆ สิ" แค่ไหนพอดีจะไปรู้เหรอ เด็ก ป1-ป2 ผู้ชายด้วยเนาะ ตัวอ่อนแม่จะหั่นฝอยโรยทั่วแผ่นไข่ตัวไหมที่กำลังฟักเป็นตัวหนอนเล็ก ๆ กินอิ่มโตแล้วก็นอนสัก 3-4 วันคงโตเต็มที่ หยุดกินอยู่วันหนึ่งก็ลอคราบ ตัวโตขึ้น กินจุมากขึ้น โตเต็มที่ก็หยุดพัก 1 วัน ลอกคราบ ตัวโตขึ้น กินอีก เลยมีคำเรียก มันนอน 1 นอน 2 นอน 3 นอน 4 นอน 5 โตเต็มที่ เริ่มตัวตึง สีออกเหลือง เรียกมันสุกพร้อมเก้บไปวางบนใส้จ่อ ให้ มันทำรัง ชักใยหุ่มตัวมันกลายเป็นรังไหมนั่นเอง หลังจากนั้นแม่ก็จะนำรังไหมไปสาวไปมด้วยการต้มในน้ำอุ่น ดึงใยไหม จากฝักไหมสามสี่ผัฝัก ได้เส้นพอดีก็จะเอาไปสอดเข้าที่หมากพวงสาว มีกงล้อกลม ๆ ม้วนรอบหนึ่ง ดึงปลายเส้นไหม รีดน้ำออก เส้นไหมจะถูกสาวไปกองในกระบุง เต็มกระบุงก็เอาไปจัดการให้เป็นไจไหม ปอยไหม ตากแห้งก็เก็บไว้ทอ
ผ้าไหมต่อไป วิธีการก็คล้ายทอผ้าฝ้าย 






กระด้งกระจ่อ
........มีคำถามว่ากระด้งกระจ่อหาซื้อได้ที่ไหน ขำ ๆนะสมัยนั้นไม่มีใครคิดทำขายหรอก คนไม่มีเงินจะซื้อ ต้องทำกัน ดเอง ลูกผู้ชายจะถูกสอนการจักตอกไม้ไผ่ งานแรกก็จักตอกมัดกล้า มัดได้ก็เก่งนะ ถัดมาก็จักตอกสานเครื่องมือเครื่อง ใช้ต่าง ๆ สานพัดให้แม่หน่อย สานกระเช้าหมากด้วย ไปจำศีลต้องเอาไปอวดกัน สานเขิงร่อนรำหน่อยอันเก่ามันขาด เหลือแต่ขอบ กระด้งเลี้ยงไหมก็ขาดแล้วมันเก่า กระจ่อต้องซ่อมมันพังหมด บักอ้ายหวดนึ่งข้าวเปื่อยแล้วเน้อ กระติ๊บ ข้าวเหนียวขอบปากเปื่อยไม่สวยเลย ลูกผู้ชายต้องจัดการครับ สวนเราจะมีไผ่บ้านลกหญ่ขนาดไผ่ตงที่เห็นปลูกกันสมัย นี้ แต่เนื้อจะบาง ปลูกไว้ใช้บ้านละกอสองกอ เวลาเดินไปเที่ยวหมู่บ้านอื่น จะเห็นทิวไผ่ตงสลับกับมะพร้าว หมาก นั่นแหละขาวบ้านเขาปลูกไว้ใช้งาน ตัดไม้ไผ่มาจักตอก สานฝา ลายคุบ เอาไปทำฝาบ้าน ใช้ได้สองสามปีก็เปลี่ยน 

........กระด้งเลี้ยงหม่อนไหม ไม่ไผ่สองปล้องพอ จักตอกเส้นใหญ่ซัก 1 เซ็นต์หรือโตกว่านิดหน่อย สานลายสองเป็น แผ่นทรงสี่เหลี่ยมแล้วค่อยติดขอบวงกลม เหลาตอกเส้นกลมเล็ก ๆ สามเส้น เอาปิดขอบทับซ่นไม้ตอก เวลาจะขึ้นขอบ จะเอาขอบมาวางที่พื้น แผนที่สานวางปิดขอบชั้นนอก เอาขอบชั้นในกดลงไปดึงให้ตึง คีมไม้หนีบไว้สามตัวรอบ ๆ ขอบ มีคม ๆปากซ่นตอกเสมอขอบ ซ่นที่ขาดปลายจะแข็งและคม เวลาติดขอบต้องเหลาไม้กลม สามเส้นมาข่มปลายตอก แล้วมัดด้วยหวายเป็นเปราะ ๆให้แน่นหนา ก็จะได้กระด้งใหม่ สวยไม่สวยก็แล้วแต่ฝีมือ
........กระจ่อ สานเขิงร่อนรำได้ ก็เอาความรู้มาประยุกต์ในการทำเครื่องจักสานประเภทติดขอบทรงกลมได้หมด กระจ่อ อุปกรณ์เลี้ยงไหมของแม่ ใช้ตอกยาวสามปล้องกำลังดี อยากได้ใบใหญ่หาไม้ปล้องยาว ๆ ตอนเหลาค่อนข้างแข็ง ลบ เหลี่ยมสองข้าง เวลาสานจะจัดง่าย ลายที่ใช้นิยมลายสองแน่นดี สานเสร็จสี่ห้าแผ่น ตากไว้ก่อน ไปจัดการขอบกระจ่อ ไม้ไผ่ลำแก่ๆ เหลาขอบสองชั้น ข้างใน ข้างนอก ดัดเป็นวงกลมหันผิวออกด้านนอก ลนไฟกันมอดแล้วดัดเป็นวงกลม สองชั้น เอาไปตากให้แห้งค่อยนำมาใช้ ตอกสานกระจ่อที่เหลือก็นำมาถักใส้ต่อม้วน ๆไว้ สานใบกระจ่อเสร็จก็ค่อย นำใส้มาติดเป็นวง ๆวนรอบ ๆ ตอกมัดติดให้แน่น ช่องระหว่างใส้จ่อเอาไว้วางตัวไหมให้มันชักใย กว่าจะติดใส้เสร็จ หมด ไปหลายเมตรทีเดียว ไม่ง่ายนักหรอก 









........กระด้งพิเศษ กระด้งฝัดข้าว ใช้ตอกผิวไม้ไผ่ แข็ง และตอกรองจากติวใช้เป้นตอกสาน ไม้ไผ่ซี่หนึงจักเอาแค่สอง เส้น ตอกตัวห้ามเลาะข้อ เพราะจะเหลือเอาไว้จัดการข้าวเปลือกหรือกาก เวลาฝัดข้าว ไม้ตอบยาวสองปล้องไม้ไผ่ สานด้วยลายคุบ จัดตอกติวเป็นเส้นตั้ง ตองรองตอกติวใช้เป็นตอกสาน ใช้ตอก่ออ่นจัดเส้นตั้งเข้าแถวใช้ 4 เส้น สานลายขัดเพื่อจัดเส้นตั้งก่อน เสร็จแล้วค่อยสานด้วยลายคุบ สังเกตปุ่มข้อตอกจะเรียงเสมอกัน สานจนเสร็จ เอาไป ตากให้แห้งก่อนค่อยนำมาขึ้นขอบต่อไป ขอบใช้ตอไม้ไผ่ หรือไม้สร้างไพแก่ ๆ เหลากลม ๆ ดัดป็นวงกลมรี ขึ้นขอบใช้หวายเส้นเล็ก ๆสามเส้นเป็นไม้ข่มซ่นตอกก็ได้ มัดหวายถี่หน่อย เพราะใช้ฝัดของหนัก
........เครื่องจักสานอื่น ๆที่ต้องใช้ ตะข้อง ไปหาปลา จับกบเขีด ปู หอย ใช้ตะข้องได้ ต้องสานเป็น ส่อน ไซ ซูด จะสอน ให้ทำไว้ดักจบปลา ส่อน คล้ายไซ ตอกหยาบ สานปากกว้าง ก้นแหลม นิยมสานลายขัด ไม่มีงา เอาไปดักทางน้ำไหล ปลาตัวเล็กไม่ค่อยติด ย้อนกลับออกทางปากได้ ตัวใหญ่จบ ติดแหงกออกไม่ได้ ซูดทำจากเครือซูด เอามาจักเป้นเส้น แบน ๆยาว ถักเป็นรูปทรงกระบอก ก้นแหลม ปากกว้าง ยาวซักแขนหนึ่ง น้ำขึ้นท่วมหญ้า จะเห็นทางปลาวิ่ง เอาซูดไป วางดัก ปลาช่อนตัวละกิโลสองกิโลโดนเข้าไปไม่เป็น ติดแหงกให้เราไปจับได้ง่าย ๆ ไซ ชื่อมงคล รูปร่าก็สง่างาม นี่ ต้องใช้ฝีมือการจักสาน ตอบเหลากลม ๆ ลบเหลี่ยม มีปาก มีงาเดียวบ้าฃสองงาบ้าง เอาไปดักปลาช่องทางน้ำไหล ปลาทุกชนิดเข้าได้ออกไม่ได้ติดงา บางวันมีงูมาติดด้วย เทใส่ครุถัง ไล่งูหนีก่อน ค่อยเทใส่ตะข้อง สานไซสนุกมาก
เขามีลายกาวตอกสามเส้น ลายปลอกห้า ตอกสานห้าเส้น ต้องหัดจากพ่อ พี่ชาย พี่เขย เขาสอนให้ทั้งนั้นแหละไม่หวง
อยากเรียนไหมเท่านั้นเอง 




........ตุ้มดักปลา ลอบ สองอย่างนี่ก็ควรหัดทำไว้ ผมเคยทำลอบไว้ 20 หลัง บ้านติดเขื่อนอุลบรัตน์ เดินไม่ถึง 100 เมตรก็ท่าน้ำแล้ว เรือแจงเราจอดไว้นั้น ลอบก็เอามาตากไว้ที่สวน ขนลงไปบรรทุกเรือ 20 หลังเที่ยวเดียว ไม่จมหรอก พายไปหลายกิโลเหมือนกันถึงที่วางลอบมีฝาเผียกเป็ม้วน ๆ ยาวสัก 2 เมตร ปักให้แน่น วางลอบหัวท้าย ยาวเหมือน กันกว่าจะวางลอบเสร็จ อ้อวางลอบอย่าให้จมมืดน้ำนา ปลาตายหมด เขาทำตูดมันโด่ง ๆ เพื่อให้โผล่เหนือน้ำ ลอบ ไม่ต้องใช้เหยื่อ ดักปลาเข้าออกฝั่ง ปลาจะหากินริมฝั่งเสมอ มาเจอเผียกกั้นก็ว่ายเลาะไป เลยงาลอบไปติดอยู่ในลอบ ออกไม่ได้ เหือนอยู่ในตู้แหละ เช้ามาเป็นกู้ ปลาสด ๆ ไม่ตายหรอก ส่วนตั้มนี่ต้องใช้เหยื่อ เอาไปดักพวกปลาน้ำลึก ปลาหลด ตะเพียน แข็ยง ปลากด แล้วแต่เหยื่อ ก่อนใช้มดแดง เดียวนี้เขามีอาหารปลาคลุกขนมปังและรำสะดวกดี เหมือนลอบ ตุ้มต้องไม่จมมิดน้ำ ไม่งั้นปล่าเน่าหมด 



........เครื่องมืออย่างอื่น เป็นคนบ้านนอกต้องใช้เครื่องมือมากมาย ต้องทำเองทั้งนั้น มานั่งนึกทีหลัง ไม่น่าเชื่อว่าเรา จะฝึกทำอะไรมากมายขนาดนั้น ตั้งแต่ของเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ เล็กไม่ใช่ไม้จิ้มฟันหรอก ด้ามมีดไง มีดสมัยก่อน โคนจะมีซ่นแหลมยาวสำหรับเสียบด้ามไม้ สมัยใหม่มีรูขันน้อต สกรูสบายไป สมัยก่อนทำด้ามมีดยากนะ ต้องมีครั้ง ด้ามก็ไม้ไผ่ส่วนตอแข็ง ๆ หรือไม้เนื้อแข็ง เจาะยรูนำไว้ เวลาจะใส่ด้ามก็เอาโคนมีมาเผาไฟแล้วแทงเข้าด้าม จนมิด เสร็จแล้วค่อบดครั้งเทลงรู มีดเผาไฟอ่อน ๆ ค่อยแทงให้ครังละลาย แล้วปล่อยให้แห้ง มีดจะเกาะติดด้ามอย่างแน่นเลย ใช่นานจนลืม ครั่งกระเทาะมีดหลุก ก็นำมาเข้าครั่งใหม่ ด้ามขวาหัวหมู ขวานหงอน ไม้ประดู ไม้พยุง ตัดเอาขนาดพอ ทำด้ามขวานมาถากเป็นรูปทรงแล้วตากแห้งไว้ใช้ ตอนจะเปลี่ยนด้ามค่อยมาถากอีกที ตบแต่งด้วยตะใบ ตัวยุ่ง ตอกลิ่ม ให้แน่น ขวานหัวหมูทำไม่ยาก ไปยากขวานแบบมีหอน นิยมแขนงไม้ประดู่ แก่ ๆหน่อย เอามาถากส่วนห้ว ส่วนหาว แบน ๆ ส่วนหัวทู่สำหรับสอดใส่รูขวาน หอนขวานจะสอดใส่ด้ามไม้ไผ่อีอที ยุงยากเอาการ ที่บ้านมีไม้ไผ่ด้ามขวาน กอหนึ่งพิลึก ทุกลำมีรูปร่างเป็นด้ามขวานได้หมด อย่าปล่อยให้โตเกินแล้วกัน อได้ขนาดรีบตัดเอามาตากแห้งเก็บไว้ใช้ 

.........เครื่องมือนักล่า พลุ(ไม้ซาง) หน้าไม้ ไม้รวกบนเขามีเยอะแยะ เลือกเอาสักสี่ห้าลำสวย ๆ ตรง ๆ เอามาลนไปดัด ให้ตรง ตกแห้งก่อนจะนำมาเจาะรู เหล็กเจาะพ่อทำให้ เหลาด้ามยาว ๆ ไม้ไผ่ตงนั่นแหละเหลาไว้ห้าหกเส้น เผื่อมันหัก มัดเหล็กแหลมติดปลายให้แน่น อย่าให้หลุดเชียว ปกติแทง 3 เกล็กก็โอเคแล้ว ติดเตาไฟ เผาเหล็กแหลม ไม่รวกที่ แห้งแล้วเอามาแทงเจาะรู เช้ายันเย็นได้เลาเดียว พี่เขาทำได้ สาม เลา ฝีมือต่างกัน เราแทงละเอียดไปมั้ง เอาไว้ใช้ ยิงนก ยิงกะปอม ยิงบ่าง ใช้ลูกดอกเป่านั่ครับ หน้าไม้ ใช้ไม้ประดู่ ไม้พยุง ทำแม่ ถากดีแล้วเหลาด้วยกบ ตกแต่งด้วย ตัวบุ่ง สังกะสีเจาะรูเป็นกระดาษทราย สมัยนั้ไม่มีขายหรอก ขาหน้าไม้ ใช้ไม้ไผ่เหลาแบบคันธนู ตัวแม่จะเจาะรูสอด ขาหน้าไม้ สายผูกปลายสองข้าง ดึงลงมาถึงไหนบากร่องตรงนั้นสำหรับพาดสาย เซาะร่องวางลูก ทำกลไกไว้กดยิง หน้าไม้จะแรง ยิงไกล แม่น นอกจากนี้ก็พวก แร้ว กับกัด ตังบาน ตุ้มดักนก จั่นดักปลา สวิง แห อวน ต้องสานเป็น
ไม่งั้นไม่มีใช้ เขาไม่มีขายนี่นา ต้องทำเอง


..........แถมแร้วดักนกนิดหนึ่ง คนอื่นเขาสานอย่างดี แต่เราไม่สานหรอก ใช้อวนถี่ตาเท่าหัวแม่โป้ง มันขาดเลิกใช้แล้ว เอามาตัดเป็นรูปแร้วถุง ร้อยไม้ไผ่ที่เป็นโครงแผ่นแร้วนั่นแหละ พบว่ามันง่ายมาก เลยทำโครงไม้ไผ่ไว้ 25 หลัง ตัดมอง หรืออวนถี่ที่ขาด เลือกเอาส่วนที่ยังดีอยู่ ร้อย ไม้ไผ่ เอาไปสอดใส่คันแร้ว ผู้เชือก แต่งกลไก บ๊ะ วันหนึ่งได้เป็นสิบหลัง ทำอยู่สองวันหมดแล้วโครงแร้ว 25 หลัง เอาไปดักนกสิ ริมน้ำเขื่อน ไปวางอวนเห็นนกริมฝั่งเยอะแยะ จะลองไปปัก แถวนั้นแหละ วางอวนเสร็จก็มาหาแมงกะชอน ได้ซักถ้วยมั้งมันเยอะ เอาไปทำเหยื่อล่อ กางแร้วดักนก กางไปห้าหลัง หลังแรกตะปบนกได้แล้ว คืนมาปลดและกางใหม่ กางไม่จบซักที เลยไม่สนใจวางไปจนครบ 25 หลัง ได้นกกว่า 20 ตัว นกกางเขน นกจิบฟาง นกกระเต็น นกกวัก นกกาแวน นกเอี้ยงยังเข้าเลย นับว่าเป็นนักบาปที่มีฝีมือเลยแหละ ชาวบ้าน เขารู้กันทั่ว

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ตอนที่ 2 เครื่องมือ ทำมาหากิน






ตอนที่ 2 เครื่องมือทำมาหากิน
........บ้านนอกบ้านนาสมัยปี 2498 ชนบทของแท้ ทางในหมู่บ้าน ล้อเกวียนใช้จนถนนดินทราย เป็นร่องลึก หน้า ฝนเจอฝูงควายบ้านละ 5-20 ตัว เดินย่ำออกไปหากินตอนเช้า เดินไม่เดินเปล่า มันมาอึใส่ถนนให้ ตรงที่ลุ่มกลาย
เป็น ปลักโคลนที่มีขี้ควายเหลวเละ กลิ่นเหม็นกระจายไปทั่วคุ้มบ้าน ใครอยู่ใกล้ก็ได้กลิ่นทั้งวันทั้งคืน เวลาทานข้าวเย็น ภาวนาขอให้ลมพัดไปทางอื่น ตอนเย็นฝูงควายก็กลับทางเดิมแหละ บ่อยครั้งลูกควายตัวเล็ก ๆ ติดหล่มกลางถนน เจ้าของ ต้องมาช่วยอุ้มไปส่ง ถนนหนทางในหมูบ้านหน้าฝนโหดจริง ๆ หน้าแล้งดีหน่อย ทรายทั้งนั้น ทางระหว่าง หมู่บ้าน ทั้งตำบลก็แบบเดียวกัน เป็นทางเกวียน ช่วงเรียน ม.1-3(2498-2500)เดินจากบ้านไปโรงเรียน 7 กิโลเมตร ถ้าไปตามถนนก็โค้งหน่อย ทางลัดก็ตัดไปตามทุ่งนา ประมาณ 5 กม. ทางเดินก็บนคันนาที่ชาวบ้านไปนาเขานั่น แหละ ผมชอบทางลัด บางช่วงเป็นป่าไม้ที่เขายังไม่แผ้วทาง มีพวกไม้เต็ง รัง ประดู่ แดง แต้ว ผักหวาน นานาชนิด กะปอม นก เยอะมาก หน้าผักหวานก็แวะเก็บผักหวานขากลับบ้าน หน้ามดแดงไข่ แอบแหย่ไข่มดแดงกินกับแจ่ว บองตอนเช้า บางวันไม่มีกับข้าวก็ทำห่อหมกผักหวานกิน ทางลัดมันดีหลายอย่าง 

........ความเป็นอยู่ของชาวบ้านสมัยนั้นลำบากจริง ๆ ผมสนใจเครื่องไม้เครื่องมือที่ครอบครัวเราใช้ ทำ

เองแทบทั้งสิ้น อันไหนทำไม่เป็นก็ซื้อ เงินก็หายากนะ ไม่มีตลาดสดตลาดนัด ขายวัวควาย ขาวข้าวนั่นแหละถึงจะได้เงิน เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ต้องซื้อ ได้แก่หม้อนึ่ง หม้อแกง ตุ่มใส่น้ำดื่มน้ำใช้ ดินเผาทั้งนั้น ดีหน่อยเตาทำหม้อดินเผาอยู่ที่บ้าน ฝายหิน ทางไปอำเภอโนนสัง ห่างจากหมู่บ้านเรา 3 กิโลเมตร เขานำหม้อมาแลกข้าวเปลือก ก็แลกเอา ปริมาณ มากน้อยแค่ไหน ไม่รู้จักหรอก แม่กับพี่สาวตักข้าวจากเล้า(ยุ้ง)มาแลกหม้อเขา เครื่องมือสำคัญอีกอย่างคือ ครุตักน้ำ ตะกร้าหาบของ เดิมทีพ่อสาน สวยด้วย ตอนเด็กเคยช่วยเก็บ"ขี้ซี" ขันที่หล่นตามต้นเต็ง รัง เดินป่าเจอ เก็บมาไว้ให้พ่อทำน้ำยาเคลือบครุตักน้ำ ครุไม้ไผ่ก็สานคล้ายตะกร้า แต่ตอกเล็กกลม สานเสร็จแข็งแรงทนทาน ชัน ยาเคลือบทั้งนอกและใน กันน้ำรั่วซึมเอาไปตักน้ำหาบมาใส่ตุ่มที่บ้านได้ หน้าแล้งเคยตามพี่สาวไปดูเขา"คองน้ำส่าง" น้ำบ่อใสอร่อย ทั้งหมู่บ้านมีบ่อเดียว น้ำไหลซึมช้า ต้องเข้าคืว(เราเรียกคอง) ได้คนละหาบครุ อยากได้มากก็ไปหลาย 
คน บ่อลึกสักสามเมตร เดิมคงทรงกลมสวยงาม แต่วันที่เห็นมันพังไปเป็นทรงสระไปแล้ว น้ำที่เขาตักกันเป็นแอ่งเล็ก ๆ ขนาดเท่าไห ถ้าเต็มแอ่งนั่นก็จะได้น้ำ 1 หาบ 35 ครัวเรือน ดื่มน้ำจากบ่อนี้ เลยมีการเข้าคิว ตอนกลางวันคิวไม่ยาว เพราะไปทำสวนทำไร่กัน เย็น ๆ มาละ จนค่ำมืดได้น้ำก็หาบกลับ หนุ่มสาวชอบมากได้พบปะพูดคุยกัน หนุ่มรอคิวก็ยก คิวให้สาวไป ตัวเองก็ต่อท้ายใหม่ สนุกเขาละ 


น้ำส่าง คล้ายในรูป ก้นบ่อจะมีน้ำไหลซึมออกมาขัง ให้ตักไปใช้บริโภคได้

.......นอกจากคองน้ำ ก็มีกิจกรรมสำคัญอีกอย่างที่อยากเล่าถึงคือ "การลงข่วงเข็นฝ้าย"ชาวบ้านต้องทอผ้าใช้กัน เอง เพราะซื้อที่ตลาดก็แพง เงินซื้อก็หายาก ผ้าที่ทอก็มีผ้าฝ้ายและผ้าไหม ขอเล่าเรื่องลงข่วงก่อน...ผ้าฝ้าย ทุกบ้าน จะมีพื้นที่ปลูกฝ้ายไว้ใช้ จอมปลวกกลางนา ดินดีมาก ปลูกฝ้ายได้งอกงามดี เมื่อผลฝ้ายแก่เต็มที่จะแตกเห็นปุยฝ้าย ขาวเต็มผืนไร่ ไปเก็บเอามาไว้ใช้งาน ก่อนเก็บตากให้แห้งสนิกดีก่อน สานกระชุ เอาใบตองรองแล้วอัดปุยฝ้ายใส่ไว้ ช่วงเกี่ยวข้าว ลมเย็น ๆ สาว ๆจะลงข่วงเข็นฝ้ายกัน พ่อจะทำยกร้านสูงแค่เข่า พื้นที่ขนาด 2 คูณ 2 เมตร ปูด้วยฟาก ไม้ไผ่ ตรงกลางทำกองไฟ แบบเด็กเล่นแคมป์ไฟ สาวสี่คน แบกไน ลงมาล้อมวงเข็นฝ้าย แม่จะเอาดอกฝ้ายออกมา
หีบ เอาเม็ดในออก เหลือแต่ปุยล้วน ๆ เอาไปตากให้แห่งสนิท แล้วเอาไปใส่กะเพียด ไม้กงดีดจนเป็นปุยฝ้าย(สำลี) นำปุ่ย ฝ้ายมาปั้นเป็นแท่งกลม ๆ ขนาดนิ้วเรียก "ล่อฝ่าย" ยาวสักคืบ เอาไว้ใช้เวลาเข็นฝ้าย สาวลงข่วงเข็นฝ้ายจะหอบ ล่อฝ้ายมาเป็นห่อ กางไนออก แล้วก็เริ่มทำงานไป เขาชำนาญมาก ปากพูดคุยกับหนุ่ม ๆ ที่มานั้งใกล้ ๆ คอยสุมไฟ 
ให้ด้วย มือทำงานไป หนุ่มก็จีบกันไป สักห้าทุ่มถึงจะเลิก หนุ่มก็ไปส่ง ที่เป็นคู่รักก็อาจขอไปคุยที่บ้านต่อ อานิสงส์ ลงข่วงนอกจากได้งานได้การแล้วยังอาจได้แฟนด้วย หนุ่มบ้านอื่นก็มีนะวันไหนเดือนหงายก็ไปเที่ยวสาวลงข่วงต่างบ้าน เส้นฝ้ายที่ได้ก็จะใช้ เปียร์ ม้วนเก็บไว้เป็น ไน หลายไนก็เป็น ไจ เป็นปอย เก็บไว้ใช้ทอผ้าต่อไป 

                                  


ไร่ฝ้ายในตำนาน เดี๋ยวนี้หาดูยากแล้ว


........ทอผ้าฝ้ายต่อเลย
.........ฝ้ายที่ได้จากไนเข็นฝ้ายและเก็บไว้ มีมากพอจะทอผ้าใช้ในครอบครัว แม่จะกำหนดเองว่าจะทอผ้าพื้นสี ขาวธรรมดา สำหรับตัดเสื้อ กางเกง หรือจะทอผ้ามัดหมี่ ท้อผ้าลายขิด ทอผ้าตีนจก.... ฝ้ายจะนำออกมาเพื่อทำการ ฆ่า ด้วยน้ำข้าว ก่อนจะนำไปย้อมสีเช่นสีคราม สีสารเคมีจากตลาด จากนั้นก็นำไปปั่นเอาใส่ กง แล้วใช้กวักดึงเส้น ฝ้ายมาม้วนไว้ตามสีฝ้ายที่ย้อม เช่น สีขาว สีดำ สีแดง จากนั้นก็จะนำกวักไปใช้ทำเส้นยืน เส้นสาน เช่นจะทอผ้า ขะม้า มีสองสี ขาว และดำ เส้นยืนยาวซักกี่ผืน ไม้ค้นหูกก็เอามากาง และวัดความยาวเส้นยืนจะค้นกี่รอบ ไม้ค้นหูก จะมีหลักหนึ่ง เส้นฝ้ายขาไปและกลับ ต้องลอดบน-ล่าง สลับกัน สำหรับทอผ้าลายขัด เมือค้นเครือหูกเสร็จ ตรงหลัก พิเศษก็จะเอาเชือกมัดไว้ เวลาไปเชื่อมต่อเส้นฝ้ายที่ฟืม ต้องต่อให้ถูกกลุ่ม เส้นฝ้ายจะลอดเขาหูกที่มีสองเขาสลับกัน แบบเส้นคี่เส้นคู่ เขาที่หนึ่ง เส้นคี่ล้วน เขาที่สองเส้นคู่ล้วน เวลาเขาสอดไม้เหยียบเขา จะทำให้เส้นด้ายถ่างเป็นช่อง ให้พุ่งกระสวยเส้นสานลอดช่องไปแล้วกระตุกฟืมสานให้แน่น สานไปกลับ ๆ ก็จะกลายเป็นสานลายขัดด้วยเส้นฝ้าย
ก็คือได้แผ่นผ้านั่นเอง อ้อที่รู้จัก เพราะเคยเปิดสอนวิชาการทอผ้าด้วยกี่กระตุกที่โรงเรียนมาแล้ว อกจากทอผ้าพื้น สีขาว ล้วน สีดำล้วนแล้ว ก็อาจทอผ้าลายแบบผ้าขะม้า ถือเป็นการทอแบบง่ายไม่ซีบซ้อน 


                                       
                                                   นี่ก็เป็นตำนานไปแล้ว ลงข่วงเข็นฝ้าย
........ทอผ้าฝ้ายที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ได้แก่ การทอผ้ามัดหมี่ ทอลายจก ลายหมี่ใช้เส้นพุ่งหรือเส้นสานเป็น ตัวกำหนดลายนิยมทอลายผ้าซิ่น เลือกลายได้ค่อยมาออกแบบมัดหมี่ ข้อสังเกตลายจะซ้ำ ๆ กันทอผ้าไปสักคืบ ต่อไปลายก็จะซ้ำ การออกแบบหมัดหมี่ก็ทำได้ง่าย ปกติดจะนับความยาวของลาย 1 รอบ ใช้เส้นฝ้ายทอกี่เส้น โฮงมัดหมี่ก็นับเส้นฝ้ายเรียงตามลำดับได้เส้นด้ายครบตามลายที่ต้องการ ก็จะเริ่มมัดหมี่ตามนั้น ก่อนใช้เชือกกล้วย เดี๋ยวนี้เห็นใช้เชือกฟาง มัดเสร็จก็เอาไปย้อมสี สีเดียวก็ง่ายหน่อย หลายสีก็ย้อมหลายครั้งจนกว่าจะครบลายต้องการ เวลาเอาหมี่มาปั่นหลอดก็ต้องเรียงลำดับ เขาจะใช้เชือกร้อยไว้ เวลาทอจะได้เริ่มตั้งแต่หลอดที่ 1 ไป ถึงจะได้ลาย มัดหมี่ตามต้องการ ทอผ้ามัดหมี่ต้องใจเย็น ๆ เหมาะสำหรับผู้หญิงเขา อีกอย่างผ้าลายจก ก็แบบลายมัดหมี่นั่นแหละ ผ้าซิ่นแบบมีตีนลวดลายสวย ๆ ที่เรียกตีนจก ตีนคือตีนซิ่น จกคือลายจก ใช้ฟืมพิเศษเล็ก ๆ ทอผ้ากว้างเท่าตีนซิ่น นั่นแหละ ยาวเท่ารอบวงผ้าถุง เพราะจะเอาไปเย็บติดเป็นตีนซิ่น จะยาวเท่าไรแล้วแต่จะเอาไปติดตีนผ้าถุงกี่ผืน ส่วน
ลายอยู่ในหัวช่างทอ เส้นยืนส่วนมากสีดำ สีคราม ย้อมเสร็จก็นำมาค้นเส้นเครือหูก จากนั้นก็ไปเตรียมหลอดทอสี ต่าง ๆสาระพัดสีตามใจชอบ ยุ่งตอนเก็บลาย ใช้ไม้ไผ่ นับทีละเส้นจนครบเส้นยืน สอดด้ายสาน ก่อนฟืมกระตุก ด้านปลายเส้นยืน เอาไม้ตอกสอด เก็บลายไว้ก่อน ทุกเส้นจะสอดเก็นลายจนครบ 1 ลาย มีไม้สอด 30-40 เส้น ต่อไปก็ย้อนกลับลายเดิม ทีนี้ใช้ไม้ขนาดใหญ่ซัก 3 นิ้า สอดตามไม้เก็บลายทีละเส้น พุ่งเส้นฝ่ายสาน ฟืมฟัดให้ แน่น รอบนี้ไวหน่อย เพราะมีไม้สอดช่วย วิธีนี้เขาเรียกทอลายจก ดูลายตีนผ้าถุงสาวลาวเขาใส่ แบบนั้นแหละ
........ผ้าไหม ยุ่งยากตั้งแต่เลี้ยงไหมแล้ว ต้องมีสวนหม่อน ใบเป็นอาหารหลักตัวไหม พ่อต้องทำอุปกรณ์เลี้ยงไหม กระด้งตอก 1 เซ็นต์ สองปล้อง สานลายสองเสร็จค่อยติดขอบวงกลม ซัก 10 ใบ ถามแม่เท่าไรพอใจ จากนั้นก็ทำ ชั้นวางกระด้ง แบบแขวนขื่อ หรือแบบตั้งบนถ้วยแช่น้ำกันมดแมลง ผ้าขี้ริ้วเอาไว้ปิดกระด้งกันแมลงวันกัดตัวหนอนไหม ได้ผ้าถุงเก่า ๆ ซักเก็บไว้ ซ่อมรอยขาด ทดลองคลุมกระด้งพอดีไหม หรือต้องตัดต่อ เตรียมให้พอ เริ่มเลี้ยงใหม่ก็หาไข่ อาจเพาะเองจากตัวบี้ที่เลี้ยงรุ่นก่อน หรือไปซื้อคนอื่นมา ไข่แผ่นหนึ่งเลี้ยงได้ พอโตจะเต็มกระด้ง อาหารเลี้ยงก็ใบหม่อน จากสวน จะเลี้ยงต้องมีสวนหม่อน ผมพาแม่ไปเก็บหม่อนมาเลี้ยงไหมบ่อย ๆ แต่ไปถึงสวนปีนอยู่ยอดฝรั่งโน่น กำลุงสุก ปล่อยแม่เก็บตามลำพัง จนยินเสียงเรียกค่อยกลับมาหาแม่ ตามหลังกลับบ้าน คงสงสัยทำไมไม่ช่วยแม่เก็บใบหม่อน เคยช่วยนะแต่โดนด่า "มึงเก็บทำไมยอดอ่อน เอาใบพอดี ๆ สิ" แค่ไหนพอดีจะไปรู้เหรอ เด็ก ป1-ป2 ผู้ชายด้วยเนาะ ตัวอ่อนแม่จะหั่นฝอยโรยทั่วแผ่นไข่ตัวไหมที่กำลังฟักเป็นตัวหนอนเล็ก ๆ กินอิ่มโตแล้วก็นอนสัก 3-4 วันคงโตเต็มที่ หยุดกินอยู่วันหนึ่งก็ลอคราบ ตัวโตขึ้น กินจุมากขึ้น โตเต็มที่ก็หยุดพัก 1 วัน ลอกคราบ ตัวโตขึ้น กินอีก เลยมีคำเรียก มันนอน 1 นอน 2 นอน 3 นอน 4 นอน 5 โตเต็มที่ เริ่มตัวตึง สีออกเหลือง เรียกมันสุกพร้อมเก้บไปวางบนใส้จ่อ ให้ มันทำรัง ชักใยหุ่มตัวมันกลายเป็นรังไหมนั่นเอง หลังจากนั้นแม่ก็จะนำรังไหมไปสาวไปมด้วยการต้มในน้ำอุ่น ดึงใยไหม จากฝักไหมสามสี่ผัฝัก ได้เส้นพอดีก็จะเอาไปสอดเข้าที่หมากพวงสาว มีกงล้อกลม ๆ ม้วนรอบหนึ่ง ดึงปลายเส้นไหม รีดน้ำออก เส้นไหมจะถูกสาวไปกองในกระบุง เต็มกระบุงก็เอาไปจัดการให้เป็นไจไหม ปอยไหม ตากแห้งก็เก็บไว้ทอ
ผ้าไหมต่อไป วิธีการก็คล้ายทอผ้าฝ้าย 


                                                  ฝักหลอก มีตัวบี้ฟักตัวเป็นดักแด้อยู่ข้างใน

ใยหุ่มรังตัวบี้ เอามาสาวได้เป็นใยไหม กับดักแด้

ตัวไหม ในกระด้ง ใบหม่อโปะมิดไม่เห้นหัว มันกินเสร็จเก็บไว้ข้างล่าง ตัวมัน
ไต่มาอยู่บน

กระด้งกระจ่อ
........มีคำถามว่ากระด้งกระจ่อหาซื้อได้ที่ไหน ขำ ๆนะสมัยนั้นไม่มีใครคิดทำขายหรอก คนไม่มีเงินจะซื้อ ต้องทำกัน ดเอง ลูกผู้ชายจะถูกสอนการจักตอกไม้ไผ่ งานแรกก็จักตอกมัดกล้า มัดได้ก็เก่งนะ ถัดมาก็จักตอกสานเครื่องมือเครื่อง ใช้ต่าง ๆ สานพัดให้แม่หน่อย สานกระเช้าหมากด้วย ไปจำศีลต้องเอาไปอวดกัน สานเขิงร่อนรำหน่อยอันเก่ามันขาด เหลือแต่ขอบ กระด้งเลี้ยงไหมก็ขาดแล้วมันเก่า กระจ่อต้องซ่อมมันพังหมด บักอ้ายหวดนึ่งข้าวเปื่อยแล้วเน้อ กระติ๊บ ข้าวเหนียวขอบปากเปื่อยไม่สวยเลย ลูกผู้ชายต้องจัดการครับ สวนเราจะมีไผ่บ้านลกหญ่ขนาดไผ่ตงที่เห็นปลูกกันสมัย นี้ แต่เนื้อจะบาง ปลูกไว้ใช้บ้านละกอสองกอ เวลาเดินไปเที่ยวหมู่บ้านอื่น จะเห็นทิวไผ่ตงสลับกับมะพร้าว หมาก นั่นแหละขาวบ้านเขาปลูกไว้ใช้งาน ตัดไม้ไผ่มาจักตอก สานฝา ลายคุบ เอาไปทำฝาบ้าน ใช้ได้สองสามปีก็เปลี่ยน 

........กระด้งเลี้ยงหม่อนไหม ไม่ไผ่สองปล้องพอ จักตอกเส้นใหญ่ซัก 1 เซ็นต์หรือโตกว่านิดหน่อย สานลายสองเป็น แผ่นทรงสี่เหลี่ยมแล้วค่อยติดขอบวงกลม เหลาตอกเส้นกลมเล็ก ๆ สามเส้น เอาปิดขอบทับซ่นไม้ตอก เวลาจะขึ้นขอบ จะเอาขอบมาวางที่พื้น แผนที่สานวางปิดขอบชั้นนอก เอาขอบชั้นในกดลงไปดึงให้ตึง คีมไม้หนีบไว้สามตัวรอบ ๆ ขอบ มีคม ๆปากซ่นตอกเสมอขอบ ซ่นที่ขาดปลายจะแข็งและคม เวลาติดขอบต้องเหลาไม้กลม สามเส้นมาข่มปลายตอก แล้วมัดด้วยหวายเป็นเปราะ ๆให้แน่นหนา ก็จะได้กระด้งใหม่ สวยไม่สวยก็แล้วแต่ฝีมือ
........กระจ่อ สานเขิงร่อนรำได้ ก็เอาความรู้มาประยุกต์ในการทำเครื่องจักสานประเภทติดขอบทรงกลมได้หมด กระจ่อ อุปกรณ์เลี้ยงไหมของแม่ ใช้ตอกยาวสามปล้องกำลังดี อยากได้ใบใหญ่หาไม้ปล้องยาว ๆ ตอนเหลาค่อนข้างแข็ง ลบ เหลี่ยมสองข้าง เวลาสานจะจัดง่าย ลายที่ใช้นิยมลายสองแน่นดี สานเสร็จสี่ห้าแผ่น ตากไว้ก่อน ไปจัดการขอบกระจ่อ ไม้ไผ่ลำแก่ๆ เหลาขอบสองชั้น ข้างใน ข้างนอก ดัดเป็นวงกลมหันผิวออกด้านนอก ลนไฟกันมอดแล้วดัดเป็นวงกลม สองชั้น เอาไปตากให้แห้งค่อยนำมาใช้ ตอกสานกระจ่อที่เหลือก็นำมาถักใส้ต่อม้วน ๆไว้ สานใบกระจ่อเสร็จก็ค่อย นำใส้มาติดเป็นวง ๆวนรอบ ๆ ตอกมัดติดให้แน่น ช่องระหว่างใส้จ่อเอาไว้วางตัวไหมให้มันชักใย กว่าจะติดใส้เสร็จ หมด ไปหลายเมตรทีเดียว ไม่ง่ายนักหรอก 


                                                         กระด้งฝัดข้าวสานละเอียดหน่อย

กะเพียดดีดฝ้าย กันลมพัดปุยฝ้ายมันเบา

ไม้ดีดฝ้าย ดอกฝ่ายตากแดดแห้งดีแล้ว นำไปกองในกะเพียด แหย่ไม้ดีดฝ้ายเข้าไป ดีดตุ๊บ ๆ 
ครู่เดียวก็เป็นสำลียังกะปุยเมฆ



กงไว้สอดปอยฝ้าย ใช้กวัก หรือ อัก มาดึงออกไปเตรียมนำไปใช้งาน

มีหลายสี เตรียมไปปั่นหลอดสำหรับทอผ้า

........กระด้งพิเศษ กระด้งฝัดข้าว ใช้ตอกผิวไม้ไผ่ แข็ง และตอกรองจากติวใช้เป้นตอกสาน ไม้ไผ่ซี่หนึงจักเอาแค่สอง เส้น ตอกตัวห้ามเลาะข้อ เพราะจะเหลือเอาไว้จัดการข้าวเปลือกหรือกาก เวลาฝัดข้าว ไม้ตอบยาวสองปล้องไม้ไผ่ สานด้วยลายคุบ จัดตอกติวเป็นเส้นตั้ง ตองรองตอกติวใช้เป็นตอกสาน ใช้ตอก่ออ่นจัดเส้นตั้งเข้าแถวใช้ 4 เส้น สานลายขัดเพื่อจัดเส้นตั้งก่อน เสร็จแล้วค่อยสานด้วยลายคุบ สังเกตปุ่มข้อตอกจะเรียงเสมอกัน สานจนเสร็จ เอาไป ตากให้แห้งก่อนค่อยนำมาขึ้นขอบต่อไป ขอบใช้ตอไม้ไผ่ หรือไม้สร้างไพแก่ ๆ เหลากลม ๆ ดัดป็นวงกลมรี ขึ้นขอบใช้หวายเส้นเล็ก ๆสามเส้นเป็นไม้ข่มซ่นตอกก็ได้ มัดหวายถี่หน่อย เพราะใช้ฝัดของหนัก
........เครื่องจักสานอื่น ๆที่ต้องใช้ ตะข้อง ไปหาปลา จับกบเขีด ปู หอย ใช้ตะข้องได้ ต้องสานเป็น ส่อน ไซ ซูด จะสอน ให้ทำไว้ดักจบปลา ส่อน คล้ายไซ ตอกหยาบ สานปากกว้าง ก้นแหลม นิยมสานลายขัด ไม่มีงา เอาไปดักทางน้ำไหล ปลาตัวเล็กไม่ค่อยติด ย้อนกลับออกทางปากได้ ตัวใหญ่จบ ติดแหงกออกไม่ได้ ซูดทำจากเครือซูด เอามาจักเป้นเส้น แบน ๆยาว ถักเป็นรูปทรงกระบอก ก้นแหลม ปากกว้าง ยาวซักแขนหนึ่ง น้ำขึ้นท่วมหญ้า จะเห็นทางปลาวิ่ง เอาซูดไป วางดัก ปลาช่อนตัวละกิโลสองกิโลโดนเข้าไปไม่เป็น ติดแหงกให้เราไปจับได้ง่าย ๆ ไซ ชื่อมงคล รูปร่าก็สง่างาม นี่ ต้องใช้ฝีมือการจักสาน ตอบเหลากลม ๆ ลบเหลี่ยม มีปาก มีงาเดียวบ้าฃสองงาบ้าง เอาไปดักปลาช่องทางน้ำไหล ปลาทุกชนิดเข้าได้ออกไม่ได้ติดงา บางวันมีงูมาติดด้วย เทใส่ครุถัง ไล่งูหนีก่อน ค่อยเทใส่ตะข้อง สานไซสนุกมาก
เขามีลายกาวตอกสามเส้น ลายปลอกห้า ตอกสานห้าเส้น ต้องหัดจากพ่อ พี่ชาย พี่เขย เขาสอนให้ทั้งนั้นแหละไม่หวง อยากเรียนไหมเท่านั้นเอง 

เครื่องจักสานพวกนี้ต้องทำเอง สมัยก่อนไม่มีขายหรอก


แงบดักกบ ดูงาสิ อย่าเอามือแหย่เล่นเชียว เด็กร้องจ้า ดึงกำปั้นไม่ออกหลายรายแล้ว


ตุ้มดักปลา

........ตุ้มดักปลา ลอบ สองอย่างนี่ก็ควรหัดทำไว้ ผมเคยทำลอบไว้ 20 หลัง บ้านติดเขื่อนอุลบรัตน์ เดินไม่ถึง 100 เมตรก็ท่าน้ำแล้ว เรือแจงเราจอดไว้นั้น ลอบก็เอามาตากไว้ที่สวน ขนลงไปบรรทุกเรือ 20 หลังเที่ยวเดียว ไม่จมหรอก พายไปหลายกิโลเหมือนกันถึงที่วางลอบมีฝาเผียกเป็ม้วน ๆ ยาวสัก 2 เมตร ปักให้แน่น วางลอบหัวท้าย ยาวเหมือน กันกว่าจะวางลอบเสร็จ อ้อวางลอบอย่าให้จมมืดน้ำนา ปลาตายหมด เขาทำตูดมันโด่ง ๆ เพื่อให้โผล่เหนือน้ำ ลอบ ไม่ต้องใช้เหยื่อ ดักปลาเข้าออกฝั่ง ปลาจะหากินริมฝั่งเสมอ มาเจอเผียกกั้นก็ว่ายเลาะไป เลยงาลอบไปติดอยู่ในลอบ ออกไม่ได้ เหือนอยู่ในตู้แหละ เช้ามาเป็นกู้ ปลาสด ๆ ไม่ตายหรอก ส่วนตั้มนี่ต้องใช้เหยื่อ เอาไปดักพวกปลาน้ำลึก ปลาหลด ตะเพียน แข็ยง ปลากด แล้วแต่เหยื่อ ก่อนใช้มดแดง เดียวนี้เขามีอาหารปลาคลุกขนมปังและรำสะดวกดี เหมือนลอบ ตุ้มต้องไม่จมมิดน้ำ ไม่งั้นปล่าเน่าหมด 


ซูดดักปลา เห็นฮ้าง ๆ ปลาตัวละสามกิโล หลงเข้าไปตายอย่างเขียด ไม่มีหลุด


เบ็ดคันโค้ง อุปกรณ์สอนเด็กจับปลา เหยื่อใส้เดือน แมงกะชอน ปูตัวเล็ก เขียด หนองบึง 
ลำห้วยที่มีปลาเยอะจะเห็นปลาเลือกเหยื่อที่ชอบ ไส้เดือนถือเป็นเหยื่อสาธารณะ ทุกปลาชอบ แมงกะชอน ปลาดุกจองก่อน ปลาช่อนก็แจมบ้าง ปู ปลาช่อนกะปลาบูอแย่งกัน เขียดปลาดุกกับงู ใครจะ
ถึงก่อนแบบนี้แหละพรานสมัยก่อนเบ็ดเขาเลือกจะจับปลาอะไร

........เครื่องมืออย่างอื่น เป็นคนบ้านนอกต้องใช้เครื่องมือมากมาย ต้องทำเองทั้งนั้น มานั่งนึกทีหลัง ไม่น่าเชื่อว่าเรา จะฝึกทำอะไรมากมายขนาดนั้น ตั้งแต่ของเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ เล็กไม่ใช่ไม้จิ้มฟันหรอก ด้ามมีดไง มีดสมัยก่อน โคนจะมีซ่นแหลมยาวสำหรับเสียบด้ามไม้ สมัยใหม่มีรูขันน้อต สกรูสบายไป สมัยก่อนทำด้ามมีดยากนะ ต้องมีครั้ง ด้ามก็ไม้ไผ่ส่วนตอแข็ง ๆ หรือไม้เนื้อแข็ง เจาะยรูนำไว้ เวลาจะใส่ด้ามก็เอาโคนมีมาเผาไฟแล้วแทงเข้าด้าม จนมิด เสร็จแล้วค่อบดครั้งเทลงรู มีดเผาไฟอ่อน ๆ ค่อยแทงให้ครังละลาย แล้วปล่อยให้แห้ง มีดจะเกาะติดด้ามอย่างแน่นเลย ใช่นานจนลืม ครั่งกระเทาะมีดหลุก ก็นำมาเข้าครั่งใหม่ ด้ามขวาหัวหมู ขวานหงอน ไม้ประดู ไม้พยุง ตัดเอาขนาดพอ ทำด้ามขวานมาถากเป็นรูปทรงแล้วตากแห้งไว้ใช้ ตอนจะเปลี่ยนด้ามค่อยมาถากอีกที ตบแต่งด้วยตะใบ ตัวยุ่ง ตอกลิ่ม ให้แน่น ขวานหัวหมูทำไม่ยาก ไปยากขวานแบบมีหอน นิยมแขนงไม้ประดู่ แก่ ๆหน่อย เอามาถากส่วนห้ว ส่วนหาว แบน ๆ ส่วนหัวทู่สำหรับสอดใส่รูขวาน หอนขวานจะสอดใส่ด้ามไม้ไผ่อีอที ยุงยากเอาการ ที่บ้านมีไม้ไผ่ด้ามขวาน กอหนึ่งพิลึก ทุกลำมีรูปร่างเป็นด้ามขวานได้หมด อย่าปล่อยให้โตเกินแล้วกัน อได้ขนาดรีบตัดเอามาตากแห้งเก็บไว้ใช้ 

.........เครื่องมือนักล่า พลุ(ไม้ซาง) หน้าไม้ ไม้รวกบนเขามีเยอะแยะ เลือกเอาสักสี่ห้าลำสวย ๆ ตรง ๆ เอามาลนไปดัด ให้ตรง ตกแห้งก่อนจะนำมาเจาะรู เหล็กเจาะพ่อทำให้ เหลาด้ามยาว ๆ ไม้ไผ่ตงนั่นแหละเหลาไว้ห้าหกเส้น เผื่อมันหัก มัดเหล็กแหลมติดปลายให้แน่น อย่าให้หลุดเชียว ปกติแทง 3 เกล็กก็โอเคแล้ว ติดเตาไฟ เผาเหล็กแหลม ไม่รวกที่ แห้งแล้วเอามาแทงเจาะรู เช้ายันเย็นได้เลาเดียว พี่เขาทำได้ สาม เลา ฝีมือต่างกัน เราแทงละเอียดไปมั้ง เอาไว้ใช้ ยิงนก ยิงกะปอม ยิงบ่าง ใช้ลูกดอกเป่านั่ครับ หน้าไม้ ใช้ไม้ประดู่ ไม้พยุง ทำแม่ ถากดีแล้วเหลาด้วยกบ ตกแต่งด้วย ตัวบุ่ง สังกะสีเจาะรูเป็นกระดาษทราย สมัยนั้ไม่มีขายหรอก ขาหน้าไม้ ใช้ไม้ไผ่เหลาแบบคันธนู ตัวแม่จะเจาะรูสอด ขาหน้าไม้ สายผูกปลายสองข้าง ดึงลงมาถึงไหนบากร่องตรงนั้นสำหรับพาดสาย เซาะร่องวางลูก ทำกลไกไว้กดยิง หน้าไม้จะแรง ยิงไกล แม่น นอกจากนี้ก็พวก แร้ว กับกัด ตังบาน ตุ้มดักนก จั่นดักปลา สวิง แห อวน ต้องสานเป็น
ไม่งั้นไม่มีใช้ เขาไม่มีขายนี่นา ต้องทำเอง

ตังบานเครื่องมือจับนก นกเค้า เหยี่ยว กระเต็น กาแวน นกจิบฟาง เลือกเหยื่อให้ตรง เช่น 
หนู จิโป่ม แมงกะชอน แมงกุดจี่ 

..........แถมแร้วดักนกนิดหนึ่ง คนอื่นเขาสานอย่างดี แต่เราไม่สานหรอก ใช้อวนถี่ตาเท่าหัวแม่โป้ง มันขาดเลิกใช้แล้ว เอามาตัดเป็นรูปแร้วถุง ร้อยไม้ไผ่ที่เป็นโครงแผ่แร้วนั่นแหละ พบว่ามันง่ายมาก เลยทำโครงไม้ไผ่ไว้ 25 หลัง ตัดมอง หรืออวนถี่ที่ขาด เลือเอาส่วนที่ยังดีอยู่ ร้อย ไม้ไผ่ เอาไปสอดใส่คันแรว ผู้เชือก แต่งกลไก บ๊ะ วันหนึ่งได้เป็นสิบหลัง ทำอยู่สองวันหมดแล้วโครงแร้ว 25 หลัง เอาไปดักนกสิ ริมน้ำเขื่อน ไปวางอวนเห็นนกริมฝั่งเยอะแยะ จะลองไปปัก แถวนั้นแหละ วางอวนเสร็จก็มาหาแมงกะชอน ได้ซักถ้วยมั้งมันเอยะ เอาไปทำเหยื่อล่อกางแร้วดักนก กางไปห้าหลัง หลังแรกตะปบนกได้แล้ว คืนมาปลดและกางใหม่ กางไม่จบซักที เลยไม่สนใจวางไปจนครบ 25 หลัง ได้นกกว่า 20 ตัว นกกางเขน นกจิบฟาง นกกระเต็น นกกวัก นกกาแวน นกเอี้ยงยังเข้าเลย นับว่าเป็นนักบาปที่มีฝีมือเลยแหละ ชาวบ้าน เขารู้กันทั่ว