วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

เดือนอ้ายบุญเข้ากรรม


                                               Related image
                                                                                               ภาพจากกูเกิล



เดือนอ้ายบุญเข้ากรรม   
โดยขุนทอง ศรีประจง

........เป็นการทำบุญของชาวพุทธ ถวายภัตตาหาร ถวายสิ่งอำนวยความสะดวกแก่พระภิกษุใน โอกาสที่พระมีกิจกรรม ปริวาสกรรม เรียกเต็มยศหน่อยว่า "ทำบุญเนื่องในโอกาสพระภิกษุ อยู่ปริวาสกรรม" แต่แปลกนะทำกันทุกปีแหละ แต่บอกไม่ได้ว่าทำไมเรียก "ปริวาสกรรม" บอกแต่ว่าพระท่านมาอยู่กรรมกัน ทำบุญกับพระออกกรรมได้บุญมาก ต้องไปหาข้อมูลเพิ่ม เติมเองแหละ เพราะรู้จักอยู่
........ปริวาสกรรม
เป็นบทลงโทษตามพระวินัยสงฆ์ ศีล ๒๒๗ ข้อนั่นแหละท่านแบ่งออก เป็น ปาราชิก ๔ อนิยต ๒ สังฆาทิเสส ๑๓ นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ปาจิตตีย์ ๙๒ เสขิยวัตร ๗๕ ปาฎิเทศนีย ๔ อธิกรณ์สมถะ ๗ หมวดอาบัติสังฆาทิเสส มีข้อกำหนดไว้ว่า ต้องอยู่กรรม 6 วันเรียก มานัต 6 ราตรี จึงจะขอให้สงฆ์ 20 รูป สวดระงับอาบัติให้ได้ แต่ถ้ามีการปกปิดไว้ ไม่ได้บอกพระภิกษุรูปอื่น นานกี่วันค่อยบอก ให้ปรับโทษ อยู่ปริวาสกรรมนานเท่าวันที่ปกปิด ก่อน ค่อยอยู่มานัต 6 ราตรี ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงปริวาสกรรม จึงหมายถึงการลงโทษพระผู้ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส การอยู่กรรมมี 2 อย่าง ถ้าไม่ได้ปกปิด อยู่แค่มาณัติ 6 ราตรี ถ้าปกปิด ต้อง อยู่ปริวาสเท่าวันที่ปกปิด ค่อยอยู่มานัติอีก 6 ราตรีและขอให้สวดระงับอาบัติต่อไป
........จากความหมายตามพระวินัยที่นำมาอธิบายความหมายคำว่า ปริวาสกรรมคง เข้าใจได้ไม่ยากว่า เป็นกิจกรรมปรับโทษพระที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ ข้อใดข้อหนึ่งหรือ หลายข้อแล้วแต่กรณี อาบัติทั้ง ๑๓ ข้อ ห้ามอะไรบ้าง .....
1. ทำน้ำอสุจิเคลื่อน
2. แตะต้องสัมผัสกายสตรี
3. พูดเกี้ยวพาราสีสตรี
4. พูดจาให้สตรีบำเรอกามให้
5. ทำตัวเป็นพ่อสื่อ
6. สร้างกุฏิด้วยการขอ
7. มีเจ้าภาพสร้างกุฏิให้แต่ไม่ให้สงฆ์แสดงที่ก่อน
8. ใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
9. แกล้งสมมติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
10. ทำสงฆ์แตกแยก(สังฆเภท)
11. เข้าข้างภิกษุที่ทำสงฆ์แตกแยก
12. ภิกษุทำตนเป็นคนหัวดื้อ
13. ประจบสอพลอคฤหัสถ์
........มีคำอธิบายว่า ล่วงอาบัติแล้วต้องรีบบอกพระภิกษุรูปอื่นทันที อย่างนี้เรียกไม่ปกปิด อยู่ปริวาสกรรมแค่ 6 วันเรียกประพฤติมานัต ถ้าปกปิดกว่าจะบอกก็นานหลายวัน อย่างนี้ ปกปิดไว้นานเท่าใด ให้นับจำนวนวันที่ปกปิด เป็นการปรับให้อยู่ปริวาสเพิ่มนานเท่าจำนวน วันที่ปกปิด ครบแล้วค่อยรับมานัต

ปริวาสอีก 6 วัน ถึงจะขอระงับอาบัติจากสงฆ์ได้ การ ออกอาบัติสังฆาทิเสส ต้องมีพระภิกษุ20 รูป จึงจะทำสังฆกรรมสวดระงับอาบัติได้
........แนวปฏิบัติ เช่น ภิกษุต้องอาบัติ 1 ข้อ ปิดไว้ 15 วัน หรือต้องหลายข้อ ปิดไว้ 5 วัน 10 วัน 15 วัน เมื่อไปขอปริวาสต่อคณะสงฆ์ ก็จะได้เวลาอยู่ปริวาส 15 วัน สำหรับกรณีแรก แต่กรณีต้องหลายข้อจะได้ เวลามากขึ้นเป็น 5+10+15 รวม 30 วัน สงฆ์จะมอบหมายพระอาจารย์คุมการอยู่ปริวาสให้ 1 รูป ต้องรายงานพระอาจารย์ทุกวัน ปกติการอยู่ปริวาส จะหา กลด มาปักอยู่ใกล้ ๆ กุฏิอาจารย์ ชั่วขว้าง ก้อนดินตก 2 ครั้ง ปฏิบัติตามกฏระเบียบการอยู่กรรมเคร่งครัด สมัยพุทธกาลทรงกำหนดข้อจำกัด ที่ผู้อยู่ปริวาสกรรม ถูกจำกัด 94 ข้อ ในเวบลานธรรมวัดโบสถ์แจ้ง ได้สรุปเป็นหัวข้อสำคัญ ๆ 10 ข้อได้แก่...
1.. ไม่ให้ทำการในหน้าที่พระเถระ แม้ตัวเป็นพระเถระมีหน้าที่อย่างนั้นอยู่ ก็เป็นอันระงับ ชั่วคราว เช่น
ห้ามบวชให้ผู้อื่น, ห้ามให้นิสสัย เป็นต้น.
2. กำลังถูกลงโทษเพราะอาบัติใด ห้ามต้องอาบัตินั้นซ้ำ หรือต้องอาบัติอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
3. ห้ามถือสิทธิแห่งภิกษุปกติ เช่น ไม่ให้มีสิทธิ ห้ามอุโบสถ หรือปวารณาแก่ภิกษุปกติ ห้ามโจท
ท้วงภิกษุอื่น ๆ เป็นต้น.
4. ห้ามถือสิทธิอันจะพึงได้ตามลำดับพรรษา เช่น ไม่ให้เดินนำหน้า ไม่ให้นั่งข้างหน้าภิกษุปกติ
เมื่อมีการแจกของ พึงยินดีของเลวที่แจกทีหลัง ทั้งนี้หมายรวมทั้งที่นั่ง ที่นอน และที่อยู่อาศัย
5. ห้ามทำอาการของผู้มีเกียรติหรือเด่น เช่น มีภิกษุปกติเดินนำหน้า หรือเดินตามหลัง แบบพระ
ผู้ใหญ่ หรือพระแขกสำคัญ หรือ ให้เขาเอาอาหารมาส่ง ด้วยไม่ต้องการจะให้ใครรู้ว่ากำลังถูก
ลงโทษ.
6. ให้ประจานตัว เช่น ไปสู่วัดอื่น ก็ต้องบอกอาบัติของตนแก่ภิกษุในวัดนั้น เมื่อภิกษุอื่นมาวัดก็ต้อง
บอกอาบัติของตนนั้นแก่ภิกษุผู้มา จะต้องบอกอาบัติของตนในเวลาทำอุโบสถ
7. ห้ามอยู่ในวัดที่ไม่มีสงฆ์อยู่ (เพื่อป้องกันการเลี่ยงไปอยู่วัดร้าง ซึ่งไม่มีพระ จะได้ไม่ต้องทำการ
ประจานตัวแก่ใคร ๆ).
8. ห้ามอยู่ร่วมในที่มุงอันเดียวกับภิกษุปกตินี้ เพื่อเป็นการตัดสิทธิทางการอยู่ ร่วมกับภิกษุ อื่นชั่วคราว.
9. เห็นภิกษุปกติ ต้องลุกขึ้นจากอาสนะ ให้เชิญนั่งบนอาสนะ ไม่ให้นั่ง หรือยืน เดินในที่ หรือ
ในอาการที่สูงกว่าภิกษุปกติ.
10. แม้ในภิกษุผู้ถูกลงโทษด้วยกันเอง ก็ไม่ให้อยู่ร่วมในที่มุงเดียวกัน รวมทั้ง ไม่ให้ตีเสมอกัน
และกัน (ทางที่ดีไม่ให้มารวมกัน ให้ต่างคนต่างอยู่).
..........หมายเหตุ..ตั้งแต่ข้อ ๖ ถึงข้อ ๑๐ ถ้าภิกษุฝ่าฝืน การประพฤติตัวของเธอเพื่อออกจากอาบัติ ย่อม เป็นโมฆะ มีศัพท์เรียกว่าวัตตเภท (เสียวัตร) และรัตติเฉท (เสียราตรี) วันที่ล่วงละเมิดนั้นมิให้นับ เป็นวันสมบูรณ์ในการเปลื้องโทษ........ต้องเริ่มต้นใหม่ และนับวันใหม่ในการรับโทษแก้ไขตัวเอง
…..ข้อสังเกต การอยู่ปริวาสกรรม เป็นกิจของภิกษุผู้ต้องอาบัติ ต้องพึงปฏิบัติ ในฐานะคนที่ได้กระทำ  ความผิด กำลังรับโทษ เหมือนรับผลกรรมที่ทำผิดมา ไม่ใช่กิจกรรมที่จะเป็นบุญเป็นกุศลมากมาย
ที่โยมจะต้องไปแสดงความชื่นชม อนุโมทนาสาธุ เพราะคิดว่าทำบุญกับพระอยู่กรรมจะได้บุญกุศลมาก
ดีไม่ดีอาจไปทำให้การอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุบกพร่อง เสียเวลาย้อนกลับไปเริ่มใหม่ อาจไปทำให้
พระแหกกฏกติกา บาปกรรมเปล่า ๆ
.........แนวปฏิบัติของชาวพุทธ ถ้ามีคนชักชวนไปงานประเภทนี้ ติดต่อเจ้าอาวาส ช่วยสนับสนุน จตุปัจจัยตามกำลังศรัทธา พอแล้ว ประเภทไปเข้าค่ายทำครัวเลี้ยงพระภิกษุที่กำลังถูกลงโทษนี่  แปลก ๆอยู่นะ คุณโยม......

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2562

อนุชีวประวัติช่วงอุปสมบท





                                                  ไปตราดปีที่แล้ว 2561 ถ่ายที่ตราดโฮเทล

..............เขียนเล่าความหลังวันเด็ก ค้างไว้ตอนจะจบ อ่านดูยังคลุมเคลือเลยหยิบมาเขียนต่อ จะเรียก อนุชีประวัติตอนที่ 2 คงได้ วันหลังนึกสนุกค่อยมาเติม เป็น อนุชีวประวัติตอนที่......ไปเรื่อยตามอารมณ์ครับ
                                                                      ขุนทอง ศรีประจง
                                                                            15 มค. 2562

                                                            
                                                             อนุชีวประวัติ ตอนที่ 2

ปีสองห้าหนึ่งศูนย์พูนสวัสดิ์ อัตคัตชีวิตที่ผิดหวัง
ถึงคราวเปลียนทางดีคงจีรัง ได้ขึ้นฝั่งโลกธรรมบรรพขา
ได้เข้าบวชเป็นพระละเคหาสน์ ฝึกฉลาดทางธรรมนำศึกษา
ตรีโทเอกเปรียญพากเพียรมา เป็นมหาสี่ประโยคโชคชำนาญ
มีโอกาสช่วยศาสนกิจ สั่งสอนศิษย์นักธรรมนำประสาน
สอนเปรียญสองสามกระทำการ รักทำงานตอบแทนคุณธรรม
สืบเนื่องจากประวัติมิชัดแจ้ง จักแสดงเพิ่มเติมเดิมฉนำ
ก่อนจะบวชอยู่บ้านการกิจกรรม ดำเนินชีพเฉกเช่นชนทั่วไป
สอบบรรจุมิมีประกาศรับ  เลยต้องจับกิจบ้านการสิ่งไหน
ช่วยพ่อแม่กระทำประจำไป คือทำไร่ทำนาประสาจน
ตื่นเช้าเข้านาสวนล้วนทำกิจ จนประสิทธิ์ทุกงานการฝึกฝน
ตั้งใจทำให้ดีเกินผู้คน ที่เคยบ่นหันหน้ามาชื่นชม
ฝึกกิจบ้านการเรือนเหมือนคนอื่น มิยากฝืนอดทนกลเหมาะสม
ลงทำสวนทำไรใจนิยม วิชาคมเกษตรกรรมเรียนสามปี
เอามาใช้ย่อมดีมีคุณค่า พัฒนาไร่สวนมวลวิถี
เคนที่เคยดูหมิ่นกลับยินดี บ้างก็มีคิดไกลใคร่ผูกพัน
ชวนรู้จักมักคุ้นก็มีมาก ดูมิยากคิดอะไรให้นึกขัน
มิสนใจตั้งหน้าทำงานกัน ผ่านเดือนวันยิ่งชำนาญการนานา
งานถักถอฟั่นเชือกเลือกทำได้ ปอปลูกไว้เต็มสวนควรเสาะหา
เล็นเชือกป่านสานแห่ฝึกปรือมา หนักหน่อยถ้าเชื่อกล่มผูกวัวควาย
ฟั่นเชือกคร่าวเส้นใหญ่ไถครากดึง วัวลากตึงเหนี่ยวแน่นมิขาดหาย
ต้องฟั่นเองทั้วนั้นมันวุ่นวาย ล้วนสบายฝึกได้ไม่ยากเย็น
งานจักสานสนุกเอาทุกอย่าง พ่เป็นช่าวชั้นดีตามที่เห็น
พี่ชายยิ่งชอบช่างทุกอย่างเป็น มาเคี่ยวเข็นให้ฝึกลองตรึกตรอง
แรกให้สานลายขัดตอกแข็งแข็ง นี่มาแกล้งหรือไฉนได้ลายสอง
ท้ายก็เป็นตะแกรงร่อนรำกรอง พี่สาวมองบอกเขิงไว้ร่อนรำ
สานกระด้งกระจ่อพอทำได้ จะสายไซถักลอบชอบนึกขำ
งานไม้ไผ่มิง่ายหลายกิจกรรม ฝึกกระทำมากมายสบายดี
หนักสานฝาลายคุบสี่ปล้องยั้ง ห้าปล้องผังทางยาวตามวิถี
เปลี่ยนฝาบ้านของเก่านานหลายปี ควรจักมีฝาใหม่ไว้เปลี่ยนกัน
เปลี่ยนสามด้านเจ็ดแผ่นช่วยกันทำ จักตอกนำไม้ไผ่ลำใหญ่สรรพ์
ไผ่ตงบ้านเหนียวดีนี่สำคัญ พ่อตัดมันมาไว้ให้ฝึกปรือ
แจกมีดให้ลับคมเป็นหรือยัง ลับระวังเบาเบาจับแน่นถือ
สักครูมองเห็นคมมันยังทือ ลับต่อคือสองข้างลับเบาเบา
จนไม่เห็นสันคมแหละใช้ได้ นำมาใช้จักตอกตัดผ่าเหลา
สะดวกงานระวังมือจะบาดเอา โดนบากเราได้แผลเป็นประจำ
จักตอกเสร็จก็สานผ่านยากหน่อย แต่เรียบร้อยคนขยันกิจกรรม
มีโอกาสฝึกงานจักสานทำ  ของใช้นำมาบอกเหมือนหลอกกัน
ชินแรกสานฝากแตะตกตั๊กแตน อย่าดูแคลนมิง่ายขายหน้าสรรพ์
หมดด้ามลองฝึกไปได้สามอัน ก็น่าขันสานยากเอาเรื่องเชียว
สานพัดบ้างกระด้งแลกระจ่อ ยังมิพองานละเอียดยากแหลเหลียว
สานกระเช้าครุตะกร้าเรียงมาเชียว ทำงานเดี่ยวครูปล่อยไม่ลอยนวล
เสร็จนำส่งพ่อพี่มีคนตรวจ ชอบมากกวดขันครุจนนึกสรวล
ตอกกลมกลมเหลี่ยมๆตามกระบวน สานแล้วชวนชันยาทาให้ดี
ต้องขังน้ำไม่รั่วแหละใช้ได้ เขาเอาไปตัดน้ำตามวิถี
ครุกะแป๋งมิรู้ยังมิมี สังกะสีป๋องนมเพิ่งเกิดมา
เก่งมากขึ้นลอบไซให้ทำเป็น มิยากเย็นครูฝึกท่านบิดา
เตรียมเครื่องมือมากมายจะจับปลา ยากนักหนาจักสานมิขาดมือ
ลอบไซเผียกถักไว้มิได้ว่าง ฝนมาช่างพอดียามนี้หรือ
จะทำต้อนทำต่งนั่นแหละคือ มิต้องซื้อหาใครได้ใช้การ
ไซ อุปกรณ์ดักปลา ทางน้ำไหล มีงาเข้าได้ออกไม่ได้ ต้องเปิดปากเทออก
ลอบ ซี่ไม้ไผ่ขนาดดินสอยาว สอง-สามปล้อง ถักเป็นแผ่นม้วนเป็นวงกลม
       กั้นเป็นสองช่อง ปากติดงาเป็นทางเข้า ตรงกลาง มีงาผ่านไปช่อง
       ที่สอง ท้ายมีช่องเปิดเทเอาปลา วางดักทางปลายผ่านไปมา
เผียก คล้ายเสื่อลำแพน ใช้ซี่ไม้ไผ่ เหลาค่อนข้างแข็ง เดิมใช้เครือไม้
       ถักเป็นแผ่น เอาไว้กั้นทางน้ำไหล มิให้ปลาผ่าน ต้องว่ายเลาะไป
       จนถึงช่องที่เปิดไว้ ตรงนั้นจะมี ลอบ หรือ ไซ ดักไว้
ต้อน  ที่ดักทางน้ำไหล มิให้ปลาผ่านโดยงาย ปลาจะถูกต้องให้ว่ายเลาะ
        ไปยังช่องที่กำหนด ใช้เผียกยาวสักเมตรเศษ กันทางน้ำให้ไหล
        ผ่านเผียก ตกเสียงดัง ทำให้ปลาได้ยินว่ายมา โดนดักด้วยลอบไซ
ต่ง   อุปกรณ์จับปลาสานด้วยเชือกเหนียวคล้ายตา แห แต่ทำเป็นถุงยาว
       3-4 เมตร ก้นต่งผูกไซติดไว้ดักปลา ปากต่ง กางตรงทางน้ำไหลที่
        ทำคันกั้นไว้ บังคับให้น้ำไหลเป็นช่องที่จะดักด้วยต่ง ได้ปลาทุกขนาด
        ที่ว่ายลงตามน้ำ

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2562

รวมงานร้อยกรองเรื่องยาว


                                         
                                     ขุนทอง ธนัญธร ป้าทุม ถ่ายที่หนองกองเหนือ กำแพงเพชร 
                                                                 -----------------

.....................เมนูรายการงานแต่งบทร้อยกรอง ผลงานของกระผม นายขุนทอง ศรีประจง เฉพาะที่เป็็น เรื่องยาว และยังเก็บสะสมไว้ไม่ได้ลบทิ้ง
.......ใช้เมาส์ระบาย คลิกขวา 1 ครั้ง แถบ URL จะปรากฏ คลิกที่ URL จะเปิดได้


------------------------
นางแตงอ่อนคำฉันท์
ขุนทึงขุนเทืองคำฉันท์
ท้าวก่ำกาดำ คำฉันท์
ปลาบู่ทอง คำฉันท์
นิทานอีสป 51-100
นิทานอีสป 1-50
โตเกียวแห่งความหลัง เพจ 4
โตเกียวแห่งความหลังเพจ 3
โตเกียวแห่งความหลัง เพจ 2
โตเกียวแห่งความหลัง เพจที่ 1
โคลงนิราศเมืองเหนือ เพจที่2
โคลงนิราศเมืองเหนือ เพจที่ 3
โคลงนิราศเมืองเหนือ เพจที่ 1
พระราชประวัติ รัชกาลที่ 9
เซียงเหมี่ยง3 ตอน 41-60
เซียงเหมี่ยง 61-76
นางผมหอมกลกลอน
เซียงเหมี่ยง 2 ตอน 21-40
เซียงเหมี่ยงตอน1-20
นิราศดอยอ่างขาง1
นิราศไทรโยค1
นิราศไทรโยค 2
เซียงเหมี่ยงคำโคลงชุดที่ 4
คำโคลงสอนหลาน
บันทึกการอ่านพระราชประวัติ ร 9
ภูกระดึงรำลึก 2
ภูกระดึงรำลึก 1
ท้าวขูลูนางอั้ว 2
ท้าวขูลูนางอั้ว 1
นางผมหอมกลกลอน
ท้าวขูลูนางอั้วคำโคลง

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561

นักบุญรู้จักบุญหรือยัง


คุยเรื่องบุญเอาภาพตอนไปไหว้พระที่พุทธมณฑลมาอวด

นักบุญรู้จักบุญหรือยัง
........ชาวพุทธทั่วไปคงไม่มีใครรู้สึกแปลกกับ "บุญ" กันหรอกครับ เพราะได้ยินได้ฟัง บ่อยเหลือเกินเช่น...บุญมากแล้วที่ได้เกิดมาเป็นคน เป็นบุญมากนะได้พบพุทธศาสนา มาตักบาตรทำบุญกัน พระมาตอนเช้า ๆ ไปวัดทำบุญกัน บ้านโน้นเขาทำบุญบ้าน คุณตาเป็นคนใจบุญ .....ฯลฯ เราได้ยินบุญบ่อย ๆ แต่เชื่อไหมว่า เราไม่ค่อยรู้จักบุญ ถามว่าบุญคืออะไร พระก็พระเถอะ ตอบไม่ค่อยจะเหมือนกันหรอก
........อยากรู้จักบุญ ไปศึกษาให้ดีว่า บุญมันเกิดมาจากไหน จะได้ตามไปดูชัด ๆ บุญเกิด ๓ ช่องหลัก ๆ คือ ทานมัย สีลมัย และ ภาวนามัย ท่านเรียกบุญกิริยาวัตถุ ๓  แต่ก็ยังมีละเอียดกว่านี้อีกเรียกบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ก็สงเคราะห์ลงในบุญกิริยาวัตถุ ๓ นั่นแหละ  ดังนี้
.........กลุ่มทานมัย มี๓ หัวข้อ ย่อย คือ ทานมัย ปัตติทานมัย(อุทิศบุญ) และปัตตานุโมทนามัย(อนุโมทนาบุญ)
..........กลุ่มศีลมัย แจกแจงได้ ๓ หัวข้อคือ สีลมัย (ปฏิบัติศีล) อปจายนมัย(ปฏิบัตินอบน้อบถ่อมตน) และ
เวยยาวัจจมัย(ขวานขวายในกิจสุจริตโดยชอบ) 
..........กลุ่มภาวนามัยมี ๔ หัวข้อได้แก่ ภาวนามัย (การฝึกอบรม) ธัมมัสวนามัย (ฟังแล้วเกิดบุญ) ธัมมเทศนามัย(บอกแนว ปฏิบัติให้เกิดบุญ) ทิฑฐุชุกัมม(ทำความเห็นให้ตรง) 
..........มาศึกษาดูบุญกิริยาวัตถุ แต่ละอย่างทำอะไรถึงเกิดบุญ ดังต่อไปนี้     
......... 1. ทานมัย  มีสองคืออามิสทาน กับ ธรรมทาน  ให้อามิสทาน คือให้สิ่งของ เกิดตัวบุญคือโลภะลดลง ให้ ธรรมทาน คือสิ่งเป็นนามธรรม เช่นให้ความรัก ความเมตตา แนะนำสั่งสอน  เกิดบุญคือ ความเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว
..........2. ปัตติทานมัย  เกิดบุญจากความปรารถนาดี อุทิศ หรือร่วมอุทิศบุญ ให้แก่ผู้อื่น
..........3..ปัตตานุโมทนามัย (บุญอันเกิดจากการอนุโมทนา คือ บุญที่เกิดจากการตั้งจิตอนุโมทนาต่อบุญความดีที่ผู้อื่นได้กระทำแล้ว
..........4. สีลมัย บุญเกิดจากการปฏิบัติศีล เอาแค่ศีลห้าแล้วกัน บุญจะขัดเกลากายวาจาให้เราแบบไหน
เว้นการฆ่า ชำระใจจากโทสะ อาฆาตพยาบาท เว้นการลัก ชำระใจให้เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินผู้อื่น เว้นประพฤติผิดในกาม เคารพในความรักหวงแหนของบุคคลในครอบครัวผู้อื่น เว้นมุสา สื่อสารกับผู้อื่นโดยสัจจะ เชื่อถือได้ เว้นสุราเมรัย มีสติเข้มแข็งไม่ประมาท ....บุญจากศีลทั้งห้าอย่างชำระกายวาจาให้เราในชาตินี้แหละ ไม่ใช่รอไปชำระชาติหน้า เสียหายหมด
...........5. อปจายนมัย คือ บุญที่เกิดจากการรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน มีสัมมาคารวะ ปฏิบัติแล้วเป็นบุญทันที
มีค่าอย่างยิ่งในสังคม ชุมชน ทุกระดับ
...........6. เวยยาวัจจมัย เกิดบุญจากการขวนขวายในกิจการงานต่าง ๆ โดยชอบ
 ...........7. ภาวนามัย  บุญเกิดจากการภาวนา คนที่ไปวัดบ่อยจะเห็นการปฏิบัติสมถะกรรมฐานบ้าง วิปัสสนากรรมฐานบ้าง  บุญที่เกิดคือ สมาธิ ฌาน และสติเข้มแข็งมากขึ้น ส่วนภาวนาที่หมายการอบรมด้วยวิธีศึกษาเล่าเรียน เรียนแล้วก็มีความรู้ ฉลาดมากขึ้น อาจมีหลักฐานแสดงให้เช่น นักธรรมตรี โท เอก เปรียญต่าง ๆ ทางโลกก็มีประถม มัธยม อุดมศึกษา เป็นหลักฐานยืนยันว่า ผ่านการภาวนาระดับไหน
ผลการภาวนาทั้งทางวัดและทางโลก เกิดในชาตินี้แหละ ไม่มีใครเรียนธรรม ไปจบนักธรรมเอกชาติหน้า หรือเรียน ม.ต้น จะไปจบ ม.๖ ชาติหน้า ดังนั้นใครจะบอกให้เรารอรับบุญชาติหน้า ฟังให้ดี กำลังโกหกหรือเปล่า เพราะบุญที่ทำเสียหายหมดเช่น ส่งลูกเรียนหนังสือ ไม่เอาความฉลาดรอบรู้ในปัจจุบัน แต่จะไปจบชาติหน้าครับลูกบอกอย่างนี้...โอเคไหม
............8. ธัมมัสสวนมัย (บุญอันเกิดจากการฟังธรรม)ธัมมัสสวนมัย คือ บุญที่เกิดจากการรับฟังธรรม อันก่อให้เกิดปัญญา และทางรู้แจ้งแก่ตน ฟังแล้วก็เกิดการเรียนรู้ เข้าใจ นั่นแหละบุญ เกิดทันทีในปัจจุบัน
............9. ธัมมเทสนามัย (บุญอันเกิดจากการแสดงธรรม)ธัมมเทสนามัย คือ บุญที่เกิดจากการแสดงหรือการสอนธรรมให้แก่ผู้อื่น เป็นการเจาะจงให้ธรรมทาน ให้คำแนะนำสั่งสอน
...........10. ทิฏฐุชุกรรมเกิดบุญจากการทำความเห็นให้ตรง คือทางที่ชอบด้วย ถูกต้องด้วยใต้พื้นฐานของเหตุ และผลที่เป็นจริง
........เล่ามายาวพอสมควรแล้ว ปีใหม่ใกล้มาแล้ว ก็แค่อยากเตือนลูกหลาน มิตรสหายให้ตื่นมากระทำบุญและรับผลบุญกันในชาติปัจจุบันกันเถอะ หลงผิดคิดทำบุญจะไปรับผลบุญชาติหน้ากันมานานแล้ว ผลบุญมันเสียหายหมด อย่างทานเพื่อละโลภ ละชาตินี้แหละ ศีลชำระกายวาจาให้สงบเรียบร้อย นี่ก็ชัดเจน สงบเรียบร้อยในชาตินี้แหละยิ่งภาวนามัย การอบรมศึกษาเล่าเรียน บุญคือความรู้ความฉลาด มีสติปัญญา รับผลชาตินี้แหละ ไปฉลาดชาติหน้าจะมีประโยชน์อะไร ทำบุญให้เกิดผลปัจจุบันนี่แหละดีที่สุด

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561

นางแตงอ่อนคำฉันท์


เอารูปสมัยบวชพระมาลงไว้ ถ่ายปี 2514-2515 ประมาณนี้
จำอยู่ที่วัดศรีบุญเรือง ต.กุดป่อง อ.เมือง จังหวัดเลย

........การเขียนเรื่องนางแตงอ่อนคำฉันท์ ก็เพื่อเป็นที่ระลึกปีเก่าปีใหม่ ๒๕๖๑---๒๕๖๒ อยากมีนิทานสักเรื่องที่เราเล่าเอง เล่าธรรมดา เดี๋ยวก็มีซ้ำกับคนอื่นเล่า เลยเลือกเล่าแบบคำฉันท์ รับรองไม่ซ้ำแบบใคร แต่ไม่สงวนนะหากใครจะเลียนแบบ มีแตงอ่อนคำฉันท์หลาย ๆสำนวนก็ดี แต่มั่นใจว่าไม่มีใครเอาอย่างหรอก เพราะฉันท์เป็นคำร้อยกรองที่คนกลัวกัน ไม่อยากแต่ง มีแต่ท่านมหาขุนทองนี่แหละ แกชอบแต่งเล่านิทานเป็นคำฉันท์ นี่เป็นเรื่องที่ 3 นะ เคยแต่งปลาบู่ทองคำฉันท์ ท้าวก่ำกาดำคำฉันท์มาแล้ว เลยมั่นใจว่า แต่งได้จบแน่ การแต่งหนังสือคำฉันท์ ก็จะมีกาพย์ ปะปนอยู่บ้าง ฉันท์ก็จะพยายามเลือกมาหลาย ๆฉันท์ เพราะมีให้เลือกตั้ง ๙๓ รายชื่อ  เอามาแต่งซัก ๑๐ ฉันท์ ก็พอกล้อมแกล้มเป็นหนังสือคำฉันท์ได้แล้วน่า ลองดูนะครับ......และแล้ววันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ นางแตงอ่อนคำฉันท์ก็จบพอดี รวมเวลาที่แต่งเท่ากับ ๑๑ วัน
.....
                                                                                 ขุนทองศรีประจง
                                                                    เริ่มคิดจะแต่ง ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๑



           ๑. บทประณามคาถา
สัททุลลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙
...ขอกราบไหว้วรไตรคุณาสรณคมน์ มือแนบจะนบพนม
ประคอง
...พานพุ่มสรรค์มะลิวัลย์จะทำมนตริตรอง รำลึกพระคุณปอง
พระไตร
...องค์พุทโธสุคโตพระคุณอรหนัย สุทธาพิเศษใส
พระคุณ
...ธัมมังรัตตนวัฒฒนานรเพราะหนุน ก่อเกิดกุศลบุญ
พิมล
...สังฆังวันทนปูชิตังนมและบน ขอพรและเพียบพล
จรูญ
...เลิกบาปกรรมมิทำจักสะสมกุสละพูน เพิ่มบุญจะค้ำคูณ
เจริญ
...ล้างมลทินมนะจักสะอาดพิศะจะเพลิน ปราศมลพิไลเกิน
ประมาณ
...ทำทานมัยละลุโลภตระหนี่ก็จะมิพาน ไม่พบประสบนาน
พิบูลย์
...สั่งสีลมัยละทุโทษจะเบามนะจรูญ เย็นใจเพราะศีลกูล
ประเทือง
๒.  ปรารภกถา
ฉบัง ๑๖
...ธันวาท้ายปีหกหนึ่ง จงจิตคำนึง
บันทึกเรื่องราวทรงจำ
...ลองเขียนนิทานทางธรรม ลองสรรค์ถ้อยคำ
นิทานแบบฉันท์คงดี
...เลือกดูเรื่องไหนหนอนี่ มันมากมวลมี
นิทานพื้นบ้านของเรา
...เรื่องนางผมหอมนงเยาว์ เคยหยิบมาเล่า
เป็นเรื่องกลกลอนจบไป
...นิทานศรีทะนนไชย ก็เคยแต่งไว้
โคลงกลเจ็ดสิบหกตอน
...พอดีเห็นเรื่องแตงอ่อน ชอบใจงามงอน
เพียบพร้อมบุญญาบารมี
...ตกยากหลายครั้งนงศรี รอดพ้นทุกที
กลับกลายจำรูญจำเริญ
...บางคราวทุกข์หนักเหลือเกิน ขัดสนขาดเขิน
ผ่านพ้นด้วยบุญบันดาล
...สนใจอย่ากเล่านิทาน แตงอ่อนนงคราญ
เขียนด้วยนิยมยินดี
...จะสร้างไว้เป็นบรรณา  ปีเก่าอำลา
หกหนึ่งถึงกาลผ่านไป
...หกสองมาถึงคงได้ ของขวัญปีใหม่
แตงอ่อนคำฉันท์สารา
...สิบสี่ลุวันธันวา เริ่มจดปากกา
ร่ายบทไหว้ครูทันที
...ต่อด้วยปรารภวจี บอกจุดหมายมี
จัดเป็นวรรณสารบูชา 
...ปีเก่าหกหนึ่งถึงครา ผันเปลี่ยนอำลา
ปีใหม่หกสองมาแทน 
๓. เมืองศรีนคร
สุรางคนางค์ ๒๘
โอ้ศรีนคร
ดังเมืองอัมมร พิลาสพิไล
กำแพงรายรอบ ขอบคูยิ่งใหญ่
มองมาแต่ไกล ปราสาทรูจี
งดงามเวียงวัง
บ้านเรือนสะพรั่ง วัดวาเจดีย์
กุฏิวิหาร อาคารมากมี
สองข้างวิถี สะอาดคูคลอง
ยามเช้าคลาคล่ำ
ฝูงควายสีดำ คนเลี้ยงทั้งผอง
ต้อนเดินตามทาง ควายรู้มิต้อง
มันรู้ทำนอง เดินตามคนไป
พวกล้อพวกเกวียน
คลาคล่ำวนเวียน วัวควายลากให้
คนนั่งขับเชียว ลดเลี้ยวทางวไหน
ชำนาญสั่งไป วัวควายเดินตาม
ตลาดค้าขาย
วันพระวุ่นวาย แม่ค้าไถ่ถาม
ข้ามีหมากแตง ขอแบ่งคนงาม
หมากฟักนงราม แลกบ้างเป็นไร
ระบบของฝาก
ประเมินมิยาก แล้วแต่พอใจ
สองฝ่ายตรวจดู ย่อมรู้แบบไหน
ตกลงแลกได้ ค้าขายด้วยดี
เดือนละสองวัน
ได้มาพบกัน แลกเปลี่ยนวิถี
ค้าขายแลกของ ถูกต้องย่อมมี
น้ำใจไมตรี พังพี่น้องกัน
เสียงโปงกังวาน
อ้อพระอาจารย์ จักโปรดสัตว์สรรพ์
หลวงพ่อนำหน้า พระเณรสำคัญ
บิณฑบาตทั้งนั้น ญาติโยมรอคอย
นักการสี่นาย
ออกตรวจตามสาย ถนนตรอกซอย
ชาวบ้านยินดี เพราะมีคนคอย
ตรวจตราเรียบร้อย บ้านเมืองสงบดี
๔. ประชาชนชาวศรีนคร
กาพย์ยานี ๑๑
ชาวศรีนคร ประชากรก็มากมี
พวกอยู่ในบุรี ก็มีมากหลากกลุ่มชน
พวกหนึ่งในวังเวียง พ่อเมืองเลี้ยงมิสับสน
ทำงานให้เบื้องบน ข้ารับใช้ท่านเจ้าเมือง
อีกกลุ่มพวกชาวบ้าน มีเรือนชานชิดกันไป
นอกเมืองมีนาไร่ ปลูกพืชผักไว้ทำกิน
นาไร่ใช้วัวควาย เลี้ยงมากมายนับเป็นสิน
มีมากมิยากยิน เรียกเศรษฐีมีวัวควาย
นาไร่ของเจ้าเมือง มิได้เคืองท่านมอบหมาย
เสนาแต่ละฝ่าย ถือครองนาไปจัดการ
จัดคนทำนาไร่ มอบหมายไปรอประสาน
ชักผลพอประมาณ ส่งมอบไปให้เจ้านาย
เจ้าเมืองท่านพอใจ รับคืนไปได้คุณหลาย
รับไว้ไม่มากมาย คืนให้เขารับเอาไป
เจ้าเมืองท่านเมตตา ชาวประชาสุขไฉน
ยามเกิดเหตุเภทภัย ระดมคนได้ทันที
น้ำท่วมหรือไฟไหม้ ระงับภัยขมันขมี
ยามศึกเรียกพลพลี ชีพช่วยทัพจับศึกกัน
นับนานไร้สงคราม อยู่ตามสงบสรรพ์
ชาวศรีนครนั้น ล้วนร่มเย็นเป็นสุขแลฯ
๕. ชาวศรีนครนอกกำแพงเมือง
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
นอกเขตนครศรี ก็จะมีหนองประแส
เป็นบึงและรวมแคว และชลาก็เนืองนอง
ปูปลาก็มีมาก นรหากจะใคร่ลอง
ลงบึงประมงต้อง จะลุลาภเพราะจับปลา
เครื่องมือก็ไม้รวก แหละฉมวกจะสรรหา
เสี้ยมแหลมก็ดัดมา และจะลนและดัดตรง
แห้งแล้วจะใช้ซัด ก็สะบัดมิลืมหลง
ไปบึงเลาะเลียบวง ก็จะแทงและจับปลา
บางคนก็มือเปล่า จะคลำเอาแสวงหา
ลงน้ำและงมมา ก็จะได้เพราะมากมาย
ทุกวันจะมากคน จะเลาะวนเสาะสืบสาย
หาปลาก็วุ่นวาย ก็ลำบากและยากเย็น
เครื่องมือแหละไม่มี ก็วิถีจะคงเห็น
มือเปล่าเพราะจำเป็น จะประมงยถากรรม
ผักบุ่งและกะเฉด ก็วิเศษละไข่ผำ
คันจองแหละตีนจำ ระดะดาดก็มากมี
หากินประชาราษฎร์ ก็ฉลาดเสาะวิธี
ผักปลาเสาะจงดี ก็มิอดเพราะมากมาย
สมบูรณ์นครศรี บมิมีจะค้าขาย
อยู่กันสะดวกดาย ก็สงบสถาพร ฯ
๖. เจ้าเมืองศรีนคร
ตนุมัชฌาฉันท์ ๖
อันเจ้าปติจอมราช องอาจนิตินาคร
นามว่าอติภูธร โกศรีกิติเลิศชัย
ทรงคุณมหบารมี รานีศิริโฉมนัย
เทียมอัปสระอำไพ ทรงนามพระสุพรรณี
รูปงามมนทรงคุณ ใจบุญปิติทรงศรี
เมตตากรุณามี ทรงคุณศิรินวลนงต์
โอรสปฐมานาม ตามตั้งพระมหาวงศ์
เป็นนักจรไพรพง เข้าป่าพระก็เดินไพร
เทียวชมชละรุกขา ธาราก็จะแลไหล
รวมหลั่งเลาะและเลียบไป ชุ่มชื้นและฉ่ำพฤกษ์พง
มักชอบสืบเสาะไก่ป่า แลหาและก็ไหลหลง
จับได้ก็มิดีตรง มันตายเพราะธนูยิง
ได้เห็นคณะต่อไก่ จับได้ก็มิตายจริง
พอใจก็มิยอมนิ่ง ไปฝึกชำนิชำนาญ
ลองเองพระมหาวงศ์ เข้าพงเสาะเลาะฮึกหาญ
ต่อไก่ก็จะเชิงชาญ จนติดประจำชอบใจ
บางคราวก็เลาะหลงป่า วนมาก็มิสงสัย
หลายวันจระวนไป เจอไทรก็แวะพักนอน
ริมฝั่งณนทีเห็น ร่มเย็นอุระทอดถอน
หลับไหลปิติอาวรณ์ ฝันเห็นศิริกัญญา
๗. นางแตงอ่อนถือกำเนิด
กุมารลลิตาฉันท์ ๗
จะกล่าวสุดรุนีนวล ก็ชวนปิยะสเนหา
เพราะโฉมศิริสคราญตา บิดาก็จระเข้นวล
มีนามพระนุชะแตงอ่อน และค่อนจะศิริโฉมควร
จะเปรียบก็ดุจะพร้อมมวล เพราะรูปและกิริยางาม
มนุษย์ปิตุดิรัจฉาน เพราะทานกุสละส่งตาม
ก็เกิดสหชนกยาม จะเกิดยุวธิดานาง
เจริญวยะสะสวยยิ่ง และมิ่งสิริสุภาทาง
มนุษย์และกิริยาวาง สง่าจริยะบทนวล
ก็ลือแหละพระสมุทรมี สตรีพระศิริโฉมควร
แหละเลิศติภวะล่มลบ ลุไตรก็บมิเทียมทัน
ละอ่อนยุวธิดาสาว ลุคราวจะพิสมัยสรรพ์
ก็ใครมนุสะผูกพัน และควรจะอภิเษกนาง
และล่วงลุวรดิถีกาล ก็ผ่านและก็มิอาจสาง
จะได้ปะอภิเษกบ้าง ก็รอพระจะประกาศงาน
ลุล่วงทิวะและเดือนปี มิมีวรกระแสสาน
จะเกิดอริยะบันดาล และสุขนรจะพอใจ  ฯ
แต่งต่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๑)
๘. เจ้าชายมหาวงศ์เดินป่า
จิตปทาฉันท์ ๘
ปางพระกุมาร พระก็ชาญนัย
ชอบจะเลาะไพร จรเนืองเนือง
ไปก็จะนาน และละบ้านเมือง
เหนื่อยและก็เปลือง วิริยาเดิน
ปลาณนที ก็จะมีเกิน
และก็จะเพลิน ชมคณนา
งามนะตะเพียน เสาะและเวียนหา
คู่และก็พา เลาะละล่องลอย
ดุกและชะโด ก็จะโผล่คอย
เหยื่อแหละจะพลอย จะละชีพวาย
ช่อนก็จะอวด เลาะและลวดลาย
เจอบมิคลาย ปะแมลงมี
เขียดและตะปาด บมิพลาดหนี
ฮุบตะละที ก็ระเริงใจ
งามนะสลิด และจะชิดใคร
เต่าตุตะไต่ เลาะและคืบคลาน
กบก็จะตาม และละโลดลอย ฯ
๙. ท้าวมหาวงศ์หลงป่า
วิชชุมาลาฉันท์ ๘
ท่านท้าวชอบไพร ไปมาบ่อยบ่อย
ไก่ป่าไม่น้อย ชอบสืบค้นหา
ชอบเดินเพลินไพร เทียวไปเดินมา
ชมนกชมปลา แมกไม้ไพรพง
อุ้มไก่ตัวล่อ หวังต่อให้หลง
พวกไก่ในดง ถูกล่อเรียกมา
วางตุ้มไก่บ้าน ครืนควานล้วงหา
ดักรอบตุ้มว่า แบบนี้ดีเทียว
หักกิ่งไม้เผียด พะเนียดแลเหลียว
อยู่กลางวงเชียว ใบไม้ปิดบัง
ยามไก่ต่อขัน เสียงมันโด่งดัง
ไก่ป่าพอฟัง โมโหโกรธา
ใครมันบังอาจ สามารถลูหนา
เขตนี้ของข้า ฮาเรมของกู
แบบนี้ต้องเบ่ง นักเลงหรอสู
เดียวเองจักรู้ โดนเตะเช่นไร
ชวนสาวรี่หา ปรีมาสงสัย
ยังขันอยุ่ได้ เตะเลยเตะเลย
วิ่งถีงแนวเผียด เฉียดครืนไปมา
มินานหมดท่า ติดบ่วงหลายตัว
ท้าวมหาวงศ์หนุ่ม เดินดุ่มแย้มหัว
ต่อไก่ไปทั่ว สนุกเพลิดเพลิน
วันหนึ่งหลงป่า หลงมาเขาเขิน
พวกพ้องบังเอิญ เดินแยกกันไป
แต่เช้าจนสาย ยามบ่ายเหนื่อยไฉน
แวะพักร่มไทร ริมน้ำร่มเงา
๑๐. พบรักแต่งอ่อน
มาณวกฉันท์ ๘
จรก็จะเนิ่น เดินเลาะและเช้า
บ่ายก็มึนเมา เหนื่อยแหละหลับนอน
สาวละก็งาม นามหละนะอร
สวยดังอัปสร ไม่พูดไม่จา
ท้าวไม่รีรอ พอพบกานดา
รวบรัดไขว่คว้า กอดรัดฟัดฟอน
สองสมเสพสม ชื่นชมสายสมร
พัลวันสี่กร วุ่นวนวุ่นวาย
ผ้าผ่อนหลุดลุ่ย ฮาหุยโฉมฉาย
คนเขาเอียงอาย ล่อกันทำไม
เจ้าหนุ่มหน้าทน ชอบกลไฉน
ปะเปลือยอยู่ได้ ไม่เอาไม่เอา
อีกหน่อยอีกหน่อย รอคอยโฉมเฉลา
อย่าอายเลยเจ้า ยั่วเย้ายวนยี
ดึกดื่นค่อนคืน พอตื่นนวลฉวี
หายวับทันที เทพอุ้มจากไป
รอยบุญปางก่อน แตงอ่อนทรามวัย
เป็นคู่กันไซร้ เทพท่านเมตตา
อุ้มสมสองสู่ เป็นคู่กันหนา
ดึกดื่นก็พา นวลนางกลับไป
สองรักโหยหา แก้วตาอยู่ไหน
สองเกิดรักใคร่ ลึกล้ำตรึงตรา
หลายวันเจ้าหนุ่ม กลุ้มใจนักหนา
วานคนให้มา ดำน้ำตรวจดู
เขาขึ้นมาเล่า พบเยาว์นวลหนู
แตงอ่อนโฉมตรู ลูกสาวกุมภีร์
เมื่อรักปักใจ มิได้หน่ายหนี
เลือกแหละนางนี้ จักแต่งกับนาง
๑๑. อภิเษกแตงอ่อนเป็นราชินี
สมานิกาฉันท์ ๘
ทางหนุ่มก็กลุ้มและกลับลุ หทัยระอุรักก็เจ็บ คุ
กลับและถึงนิคมก็ปวดระอุ วอนและวานบิดาจะแต่งนะ
แตงละอ่อนเพราะรักและหลงมุ พ่อและแม่คุณากรุณจะ 
สู่และขอพระนางอนงค์คะ ลูกก็หลงละเมอและรักอุ
เอกกะนุชก็ล้นก็เหลือผิ จะเทียบก็ปริดุจหอกทะลุ
อกก็เจ็บและเหน็บและปวดคุ กรุ่นและวุ่นทุรนทุรายเละ
ขอบิดากรุณและช่วยตริ พ่อแหละดำริขอสะใภ้เพราะ
ข้อยมิอาจจะทนกระแสเดาะ อกก็ยิ่งเปราะแตกระเบิดนะ
บ่นกระวนกระวายจะตายและ ปากพะงาบแบะตาแหละชักซะ
พ่อก็บ่นวิตกวิจารณ์ชะ ตายก็ดีมิยุ่งมิยากแหละ
แม่มิอาจจะทนก็วอนก็วานเถอะ เฒ่าก็อย่าเลอะลูกนะอย่าแดะ
ท้ายก็ยอมจะสู่จะขอละอ่อนแนะ แตงละอ่อนสะใภ้สะใจจุ
ลูกก็สุขสบายและคลายเบะ แม่เคาะหัวเละแกก็อย่าลุ
สองก็สมสุขาภิรมยคุ ไฟก็ลามลุอกระทมและ
ครองภิรมย์และรักระรื่นนะ ปลื่มมิลืมจะขอบพระคุณแตะ
กราบบิดากะแม่เพราะท่านแนะ สอนและสั่งอเนกอนันต์นะ ฯ
12. เศรษฐีเฒ่าอัยยกา ถวายลูกสาวทั้ง ๕ นาง
ปมาณิกาฉัน์ ๘
จะกล่าวตำนาน ก็ท่านผู้เฒ่า
เพราะนามแหละเขา ก็อัยยกา
ก็รวยแหละทรัพย์ จะจับจะหา
ก็มีก็มา สะดวกสะบาย
ธิดาก็มี สุภีและฉาย
ละนางก็คล้าย กะเทพอนงค์
จะนับก็ห้า สุดาระหงส์
แหละเฒ่าก็งง จะหานะคู่
ก็เลือกก็สรร ลุวันน่ะหนู
ก็ยากมิรู้ จะเลือกจะตรอง
มิมีมิควร ก็ชวนจะหมอง
จะจับจะจอง น่ะเขยน่ะใคร
ก็เลยจะยก สถานะใส
จะยกจะให้ พระเจ้าพนาย
มหามหงส์ ก็คงสบาย
ก็ยกถวาย พระองค์อำนวย
และนางก็ห้า สุภาแหละสวย
ระทึกระทวย ลุราชีนี
สุโขสุขา ลุมาลุปี
ภิรมย์ฤดี สถิตนิรันดร์
๑๓. แตงอ่อนประสูติโอรส กลับเป็นจรเข้
(๑๐). สุทธวิราชิตฉันท์ ๑๐
นางแต่งอ่อนมหิสี ก็มีสุโข
อยู่ครองเมืองสุมโน จรูญเจริญ
นางทรงครรภ์ปิตินัก  ก็มักจะเพลิน
ชนชื่นชมศิริเกิน ก็เยินก็ยอ
ห้าชายาก็วิตก จะแกล้งแหละหนอ
ข่มเหงนางจะมิรอ ตริแผนทำลาย
จัดเตรียมคนกระทำการ แบบพาลสลาย
จะปลิดชีพกะจะตาย ก็บุตรพระนาง
อีกคนว่าพระธิดา จะเข้คือทาง
ชาติเกิดมาบมิจาง และบุตรก็ควร
เป็นแข้แน่นะกุมาร ตริการสงวน
เปลี่ยนลูกนางก็จะป่วน จะเข้ก็มี
ถึงวันคลอดก็จะปวด จะรวดฉวี
เช้ายันเย็นก็กลี แหละปิดนะตา
ไม่เห็นดีมิเจ็บ ก็เหน็บยุพา
เปลี่ยนลูกนางและก็หา จะเข้แหละแทน
ลูกหลานแข้แหละก็แข้ ก็แน่เพราะแถน
ส่งแข้จากวรแดน สวรรค์ประทาน
ลือนางแตงนะละอ่อน ก็ตอนณวาน
คลอดออกมานะกุมาร จะเข้จะโขง
ลูกนางเขาก็จะทิ้ง และชิงจุโลง
กล่องเด็กอ่อนก็โปง ก็ชิดและไป
ทิ้งนอกเมืองเพราะขุ่น เพราะบุญไฉน
เทพเห็นโหดจะลุภัย ก็ช่วยกุมาร
เลี้ยงดูอยู่ ณ สวรรค์ แหละสรรค์ผสาน
เติบโตมาก็สราญ ลุวันลุคืน ฯ
๑๔. แตงอ่อนถูกขับออกจากเมือง
(๑๒) รุมมวดีฉันท์ ๑๐
ท้าวธมหาหงส์ หลงจรป่าเขา
กลบก็เจอะนงเยาว์ ห้าทุรวาจา
แตงน่ะมิใช่คน จนปะกะหูตา
คลอดจระเข้มา ใครก็มิเคยเจอ
นี่จะกะลีแน่ แท้นะคะเธอ
ยินตะละนางเพ้อ ไม่ตริมิตรอง
เชื่อมุหะโสโส โมหะดุด่าปอง
ไล่และจะขับไป จากคหะเราแก
แตงก็วิตกนัก พักจะประสูติแน่
เสียงอุแอะแม่แม่ ดังพระกุมารเห็น
ใยจะจะเข้ได้ ใครจะกะเปลี่ยนเป็น
เขาก็มิฟังนาง ต่างก็กะลีลือ
ไปซะซิแตงอ่อน ร้อนนรชนถือ
ขืนจะมิหนีดื้อ เดี๋ยวก็จะฆ่านาง
คนมุหะบ้าคลั่ง ชังแหละกะลีสาง
เขาก็จะขับอ้าง อยู่แหละกะลีคน
นางก็วิตกจริง นิ่งบมิอาจทน
จำจะละหนีบ้าง นางจรจากมา 
มุ่งชละบ้านเกิด เลิศปะพระเชษฐา
ถามสุขะทุกขา เจ็บอุระเอ็นดู
ตอนที่ ๑๕.................
๑๔. จัมปกมาลาฉันท์ ๑๐
เชษฐกถา แตงมาปิติยินดี
เบื่อละนะพี่ มันแก่และชราวัย
จักสละราช อำนาจก็จะเลิกไข
ลูกก็จะได้ ครองพระนครแทน
อยากจะผนวช บวชเป็นพระฤษีแสน
จะสุขะแดน พงพีจะสุขารมณ์
แตงก็วจี ท่านพี่สละดีสม
บวชละจะชม ทางบุญและสั่งบารมี
แตงก็จะบวช จักกวดจะสะสมศรี
กุสละดี หวังบุญนิธิเพิ่มพูน
สองพระกนิฐ ต่างคิดสละไอศูรย์
ก่อวรกูณฐ์ มุ่งป่าหิมพานต์ไพร
ดาบสินี กับพี่พระฤษีไฟ
เพ็ญตบะไกล ห่างเมืองก็สงบดี
สีลและจะพลี บำเพ็ญปิติรื่นรมย์
นานสุขะสม สุขสันต์ศิรินับนาน ฯ
๑๖. แตงอ่อนถูกลักพาตัวไปเมืองยักษ์
กาพย์ยานี ๑๑
กล่าวหัสจักรยักษา พารานามนันทพาน
เป็นหนุ่มเจ้าสำราญ ชอบเที่ยวป่าดงพงไพร
เหาะเหินบนอากาศ ประพาสแดนดินถิ่นไหน
ล่องลอยเลาะเลียบไป ดังขี่เมฆาพาเพลิน
ท่องไปในหิมวันต์ ไพรสัณฑ์มากมายเขาเขิน
สะดุดตาเกิน หว่างเขามีโล่งลานไพร
อาศรมสองหลัง และยังมีคนไฉน
พวกพระฤๅษีนี่ไง ชายหญิงสองคนแปลกดี
แอบดูรู้เรื่องเขา นงเยาวน้องสาวนวลศรี
ผู้ชายคือคนพี่ อดีตเป็นพระราชา
สตรีเธองดงาม ยักษ์ตามแอบสิเนหา
ยิ่งดูก็ยิ่งบ้า  จนต้องแอบลักพาไป
ตั้งเป็นมเหสี อยู่ที่เมืองยักษ์แขไข
บุญหนักเจ้าศักดิ์ใหญ่ เจ้าแม่เมืองยักษ์แตงงาม
อยู่กับยักษาก็ดี สุขีใครใครเกรงขาม
บุญกรรมนำติดตาม เป็นเมียยักษาอยู่นาน
๑๗. ท้าวสุริยวงศ์บุตรชายแตงอ่อนช่วยมารดา
๑๒. รุมมวดีฉันท์ ๑๐
สืบคติเรื่องราว คราวจะประสูตินั้น
สับจระเข้กัน แทนพระกุมารไป
เขาก็จะฝัง ดับพระกุมารให้
ชีพก็จะสิ้นใจ สมอำมหิตคน
บุญพระกุมารมี ดีเพราะพระอินทร์บน
ทิพยพิมานมนต์ ส่องก็ปะเหตุการณ์
หากจะมิช่วยเจ้า เยาว์ก็จะวายปราณ
สั่งยุวนงคราญ เทพศิริกัญญา
รับบริบาลไว้ ดุจพระกุมารหนา
นางปิติบุตรา ปลื้มอุระยินดี
เลี้ยงพระก็เติบใหญ่ วัยก็เจริญมี
นามสุริวงศ์ชี้ เทพกรุณามวล
สิกขวิชา อาคมะสมควร
ท้าวก็ฉมังล้วน เก่งและฉลาดชาญ
เหาะจรเทียวไป ทั่วณสวรรค์หาญ
ลงปฐพีพาน พบพระนครตน
พบพระบิดาไท้  ได้ปิติยินยล
เรื่องณอดีตคน บอกพระกุมารมี
ท้าวธมาหหงส์ ทรงปิติด้วยดี
ทราบพระมหิสี  ถูกลุกะโทษทัณฑ์
แตงนะละอ่อนเจ้า เขาก็จะแกล้งสรรค์
เรื่องบมิจริงครัน จนจรจากไป
ท้าวสุริวงส์สาว ข่าวก็จะทราบไข
แตงพระก็จากไกล ยักษ์แหละนำจร
๑๘. ท้าวสุริยวงศ์รบชนะยักษ์ ได้เป็นเจ้าเมืองยักษ์
๑๓. มัตตาฉันท์ ๑๐
ท้าวยินเรื่องราว คติและก็คราวมี
เหตุร้ายย่ำยี ช้ำพระอุระปาน
ทิ่มแทงปวดใจ ชิชะก็จะไปราน
เมืองนันทพาน . กะจะวธะมารา
จับแม่กูไป กุธะทุสะไฟบ้า
เดือดนักจักฆ่า อสุระมลายสูญ
ท้าวรีบเหาะเหิน แหละเลาะดำเนินพูน
มินานเขาปูน ระดะระยะเขตเมือง
เหินบนเวหา ตะบะก็จะนึกเคือง
ท้าทายหาเรื่อง อสุระจะขลาดเขลา
กูมาจักตัด หทยะและรัดเกล้า
หดหัวหลบเงา ภยะก็จะถึงตัว
หัสจักยักษา ทุสะอุระน่ากลัว
อ้ายคนชาติชั่ว ทุระนะวจีมึง
เดี๋ยวจักตามถีบ ริจะยุจะรีบดึง
คอหลุดบ่าทึ้ง และจะสละหมาไป
มินานรบกัน เฉาะฉะเผียะเผียะฟันใส่
เปรี้ยงปร้างดังไฟ อติยะวิเวทมนต์
ครี่งค่อนวันผ่าน อสุระมิทานทน
พ่ายเดชของคน สุริยะกุมารไกร
ยอมรับเป็นข้า อติยะพระเวทย์ใหญ่
เกินจักรับได้ พระสติวิชาชาญ
เชิญพระเป็นเจ้า กรุณะพระเยาว์หาญ
เป็นผู้นำบ้าน นรปิติชื่นชม ฯ
๑๙. ท้าวมหาวงศ์ ต้อนรับสุริวงศ์และนางแตงอ่อน 
๑๔. จัมปกมาลาฉันท์ ๑๐
ท้าวสุริวงศ์ ยามลงปฐพีมา
ผ่านนครา ท้าวมหวงศ์ชัย
บินทะลุเมฆ เป็นเอกบมิกลัวใคร
ชนก็จะไข พลยิงเจาะธนูพลัน
ลูกแหละธนูแปลก กลับแยกกละเทพสรรค์
เป็นผลนั้น เก็บกินก็อร่อยดี
ท้าวก็จะยิง ทุกสิ่งก็จะเปลี่ยนสี
เป็นมะลิมี กลิ่นหอมฤจะบูชา
รบก็ลุบ่าย ยิ่งคล้ายกะจะปริศนา
งงและจะจา หยุดถามก็เพราะแปลกใจ
ท้าวมหวงศ์ มึนงงมะลิกองใหญ่
ยิงก็ไฉน เป็นบุษปะงดงาม
สองก็ปะหน้า พาทีพระก็ทักถาม
ชื่นอุระยาม ได้ทราบพระกุมารวงศ์
แท้ก็เพราะบุตร แสนสุดปิติชวนองค์
บุตรจรตรง เข้าเมืองจะเฉลิมขวัญมี
สองปิตินัก ยิ่งรักและยินดี
ทราบคติศรี แตงอ่อนชำระผิดไป
นางลุกะบาป ก็ทราบคติเหตุไฉน
ผิดก็เพราะให้ เรื่องร้ายบมิสมควร
ห้ามหิสี ไม่ดีกระทำจนป่วน
คอก็จะด้วน จงหนีจรจากไป
ลูกแหละจะหา มารดาฤจะอยู่ไหน
เชิญพระจะได้ คืนกลับพระนคร ฯ
๒๐. หัสจักรยักษ์ลักพาแตงอ่อนไปอยู่เมืองนันทพาน
อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ยักษ์หัสจักรา ก็จะมาพเนจร
เดินป่าและแรมรอน หิมวันต์ก็ชอบไป
เหาะผ่านสนามหญ้า และก็พาประหลาดใจ
ศาลาก็เคียงใกล้ เอ๊ะไฉนมิเคยเห็น
นานแล้วมิมีคน ก็จะวนและสืบเล่น
กินคนมิยากเย็น เพราะละมั่งก็ยังเคย
ยักษ์หนุ่มก็ซุมมอง ก็เจอะน้องละอ่อนเอ๋ย
พิมพ์นวลก็ชวนเชย แหละก็หลงสเน่ห์นาง
เหาะผ่านก็แอบมา ก็จะหาจะเห็นบ้าง
รักเจ้ามิจืดจาง ก็ทวีละอ่อนอวน
นับวันจะกลัดอก บมิตกคะนึงหวน
โหยหาคะนึงนวล ก็มิอาจจะทนทาน
จำลักละอ่อนไป และจะให้พิเศษหาญ
มนต์ดำก็เสกพาล ก็จะหลงและรักกัน
ลืมตัวสวาทยักษ์ ปิติรักนิยมสรรพ์
เสพสมแหละสัมพันธ์ กละเป็นพระสามี
๒๑. ท้าวเกศสุริยนยาน ทราบข่าวแม่ถูกยักษ์ลักพาตัวไป ตามไปช่วย
กาพย์ยานี ๑๑
เกศสุริยนยาน ได้พบพานข่าวมารดา
แตงอ่อนถูกยักษา จับตัวไปนันทพาน
รู้สึกพิโรธนัก เจ้าพวกยักมันระราน
ผู้คนเพียงชาวบ้าน ไม่มีเดชจึงรังแก
แบบนี้ต้องสั่งสอน ให้ม้วยมรณ์มิแบแส
ล่วงฟ้าเลาะเลียบแล อยู่ตรงไหนบ้านเมืองมัย
นับนานก็ล่วงถึง ตะลึงมองเมืองกว้างใหญ่
ชว้างขวานครอบคลุมไป เมืองมิดมิดดังค่ำคืน
ระเบิดดังตามมา แสงสายฟ้าเปรี้ยงเปรี้ยงดัง
มวลยักษ์ต่างขาดกลัว หลบกันทั่วหาเจ้าเมือง
เจ้ายักษ์หัสจักร ชักรู้แล้วใครขุ่นเคือง
ฤทธิเดชก็ฟูเฟื่อง มาท้ารบกูมักลัว
เหาะขึ้นบนอากาศ เข้าฟันฟาดพล่างอย้มหัว
ที่แท้เด็กอวดตัว ว่าตนเก่งท้ารบเรา
เอาไปแสงส้ายฟ้า สะท้อนมากระเด็นไกล
เอ๊ะเวทย์มันก็แกร่ง ปะทะแรงชักสงสัย
ไม่ยอมเพิ่มเวทย์ไป อีกย้อนมาหนักเหลือเกิน
แต่เช้าเข้ายามย่าย เหนื่อยแทบทายยักษ์ประเมิน
พ่อหนุ่มยักษ์ขอเชิญ พักพูดจาเหตุอันใด
ท้ารบบ้านเมืองยักษ์ มิรู้จักเหตุไฉน
ต้องการสิ่งของใด หรือหลงรักยักษ์สาวงาม
กพูดจาดีย่อมได้ ว่ายังไงขอไถ่ถาม
พอรู้เรื่องติดตาม แม่แตงอ่อนหนาวเหน็บใจ
ที่สุดก็ยอมแพ้ ยอมคืนแม่มิสงสัย
มอบบ้านเมืองกรุงไกร เป็นเมืองขึ้นแต่โดยดี
๒๒. ท้าวมหาวงศ์รับนางแตงอ่อนกลับเมือง ขับห้านางคนร้ายออกจากเมืองไป
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ท้าวเกศสุริยน เหาะลุบนเลาะล่วงมา
กลับเมืองพระบิดา พระมหาสุวงศชัย
ห้านางกระทำชั่ว แหละมิกลัวจะบาปไหม
คนคลอดจะเข้ได้ เพราะจะแต่งแสดงความ
หาเรื่องพระแตงอ่อน ทุรย้อนและบาปตาม
ถูกไล่ลุจากคาม มิประหารก็หนักพอ
ขอโทษพระแม่แตง เพราะแสดงแหละคอยหงอ
หูเบามิหนักพอ กระทำพลาดและล่วงเกิน
แต่นี้จะรักใคร จะมิให้ทำขาดเขิน
ฮักแพงนะแตงเชิญ ภคินีสบายใจ
ตำแหน่งมเหสี ก็จะมีพระนวลไข
เป็นเอกตลอดไป นะพระแม่ละอ่อนแตง
สมโภชและรับขวัญ อภินันท์ลุเขตแขวง
ชาวเมืองก็แสดง ปิติชื่นและอวยพร
ขอทรงพระเจริญ แหละจรูญสโมสร
ทรงเป็นพระมารดร นครานิรันดร์เทอญฯ ฯ
๒๓. สรุปการแต่งนางแตงอ่อนคำฉันท์
 กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒
กระผมขุนทอง คนกรองคำฉันท์
แตงอ่อนสำคัญ เก้าวันพอดี
ธันวาหกหนึ่ง ลุถึงสิบสี่
วันคิดอยากมี หนังสือร้อยกรอง
เป็นสารระลึก เมื่อตรึกก็เพียร
เริ่มขีดจักเขียน จำเนียรสนอง
แต่งเติมคำฉันท์ เสกสรรค์คระลอง
แต่งตามตริตรอง ยี่สิบสองตอน
นิทานจบลง จำนงเดิมมี
ตรวจทานหลายที แก้ดีบทกลอน
เหนื่อยนักพักไว้  วันไหนอาวรณ์
นิทานแตงอ่อน หยิบมาอีกที
คงเห็นตำหนิ ผลิดอกออกบาน
ได้แก้จนคร้าน แน่นอนเชื่อเลย
พักลงปลงไว้ หลบไปเฉยเฉย
หยุดทานเช่นเคย วันหลังค่อยดู ฯ