วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ตอนที่ 3 วิถีชีวิตชาวบ้าน






ตอนที่ 3 วิถีชีวิตชาวบ้าน


........บ้านนอกบ้านนาสมัยปี 2498 ชนบทของแท้ ทางในหมู่บ้าน ล้อเกวียนใช้จนถนนดินทราย เป็นร่องลึก หน้า ฝนเจอฝูงควายบ้านละ 5-20 ตัว เดินย่ำออกไปหากินตอนเช้า เดินไม่เดินเปล่า มันมาอึใส่ถนนให้ ตรงที่ลุ่มกลาย
เป็น ปลักโคลนที่มีขี้ควายเหลวเละ กลิ่นเหม็นกระจายไปทั่วคุ้มบ้าน ใครอยู่ใกล้ก็ได้กลิ่นทั้งวันทั้งคืน เวลาทานข้าวเย็น ภาวนาขอให้ลมพัดไปทางอื่น ตอนเย็นฝูงควายก็กลับทางเดิมแหละ บ่อยครั้งลูกควายตัวเล็ก ๆ ติดหล่มกลางถนน เจ้าของ ต้องมาช่วยอุ้มไปส่ง ถนนหนทางในหมูบ้านหน้าฝนโหดจริง ๆ หน้าแล้งดีหน่อย ทรายทั้งนั้น ทางระหว่าง หมู่บ้าน ทั้งตำบลก็แบบเดียวกัน เป็นทางเกวียน ช่วงเรียน ม.1-3(2498-2500)เดินจากบ้านไปโรงเรียน 7 กิโลเมตร ถ้าไปตามถนนก็โค้งหน่อย ทางลัดก็ตัดไปตามทุ่งนา ประมาณ 5 กม. ทางเดินก็บนคันนาที่ชาวบ้านไปนาเขานั่น แหละ ผมชอบทางลัด บางช่วงเป็นป่าไม้ที่เขายังไม่แผ้วทาง มีพวกไม้เต็ง รัง ประดู่ แดง แต้ว ผักหวาน นานาชนิด กะปอม นก เยอะมาก หน้าผักหวานก็แวะเก็บผักหวานขากลับบ้าน หน้ามดแดงไข่ แอบแหย่ไข่มดแดงกินกับแจ่ว บองตอนเช้า บางวันไม่มีกับข้าวก็ทำห่อหมกผักหวานกิน ทางลัดมันดีหลายอย่าง 
เวลาปล่อยควายออกไปหากินตรงกัน บ้านละ 3-5 ตัว รวยหน่อยก็ 10-20 ตัว เดินขบวนเต็มถนน
แบบนี้แหละ ถนนดินทรายก็กลายเป็นร่องน้ำได้ไม่ยาก

........ความเป็นอยู่ของชาวบ้านสมัยนั้นลำบากจริง ๆ ผมสนใจเครื่องไม้เครื่องมือที่ครอบครัวเราใช้ ทำ

เองแทบทั้งสิ้น อันไหนทำไม่เป็นก็ซื้อ เงินก็หายากนะ ไม่มีตลาดสดตลาดนัด ขายวัวควาย ขาวข้าวนั่นแหละถึงจะได้เงิน เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ต้องซื้อ ได้แก่หม้อนึ่ง หม้อแกง ตุ่มใส่น้ำดื่มน้ำใช้ ดินเผาทั้งนั้น ดีหน่อยเตาทำหม้อดินเผาอยู่ที่บ้าน ฝายหิน ทางไปอำเภอโนนสัง ห่างจากหมู่บ้านเรา 3 กิโลเมตร เขานำหม้อมาแลกข้าวเปลือก ก็แลกเอา ปริมาณ มากน้อยแค่ไหน ไม่รู้จักหรอก แม่กับพี่สาวตักข้าวจากเล้า(ยุ้ง)มาแลกหม้อเขา เครื่องมือสำคัญอีกอย่างคือ ครุตักน้ำ ตะกร้าหาบของ เดิมทีพ่อสาน สวยด้วย ตอนเด็กเคยช่วยเก็บ"ขี้ซี" ขันที่หล่นตามต้นเต็ง รัง เดินป่าเจอ เก็บมาไว้ให้พ่อทำน้ำยาเคลือบครุตักน้ำ ครุไม้ไผ่ก็สานคล้ายตะกร้า แต่ตอกเล็กกลม สานเสร็จแข็งแรงทนทาน ชัน ยาเคลือบทั้งนอกและใน กันน้ำรั่วซึมเอาไปตักน้ำหาบมาใส่ตุ่มที่บ้านได้ หน้าแล้งเคยตามพี่สาวไปดูเขา"คองน้ำส่าง" น้ำบ่อใสอร่อย ทั้งหมู่บ้านมีบ่อเดียว น้ำไหลซึมช้า ต้องเข้าคืว(เราเรียกคอง) ได้คนละหาบครุ อยากได้มากก็ไปหลาย 
คน บ่อลึกสักสามเมตร เดิมคงทรงกลมสวยงาม แต่วันที่เห็นมันพังไปเป็นทรงสระไปแล้ว น้ำที่เขาตักกันเป็นแอ่งเล็ก ๆ ขนาดเท่าไห ถ้าเต็มแอ่งนั่นก็จะได้น้ำ 1 หาบ 35 ครัวเรือน ดื่มน้ำจากบ่อนี้ เลยมีการเข้าคิว ตอนกลางวันคิวไม่ยาว เพราะไปทำสวนทำไร่กัน เย็น ๆ มาละ จนค่ำมืดได้น้ำก็หาบกลับ หนุ่มสาวชอบมากได้พบปะพูดคุยกัน หนุ่มรอคิวก็ยก คิวให้สาวไป ตัวเองก็ต่อท้ายใหม่ สนุกเขาละ 


น้ำส่าง คล้ายในรูป ก้นบ่อจะมีน้ำไหลซึมออกมาขัง ให้ตักไปใช้บริโภคได้

.......นอกจากคองน้ำ ก็มีกิจกรรมสำคัญอีกอย่างที่อยากเล่าถึงคือ "การลงข่วงเข็นฝ้าย"ชาวบ้านต้องทอผ้าใช้กัน เอง เพราะซื้อที่ตลาดก็แพง เงินซื้อก็หายาก ผ้าที่ทอก็มีผ้าฝ้ายและผ้าไหม ขอเล่าเรื่องลงข่วงก่อน...ผ้าฝ้าย ทุกบ้าน จะมีพื้นที่ปลูกฝ้ายไว้ใช้ จอมปลวกกลางนา ดินดีมาก ปลูกฝ้ายได้งอกงามดี เมื่อผลฝ้ายแก่เต็มที่จะแตกเห็นปุยฝ้าย ขาวเต็มผืนไร่ ไปเก็บเอามาไว้ใช้งาน ก่อนเก็บตากให้แห้งสนิกดีก่อน สานกระชุ เอาใบตองรองแล้วอัดปุยฝ้ายใส่ไว้ ช่วงเกี่ยวข้าว ลมเย็น ๆ สาว ๆจะลงข่วงเข็นฝ้ายกัน พ่อจะทำยกร้านสูงแค่เข่า พื้นที่ขนาด 2 คูณ 2 เมตร ปูด้วยฟาก ไม้ไผ่ ตรงกลางทำกองไฟ แบบเด็กเล่นแคมป์ไฟ สาวสี่คน แบกไน ลงมาล้อมวงเข็นฝ้าย แม่จะเอาดอกฝ้ายออกมา
หีบ เอาเม็ดในออก เหลือแต่ปุยล้วน ๆ เอาไปตากให้แห่งสนิท แล้วเอาไปใส่กะเพียด ไม้กงดีดจนเป็นปุยฝ้าย(สำลี) นำปุ่ย ฝ้ายมาปั้นเป็นแท่งกลม ๆ ขนาดนิ้วเรียก "ล่อฝ่าย" ยาวสักคืบ เอาไว้ใช้เวลาเข็นฝ้าย สาวลงข่วงเข็นฝ้ายจะหอบ ล่อฝ้ายมาเป็นห่อ กางไนออก แล้วก็เริ่มทำงานไป เขาชำนาญมาก ปากพูดคุยกับหนุ่ม ๆ ที่มานั้งใกล้ ๆ คอยสุมไฟ 
ให้ด้วย มือทำงานไป หนุ่มก็จีบกันไป สักห้าทุ่มถึงจะเลิก หนุ่มก็ไปส่ง ที่เป็นคู่รักก็อาจขอไปคุยที่บ้านต่อ อานิสงส์ ลงข่วงนอกจากได้งานได้การแล้วยังอาจได้แฟนด้วย หนุ่มบ้านอื่นก็มีนะวันไหนเดือนหงายก็ไปเที่ยวสาวลงข่วงต่างบ้าน เส้นฝ้ายที่ได้ก็จะใช้ เปียร์ ม้วนเก็บไว้เป็น ไน หลายไนก็เป็น ไจ เป็นปอย เก็บไว้ใช้ทอผ้าต่อไป 

                                  
ไร่ฝ้ายในตำนาน หาดูยากแล้ว

........ทอผ้าฝ้ายต่อเลย
.........ฝ้ายที่ได้จากไนเข็นฝ้ายและเก็บไว้ มีมากพอจะทอผ้าใช้ในครอบครัว แม่จะกำหนดเองว่าจะทอผ้าพื้นสี ขาวธรรมดา สำหรับตัดเสื้อ กางเกง หรือจะทอผ้ามัดหมี่ ท้อผ้าลายขิด ทอผ้าตีนจก.... ฝ้ายจะนำออกมาเพื่อทำการ ฆ่า ด้วยน้ำข้าว ก่อนจะนำไปย้อมสีเช่นสีคราม สีสารเคมีจากตลาด จากนั้นก็นำไปปั่นเอาใส่ กง แล้วใช้กวักดึงเส้น ฝ้ายมาม้วนไว้ตามสีฝ้ายที่ย้อม เช่น สีขาว สีดำ สีแดง จากนั้นก็จะนำกวักไปใช้ทำเส้นยืน เส้นสาน เช่นจะทอผ้า ขะม้า มีสองสี ขาว และดำ เส้นยืนยาวซักกี่ผืน ไม้ค้นหูกก็เอามากาง และวัดความยาวเส้นยืนจะค้นกี่รอบ ไม้ค้นหูก จะมีหลักหนึ่ง เส้นฝ้ายขาไปและกลับ ต้องลอดบน-ล่าง สลับกัน สำหรับทอผ้าลายขัด เมือค้นเครือหูกเสร็จ ตรงหลัก พิเศษก็จะเอาเชือกมัดไว้ เวลาไปเชื่อมต่อเส้นฝ้ายที่ฟืม ต้องต่อให้ถูกกลุ่ม เส้นฝ้ายจะลอดเขาหูกที่มีสองเขาสลับกัน แบบเส้นคี่เส้นคู่ เขาที่หนึ่ง เส้นคี่ล้วน เขาที่สองเส้นคู่ล้วน เวลาเขาสอดไม้เหยียบเขา จะทำให้เส้นด้ายถ่างเป็นช่อง ให้พุ่งกระสวยเส้นสานลอดช่องไปแล้วกระตุกฟืมสานให้แน่น สานไปกลับ ๆ ก็จะกลายเป็นสานลายขัดด้วยเส้นฝ้าย
ก็คือได้แผ่นผ้านั่นเอง อ้อที่รู้จัก เพราะเคยเปิดสอนวิชาการทอผ้าด้วยกี่กระตุกที่โรงเรียนมาแล้ว อกจากทอผ้าพื้น สีขาว ล้วน สีดำล้วนแล้ว ก็อาจทอผ้าลายแบบผ้าขะม้า ถือเป็นการทอแบบง่ายไม่ซีบซ้อน 


                                       

........ทอผ้าฝ้ายที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ได้แก่ การทอผ้ามัดหมี่ ทอลายจก ลายหมี่ใช้เส้นพุ่งหรือเส้นสานเป็น ตัวกำหนดลายนิยมทอลายผ้าซิ่น เลือกลายได้ค่อยมาออกแบบมัดหมี่ ข้อสังเกตลายจะซ้ำ ๆ กันทอผ้าไปสักคืบ ต่อไปลายก็จะซ้ำ การออกแบบหมัดหมี่ก็ทำได้ง่าย ปกติดจะนับความยาวของลาย 1 รอบ ใช้เส้นฝ้ายทอกี่เส้น โฮงมัดหมี่ก็นับเส้นฝ้ายเรียงตามลำดับได้เส้นด้ายครบตามลายที่ต้องการ ก็จะเริ่มมัดหมี่ตามนั้น ก่อนใช้เชือกกล้วย เดี๋ยวนี้เห็นใช้เชือกฟาง มัดเสร็จก็เอาไปย้อมสี สีเดียวก็ง่ายหน่อย หลายสีก็ย้อมหลายครั้งจนกว่าจะครบลายต้องการ เวลาเอาหมี่มาปั่นหลอดก็ต้องเรียงลำดับ เขาจะใช้เชือกร้อยไว้ เวลาทอจะได้เริ่มตั้งแต่หลอดที่ 1 ไป ถึงจะได้ลาย มัดหมี่ตามต้องการ ทอผ้ามัดหมี่ต้องใจเย็น ๆ เหมาะสำหรับผู้หญิงเขา อีกอย่างผ้าลายจก ก็แบบลายมัดหมี่นั่นแหละ ผ้าซิ่นแบบมีตีนลวดลายสวย ๆ ที่เรียกตีนจก ตีนคือตีนซิ่น จกคือลายจก ใช้ฟืมพิเศษเล็ก ๆ ทอผ้ากว้างเท่าตีนซิ่น นั่นแหละ ยาวเท่ารอบวงผ้าถุง เพราะจะเอาไปเย็บติดเป็นตีนซิ่น จะยาวเท่าไรแล้วแต่จะเอาไปติดตีนผ้าถุงกี่ผืน ส่วน
ลายอยู่ในหัวช่างทอ เส้นยืนส่วนมากสีดำ สีคราม ย้อมเสร็จก็นำมาค้นเส้นเครือหูก จากนั้นก็ไปเตรียมหลอดทอสี ต่าง ๆสาระพัดสีตามใจชอบ ยุ่งตอนเก็บลาย ใช้ไม้ไผ่ นับทีละเส้นจนครบเส้นยืน สอดด้ายสาน ก่อนฟืมกระตุก ด้านปลายเส้นยืน เอาไม้ตอกสอด เก็บลายไว้ก่อน ทุกเส้นจะสอดเก็นลายจนครบ 1 ลาย มีไม้สอด 30-40 เส้น ต่อไปก็ย้อนกลับลายเดิม ทีนี้ใช้ไม้ขนาดใหญ่ซัก 3 นิ้า สอดตามไม้เก็บลายทีละเส้น พุ่งเส้นฝ่ายสาน ฟืมฟัดให้ แน่น รอบนี้ไวหน่อย เพราะมีไม้สอดช่วย วิธีนี้เขาเรียกทอลายจก ดูลายตีนผ้าถุงสาวลาวเขาใส่ แบบนั้นแหละ
........ผ้าไหม ยุ่งยากตั้งแต่เลี้ยงไหมแล้ว ต้องมีสวนหม่อน ใบเป็นอาหารหลักตัวไหม พ่อต้องทำอุปกรณ์เลี้ยงไหม กระด้งตอก 1 เซ็นต์ สองปล้อง สานลายสองเสร็จค่อยติดขอบวงกลม ซัก 10 ใบ ถามแม่เท่าไรพอใจ จากนั้นก็ทำ ชั้นวางกระด้ง แบบแขวนขื่อ หรือแบบตั้งบนถ้วยแช่น้ำกันมดแมลง ผ้าขี้ริ้วเอาไว้ปิดกระด้งกันแมลงวันกัดตัวหนอนไหม ได้ผ้าถุงเก่า ๆ ซักเก็บไว้ ซ่อมรอยขาด ทดลองคลุมกระด้งพอดีไหม หรือต้องตัดต่อ เตรียมให้พอ เริ่มเลี้ยงใหม่ก็หาไข่ อาจเพาะเองจากตัวบี้ที่เลี้ยงรุ่นก่อน หรือไปซื้อคนอื่นมา ไข่แผ่นหนึ่งเลี้ยงได้ พอโตจะเต็มกระด้ง อาหารเลี้ยงก็ใบหม่อน จากสวน จะเลี้ยงต้องมีสวนหม่อน ผมพาแม่ไปเก็บหม่อนมาเลี้ยงไหมบ่อย ๆ แต่ไปถึงสวนปีนอยู่ยอดฝรั่งโน่น กำลุงสุก ปล่อยแม่เก็บตามลำพัง จนยินเสียงเรียกค่อยกลับมาหาแม่ ตามหลังกลับบ้าน คงสงสัยทำไมไม่ช่วยแม่เก็บใบหม่อน เคยช่วยนะแต่โดนด่า "มึงเก็บทำไมยอดอ่อน เอาใบพอดี ๆ สิ" แค่ไหนพอดีจะไปรู้เหรอ เด็ก ป1-ป2 ผู้ชายด้วยเนาะ ตัวอ่อนแม่จะหั่นฝอยโรยทั่วแผ่นไข่ตัวไหมที่กำลังฟักเป็นตัวหนอนเล็ก ๆ กินอิ่มโตแล้วก็นอนสัก 3-4 วันคงโตเต็มที่ หยุดกินอยู่วันหนึ่งก็ลอคราบ ตัวโตขึ้น กินจุมากขึ้น โตเต็มที่ก็หยุดพัก 1 วัน ลอกคราบ ตัวโตขึ้น กินอีก เลยมีคำเรียก มันนอน 1 นอน 2 นอน 3 นอน 4 นอน 5 โตเต็มที่ เริ่มตัวตึง สีออกเหลือง เรียกมันสุกพร้อมเก้บไปวางบนใส้จ่อ ให้ มันทำรัง ชักใยหุ่มตัวมันกลายเป็นรังไหมนั่นเอง หลังจากนั้นแม่ก็จะนำรังไหมไปสาวไปมด้วยการต้มในน้ำอุ่น ดึงใยไหม จากฝักไหมสามสี่ผัฝัก ได้เส้นพอดีก็จะเอาไปสอดเข้าที่หมากพวงสาว มีกงล้อกลม ๆ ม้วนรอบหนึ่ง ดึงปลายเส้นไหม รีดน้ำออก เส้นไหมจะถูกสาวไปกองในกระบุง เต็มกระบุงก็เอาไปจัดการให้เป็นไจไหม ปอยไหม ตากแห้งก็เก็บไว้ทอ
ผ้าไหมต่อไป วิธีการก็คล้ายทอผ้าฝ้าย 






กระด้งกระจ่อ
........มีคำถามว่ากระด้งกระจ่อหาซื้อได้ที่ไหน ขำ ๆนะสมัยนั้นไม่มีใครคิดทำขายหรอก คนไม่มีเงินจะซื้อ ต้องทำกัน ดเอง ลูกผู้ชายจะถูกสอนการจักตอกไม้ไผ่ งานแรกก็จักตอกมัดกล้า มัดได้ก็เก่งนะ ถัดมาก็จักตอกสานเครื่องมือเครื่อง ใช้ต่าง ๆ สานพัดให้แม่หน่อย สานกระเช้าหมากด้วย ไปจำศีลต้องเอาไปอวดกัน สานเขิงร่อนรำหน่อยอันเก่ามันขาด เหลือแต่ขอบ กระด้งเลี้ยงไหมก็ขาดแล้วมันเก่า กระจ่อต้องซ่อมมันพังหมด บักอ้ายหวดนึ่งข้าวเปื่อยแล้วเน้อ กระติ๊บ ข้าวเหนียวขอบปากเปื่อยไม่สวยเลย ลูกผู้ชายต้องจัดการครับ สวนเราจะมีไผ่บ้านลกหญ่ขนาดไผ่ตงที่เห็นปลูกกันสมัย นี้ แต่เนื้อจะบาง ปลูกไว้ใช้บ้านละกอสองกอ เวลาเดินไปเที่ยวหมู่บ้านอื่น จะเห็นทิวไผ่ตงสลับกับมะพร้าว หมาก นั่นแหละขาวบ้านเขาปลูกไว้ใช้งาน ตัดไม้ไผ่มาจักตอก สานฝา ลายคุบ เอาไปทำฝาบ้าน ใช้ได้สองสามปีก็เปลี่ยน 

........กระด้งเลี้ยงหม่อนไหม ไม่ไผ่สองปล้องพอ จักตอกเส้นใหญ่ซัก 1 เซ็นต์หรือโตกว่านิดหน่อย สานลายสองเป็น แผ่นทรงสี่เหลี่ยมแล้วค่อยติดขอบวงกลม เหลาตอกเส้นกลมเล็ก ๆ สามเส้น เอาปิดขอบทับซ่นไม้ตอก เวลาจะขึ้นขอบ จะเอาขอบมาวางที่พื้น แผนที่สานวางปิดขอบชั้นนอก เอาขอบชั้นในกดลงไปดึงให้ตึง คีมไม้หนีบไว้สามตัวรอบ ๆ ขอบ มีคม ๆปากซ่นตอกเสมอขอบ ซ่นที่ขาดปลายจะแข็งและคม เวลาติดขอบต้องเหลาไม้กลม สามเส้นมาข่มปลายตอก แล้วมัดด้วยหวายเป็นเปราะ ๆให้แน่นหนา ก็จะได้กระด้งใหม่ สวยไม่สวยก็แล้วแต่ฝีมือ
........กระจ่อ สานเขิงร่อนรำได้ ก็เอาความรู้มาประยุกต์ในการทำเครื่องจักสานประเภทติดขอบทรงกลมได้หมด กระจ่อ อุปกรณ์เลี้ยงไหมของแม่ ใช้ตอกยาวสามปล้องกำลังดี อยากได้ใบใหญ่หาไม้ปล้องยาว ๆ ตอนเหลาค่อนข้างแข็ง ลบ เหลี่ยมสองข้าง เวลาสานจะจัดง่าย ลายที่ใช้นิยมลายสองแน่นดี สานเสร็จสี่ห้าแผ่น ตากไว้ก่อน ไปจัดการขอบกระจ่อ ไม้ไผ่ลำแก่ๆ เหลาขอบสองชั้น ข้างใน ข้างนอก ดัดเป็นวงกลมหันผิวออกด้านนอก ลนไฟกันมอดแล้วดัดเป็นวงกลม สองชั้น เอาไปตากให้แห้งค่อยนำมาใช้ ตอกสานกระจ่อที่เหลือก็นำมาถักใส้ต่อม้วน ๆไว้ สานใบกระจ่อเสร็จก็ค่อย นำใส้มาติดเป็นวง ๆวนรอบ ๆ ตอกมัดติดให้แน่น ช่องระหว่างใส้จ่อเอาไว้วางตัวไหมให้มันชักใย กว่าจะติดใส้เสร็จ หมด ไปหลายเมตรทีเดียว ไม่ง่ายนักหรอก 









........กระด้งพิเศษ กระด้งฝัดข้าว ใช้ตอกผิวไม้ไผ่ แข็ง และตอกรองจากติวใช้เป้นตอกสาน ไม้ไผ่ซี่หนึงจักเอาแค่สอง เส้น ตอกตัวห้ามเลาะข้อ เพราะจะเหลือเอาไว้จัดการข้าวเปลือกหรือกาก เวลาฝัดข้าว ไม้ตอบยาวสองปล้องไม้ไผ่ สานด้วยลายคุบ จัดตอกติวเป็นเส้นตั้ง ตองรองตอกติวใช้เป็นตอกสาน ใช้ตอก่ออ่นจัดเส้นตั้งเข้าแถวใช้ 4 เส้น สานลายขัดเพื่อจัดเส้นตั้งก่อน เสร็จแล้วค่อยสานด้วยลายคุบ สังเกตปุ่มข้อตอกจะเรียงเสมอกัน สานจนเสร็จ เอาไป ตากให้แห้งก่อนค่อยนำมาขึ้นขอบต่อไป ขอบใช้ตอไม้ไผ่ หรือไม้สร้างไพแก่ ๆ เหลากลม ๆ ดัดป็นวงกลมรี ขึ้นขอบใช้หวายเส้นเล็ก ๆสามเส้นเป็นไม้ข่มซ่นตอกก็ได้ มัดหวายถี่หน่อย เพราะใช้ฝัดของหนัก
........เครื่องจักสานอื่น ๆที่ต้องใช้ ตะข้อง ไปหาปลา จับกบเขีด ปู หอย ใช้ตะข้องได้ ต้องสานเป็น ส่อน ไซ ซูด จะสอน ให้ทำไว้ดักจบปลา ส่อน คล้ายไซ ตอกหยาบ สานปากกว้าง ก้นแหลม นิยมสานลายขัด ไม่มีงา เอาไปดักทางน้ำไหล ปลาตัวเล็กไม่ค่อยติด ย้อนกลับออกทางปากได้ ตัวใหญ่จบ ติดแหงกออกไม่ได้ ซูดทำจากเครือซูด เอามาจักเป้นเส้น แบน ๆยาว ถักเป็นรูปทรงกระบอก ก้นแหลม ปากกว้าง ยาวซักแขนหนึ่ง น้ำขึ้นท่วมหญ้า จะเห็นทางปลาวิ่ง เอาซูดไป วางดัก ปลาช่อนตัวละกิโลสองกิโลโดนเข้าไปไม่เป็น ติดแหงกให้เราไปจับได้ง่าย ๆ ไซ ชื่อมงคล รูปร่าก็สง่างาม นี่ ต้องใช้ฝีมือการจักสาน ตอบเหลากลม ๆ ลบเหลี่ยม มีปาก มีงาเดียวบ้าฃสองงาบ้าง เอาไปดักปลาช่องทางน้ำไหล ปลาทุกชนิดเข้าได้ออกไม่ได้ติดงา บางวันมีงูมาติดด้วย เทใส่ครุถัง ไล่งูหนีก่อน ค่อยเทใส่ตะข้อง สานไซสนุกมาก
เขามีลายกาวตอกสามเส้น ลายปลอกห้า ตอกสานห้าเส้น ต้องหัดจากพ่อ พี่ชาย พี่เขย เขาสอนให้ทั้งนั้นแหละไม่หวง
อยากเรียนไหมเท่านั้นเอง 




........ตุ้มดักปลา ลอบ สองอย่างนี่ก็ควรหัดทำไว้ ผมเคยทำลอบไว้ 20 หลัง บ้านติดเขื่อนอุลบรัตน์ เดินไม่ถึง 100 เมตรก็ท่าน้ำแล้ว เรือแจงเราจอดไว้นั้น ลอบก็เอามาตากไว้ที่สวน ขนลงไปบรรทุกเรือ 20 หลังเที่ยวเดียว ไม่จมหรอก พายไปหลายกิโลเหมือนกันถึงที่วางลอบมีฝาเผียกเป็ม้วน ๆ ยาวสัก 2 เมตร ปักให้แน่น วางลอบหัวท้าย ยาวเหมือน กันกว่าจะวางลอบเสร็จ อ้อวางลอบอย่าให้จมมืดน้ำนา ปลาตายหมด เขาทำตูดมันโด่ง ๆ เพื่อให้โผล่เหนือน้ำ ลอบ ไม่ต้องใช้เหยื่อ ดักปลาเข้าออกฝั่ง ปลาจะหากินริมฝั่งเสมอ มาเจอเผียกกั้นก็ว่ายเลาะไป เลยงาลอบไปติดอยู่ในลอบ ออกไม่ได้ เหือนอยู่ในตู้แหละ เช้ามาเป็นกู้ ปลาสด ๆ ไม่ตายหรอก ส่วนตั้มนี่ต้องใช้เหยื่อ เอาไปดักพวกปลาน้ำลึก ปลาหลด ตะเพียน แข็ยง ปลากด แล้วแต่เหยื่อ ก่อนใช้มดแดง เดียวนี้เขามีอาหารปลาคลุกขนมปังและรำสะดวกดี เหมือนลอบ ตุ้มต้องไม่จมมิดน้ำ ไม่งั้นปล่าเน่าหมด 



........เครื่องมืออย่างอื่น เป็นคนบ้านนอกต้องใช้เครื่องมือมากมาย ต้องทำเองทั้งนั้น มานั่งนึกทีหลัง ไม่น่าเชื่อว่าเรา จะฝึกทำอะไรมากมายขนาดนั้น ตั้งแต่ของเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ เล็กไม่ใช่ไม้จิ้มฟันหรอก ด้ามมีดไง มีดสมัยก่อน โคนจะมีซ่นแหลมยาวสำหรับเสียบด้ามไม้ สมัยใหม่มีรูขันน้อต สกรูสบายไป สมัยก่อนทำด้ามมีดยากนะ ต้องมีครั้ง ด้ามก็ไม้ไผ่ส่วนตอแข็ง ๆ หรือไม้เนื้อแข็ง เจาะยรูนำไว้ เวลาจะใส่ด้ามก็เอาโคนมีมาเผาไฟแล้วแทงเข้าด้าม จนมิด เสร็จแล้วค่อบดครั้งเทลงรู มีดเผาไฟอ่อน ๆ ค่อยแทงให้ครังละลาย แล้วปล่อยให้แห้ง มีดจะเกาะติดด้ามอย่างแน่นเลย ใช่นานจนลืม ครั่งกระเทาะมีดหลุก ก็นำมาเข้าครั่งใหม่ ด้ามขวาหัวหมู ขวานหงอน ไม้ประดู ไม้พยุง ตัดเอาขนาดพอ ทำด้ามขวานมาถากเป็นรูปทรงแล้วตากแห้งไว้ใช้ ตอนจะเปลี่ยนด้ามค่อยมาถากอีกที ตบแต่งด้วยตะใบ ตัวยุ่ง ตอกลิ่ม ให้แน่น ขวานหัวหมูทำไม่ยาก ไปยากขวานแบบมีหอน นิยมแขนงไม้ประดู่ แก่ ๆหน่อย เอามาถากส่วนห้ว ส่วนหาว แบน ๆ ส่วนหัวทู่สำหรับสอดใส่รูขวาน หอนขวานจะสอดใส่ด้ามไม้ไผ่อีอที ยุงยากเอาการ ที่บ้านมีไม้ไผ่ด้ามขวาน กอหนึ่งพิลึก ทุกลำมีรูปร่างเป็นด้ามขวานได้หมด อย่าปล่อยให้โตเกินแล้วกัน อได้ขนาดรีบตัดเอามาตากแห้งเก็บไว้ใช้ 

.........เครื่องมือนักล่า พลุ(ไม้ซาง) หน้าไม้ ไม้รวกบนเขามีเยอะแยะ เลือกเอาสักสี่ห้าลำสวย ๆ ตรง ๆ เอามาลนไปดัด ให้ตรง ตกแห้งก่อนจะนำมาเจาะรู เหล็กเจาะพ่อทำให้ เหลาด้ามยาว ๆ ไม้ไผ่ตงนั่นแหละเหลาไว้ห้าหกเส้น เผื่อมันหัก มัดเหล็กแหลมติดปลายให้แน่น อย่าให้หลุดเชียว ปกติแทง 3 เกล็กก็โอเคแล้ว ติดเตาไฟ เผาเหล็กแหลม ไม่รวกที่ แห้งแล้วเอามาแทงเจาะรู เช้ายันเย็นได้เลาเดียว พี่เขาทำได้ สาม เลา ฝีมือต่างกัน เราแทงละเอียดไปมั้ง เอาไว้ใช้ ยิงนก ยิงกะปอม ยิงบ่าง ใช้ลูกดอกเป่านั่ครับ หน้าไม้ ใช้ไม้ประดู่ ไม้พยุง ทำแม่ ถากดีแล้วเหลาด้วยกบ ตกแต่งด้วย ตัวบุ่ง สังกะสีเจาะรูเป็นกระดาษทราย สมัยนั้ไม่มีขายหรอก ขาหน้าไม้ ใช้ไม้ไผ่เหลาแบบคันธนู ตัวแม่จะเจาะรูสอด ขาหน้าไม้ สายผูกปลายสองข้าง ดึงลงมาถึงไหนบากร่องตรงนั้นสำหรับพาดสาย เซาะร่องวางลูก ทำกลไกไว้กดยิง หน้าไม้จะแรง ยิงไกล แม่น นอกจากนี้ก็พวก แร้ว กับกัด ตังบาน ตุ้มดักนก จั่นดักปลา สวิง แห อวน ต้องสานเป็น
ไม่งั้นไม่มีใช้ เขาไม่มีขายนี่นา ต้องทำเอง


..........แถมแร้วดักนกนิดหนึ่ง คนอื่นเขาสานอย่างดี แต่เราไม่สานหรอก ใช้อวนถี่ตาเท่าหัวแม่โป้ง มันขาดเลิกใช้แล้ว เอามาตัดเป็นรูปแร้วถุง ร้อยไม้ไผ่ที่เป็นโครงแผ่นแร้วนั่นแหละ พบว่ามันง่ายมาก เลยทำโครงไม้ไผ่ไว้ 25 หลัง ตัดมอง หรืออวนถี่ที่ขาด เลือกเอาส่วนที่ยังดีอยู่ ร้อย ไม้ไผ่ เอาไปสอดใส่คันแร้ว ผู้เชือก แต่งกลไก บ๊ะ วันหนึ่งได้เป็นสิบหลัง ทำอยู่สองวันหมดแล้วโครงแร้ว 25 หลัง เอาไปดักนกสิ ริมน้ำเขื่อน ไปวางอวนเห็นนกริมฝั่งเยอะแยะ จะลองไปปัก แถวนั้นแหละ วางอวนเสร็จก็มาหาแมงกะชอน ได้ซักถ้วยมั้งมันเยอะ เอาไปทำเหยื่อล่อ กางแร้วดักนก กางไปห้าหลัง หลังแรกตะปบนกได้แล้ว คืนมาปลดและกางใหม่ กางไม่จบซักที เลยไม่สนใจวางไปจนครบ 25 หลัง ได้นกกว่า 20 ตัว นกกางเขน นกจิบฟาง นกกระเต็น นกกวัก นกกาแวน นกเอี้ยงยังเข้าเลย นับว่าเป็นนักบาปที่มีฝีมือเลยแหละ ชาวบ้าน เขารู้กันทั่ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น