ภาพจากกูเกิล
เดือนอ้ายบุญเข้ากรรม โดยขุนทอง ศรีประจง
........เป็นการทำบุญของชาวพุทธ ถวายภัตตาหาร ถวายสิ่งอำนวยความสะดวกแก่พระภิกษุใน โอกาสที่พระมีกิจกรรม ปริวาสกรรม เรียกเต็มยศหน่อยว่า "ทำบุญเนื่องในโอกาสพระภิกษุ อยู่ปริวาสกรรม" แต่แปลกนะทำกันทุกปีแหละ แต่บอกไม่ได้ว่าทำไมเรียก "ปริวาสกรรม" บอกแต่ว่าพระท่านมาอยู่กรรมกัน ทำบุญกับพระออกกรรมได้บุญมาก ต้องไปหาข้อมูลเพิ่ม เติมเองแหละ เพราะรู้จักอยู่
........ปริวาสกรรมเป็นบทลงโทษตามพระวินัยสงฆ์ ศีล ๒๒๗ ข้อนั่นแหละท่านแบ่งออก เป็น ปาราชิก ๔ อนิยต ๒ สังฆาทิเสส ๑๓ นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ปาจิตตีย์ ๙๒ เสขิยวัตร ๗๕ ปาฎิเทศนีย ๔ อธิกรณ์สมถะ ๗ หมวดอาบัติสังฆาทิเสส มีข้อกำหนดไว้ว่า ต้องอยู่กรรม 6 วันเรียก มานัต 6 ราตรี จึงจะขอให้สงฆ์ 20 รูป สวดระงับอาบัติให้ได้ แต่ถ้ามีการปกปิดไว้ ไม่ได้บอกพระภิกษุรูปอื่น นานกี่วันค่อยบอก ให้ปรับโทษ อยู่ปริวาสกรรมนานเท่าวันที่ปกปิด ก่อน ค่อยอยู่มานัต 6 ราตรี ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงปริวาสกรรม จึงหมายถึงการลงโทษพระผู้ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส การอยู่กรรมมี 2 อย่าง ถ้าไม่ได้ปกปิด อยู่แค่มาณัติ 6 ราตรี ถ้าปกปิด ต้อง อยู่ปริวาสเท่าวันที่ปกปิด ค่อยอยู่มานัติอีก 6 ราตรีและขอให้สวดระงับอาบัติต่อไป
........จากความหมายตามพระวินัยที่นำมาอธิบายความหมายคำว่า ปริวาสกรรมคง เข้าใจได้ไม่ยากว่า เป็นกิจกรรมปรับโทษพระที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ ข้อใดข้อหนึ่งหรือ หลายข้อแล้วแต่กรณี อาบัติทั้ง ๑๓ ข้อ ห้ามอะไรบ้าง .....
1. ทำน้ำอสุจิเคลื่อน
2. แตะต้องสัมผัสกายสตรี
3. พูดเกี้ยวพาราสีสตรี
4. พูดจาให้สตรีบำเรอกามให้
5. ทำตัวเป็นพ่อสื่อ
6. สร้างกุฏิด้วยการขอ
7. มีเจ้าภาพสร้างกุฏิให้แต่ไม่ให้สงฆ์แสดงที่ก่อน
8. ใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
9. แกล้งสมมติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
10. ทำสงฆ์แตกแยก(สังฆเภท)
11. เข้าข้างภิกษุที่ทำสงฆ์แตกแยก
12. ภิกษุทำตนเป็นคนหัวดื้อ
13. ประจบสอพลอคฤหัสถ์
........มีคำอธิบายว่า ล่วงอาบัติแล้วต้องรีบบอกพระภิกษุรูปอื่นทันที อย่างนี้เรียกไม่ปกปิด อยู่ปริวาสกรรมแค่ 6 วันเรียกประพฤติมานัต ถ้าปกปิดกว่าจะบอกก็นานหลายวัน อย่างนี้ ปกปิดไว้นานเท่าใด ให้นับจำนวนวันที่ปกปิด เป็นการปรับให้อยู่ปริวาสเพิ่มนานเท่าจำนวน วันที่ปกปิด ครบแล้วค่อยรับมานัต
ปริวาสอีก 6 วัน ถึงจะขอระงับอาบัติจากสงฆ์ได้ การ ออกอาบัติสังฆาทิเสส ต้องมีพระภิกษุ20 รูป จึงจะทำสังฆกรรมสวดระงับอาบัติได้
........แนวปฏิบัติ เช่น ภิกษุต้องอาบัติ 1 ข้อ ปิดไว้ 15 วัน หรือต้องหลายข้อ ปิดไว้ 5 วัน 10 วัน 15 วัน เมื่อไปขอปริวาสต่อคณะสงฆ์ ก็จะได้เวลาอยู่ปริวาส 15 วัน สำหรับกรณีแรก แต่กรณีต้องหลายข้อจะได้ เวลามากขึ้นเป็น 5+10+15 รวม 30 วัน สงฆ์จะมอบหมายพระอาจารย์คุมการอยู่ปริวาสให้ 1 รูป ต้องรายงานพระอาจารย์ทุกวัน ปกติการอยู่ปริวาส จะหา กลด มาปักอยู่ใกล้ ๆ กุฏิอาจารย์ ชั่วขว้าง ก้อนดินตก 2 ครั้ง ปฏิบัติตามกฏระเบียบการอยู่กรรมเคร่งครัด สมัยพุทธกาลทรงกำหนดข้อจำกัด ที่ผู้อยู่ปริวาสกรรม ถูกจำกัด 94 ข้อ ในเวบลานธรรมวัดโบสถ์แจ้ง ได้สรุปเป็นหัวข้อสำคัญ ๆ 10 ข้อได้แก่...
1.. ไม่ให้ทำการในหน้าที่พระเถระ แม้ตัวเป็นพระเถระมีหน้าที่อย่างนั้นอยู่ ก็เป็นอันระงับ ชั่วคราว เช่น
ห้ามบวชให้ผู้อื่น, ห้ามให้นิสสัย เป็นต้น.
2. กำลังถูกลงโทษเพราะอาบัติใด ห้ามต้องอาบัตินั้นซ้ำ หรือต้องอาบัติอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
3. ห้ามถือสิทธิแห่งภิกษุปกติ เช่น ไม่ให้มีสิทธิ ห้ามอุโบสถ หรือปวารณาแก่ภิกษุปกติ ห้ามโจท
ท้วงภิกษุอื่น ๆ เป็นต้น.
4. ห้ามถือสิทธิอันจะพึงได้ตามลำดับพรรษา เช่น ไม่ให้เดินนำหน้า ไม่ให้นั่งข้างหน้าภิกษุปกติ
เมื่อมีการแจกของ พึงยินดีของเลวที่แจกทีหลัง ทั้งนี้หมายรวมทั้งที่นั่ง ที่นอน และที่อยู่อาศัย
5. ห้ามทำอาการของผู้มีเกียรติหรือเด่น เช่น มีภิกษุปกติเดินนำหน้า หรือเดินตามหลัง แบบพระ
ผู้ใหญ่ หรือพระแขกสำคัญ หรือ ให้เขาเอาอาหารมาส่ง ด้วยไม่ต้องการจะให้ใครรู้ว่ากำลังถูก
ลงโทษ.
6. ให้ประจานตัว เช่น ไปสู่วัดอื่น ก็ต้องบอกอาบัติของตนแก่ภิกษุในวัดนั้น เมื่อภิกษุอื่นมาวัดก็ต้อง
บอกอาบัติของตนนั้นแก่ภิกษุผู้มา จะต้องบอกอาบัติของตนในเวลาทำอุโบสถ
7. ห้ามอยู่ในวัดที่ไม่มีสงฆ์อยู่ (เพื่อป้องกันการเลี่ยงไปอยู่วัดร้าง ซึ่งไม่มีพระ จะได้ไม่ต้องทำการ
ประจานตัวแก่ใคร ๆ).
8. ห้ามอยู่ร่วมในที่มุงอันเดียวกับภิกษุปกตินี้ เพื่อเป็นการตัดสิทธิทางการอยู่ ร่วมกับภิกษุ อื่นชั่วคราว.
9. เห็นภิกษุปกติ ต้องลุกขึ้นจากอาสนะ ให้เชิญนั่งบนอาสนะ ไม่ให้นั่ง หรือยืน เดินในที่ หรือ
ในอาการที่สูงกว่าภิกษุปกติ.
10. แม้ในภิกษุผู้ถูกลงโทษด้วยกันเอง ก็ไม่ให้อยู่ร่วมในที่มุงเดียวกัน รวมทั้ง ไม่ให้ตีเสมอกัน
และกัน (ทางที่ดีไม่ให้มารวมกัน ให้ต่างคนต่างอยู่).
..........หมายเหตุ..ตั้งแต่ข้อ ๖ ถึงข้อ ๑๐ ถ้าภิกษุฝ่าฝืน การประพฤติตัวของเธอเพื่อออกจากอาบัติ ย่อม เป็นโมฆะ มีศัพท์เรียกว่าวัตตเภท (เสียวัตร) และรัตติเฉท (เสียราตรี) วันที่ล่วงละเมิดนั้นมิให้นับ เป็นวันสมบูรณ์ในการเปลื้องโทษ........ต้องเริ่มต้นใหม่ และนับวันใหม่ในการรับโทษแก้ไขตัวเอง
…..ข้อสังเกต การอยู่ปริวาสกรรม เป็นกิจของภิกษุผู้ต้องอาบัติ ต้องพึงปฏิบัติ ในฐานะคนที่ได้กระทำ ความผิด กำลังรับโทษ เหมือนรับผลกรรมที่ทำผิดมา ไม่ใช่กิจกรรมที่จะเป็นบุญเป็นกุศลมากมาย
ที่โยมจะต้องไปแสดงความชื่นชม อนุโมทนาสาธุ เพราะคิดว่าทำบุญกับพระอยู่กรรมจะได้บุญกุศลมาก
ดีไม่ดีอาจไปทำให้การอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุบกพร่อง เสียเวลาย้อนกลับไปเริ่มใหม่ อาจไปทำให้
พระแหกกฏกติกา บาปกรรมเปล่า ๆ
.........แนวปฏิบัติของชาวพุทธ ถ้ามีคนชักชวนไปงานประเภทนี้ ติดต่อเจ้าอาวาส ช่วยสนับสนุน จตุปัจจัยตามกำลังศรัทธา พอแล้ว ประเภทไปเข้าค่ายทำครัวเลี้ยงพระภิกษุที่กำลังถูกลงโทษนี่ แปลก ๆอยู่นะ คุณโยม......
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น