วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ฟังแล้วใคร่ครวญก่อน การปฏิบัติธรรม






ฟังแล้วใคร่ครวญก่อน

.......เคยอ่านเคยฟังท่านสาธุชนสนทนากันถึงหลักคำสอนต่าง ๆ บางครั้งก็ งง ๆ เพราะ เราไม่เคยได้ยินมาก่อน ครั้นไปตรวจสอบก็ปรากฏว่า ใช่เลย อย่างที่เขาว่ามานั่นแหละ แต่หลายครั้งก็พบว่าไม่ใช่ มีคำสอนแบบไหนบ้าง ที่ต้องศึกษาให้เข้าใจเพิ่มเติม
........1. ทำบุญล้างบาป ต่างจากหลักความจริง ทำได้เพียงสำนึกผิดแล้วหันมาทำแต่ความดี งาม จนมองเห็นเป็นผู้มีบุญมาก บาปที่เคยมีก็ยังมีอยู่ ไม่ได้ลบเลือนไป
........2. อยากได้บุญมาก ต้องบริจาคเยอะ ๆ อย่าทำบุญจนตัวเองเดือดร้อน เคยเห็น แม่ถอดสร้อยคอไปถวายพระ แต่ตอนลูกสาวอยากได้ด่าซะจนหายอยากได้ ความจริง อยากได้บุญมาก ไม่ต้องเสียซักบาท ปฏิบัติศีลให้บริสุทธิ์ วันหนึ่ง สองวัน สามวัน ตาม กำลัง จ่ายเป็นพันไปทำบุญ ก็ได้บุญน้อยกว่ารักษาศีล ฝึกสมาธิสิ เอาซักอัปปณาสมาธิ ได้บุญมากกว่ารักษาศีลอีก ไม่ต้องจ่ายเงินด้วย ท่านถึงบอกวิธีทำบุญ ทานมัย สีลมัย และภาวนามัย
........3. ทำบุญกับพระอยู่กรรมได้บุญมาก เคยได้ยินมาว่าพระที่ออกจากนิโรธสมาบัติ ไม่ใข่อยู่กรรม พระที่เข้านิโรธสมาบัติ ท่านทรงฌานสมาบัติ เข้านิโรธเพื่อสงบใจ วันเดียวหลายวัน ออกนิโรธสมาบัติก็จะหิวมาก ถวายภัตตาหารตอนนั้นจะได้บุญมาก ท่านหมายความอย่างนี้ ส่วนพระอยู่กรรมคือพระต้องอาบัติ กำลังอยู่กรรมเพื่อออกจากอาบัติ
........4. ทำบุญเพื่อเป็นทุนเอาไปใช้ชาติหน้า ความจริงคือทำบุญเพื่อใช้ในปัจจุบันทำทานเพื่อให้คนรับทานได้ประโยชน์จากสิ่งที่เราให้ทาน บุญความอิ่มใจเป็นของเรา รักษาศีล ความอิ่มใจ เย็นใจ เกิดแก่เราคือบุญจากรักษาศีล เจริญภาวนาใจเป็นสมาธิแกร่งกล้า ฝ่า นิวรณ์ไปได้ มีใจสงบเกิดปัญญา เป็นบุญจากการภาวนา ทุกบุญได้ใช้ในปัจจุบันนี่เองส่วน ชาติหน้าเป็นผลานิสงส์ที่ได้ทำบุญไว้ ไม่เจาะจงก็ต้องได้รับอยู่ดี
.........5..ทำบุญชดใช้พระคุณพ่อแม่ พูดยังกะเป็นทรัพย์สินเงินทอง ทราบกันทั่วไปว่า พ่อแม่มีพระคุณมาก บุตรธิดาต้องหาโอกาสชดใช้ จนเลยเถิดไปรอให้ท่านตายจัดงานศพ ให้ ทำบุญอุทิศให้ ความจริงก็คือ ไม่มีอะไรจะชดใช้กันได้หรอก เป็นอุบายสอนให้บุตร ธิดาตั้งใจทำบุญกุศลมาก ๆ จะได้เป้นคนดีมีคุณธรรม คิดตอบแทนพ่อแม่ทำตอนท่านยัง มีวิตอยู่ดีที่สุด วยทำการงานท่าน เลี้ยงดูท่าน ดีที่สุด หวังทำบุญให้ตอนตายและยากนะ ส่งบุญให้ยากยิ่ง ไม่รู้ท่านจะรู้ไหมเราทำบุญให้ และอยู่ในสถานะที่จะรับบุญได้หรือเปล่า
.........6.ตายแล้วไปนิพพาน พุทธสายหินยานหรือเถรวาท แบบที่เจริญอยู่แถบลังกา พม่า ไทย ลาว นิพพานก็จบสังสาระ เพราะบรรลุอริยสัจจ ตัดสมุทัยคือตัณหา 3 ปัจจัย ตัวนำให้เกิด เมื่อไม่เกิด ทุกข์ทั้งมวลก็ดับไปด้วย ดังนั้นนิพพานสายนี้ไม่มีอะไรจะนำไป เกิด เพราะนิพพานมิใช่สุคติ ทุคติ แต่พุทธสายมหายานที่เจริญอยู่แถบทิเบต จีน ญี่ปุ่น เวียตนาม นิพพานจะเป็นอมตสุขาวดี มีผู้บรรลุธรรมสถิตอยู่มากมาย แยกกันให้ออก
.........7. ละโลกธรรมได้ก็จะบรรลุธรรม สำนวนเพราะดีเห็นมีคนกดไลค์ให้มากมาย เพราะเลื่อมใสคนพูด โลกธรรมมี 8 อย่างครับ ลาภ เสื่อมลาภ ยศเสื่อมยศ นินทาสรรเสริญ และสุขทุกข์ ละไม่ได้หรอก ขนาดพระอรหันต์ยังโดนโลกธรรมรบกวนได้ ส่วนบรรลุธรรม ความจริงหมายถึงบรรลุอริยธรรม ระดับโสดาบันขึ้นไป ธรรมแบบนี้ต้องเจริญวิปัสสนา และเห็นรูปนาม เห็นไตรลักษณ์ จนสามารถละตัณหา 3 ได้ ถีงจะเรียกบรรลุธรรม
.........8. โลกนี้มีใจเป็นใหญ่ บำเพ็ญเพียงทางใจ จะได้พบดวงตาเห็นธรรม คำพูดง่าย ๆ
เพราะดี แต่มิใช่เรื่องง่าย ดวงตาเห็นธรรม เป็นคำไวพจน์ของ โสดาบัน อริยบุคคลชั้นแรก บำเพ็ญเพียรทางใจ ใช่ทางไปโสดาบัน ต้องเดินไปด้วยมรรค 8 ผ่านทางสติปัฏฐาน วิปัสสนาจนบรรลุอริยสัจ นั่นแลถึงจะเกิดดวงตาเห็นธรรม ไม่ง่ายนักหรอก .
........9. ชาติก่อนทำบุญไว้มาก จึงเกิดมาสมบูรณ์พูนสุข บุญที่ส่งผลให้เกิดมิใช่เรา
เท่านั้น คนเป็นพ่อแม่ก็ต้องมีบุญวาสนาร่วมกันด้วย เกิดมาแล้วก็ต้องขยันทำการงาน ขยันปฏิบัติดีงามแบบคนมีศีลธรรม ขยันทำบุญภาวนาให้เกิดสติปัญญา คือเก่งด้วย ดีด้วยและฉลาดด้วย ถึงจะอยู่ในสังคมโลกอย่างมีความสุข เกิดบนกองเงินกองทอง แต่ด้อยทำบุญทำกุศล ก็เอาตัวไม่รอดได้เช่นกัน

........10. อย่าไปเถียงพระ นรกจะกินหัว สำนวนขาวบ้านสอนลูกหลาน สมัยก่อนพระท่าน ไม่ค่อยมีเรื่องรบกวนมาก เลยเป็นผู้นำทางจริยธรรมได้เป็นอย่างดี เดี๋ยวนี้พระมีจำนวนแสน ท่ามกลางสังคมที่สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ พระก็โดนกันมากบ้างน้อยบ้าง มีไม่น้อยมัวหลงโลกธรรม จนลืมข้อเท็จจริงที่พระต้องสอนให้ชาวบ้านอย่าไปหลงไหลในโลกธรรมคือลาภ ยศ สรรเสริญ สุข แต่ท่านกลับ ทำสิ่งตรงข้าม แล้วจะไม่ให้เรารู้สึกโต้แย้งได้ไง


การปฏิบัติธรรม

..........การปฏิบัติธรรม ที่สนทนากันบ่อย ๆมี 2 ความหมายคือ การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆให้เป็นธรรม
และการปฏิบัติธรรมตามแนวทางของศาสนาพุทธ ในหัวข้อนี้จะหยิบความหมายนัยที่สองมาสนทนา
กัน โดยยึดตามแนวที่พระพุทธองค์ดำเนินมาแล้ว จนบรรลุจุดประสงค์สูงสุดคือบรรลุโมกขธรรม ที่
ต่อมาคือการบรรลุอรหันต์นั่นเอง
..........เมื่อศึกษาพุทธประวัติเราจะพบว่า นับแต่ออกบวชเป็นต้นมาท่านได้บำเพ็ญเพียรเพื่อให้ได้พบ
โมกขธรรม สาม วิธีคือ
..........1. ศึกษาและปฏิบัติตามแนวทางของพระดาบสชื่อ อาราฬดาบท และอุทกะดาบส สองสำนัก
นี้ท่านศึกษาและปฏิบัติจนจบหลักสูตร มีฌาณสมาบัติ 8 เป็นเครื่องยืนยันว่าจบระดับสูงสุด
…………2. การบำเพ็ญทุกกรกิริยา 6 ปี ที่อุรุเวลลาเสนานิคม เป็นการปฏิบัติตามแนวทางของฤาษี
ชีไพรยุคสมัยนั้น เน้นการทำให้ตนเองได้รับความลำบากด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นกลั้นลมหายใจ อดอาหาร
ไม่มีผลสรุปว่าบรรลุผลอย่างไร ก่อนจะเลิกล้มไม่ปฏิบัติวิธีนี้
..........3. การบำเพ็ญทางใจ เมื่อเลิกทุกกรกิริยา หันมาบำเพ็ญทางใจ อาศัยที่ทรงมีสมาธิสูงมาก่อน
คือระดับฌานสมาบัติ เมื่อหันมาพิจารณาจิตใจจึงเข้าสู่แนวทางสติปัฏฐาน ทำให้เห็นรูปนามและนำไป
สู่การเห็นไตรลักษณ์และบรรลุอริยสัจจ 4 เป็นวิธีที่ทรงเลือกเอง ปฏิบัติเอง จึงเรียกการบรรลุนี้ว่า
สัมมาสัมพุทโธ
..........จากพุทธประวัติ ทำให้ทราบว่าพระพุทธองค์เคยปฏิบัติมา 3 วิธี การปฏิบัติที่มีผลชัดเจนและ
มีคุณค่า มีเพียงแนวทางที่ 1 ที่ทำให้พระองค์บรรลุสมาบัติ 8 และแนวทางที่ 3 ที่ทำให้พระองค์บรรลุ
อริยสัจจ 4 เป็นพระอรหันต์แบบสัมมาสัมพุทธะ ทั้งสองแนวทางนี้ ยังมีการปฏิบัติกันในหมู่สาวกแต่
อดีตเป็นต้นมาถึงปัจจุบัน เราจึงสามารถกล่าวได้ว่า การปฏิบัติธรรมในหมู่ชาวพุทธ มี 2 แนวทางคือ
...........1. การปฏิบัติธรรมตามแนวทางสมถกรรมฐาน
...........2. การปฏิบัติธรรมตามแนวทางวิปัสสนากรรมฐาน
...........สมถกรรมฐาน คือแนวทางที่พระพุทธเจ้าไปฝึกมาจากสำนักพระดาบส จนบรรลุฌานสมาบัติ
นั่นเอง จะเน้นการฝึกใจให้มีสมาธิและยังเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้พระองค์พบแนวทางวิปัสสนา จน
ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธะอีกด้วย เมื่อพระองค์ประกาศศาสนาพุทธ พระสาวกจำนวนมาก เคยฝึกแนว
ทางสมถะมาก่อน เช่นกลุ่มพระสารีบุตรโมคคัลลานะ กลุ่มอุรุเวลกัสสปะเป็นต้น ดังนั้นจึงมีพระสาวก
ที่ทรงฌาณสมาบัติจำนวนมาก และมีการสอนสมถะสืบมาควบคุ่กับวิปัสสนา การฝึกสมถกรรมฐาน จะ
สอนให้ใช้ อารมณ์ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของใจ เพื่อให้ใจเป็นสมาธิตั้งมั่นในอารมณ์ที่เลือกใช้ เกิด
สมาธิ 3 ระดับ ในหนังสือคู่มือกรรมฐาน บอกไว้ตรงกันทุกสำนัก ได้แก่
.........1.ขณิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วครู่ ชั่วขณะหนึ่ง เป็นสมาธิขั้นต้นที่บุคคลทั่วไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่
ในการงาน
.........2. อุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่ตั้งได้นานหน่อย ใกล้ที่จะได้ฌาน เกิดนิมิตต่างๆ เช่น เห็นแสงสว่าง
อยู่ระยะหนึ่ง
.........3. อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิแน่วแน่ถึงฌาน เป็นการทำสมาธิขั้นสูงสุด
.........การปฏิบัติกรรมฐาน ครูอาจารย์จะกำหนดให้ใช้สิ่งที่เป็นอารมณ์ ตามสภาพจิตใจของผู้ฝึกเรียก
จริต ทั้งราคะ โทสะ โมหะ วิตก ศรัทธา และ พุทธิ อารมณ์ที่แนะนำมี 40 ชนิด(กสิณ 10 อสุภะ 10
อนุสสติ 10ความปฏิกูลในอาหาร 1 จตุธาตุวัฏฐาน 4 พรหมวิหาร 4 และอรูปฌาน 4 สรุปรวม 40)
.........สมาธิสูงสุดจะนำไปสู่การกำจัดนิวรณ์และเกิดฌานสมาบัติในที่สุด จำแนกเป็น รูปฌาน 4
และอรูปฌาน 4 อยู่ในกลุ่มสมาบัติ 8 นั่นเอง จัดเป็นผลสำเร็จของการปฏิบัติธรรมสายสมถกรรมฐาน
ยังไม่ก้าวล่วงไปถึง อริยมรรค อริยผล ในพุทธประวัติยืนยันได้ พระพุทธองค์เรียนจบสมาบัติ มาจาก
สำนักพระดาบสแล้ว ยังไม่พบโมกขธรรม จึงไปบำเพ็ญทุกกรกิริยา 6 ปี และได้ปฏิบัติธรรมแนวทาง
ใหม่ที่ทรงคิดเอง ปฏิบัติเองจนตรัสรู้ แสดงว่าการปฏิบัติที่นำไปสู่การตรัสรู้ มิใช่แนวสมถกรรมฐาน
...........วิปัสสนากรรมฐาน คือแนวทางที่พระพุทธองค์พบโดยบังเอิญ หลังจากบำเพ็ญทุกกรกิริยา
6 ปี ไม่พบโมกขธรรม จึงล้มเลิก หันมาบำเพ็ญทางใจ ทรงเห็นรูป นามและไตรลักษณ์และทำให้ทรง
บรรลุอริยสัจจ 4 ต่อมาเรียกแนวทางนี้ว่า วิปัสสนากรรมฐาน ใช้ฝึกอบรมสาวกมุ่งการบรรลุธรรม แนว
ทางที่พระอาจารย์ใช้ฝึกอบรมคือ สติปัฏฐาน 4 ได้แก่ กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา
และธรรมานุปัสสนา ไปเรียนวิปัสสนาที่ไหน หลักสูตรเดียวกันหมด ต่างจาก 4 หลักนี้ ก็ไม่ใช่ หลัก
สำคัญของสติปัฏฐาน คือ การฝึกให้มีสติตั้งมั่น ต่างจากสมถที่ฝึกให้ สมาธิ ตั้งมั่น วิปัสสนาจะสนใจ
สติให้รู้ตัวตลอดเวลามีสัมปชัญญะกำกับเสมอ โดยใช้ฐานที่มั่นให้สติเกาะ 4 อย่าง (อ้างอิงจากคู่มืิอวิปัสสนากรรมฐาน)พฤติกรรมทาง กาย(14ปัพพะ) เวทนา (9 ปัพพะ) จิต (16 ปัพพะ)ธรรม (5 ปัพพะ) วิปัสสนาจะต่างจากสมถะ เพราะยึดสติสัมปชัญญะเป็นหลัก ปัฏฐานทั้ง 4 เป็นที่ตั้งสติคือสติจะตามดู รู้และเห็น กาย เวทนา จิต และธรรม แล้วแต่สิ่งใดจะปรากฏ ไม่ยึดมั่นในสิ่งเดียวเหมือนสมถะที่แน่วแน่ คือสติที่รู้ตัวตลอดด้วยอุบายเช่นนี้สติจะมีพลังแก่กล้าจนเห็น รูป-นาม ตามเป็นจริง เห็นอนิจจัง ทุกขังและอนัตตาในที่สุดคือเห็นไตรลักษณ์นั่นเอง
........การปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนา จากอดีตถึงปัจจุบัน 2 สองแนวทางนี้เท่านั้น กระผมเขียนถึง
สมถะและวิปัสสนา เพื่อจะให้ผู้อ่านเข้าใจว่า แนวทางที่ชาวพุทธปฏิบัติกันมี 2 แนวทางเท่านี้ ผิด
จากนี้ก็มิใช่แนวทางของพุทธะ วิธีสมถะเป็นแนวทางที่พระดาบสฤๅษีใช้มาก่อนเกิดพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าเคยฝึกอบรมมา ทรงเห็นมีคุณค่าต่อการปฏิบัติวิปัสสนา จึงคงสอนสาวกทั้งสมถและ
วิปัสสนา แต่การปฏิบัติที่จะบรรลุจุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนา ต้องไปเส้นทางวิปัสสนาเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น