ไปตราดปีที่แล้ว 2561 ถ่ายที่ตราดโฮเทล
..............เขียนเล่าความหลังวันเด็ก ค้างไว้ตอนจะจบ อ่านดูยังคลุมเคลือเลยหยิบมาเขียนต่อ จะเรียก อนุชีประวัติตอนที่ 2 คงได้ วันหลังนึกสนุกค่อยมาเติม เป็น อนุชีวประวัติตอนที่......ไปเรื่อยตามอารมณ์ครับ
ขุนทอง ศรีประจง
15 มค. 2562
อนุชีวประวัติ ตอนที่ 2
ปีสองห้าหนึ่งศูนย์พูนสวัสดิ์ | อัตคัตชีวิตที่ผิดหวัง | ||
ถึงคราวเปลียนทางดีคงจีรัง | ได้ขึ้นฝั่งโลกธรรมบรรพขา | ||
ได้เข้าบวชเป็นพระละเคหาสน์ | ฝึกฉลาดทางธรรมนำศึกษา | ||
ตรีโทเอกเปรียญพากเพียรมา | เป็นมหาสี่ประโยคโชคชำนาญ | ||
มีโอกาสช่วยศาสนกิจ | สั่งสอนศิษย์นักธรรมนำประสาน | ||
สอนเปรียญสองสามกระทำการ | รักทำงานตอบแทนคุณธรรม | ||
สืบเนื่องจากประวัติมิชัดแจ้ง | จักแสดงเพิ่มเติมเดิมฉนำ | ||
ก่อนจะบวชอยู่บ้านการกิจกรรม | ดำเนินชีพเฉกเช่นชนทั่วไป | ||
สอบบรรจุมิมีประกาศรับ | เลยต้องจับกิจบ้านการสิ่งไหน | ||
ช่วยพ่อแม่กระทำประจำไป | คือทำไร่ทำนาประสาจน | ||
ตื่นเช้าเข้านาสวนล้วนทำกิจ | จนประสิทธิ์ทุกงานการฝึกฝน | ||
ตั้งใจทำให้ดีเกินผู้คน | ที่เคยบ่นหันหน้ามาชื่นชม | ||
ฝึกกิจบ้านการเรือนเหมือนคนอื่น | มิยากฝืนอดทนกลเหมาะสม | ||
ลงทำสวนทำไรใจนิยม | วิชาคมเกษตรกรรมเรียนสามปี | ||
เอามาใช้ย่อมดีมีคุณค่า | พัฒนาไร่สวนมวลวิถี | ||
เคนที่เคยดูหมิ่นกลับยินดี | บ้างก็มีคิดไกลใคร่ผูกพัน | ||
ชวนรู้จักมักคุ้นก็มีมาก | ดูมิยากคิดอะไรให้นึกขัน | ||
มิสนใจตั้งหน้าทำงานกัน | ผ่านเดือนวันยิ่งชำนาญการนานา | ||
งานถักถอฟั่นเชือกเลือกทำได้ | ปอปลูกไว้เต็มสวนควรเสาะหา | ||
เล็นเชือกป่านสานแห่ฝึกปรือมา | หนักหน่อยถ้าเชื่อกล่มผูกวัวควาย | ||
ฟั่นเชือกคร่าวเส้นใหญ่ไถครากดึง | วัวลากตึงเหนี่ยวแน่นมิขาดหาย | ||
ต้องฟั่นเองทั้วนั้นมันวุ่นวาย | ล้วนสบายฝึกได้ไม่ยากเย็น | ||
งานจักสานสนุกเอาทุกอย่าง | พ่เป็นช่าวชั้นดีตามที่เห็น | ||
พี่ชายยิ่งชอบช่างทุกอย่างเป็น | มาเคี่ยวเข็นให้ฝึกลองตรึกตรอง | ||
แรกให้สานลายขัดตอกแข็งแข็ง | นี่มาแกล้งหรือไฉนได้ลายสอง | ||
ท้ายก็เป็นตะแกรงร่อนรำกรอง | พี่สาวมองบอกเขิงไว้ร่อนรำ | ||
สานกระด้งกระจ่อพอทำได้ | จะสายไซถักลอบชอบนึกขำ | ||
งานไม้ไผ่มิง่ายหลายกิจกรรม | ฝึกกระทำมากมายสบายดี | ||
หนักสานฝาลายคุบสี่ปล้องยั้ง | ห้าปล้องผังทางยาวตามวิถี | ||
เปลี่ยนฝาบ้านของเก่านานหลายปี | ควรจักมีฝาใหม่ไว้เปลี่ยนกัน | ||
เปลี่ยนสามด้านเจ็ดแผ่นช่วยกันทำ | จักตอกนำไม้ไผ่ลำใหญ่สรรพ์ | ||
ไผ่ตงบ้านเหนียวดีนี่สำคัญ | พ่อตัดมันมาไว้ให้ฝึกปรือ | ||
แจกมีดให้ลับคมเป็นหรือยัง | ลับระวังเบาเบาจับแน่นถือ | ||
สักครูมองเห็นคมมันยังทือ | ลับต่อคือสองข้างลับเบาเบา | ||
จนไม่เห็นสันคมแหละใช้ได้ | นำมาใช้จักตอกตัดผ่าเหลา | ||
สะดวกงานระวังมือจะบาดเอา | โดนบากเราได้แผลเป็นประจำ | ||
จักตอกเสร็จก็สานผ่านยากหน่อย | แต่เรียบร้อยคนขยันกิจกรรม | ||
มีโอกาสฝึกงานจักสานทำ | ของใช้นำมาบอกเหมือนหลอกกัน | ||
ชินแรกสานฝากแตะตกตั๊กแตน | อย่าดูแคลนมิง่ายขายหน้าสรรพ์ | ||
หมดด้ามลองฝึกไปได้สามอัน | ก็น่าขันสานยากเอาเรื่องเชียว | ||
สานพัดบ้างกระด้งแลกระจ่อ | ยังมิพองานละเอียดยากแหลเหลียว | ||
สานกระเช้าครุตะกร้าเรียงมาเชียว | ทำงานเดี่ยวครูปล่อยไม่ลอยนวล | ||
เสร็จนำส่งพ่อพี่มีคนตรวจ | ชอบมากกวดขันครุจนนึกสรวล | ||
ตอกกลมกลมเหลี่ยมๆตามกระบวน | สานแล้วชวนชันยาทาให้ดี | ||
ต้องขังน้ำไม่รั่วแหละใช้ได้ | เขาเอาไปตัดน้ำตามวิถี | ||
ครุกะแป๋งมิรู้ยังมิมี | สังกะสีป๋องนมเพิ่งเกิดมา | ||
เก่งมากขึ้นลอบไซให้ทำเป็น | มิยากเย็นครูฝึกท่านบิดา | ||
เตรียมเครื่องมือมากมายจะจับปลา | ยากนักหนาจักสานมิขาดมือ | ||
ลอบไซเผียกถักไว้มิได้ว่าง | ฝนมาช่างพอดียามนี้หรือ | ||
จะทำต้อนทำต่งนั่นแหละคือ | มิต้องซื้อหาใครได้ใช้การ | ||
ไซ อุปกรณ์ดักปลา ทางน้ำไหล มีงาเข้าได้ออกไม่ได้ ต้องเปิดปากเทออก | |||
ลอบ ซี่ไม้ไผ่ขนาดดินสอยาว สอง-สามปล้อง ถักเป็นแผ่นม้วนเป็นวงกลม | |||
กั้นเป็นสองช่อง ปากติดงาเป็นทางเข้า ตรงกลาง มีงาผ่านไปช่อง | |||
ที่สอง ท้ายมีช่องเปิดเทเอาปลา วางดักทางปลายผ่านไปมา | |||
เผียก คล้ายเสื่อลำแพน ใช้ซี่ไม้ไผ่ เหลาค่อนข้างแข็ง เดิมใช้เครือไม้ | |||
ถักเป็นแผ่น เอาไว้กั้นทางน้ำไหล มิให้ปลาผ่าน ต้องว่ายเลาะไป | |||
จนถึงช่องที่เปิดไว้ ตรงนั้นจะมี ลอบ หรือ ไซ ดักไว้ | |||
ต้อน ที่ดักทางน้ำไหล มิให้ปลาผ่านโดยงาย ปลาจะถูกต้องให้ว่ายเลาะ | |||
ไปยังช่องที่กำหนด ใช้เผียกยาวสักเมตรเศษ กันทางน้ำให้ไหล | |||
ผ่านเผียก ตกเสียงดัง ทำให้ปลาได้ยินว่ายมา โดนดักด้วยลอบไซ | |||
ต่ง อุปกรณ์จับปลาสานด้วยเชือกเหนียวคล้ายตา แห แต่ทำเป็นถุงยาว | |||
3-4 เมตร ก้นต่งผูกไซติดไว้ดักปลา ปากต่ง กางตรงทางน้ำไหลที่ | |||
ทำคันกั้นไว้ บังคับให้น้ำไหลเป็นช่องที่จะดักด้วยต่ง ได้ปลาทุกขนาด | |||
ที่ว่ายลงตามน้ำ | |||
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น