เดือนอ้ายบุญเข้ากรรม
-----------
...........วันหนึ่งยายที่บ้านเล่าว่า เพื่อนชวนไปทำบุญปริวาสกรรม เป็นวัดต่างจังหวัด จึงปฏิเสธไป เสียดาย
เหมือนกันที่ไม่ได้ไปกะเขา ก็ได้แต่ปลอบใจว่า บุญแล้วแหละยายที่ไม่ได้ไป ยายก็ทำหน้างง ไม่ได้ไปร่วม ทำบุญกลับบอกว่าเป็นบุญที่ไม่ได้ไป ก็เลยเล่าเรื่องปริวาสกรรมให้ฟังว่า ปริวาสกรรม เป็นงานที่คนสมัยก่อนนิยมจัดขึ้น ในเดือนเจียงหรือเดือนอ้าย ทางอีสานเขาเรียก ฮีตเดือนอ้าย พระสงฆ์องค์เจ้าเข้ากรรม เป็นกิจกรรมที่พระ จัดขึ้น เพื่อพระที่มีความประสงค์จะเข้ากรรม ให้ไปสมัครเข้ากรรมกันได้ วัดที่จะจัดกิจกรรมนี้ต้องมีพระที่ เรียนรู้พระวินัยอย่างดี โดยเฉพาะวิธีออกอาบัติสังฆาทิเสส จึงจะจัดได้ถูกต้องตามพระวินัย ที่เรียกงานนี้ ว่าการจัดงานปริวาสกรรม ความจริงต้องเรียกว่า พิธีออกอาบัติสังฆาทิเสส
...........ทางวัดผู้จัด ต้องมีพระภิกษุ ที่ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส อย่างน้อย 20 รูป เพื่อทำหน้าที่
...........1. สงฆ์ 4 รูป ให้ปริวาส แก่ภิกษุผู้ประสงค์จะเข้าร่วมพิธีออกจากอาบัติสังฆาทิเสส
...........2. จัดเป็นพระอาจารย์กรรม ดูแลพระที่เข้าปริวาสกรรม ให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผน
...........3. สงฆ์ 4 รูป ให้มานัต 6 ราตรี แก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาสครบแล้ว หรือภิกษุที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ปริวาส ที่มีสิทธิ์ ขอมานัตได้เลย
...........4. จัดอาจารย์กรรมดุแลการประพฤติมานัต 6 ราตรี ของภิกษุผู้ได้รับอนุญาตมานัต 6 ราตรี
...........5. สงฆ์ 20 รูป ประชุมเพื่อสวดอัพภาณกรรม ให้ภิกษุที่อยู่ปริวาส ครบแล้ว และอยู่มานัต 6 ราตรีแล้ว
...........ภิกษุผู้ประสงค์จะเข้าร่วมงานปริวาสกรรม ได้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส 13 ข้อ เพียงข้อเดียว หรือ หลายข้อ ส่วนมากจะรู้ตัวว่าต้องอาบัติ เว้นบางข้อที่อาจสงสัย จนได้รับคำชี้แจงจากผู้รู้ก็สรุปได้ว่าตนเองต้องอาบัติ สังฆาทิเสส เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส เป็นหน้าที่ที่จะต้องรีบรายงานให้ภิกษุรูปอื่นทราบทันทีในวันที่ต้องอาบัติ ลักษณะนี้เรียกว่า ต้องอาบัติแล้วไม่ได้ปกปิดไว้ เวลาไปร่วมกิจกรรม ก็ขอมานัต 6 ราตรีได้เลย ไม่ต้องขอปริวาส ส่วนคนที่ต้องอาบัติแล้วลืมแจ้งภิกษุอื่น หรืออายไม่กล้าเปิดเผย ปล่อยไว้หลายวันค่อยกล้าบอก ลักษณะนี้เรียกว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ปกปิดไว้ ให้นับวันที่ปกปิดไว้ นานกี่วัน ต้องขอปริวาสกรรมจำนวนเท่านั้นก่อน ค่อยมี สิทธิ์ขอมานัต 6 ราตรี
..........อยู่ปริวาสกรรมคือทำอะไร คือรับโทษที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ นานเท่ากับจำนวนวันที่ปิด 3 วัน 7 วัน 15 วัน 1 เดือน ต้องแจ้งคณะสงฆ์ที่ไปขอปริวาส คณะสงฆ์ก็จะให้อยู่ปริวาสตามจำนวนวันที่ปกปิด เวลาอยู่ปริวาส ปฏิบัติอย่างไร คณะสงฆ์จะมอบหมายพระอาจารย์กรรม ดูแลพระที่อยู่ปริวาส มีที่อยู่ชัดเจน พระที่อยู่ปริวาสในความดูแล จะกระจายไปรอบ ๆที่อยู่ของอาจารย์กรรม ห่าง 2 ช่วงปาก้อนดินตก และต้องปฏิบัติ ตนในฐานะผู้รับโทษ นิยมปักกลดอยู่ตามลำพัง ไม่ยินดีต่อการทำความเคารพ หรือการอุปัฎฐาก จากโยมหรือจาก พระภิกษุสามเณร ไม่คบหาสมาคมกับพระเณรรูปอื่น เว้นอาจารย์กรรมที่ต้องรายงานทุกวัน ถ้ามีพระผ่านมาพบ ก็ต้องรายงานสถานะของตนทันทีว่ากำลังอยู่ปริวาสกรรม ถ้าไม่ปฏิบัติ ถือว่าปริวาสกรรมล่ม ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ เป็นการลงโทษตนเองไปในตัว
..........เมื่ออยู่ปริวาสครบ เข้าไปหาอาจารย์กรรม อาจารย์นำไปรายงานต่อคณะสงฆ์ 4 รูป และขอมานัต 6 ราตรี คณะสงฆ์จะสอบถามอาจารย์กรรม เห็นวาชอบแล้วก็อนุญาตมานัต 6 ราตรี ให้ มีอาจารย์กรรมควบคุมดูแลเช่นกัน
.........การประพฤติมานัติ ก็คืออยู่ปริวาสกรรมนั่นเอง วิธีปฏิบัติตนเหมือนกัน รายงานอาจารย์กรรมทุกวัน จนกว่า จะครบ 6 ราตรี อาจารย์กรรมจะนำไปรายงานต่อคณะสงฆ์ 4 รูปและนัดหมายเข้าประชุมสวดระงับอาบัติ ที่เรียก สวดอัพภาณโดยสงฆ์ 20 รูป เป็นอันจบกระบวนการออกอาบัติสังฆาทิเสส
.........จากกระบวนการที่เล่า พระจัดงานปริวาสกรรม ท่านจัดเพื่อช่วยเหลือกัน เพราะจะหาพระ 20 รูป มาสวด อัพภาณระงับอาบัติให้ ไม่ง่ายเลย เมื่อมีวัดใดวัดหนึ่งจัด พระที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ท่านก็ไปร่วม เสร็จงาน ก็พ้นอาบัติสังฆาทิเสส เป็นผู้มีศีลบริบูรณ์ได้เหมือนเดิม
.........ยายนั่งงง ถามว่าแล้วที่บอกไปทำบุญปริวาสกรรม ได้บุญมากกว่าทำบุญทั่วไป จริงหรือเปล่า ก็ตอบ ได้เลยว่าไม่เกี่ยว งานปริวาสกรรมเป็นงานที่พระผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ไปสมัครเป็นนักโทษ เพื่ออยู่กรรม จนครบตามข้อกำหนด แล้วขอให้คณะสงฆ์สวดระงับอาบัติให้ ไม่ใช่เรื่องน่าชื่นชม จะไปเหมาว่าได้บุญมาก บุญน้อยจากตรงไหน อยากได้มากทำที่บ้านก็ได้ ทำทาน ปฏิบัติศีล ภาวนา ทำลงไป ทำมากก็ได้บุญมาก ไม่ เห็นจะยุ่งยากอะไร
..........สังฆาทิเสส ที่พระล่วงละเมิดแล้ว ต้องไปเข้ากรรมเพื่อระงับอาบัติ มันว่าอย่างไรบ้าง ยายอยากรู้
คือศีล 227 ข้อของพระภิกษุ ท่านจัดเป็นหมวดหมู่ ตามลำดับหนักเบา ดังนี้ คือ
...........1. ปาราชิก 4 (อาบัติหนัก ละเมิดแล้วขาดจากการเป้นพระภิกษุทันทีแก้ไขไม่ได้ บวชใหม่ก็ไม่ได้)
...........2. สังฆาทิเสส 13 (อาบัติหนัก แต่ยังมีทางออกด้วยการเข้ากรรมและอัพภาณ)
...........3. อนิยต 2 (อาบัติ ที่ไม่แน่จะหนักหรือเบา ต้องให้อาจารย์ผู้รู้สอบสวนก่อน)
...........4. นิสสัคคียปาจิตตีย์ 30 (อาบัติเพราะการจับต้อง การสะสม สิ่งของ ต้องสละก่อน ถึงแสดงอาบัติได้)
...........5. ปาจิตตีย์ 92 (อาบัติเบา แสดงถึงกิริยาอาการไม่งาม สารภาพต่อภิกษุอื่น ออกอาบัติได้)
...........6. ปาฎิเทศนียะ 4(อาบัติน่าติเตียน เมื่อแก้ไขแล้วข้อที่น่าตำหนิก ก็แสดงอาบัติได้)
..........7. เสขิยวัตร 75 (กิริยาอาการไม่ควรทำ เป็อาบัติเบา แสดงต่อภิกษุอื่น เพื่อออกอาบัติได้)
..........8. อธิกรณ์สมถะ 7 เป็นวิธีระงับอธิกรณ์ 7 วิธี
ทีนี้พูดถึงอาบัติสังฆาทิเสส 13 ข้อ ที่ทำให้เกิดงานปริวาสกรรม มีอะไรบ้าง
1. ภิกษุแกล้งทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องสังฆาทิเสส.
2. ภิกษุมีความกำหนดอยู่ จับต้องกายหญิง ต้องสังฆาทิเสส.
3. ภิกษุมีความกำหนดอยู่ พูดเกี้ยวหญิง ต้องสังฆาทิเสส
4. ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ พูดล่อให้หญิงบำเรอตนด้วยกาม ต้องสังฆาทิเสส.
5. ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องสังฆาทิเสส.
6.. ภิกษุสร้างกุฎีที่ต้องก่อและโบกด้วยปูนหรือดิน ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ จำเพาะเป็นที่อยู่ของตน
ต้องทำให้ได้ประมาณ โดยยาวเพียง ๑๒ คืบพระสุคต โดยกว้างเพียง ๗ คืบ วัดในร่วมใน และต้อง
ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก็ดี ทำให้เกินประมาณก็ดี ต้องสังฆาทิเสส
7. ถ้าที่อยู่ซึ่งจะสร้างขึ้นนั้น มีทายกเป็นเจ้าของ ทำให้เกินประมาณนั้นได้ แต่ต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน
ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ต้องสังฆาทิเสส
8. ภิกษุโกรธเคือง แกล้งโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ต้องสังฆาทิเสส.
9. ภิกษุโกรธเคือง แกล้งหาเลสโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก ต้องสังฆาทิเสส.
10. ภิกษุพากเพียรเพื่อจะทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละ
ข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส
11. ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละ
ข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส
12. ภิกษุว่ายากสอนยาก ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ
ต้องสังฆาทิเสส.
13. ภิกษุประทุษร้ายตระกูล คือประจบคฤหัสถ์ สงฆ์ไล่เสียจากวัด กลับว่าติเตียนสงฆ์ ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง
ต้องสังฆาทิเสส.
ว่าจะเล่าสั้น ๆ ฮีตเดือนอ้าย บุญเข้ากรรม แต่ก็ยาวจนได้ ชาวบ้านอย่างเราควรรู้จักบ้าง จะได้รู้ว่าอะไรเป็น อะไร ที่จริงงานนี้ควรปล่อยให้พระท่านทำของท่านไปจะสะดวกกว่า อยากสนับสนุนก็แค่ไปบริจาคเสบียงให้ท่าน แล้วก็รีบกลับ อย่าไปเกะกะพระท่านเลย เดี๋ยวปริวาสกรรมขาด ต้องหนับหนึ่งใหม่ ยุ่งอีก
...........วันหนึ่งยายที่บ้านเล่าว่า เพื่อนชวนไปทำบุญปริวาสกรรม เป็นวัดต่างจังหวัด จึงปฏิเสธไป เสียดาย
เหมือนกันที่ไม่ได้ไปกะเขา ก็ได้แต่ปลอบใจว่า บุญแล้วแหละยายที่ไม่ได้ไป ยายก็ทำหน้างง ไม่ได้ไปร่วม ทำบุญกลับบอกว่าเป็นบุญที่ไม่ได้ไป ก็เลยเล่าเรื่องปริวาสกรรมให้ฟังว่า ปริวาสกรรม เป็นงานที่คนสมัยก่อนนิยมจัดขึ้น ในเดือนเจียงหรือเดือนอ้าย ทางอีสานเขาเรียก ฮีตเดือนอ้าย พระสงฆ์องค์เจ้าเข้ากรรม เป็นกิจกรรมที่พระ จัดขึ้น เพื่อพระที่มีความประสงค์จะเข้ากรรม ให้ไปสมัครเข้ากรรมกันได้ วัดที่จะจัดกิจกรรมนี้ต้องมีพระที่ เรียนรู้พระวินัยอย่างดี โดยเฉพาะวิธีออกอาบัติสังฆาทิเสส จึงจะจัดได้ถูกต้องตามพระวินัย ที่เรียกงานนี้ ว่าการจัดงานปริวาสกรรม ความจริงต้องเรียกว่า พิธีออกอาบัติสังฆาทิเสส
...........ทางวัดผู้จัด ต้องมีพระภิกษุ ที่ไม่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส อย่างน้อย 20 รูป เพื่อทำหน้าที่
...........1. สงฆ์ 4 รูป ให้ปริวาส แก่ภิกษุผู้ประสงค์จะเข้าร่วมพิธีออกจากอาบัติสังฆาทิเสส
...........2. จัดเป็นพระอาจารย์กรรม ดูแลพระที่เข้าปริวาสกรรม ให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผน
...........3. สงฆ์ 4 รูป ให้มานัต 6 ราตรี แก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาสครบแล้ว หรือภิกษุที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ปริวาส ที่มีสิทธิ์ ขอมานัตได้เลย
...........4. จัดอาจารย์กรรมดุแลการประพฤติมานัต 6 ราตรี ของภิกษุผู้ได้รับอนุญาตมานัต 6 ราตรี
...........5. สงฆ์ 20 รูป ประชุมเพื่อสวดอัพภาณกรรม ให้ภิกษุที่อยู่ปริวาส ครบแล้ว และอยู่มานัต 6 ราตรีแล้ว
...........ภิกษุผู้ประสงค์จะเข้าร่วมงานปริวาสกรรม ได้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส 13 ข้อ เพียงข้อเดียว หรือ หลายข้อ ส่วนมากจะรู้ตัวว่าต้องอาบัติ เว้นบางข้อที่อาจสงสัย จนได้รับคำชี้แจงจากผู้รู้ก็สรุปได้ว่าตนเองต้องอาบัติ สังฆาทิเสส เมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส เป็นหน้าที่ที่จะต้องรีบรายงานให้ภิกษุรูปอื่นทราบทันทีในวันที่ต้องอาบัติ ลักษณะนี้เรียกว่า ต้องอาบัติแล้วไม่ได้ปกปิดไว้ เวลาไปร่วมกิจกรรม ก็ขอมานัต 6 ราตรีได้เลย ไม่ต้องขอปริวาส ส่วนคนที่ต้องอาบัติแล้วลืมแจ้งภิกษุอื่น หรืออายไม่กล้าเปิดเผย ปล่อยไว้หลายวันค่อยกล้าบอก ลักษณะนี้เรียกว่า ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ปกปิดไว้ ให้นับวันที่ปกปิดไว้ นานกี่วัน ต้องขอปริวาสกรรมจำนวนเท่านั้นก่อน ค่อยมี สิทธิ์ขอมานัต 6 ราตรี
..........อยู่ปริวาสกรรมคือทำอะไร คือรับโทษที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้ นานเท่ากับจำนวนวันที่ปิด 3 วัน 7 วัน 15 วัน 1 เดือน ต้องแจ้งคณะสงฆ์ที่ไปขอปริวาส คณะสงฆ์ก็จะให้อยู่ปริวาสตามจำนวนวันที่ปกปิด เวลาอยู่ปริวาส ปฏิบัติอย่างไร คณะสงฆ์จะมอบหมายพระอาจารย์กรรม ดูแลพระที่อยู่ปริวาส มีที่อยู่ชัดเจน พระที่อยู่ปริวาสในความดูแล จะกระจายไปรอบ ๆที่อยู่ของอาจารย์กรรม ห่าง 2 ช่วงปาก้อนดินตก และต้องปฏิบัติ ตนในฐานะผู้รับโทษ นิยมปักกลดอยู่ตามลำพัง ไม่ยินดีต่อการทำความเคารพ หรือการอุปัฎฐาก จากโยมหรือจาก พระภิกษุสามเณร ไม่คบหาสมาคมกับพระเณรรูปอื่น เว้นอาจารย์กรรมที่ต้องรายงานทุกวัน ถ้ามีพระผ่านมาพบ ก็ต้องรายงานสถานะของตนทันทีว่ากำลังอยู่ปริวาสกรรม ถ้าไม่ปฏิบัติ ถือว่าปริวาสกรรมล่ม ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ เป็นการลงโทษตนเองไปในตัว
..........เมื่ออยู่ปริวาสครบ เข้าไปหาอาจารย์กรรม อาจารย์นำไปรายงานต่อคณะสงฆ์ 4 รูป และขอมานัต 6 ราตรี คณะสงฆ์จะสอบถามอาจารย์กรรม เห็นวาชอบแล้วก็อนุญาตมานัต 6 ราตรี ให้ มีอาจารย์กรรมควบคุมดูแลเช่นกัน
.........การประพฤติมานัติ ก็คืออยู่ปริวาสกรรมนั่นเอง วิธีปฏิบัติตนเหมือนกัน รายงานอาจารย์กรรมทุกวัน จนกว่า จะครบ 6 ราตรี อาจารย์กรรมจะนำไปรายงานต่อคณะสงฆ์ 4 รูปและนัดหมายเข้าประชุมสวดระงับอาบัติ ที่เรียก สวดอัพภาณโดยสงฆ์ 20 รูป เป็นอันจบกระบวนการออกอาบัติสังฆาทิเสส
.........จากกระบวนการที่เล่า พระจัดงานปริวาสกรรม ท่านจัดเพื่อช่วยเหลือกัน เพราะจะหาพระ 20 รูป มาสวด อัพภาณระงับอาบัติให้ ไม่ง่ายเลย เมื่อมีวัดใดวัดหนึ่งจัด พระที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ท่านก็ไปร่วม เสร็จงาน ก็พ้นอาบัติสังฆาทิเสส เป็นผู้มีศีลบริบูรณ์ได้เหมือนเดิม
.........ยายนั่งงง ถามว่าแล้วที่บอกไปทำบุญปริวาสกรรม ได้บุญมากกว่าทำบุญทั่วไป จริงหรือเปล่า ก็ตอบ ได้เลยว่าไม่เกี่ยว งานปริวาสกรรมเป็นงานที่พระผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ไปสมัครเป็นนักโทษ เพื่ออยู่กรรม จนครบตามข้อกำหนด แล้วขอให้คณะสงฆ์สวดระงับอาบัติให้ ไม่ใช่เรื่องน่าชื่นชม จะไปเหมาว่าได้บุญมาก บุญน้อยจากตรงไหน อยากได้มากทำที่บ้านก็ได้ ทำทาน ปฏิบัติศีล ภาวนา ทำลงไป ทำมากก็ได้บุญมาก ไม่ เห็นจะยุ่งยากอะไร
..........สังฆาทิเสส ที่พระล่วงละเมิดแล้ว ต้องไปเข้ากรรมเพื่อระงับอาบัติ มันว่าอย่างไรบ้าง ยายอยากรู้
คือศีล 227 ข้อของพระภิกษุ ท่านจัดเป็นหมวดหมู่ ตามลำดับหนักเบา ดังนี้ คือ
...........1. ปาราชิก 4 (อาบัติหนัก ละเมิดแล้วขาดจากการเป้นพระภิกษุทันทีแก้ไขไม่ได้ บวชใหม่ก็ไม่ได้)
...........2. สังฆาทิเสส 13 (อาบัติหนัก แต่ยังมีทางออกด้วยการเข้ากรรมและอัพภาณ)
...........3. อนิยต 2 (อาบัติ ที่ไม่แน่จะหนักหรือเบา ต้องให้อาจารย์ผู้รู้สอบสวนก่อน)
...........4. นิสสัคคียปาจิตตีย์ 30 (อาบัติเพราะการจับต้อง การสะสม สิ่งของ ต้องสละก่อน ถึงแสดงอาบัติได้)
...........5. ปาจิตตีย์ 92 (อาบัติเบา แสดงถึงกิริยาอาการไม่งาม สารภาพต่อภิกษุอื่น ออกอาบัติได้)
...........6. ปาฎิเทศนียะ 4(อาบัติน่าติเตียน เมื่อแก้ไขแล้วข้อที่น่าตำหนิก ก็แสดงอาบัติได้)
..........7. เสขิยวัตร 75 (กิริยาอาการไม่ควรทำ เป็อาบัติเบา แสดงต่อภิกษุอื่น เพื่อออกอาบัติได้)
..........8. อธิกรณ์สมถะ 7 เป็นวิธีระงับอธิกรณ์ 7 วิธี
ทีนี้พูดถึงอาบัติสังฆาทิเสส 13 ข้อ ที่ทำให้เกิดงานปริวาสกรรม มีอะไรบ้าง
1. ภิกษุแกล้งทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องสังฆาทิเสส.
2. ภิกษุมีความกำหนดอยู่ จับต้องกายหญิง ต้องสังฆาทิเสส.
3. ภิกษุมีความกำหนดอยู่ พูดเกี้ยวหญิง ต้องสังฆาทิเสส
4. ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ พูดล่อให้หญิงบำเรอตนด้วยกาม ต้องสังฆาทิเสส.
5. ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องสังฆาทิเสส.
6.. ภิกษุสร้างกุฎีที่ต้องก่อและโบกด้วยปูนหรือดิน ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของ จำเพาะเป็นที่อยู่ของตน
ต้องทำให้ได้ประมาณ โดยยาวเพียง ๑๒ คืบพระสุคต โดยกว้างเพียง ๗ คืบ วัดในร่วมใน และต้อง
ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก็ดี ทำให้เกินประมาณก็ดี ต้องสังฆาทิเสส
7. ถ้าที่อยู่ซึ่งจะสร้างขึ้นนั้น มีทายกเป็นเจ้าของ ทำให้เกินประมาณนั้นได้ แต่ต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน
ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ต้องสังฆาทิเสส
8. ภิกษุโกรธเคือง แกล้งโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ต้องสังฆาทิเสส.
9. ภิกษุโกรธเคือง แกล้งหาเลสโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก ต้องสังฆาทิเสส.
10. ภิกษุพากเพียรเพื่อจะทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละ
ข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส
11. ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละ
ข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส
12. ภิกษุว่ายากสอนยาก ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ
ต้องสังฆาทิเสส.
13. ภิกษุประทุษร้ายตระกูล คือประจบคฤหัสถ์ สงฆ์ไล่เสียจากวัด กลับว่าติเตียนสงฆ์ ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง
ต้องสังฆาทิเสส.
ว่าจะเล่าสั้น ๆ ฮีตเดือนอ้าย บุญเข้ากรรม แต่ก็ยาวจนได้ ชาวบ้านอย่างเราควรรู้จักบ้าง จะได้รู้ว่าอะไรเป็น อะไร ที่จริงงานนี้ควรปล่อยให้พระท่านทำของท่านไปจะสะดวกกว่า อยากสนับสนุนก็แค่ไปบริจาคเสบียงให้ท่าน แล้วก็รีบกลับ อย่าไปเกะกะพระท่านเลย เดี๋ยวปริวาสกรรมขาด ต้องหนับหนึ่งใหม่ ยุ่งอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น