วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

มาฆบูชา 2561





                                                    พาแฟนนั่งช้าง อ่ะ (สวนนงนุช)

วันมาฆบูชา

.........วันสำคัญทางพุทธศาสนา เริ่มแต่ต้นปีมา เดือน 1 จนถึงเดือนสิบสอง มีวันเพ็ญเดือน สามตรงกับวันมาฆบูชา ถัดมาก็เพ็ญเดือนหก ตรงกับวิสาขบูชา และเพ็ญเดือนแปด ตรงกับ วันอาสาฬหบูชา ชื่อวันสำคัญดูจะออกสำนวนภาษาบาลีทั้งสามวัน เพราะท่านเอาชื่อเดือนที่ เป็นภาษาบาลีมาเรียกเท่านั้นเอง ภาษาบาลีเขาเรียกชื่อเดือนอย่างไร เริมจากเดือน 1 คือ มิคสิระ ปุสสะ มาฆะ ผัคคุณะ จิตตะ วิสาขะ เชฏฐะ อัสสาฬหะ สาวนะ ภัททปทะ อัสสยุชะ และกิตตะ มาฆะก็คือเดือน 3 เพ็ญก็คือขึ้น 15 คำ เรียกวันมาฆบูชา เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ สำคัญที่เกิดขึ้นสมัยพุทธกาล
.......พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ผ่านไป 9 เดือน ประทับอยู่ที่ เวฬุวัน กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ช่วงนั้นได้สาวกกลุ่มใหญ่ เป็นปริพพาชกสังกัดสำนักสัญชัยปริพพาชก นำโดยโกลิตตมานพกับ อุปติสสมานพสองสหายลูกเศรษฐีใหญ่เมืองราชคฤห์ พาบริวาร 250 คน มาเฝ้าพระพุทธเจ้า หลังจากเลื่อมใสพุทธศาสนาผ่านทางพระอัสสชิเถระ ได้ดวงตาเห็นธรรมทั้งคู่ ครั้งได้ฟังพระ ธรรมเทสนาจากพระพุทธเจ้า บริวารทั้งสิ้นบรรุลอหันต์ ส่วนสองหัวหน้ายังเป็นพระโสดาบันอยู่ พระพุทธเจ้าแนะนำให้ไปปฏิบัติธรรมเพิ่มเติม ไม่นานโกลิตตะ ก็บรรลุอรหันต์ ต่อมาคือพระ โมคคัลลานเถระ ส่วนอุปดิสสะ หลีกไปปฏิบัติธรรมอยู่ถ้ำสุกรขาตา ไม่ไกลจากเวฬุวันนัก ก็ยัง ไม่บรรลุธรรม จนวัน 15 ค่ำ พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปเยี่ยมถามไถ่ความคืบหน้า พอดีหลานชาย ท่านมาเยี่ยมชื่อ ทีฆนขมาณพ พระพุทธเจ้าเลยสนทนาธรรมกับมานพน้อย สารีบุตรถวายงาน พัดให้พระพุทธเจ้าไป ฟังธํรรมที่ท่านสอนมานพไป ที่สุดก็บรรลุอรหันต์ ส่วนมาณพได้ดวงตา เห็นธรรม วันที่อุปดิสสะบรรลุอรหันต์นี้เองคือวันเพ็ญเดือนสาม ต่อมาอุปดิสสเถระท่านนี้ก็คือ
พระสารีบุตรเถระ เป็นเรื่องน่าจดจำมาก ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับเวฬุวันพบว่า มีสาวกจำนวนมากมาชุมนุมกันอยู่...ได้แก่
..........สาวกเหล่านี้เดิมถือลัทธิปริพพาชก วันเพ็ญจะชุมนุมกันประกอบพิธีล้างบาป แต่ตอนนี้ เป็นพุทธสาวกแล้ว ก็แค่อยากมานมัสการและฟังโอวาท แต่มาหลายกลุ่มเลยกลายเป็นการ ชุมนุมโดยมิได้นัดหมายจำนวนถึง 1250 รูป มีกลุ่มไหนมาบ้าง
………..1) คณะศิษย์ของชฎิล 3 พี่น้อง คือ คณะพระอุรุเวลกัสสปะ (มีศิษย์ 500 องค์)
………..2) คณะพระนทีกัสสปะ (มีศิษย์ 300 องค์)
………..3) คณะพระคยากัสสปะ (มีศิษย์ 200 องค์)
………..4) คณะของพระอัครสาวก คือ คณะพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ (250 องค์)
.........ประการที่ 2 นับเป็นเรื่องประหลาดมาก เพราะปริพพาชกทั้ง 4 กลุ่ม ต่างเรียนรู้สมถ กรรมฐานบรรลุฌานสมาบัติระดับสูง จนถึงระดับอภิญญา 5 ประการคือ อิทธิวิธี ทิพยโสต เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสญาณ ทิพจักษุ และที่สุดบรรลุ อาสวักขยญาณ(อรหันต์)จัดเป็น อภิญญาที่ 6
.... ....ทั้ง 1250 รูป อุปสมบทโดยพระพุทธองค์ด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา
.... .....เมื่อพระพุทธองค์ได้พบสมาคม ชุมนุม สาวก เช่นนั้นก็มีเมตตา กล่าวสัมโมทนียคาถา ตามสมควร แล้วทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นแก่นคำสอนของพุทธศาสนา ในท่ามกลาง คณะสงฆ์วันนั้น สาระสำคัญเทศนา ได้แก่
.........เวบไซท์http://www.learntripitaka.com/ได้กล่าวถึงโอวาทปาฏิโมกข์ ไว้ ว่า.... โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา แสดง จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ของพระพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน
..........1. จุดหมายของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน (นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา)
..........2. หลักการของพระพุทธศาสนา คือ ต้องมีความอดทน ในการฝึกตนเอง เพื่อบรรลุ
จุดหมาย (ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺข ประกอบด้วย
.............. ก. ไม่ทำความชั่วโดยประการทั้งปวง ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ (สพฺพปาปสฺส อรกณํ)
............. ข. ทำความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ (กุสลสฺสูปสมฺปทา)
...............ค. การชำระจิตใจให้สะอาด ผ่องใส สงบ (สจิตฺตปริโยทปนํ)
..........3. วิธีการที่จะบรรลุจุดหมาย คือ ต้องฝึกอบรมตนแบบต่อเนื่อง ให้เกิดมรรคสามัคคี คือ อริย
มรรคมีองค์ 8 ** รวมพลังกัน เหมือนเชือก 8 เกลียว หรือให้มี ศีล สมาธิ และปัญญา รวม พลังกัน เหมือนเชือก 3 เกลียว พัฒนากาย วาจา ใจ ให้พูดดี ทำดี คิดดี ไม่ตกอยู่ในอำนาจ แห่งกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ราคะ โมสะ โมหะ ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส ตัณหา หรือความใคร่ ความอยากมี อยากเป็น แบบมืดบอด ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ที่มันเป็นไปไม่ได้ เช่น ไม่อยากเป็นคนเสื่อมลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุข เป็นต้น โดยอาศัย วิธีการดังต่อไปนี้.
......ก. ฝึกวาจา ระวังเสมอ มิให้กล่าวคำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ (อนูปวาโท)
......ข. ฝึกกาย ระวังเสมอมิให้มีการฆ่า ทำลายชีวิต ตลอดการเบียดเบียน (อนูปฆาโต)
......ค. ละเว้นข้อที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสห้ามไว้ และทำตามข้อที่อนุญาต (ปาฎิโมกฺเข จ สํวโร)
......ง. รู้จักประมาณในการบริโภค อาหาร และการใช้ปัจจัย 4 (มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺสมึ)
......จ. ฝึกตนอย่างจริงจัง ในที่ที่สงัดจากสิ่งรบกวน (ปนฺตนฺ จ สยนาสนํ)
......ฉ. ภาวนาอยู่เสมอ คือ พัฒนาตนเองให้พ้นจากอำนาจของกิเลสตัณหา การภาวนา หมายถึง การใช้ทั้งสมาธิ และวิปัสสนา แก้ปัญหา หรือจัดการกับกิเลส (อธิจิตฺเต จ อาโยโค) เป็นการตรวจสอบตัวเอง มิให้จิตใจเศร้าหมอง ให้จิตใจผ่องใสอยู่เสมอ (สจิตฺตปริโยทปนํ)
........จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศไว้จะเป็นไปด้วยดี และบรรลุ วัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายไว้นั้น พระองค์ได้ย้ำเตือนไว้ว่า จะต้องปฏิบัติต นให้เป็นอย่างบรรพชิต และเป็นอย่างสมณะ คือ เว้นจากความชั่วทุกประการ และเป็นผู้ป ฏิบัติตัวเป็นแบบอย่าง เพื่อระงับบาปอกุศล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นอริยบุคคล ทั้งไม่ เบียดเบียนและไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่คนที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบทั้งหลาย (น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต)
..........ที่กล่าวมาคือประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันมาฆบูชา ชี้ให้เห็นถึงจุดเริ่ม ต้นของการแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ทุกกึ่งเดือน ทราบว่าพระพุทธองค์ทรงร่วมตลอด 20 พรรษา จากนั้นก็ให้พระภิกษุสงฆ์สวดอาณาปาฏิโมกข์แทน ซึ่งก็คือปาฏิโมกข์ที่สวดทุกกึ่งเดือนใน ปัจจุบันนี่เอง ได้แก่ศีล 227 ข้อของพระภิกษุ ในส่วนของการปฏิบัติตนของชาวพุทธ ก็คงคล้าย กันคือ พยายามทำสิ่งที่เป็นบุญกุศลสำหรับวันที่มีความสำคัญมากเช่นนี้ ขอกล่าวถึงฆราวาส อย่างเรา ๆท่าน ๆ วันมาฆบูชาขอเริ่มแต่ตื่นนอนเป็นต้นไป จนเข้านอนตอนเย็นแล้วกันครับ
...........ตื่นนอนทำวัตรเช้าประจำวัน สมาทานศีลแปด พิเศษซักวัน บอกคนใกล้ตัวให้สมาทาน ด้วยจะได้ไม่แกล้งกัน จากนั้นก็แผ่บุญกุศล นั่งสมาธิ สำหรับกระผมขอเจริญพระปริตตมงคล สิบสองตำนานซักจบหนึ่ง หกโมงครึ่งคงเสร็จ ไปทำกิจอื่น ๆได้เช่น งานบ้าน งานสวน เลี้ยงสุนัข ทานข้าวเช้าเตรียมตัวออกเดินสาย
............ไปแสวงบุญ...วัดซัก 2-3 แห่ง โรงพยาบาล 2 แห่ง ทำบุญด้วยปัจจัยง่ายดี ถ้ามีมูลนิธิ เพื่อการกุศลก็แวะไปทำบุญด้วย สะดวกดี ทำทานแค่นี้ก็พอแล้ว ส่วนภาวนามัยกะจะไปวัดแถว ศรีราชาที่ท่านสอนสติปัฎฐาน 4 โชคดีอาจได้ฟังเทศน์ หรือไม่ก็ได้เทปคลิพบรรยายคำสอนก็ ยังดี เคยไปท่านมีเอกสารตำราไว้แจก ถ้ามีเรื่องใหม่ ๆ ก็ถือโอกาสเลือกเอา อ่านแล้วได้สติปัญญา เพิ่มเป็นบุญแน่นอน เช้าจนบ่าย ๆ ก็น่าจะได้ทั้ง ทานมัย สีลมัยและภาวนามัย เหลือเฟือครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น