วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บุญกับกุศล


บุญกับกุศล
..............บ้านเราเก่งทำบุญกันทุกคน โดยเฉพาะการทำทานทำกันมาก สังเกตดูวัดวาอาราม งดงามมาก   ล้วนแต่ผลการทำทานทั้งนั้น แต่พอชวนสนทนาเรื่องบุญกุศล แรก ๆก็คุยกันได้สบาย ๆ แต่พอถามว่า บุญกับกุศลนี่ มันต่างกันตรงไหนทำไมมีสองคำ  สะดุดทุกทีว่า เอ  บุญกุศล นี่มันสองคำ เหมือนกันรึต่างกันอย่างไร ปกติเราจะ พูดคำบุญกุศลติดปากจนเข้าใจว่าเป็นเรื่องเดียวกัน มาลองศึกษาดูนะว่ามันเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
 ...........พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ ดังนี้
            บุญ บุญ-[บุน บุนยะ-] น. การกระทําดีตามหลักคําสอนในศาสนา ความดี คุณงามความดี. ว. ดี เช่น คนใจบุญ มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ. (ป. ปุญฺ? ส. ปุณฺย).[บุน บุนยะ-] น. การกระทําดีตาม   หลักคําสอนในศาสนาความดี คุณงามความดี. ว. ดี เช่น คนใจบุญ มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ.
ป. ปุญญ ส ปุณย
...........แต่คำกุศล แยกไปแปลไว้ต่างหากว่า
           กุศล น. สิ่งที่ดีที่ชอบ บุญ. ว. ฉลาด. (ส. กุศล ป.กุสล
..........พจนานุกรม เปลื้อง ณ นคร ให้ความหมาย บุญว่า น. สิ่งที่ดี, สิ่งที่ชอบ, บุญ. ว. ถูกต้อง, สมควร, เหมาะ, งาม สบาย, ไม่มีโรค, เรียบร้อยดี มั่งคั่ง รอบรู้ ชำนิชำนาญ, คล่องแคล่ว, ฉลาด.
..........ความหมาย ของบุญ และ กุศล ที่คล้ายกันคือหมายถึงความดีงาม ความหมายของกุศลยังหมาย
ความถึงบุญด้วย ส่วนที่ต่างกันคือ กุศลนอกจากความหมายที่คล้ายบุญแล้ว ยังมีความหมายที่ต่างออก
ไปได้แก่ ความ ถูกต้อง งาม ไม่มีโรค มั่งคั่ง เรียบร้อย รอบรู้ ชำนิชำนาญ คล่องแคล่ว ฉลาด แสดงว่า
กุศล มีความหมาย กว้างกว่า บุญ นั่นคือสองคำนี้มีความหมายที่ต่างกันด้วย
...........ที่เกิดบุญและกุศล มีกำหนดไว้ชัดเจน ที่เกิดแห่งบุญเรียกบุญกิริยาวัตถุ 3 อย่าง หรือ 10 อย่าง
ทานมัย สีลมัย และภาวนามัย เรียกบุญกิริยาวัตถุ 3 ส่วนบุญกิริยาวัตถุ 10 เพิ่มจาก 3 อย่างอีก 7 ข้อ
ได้แก่ อปจายนมัย (ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน) เวยยาวัจจมัย(ขวานขวายรับใช้) ปัตติทานมัย แบ่งส่วนบุญ) ปัตตานุโมทนามัย(อนุโมทนาบุญ) ธัมมัสสวนามัย(ฟังธรรม หาความรู้) ธรรมเทศนามัย(สอนธรรม ให้ความรู้) ทิฎฐุชุกัมมะ (ทำความเห็นให้ตรง)
............ที่เกิดแห่งกุศล เรียก กุศลกรรมบท 10 ประการ คือแนวปฏิบัติที่จะทำให้ได้กุศล ได้แก่
ก. กายกรรม 3 ประการ
          1. ไม่ฆ่าหรือทำลายชีวิตผู้อื่น
          2. ไม่ลักขโมย หรือยึดเอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน
          3. ไม่ประพฤติผิดในกาม
ข. วจีกรรม 4 ประการ
         4. ไม่พูดเท็จ
         5. ไม่พูดส่อเสียด
         6. ไม่พูดคำหยาบคาย
         7. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
ค. มโนกรรม 3 ประการ
         8. ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น
         9. ไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
        10. เห็นชอบตามคลองธรรม
..........พิจารณาที่เกิดแห่งกุศล กายกรรม 3 วจีกรรม 4 ตรงกับ สีลมัย ส่วนมโนกรรม 3 จะสอดคล้องกับ
ภาวนามัย ที่ไม่ตรงกันเลยคือ ทานมัย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า บุญและกุศล มีส่วนคล้ายกันด้วยและต่างกัน
ด้วย เมื่อเราทำบุญด้วยทานมัย เราได้บุญล้วน ๆ อาจไม่เกิดกุศลหรือเกิดก็ได้ เพราะทานมัยคือวิธีขัด เกลา โลภะ ทำทานที่มีผลให้โลภะเบาบางลงเรียกว่าเกิดกุศลกรรมบทข้อที่ 8 ถ้าทำบุญด้วยวิธี สีลมัย  จะได้บุญ ด้วย และเกิดกุศลตามข้อ 1-7 ด้วย ทำบุญด้วยวิธีภาวนามัย ได้บุญด้วย และเกิดกุศลตามข้อ  8-10 ด้วย
...........บุญกับกุศล เป็นคนละคำ ต่างกันในแง่การแปลความหมาย  เมื่อพระท่านอธิบายที่เกิดบุญ ที่เรียกบุญกิริยาวัตุถุ 3 หรือบุญกิริยาวัตถุ 10  ส่วนกุศลท่านเรียก กุศลกรรมบถมี 10 อย่าง ก็คงได้ความรู้เพียงเท่านี้  ไม่สรุปหรอกว่าอันเดียวกันหรือต่างกัน ชอบแบบไหนสรุปแบบนั้นแหละครับ ไม่มีปัญหาที่สำคัญคือ การปฏิบัติให้เกิดบุญ และการปฏิบัติให้เกิดกุศล สวนตัวของกระผมชอบกุศลมาก    จึงลำเอียงอยากสะสมกุศลมาก ๆ ส่วนบุญก็ทำไปตามปกติ ครับ สวัสดี    
----------------------
ขุนทอง ศรีประจง

19/11/2559

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น