วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ออกพรรษาหน้ากฐิน



                                               
       


.........พรรษา วัสสา หมายถึงหน้าฝน ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ดีใจจะได้ดูแล นาสวน ให้เจริญงอกงาม เพื่อผลผลิตที่สมบูรณ์ดี แต่พระภิกษุอาจไม่ชอบหน้าฝน เพราะต้องหยุด เดินทางและอยู่ค้างที่วัดสามเดือน เริ่มหน้าฝนกับเริ่มพรรษาไม่ตรงกัน หน้าฝนเริ่มตาม ธรรมชาติ บางปีมาไวบางปีก็ล่า แต่พรรษาชัดเจน เพ็ญเดือนแปดเตรียมตัว แรม 1 คำ อธิษฐานอยู่จำพรรษากัน โน่นแหละแรม 1 ค่ำเดือนสิบเอ็ดออกพรรษาเรียบร้อย แล้ว ออกพรรษาต้องอธิษฐานไหม ตอนเข้าพรรษาอธิษฐานแล้ว ชัดเจน ดีแล้ว ดังคำบาลีว่า อิมัส๎มิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ ความว่า กระผมจะเข้าพรรษาสามเดือนที่ อาวาสนี้ การนับเวลา จะนับแต่วันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปด ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือนสิบเอ็ด เป็นสามเดือนเต็มตามคำอธิษฐานเข้าพรรษา ตอนออกพรรษาไม่ต้องอธิษฐานยาก ครบ สามเดือนก็ออกเองเพราะครบเวลา พระจะทำพิธีปวารณาแทน
.........สมัยพุทธกาลพระภิกษุจะจาริกไปตามป่าเขาและชนบทเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ถ้า มีชาวบ้านมาทำบุญก็ขอบคุณให้ศีลให้พร อยากฟังเทศน์ก็จัดให้ตามสมควร หน้าฝนการ เดินทางลำบาก กระทบถึงชาวบ้านด้วยเพราะเป็นฤดูทำไร่ทำนา ยินข่าวพระมาพักแรมอยู่ ใกล้หมู่บ้านก็อยากไปทำบุญ ทิ้งงานทำไร่ทำนาไปหลายวัน เลยมีผู้กราบทูลพระพุทธเจ้า ให้ทรงทราบจนเกิดสำนวนว่า"พระเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาเสียหาย" ความจริงพระก็ลูกชาวไร่ ชาวนา ทำไมจะกล้าไปเหยียบย่ำข้าวในนาสวนชาวบ้าน เป็นเพียงสำนวนเปรียบเปรยเท่านั้น พระพุทธเจ้าเห็นชอบจึงให้หยุดจาริกในหน้าฝน หาที่พักเป็นที่เป็นทางตลอดสามเดือน ก็ ที่เรียกการอยู่จำพรรษานั่นแหละ..อ้อ ปี 2561 แปดสองหน เข้าพรรษาจะเลื่อนมาแปด
ที่ 2 ส่วนปีปกติ แปดมีหนเดียว ถึงวัน แรม 1 คำเดือนแปดก็อธิษฐานพรรษากัน แต่ปีแปด 2 หน จะอธิษฐานพรรษากันแรม 1 ค่ำเดือนแปดที่ 2
.........ในพรรษาทำอะไรกัน พระหยุดจาริกก็ศึกษาปริยัติ ปฏิบัติ ตามสมควร หลายวัด สอนนักธรรม บาลี มัธยม ก็เป็นโอกาสดีศึกษาเล่าเรียนไป เคยมีคนถามว่าเป็นการเอาเปรียบ ชาวบ้านไหม ก็เลยถามกลับไปว่าพระเณรเป็นลูกชาวบ้านหรือเปล่า ให้การศึกษาพระเณร ดีแล้ว ส่วนมากสึกออกไปก็ไปเป็นชาวบ้านนั่นแหละ ดีซะอีกได้รับการศึกษา ออกไปไม่ ต้องไปเริ่มต้นใหม่ เสียเวลาเสียโอกาส สมัยก่อนนิยมให้บุตรหลานบวชเรียนก่อนค่อยลา สิกขาบทออกมาแต่งการแต่งงานได้ ออกพรรษาล่ะมีกิจกรรมอะไรน่าสนใจบ้าง มีหลาย อย่างนะที่ชาวบ้านไม่ค่อยรู้ เช่นการปวารณา จีวรกาล กฐินกาล
..........ปวารณา เป็นกิจกรรมของพระภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบสามเดือนแล้ว ออกพรรษา ก็จะแยกย้ายกันไป ก่อนแยกกันไปจะมีกิจกรรมปวารณากระทำต่อกัน ปกติก็เลือกเอาวัน ขึ้น 15 ค่ำเดือนสิบเอ็ดนั่นแหละเป็นวันอุโบสถด้วย ประชุมกันก็ทำปวารณากัน ดูคำอธิษฐาน ปวารณา พระกล่าวอะไรกัน วันอุโบสถ ปกติฟังสวดปาฏิโมกข์แต่ขึ้น 15 คำ เดือน 11 จะ ทำพิธีปวารณาแทน พระภิกษุที่ประชุมกันทำวัตรสวดมนต์เสร็จก็อธิษฐานปวารณา กันโดย กล่าวคำปวารณาต่อพระภิกษุอื่น ท่ามกลางคณะสงฆ์ ใจความว่า 
......."สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมันโต อะนุกัมปัง 
อุปาทายะ ปัสสันโต ปฏิกกะริสสามิ" แปลว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ หากท่านทั้งหลาย ได้เห็น ได้ยิน หรือสงสัย ว่า...กระผมได้ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ขอท่านทั้งหลายโปรด อนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียใหม่ให้ดี"
........หลังปวารณา นับจากวันแรม 1 คำ เดือน 11 ถึง ขึ้น 15 คำเดือน 12 รวม 30 วัน หรือ 1 เดือน เป็น"จีวรกาล" คือช่วงเวลาที่พระภิกษุได้รับอนุญาตให้แสวงหาผ้ามาทำไตร จีวรผัดเปลี่ยนได้ หมายความว่าผัดเปลี่ยนผ้าใหม่กันปีละหนเดียว สมัยก่อนการแสวงหาผ้า เป็นเรื่องยาก จนมีการทำกฐินเกิดขึ้น อารามใดมีการทำกฐิน จะได้รับอานิสงส์ขยายเขต จีวรกาลออกไปจนดึงกลางเดือน 4 ชาวบ้านเลยนิยมทำบุญทอดถวายผ้าในช่วงที่พระกำลัง หาผ้ามาทำไตรจีวร จนเกิดประเพณีทอดกฐินและช่วงเวลาจากออกพรรษา ไปจนถึงกลาง เดือน 12 รวม 30 วัน เรียกเขตกฐินบ้าง กฐินกาลบ้าง ปีนี้ 2561 พรรษาครบ 3 เดือนวัน ขึ้น 14 ค่ำเดือนแปด ตรงวันที่ 23 ตุลาคม 2561 วันรุ่งขึ้น วันพระใหญ่ไม่มีสวดปาฏิโมกข์ แต่ทำพิธีปวารณาแทนคือ 24 ตุลาคม 2561 จีวรกาล จะไปสิ้นสุดกลางเดือนสิบสองคือ ขึ้น15 คำเดือน 12 ตรงกันวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 รุ่งขึ้นก็เป็นวันนอกเขตจีวรกาล และหมดเขตกฐินกาลด้วย มีข้ออนุโลมขยายเขตจีวรกาล ออกไปได้ถึงกลางเดือน 4 ถ้า อาวาสใดมีกิจกรรม "กฐินสามัคคี"
.........กฐิน คือการตัดเย็บจีวรเพื่อผัดเปลี่ยน อนุญาตให้ทำปีละครั้ง หลังออกพรรษา 1 เดือน สมัยก่อนเป็นเรื่องใหญ่ ไม่มีไตรจีวรสำเร็จรูปขายในตลาด ต้องทำเอง พระในวัดก็ช่วยกัน ช่วยหาผ้า ช่วยตัดแบบ ช่วยเย็บให้เป็นไตรจีวรแบบมีขันธ์ ย้อมสีเรียบร้อย มีเวลาเดือนเดียว วัดต้องมีแบบ(กฐิน)สำหรับตัดผ้าเป็นชิ้น ๆ เมื่อนำมาเย็บเสร็จก็จะเป็นจีวร สบง ตามแบบ ถูกต้องตามพระวินัยอนุญาต ชาวบ้านนิยมทำบุญถวายผ้าในช่วงนี้ เพื่อให้พระหาผ้ามาทำ ไตรจีวรง่ายขึ้น ได้ผ้ามาก็เอาไม้แบบ(กฐิน)มาทาบตัดเป็นชิ้น ๆ ก่อนเย็บ นานเข้าก็เรียก งานตัดเย็บผ้าสามัคคี ก็คืองานใช้กฐิน(แบบ)ตัดผ้าสามัคคีนั่นแหละ เดี๋ยวนี้เรียกสั้น ๆว่ากฐิน สามัคคี ตรงสามัคคีนี่แหละที่มีพุทธานุญาตขยายจีวรกาลออกไปถึงกลางเดือนสี่ 
.......ตำนานกฐินที่เล่าเรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ ประทับอยู่วัดเชตวัน กรุงสาวัตถี เดินทางถึงเมืองสาเกต ตรงวันเข้าพรรษาพอดี เหลือ ทางอีก 6 โยชน์ (400 เส้น เป็น 1 ยชน์ = 400 x 20 วา x 2 เมตร ) เทียบมาตราวัด 1 ว่า เท่ากับ 4 ศอก หรือ 2 เมตร ดังนั้น 400 เส้นจึงเท่ากับคูณด้วย 20 วา และคูณ ด้วย 2 เมตร ได้ความยาว 1600 เมตร ดังนั้น 1 โยชน์ก็ประมาณ 1.6 กิโลเมตร 6 โยชน์ ก็ เป็นระยะทาง 9.6 กิโลเมตร เกือบถึงวัดพระเชตวันแล้ว แต่เดินทางต่อไปไม่ได้ จึงอยู่จำ พรรษาที่เมืองสาเกต ออกพรรษา ฝนยังไม่ขาด เดินทางต่อถึงพระเชตวันในสภาพมอมแมม พอดีเป็นจีวรกาล พระภิกษุ 30 รูป ต้องหาผ้ามาผัดเปลี่ยนไตรจีวร 30 ชุด อยู่ต่างถิ่นด้วย ไม่รู้จักญาติโยม การหาผ้าบังสุกุลคงลำบากไม่น้อย เพราะพื้นที่ที่พระพุทธเจ้าอยู่จะมี พระภิกษุจำนวนมาก ต่างก็หาผ้าผัดเปลี่ยนเหมือนกัน พระพุทธเจ้าทราบปัญหาที่เกิดจึง อนุญาตให้ช่วยกันตัดเย็บไตรจีวร เสร็จ 1 ผืน มอบให้พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งผัดเปลี่ยนได้ งานนี้ต้องใช้ไม้แบบ(กฐิน) ช่วยเป็นอย่างมาก ถือเป็นกิจกรรมสามัคคีช่วยกัน มีผลทำให้ได้รับอานิสงส์ 5 อย่างและขยายจีวรกาลออกไป 3 เดือน
........อานิสงส์ช่วยกันกางแบบกฐินตัดเย็บจีวรแล้วได้อานิสงส์ 5 ข้อได้แก่ เที่ยวไปไม่ ต้องบอกลา อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ รับนิมนต์ฉันคณะโภชนาได้ เก็บอดิรกจีวรได้เกิน 10 วัน และลาภสักการะที่โยมถวายไม่ต้องแบ่งภิกษุอาคันตุกะ และที่สำคัญมากคือเวลาของ จีวรกาลขยายจาก 1 เดือนออกไปอีก 3 เดือนจนถึงกลางเดือน 4 ชาวบ้านก็ทราบผลดีของ การทำกฐินตัดเย็บไตรจีวร เลยนิยมนำผ้ามาถวาย หน้ากฐินกาล 1 เดือนนับแต่ออกพรรษา จนกลายเป็นประเพณีออกพรรษาหน้ากฐิน มีเรื่องควรทราบเกี่ยวกับกฐินในสมัยปัจจุบัน บ้างเล็กน้อย คือ.....
.........1. กฐินเป็นบุญที่ต้องทำในเขตจีวรกาล 1 เดือนนับแต่ออกพรรษา
.........2. กฐินเป็นกิจกรรมสามัคคี ภิกษุต้องช่วยกันตัดเย็บจีวรให้เสร็จใน 1 วัน ถวาย พระรูปหนึ่งนำไปผัดเปลี่ยน
.........3. กิจกรรมกฐิน พระภิกษุเป็นผู้ทำ ชาวบ้านแค่นำผ้าไปถวาย ผ้าจะเป็นกฐิน หรือไม่เป็นกฐิน ขึ้นอยู่กับการกระทำของพระภิกษุ
.........4. ภิกษุมีภาระต้องตัดเย็บจีวรให้เสร็จภายในระยะเวลากำหนดตามเขตจีวรกาล ถือเป็นเรื่องปกติ การใช้ไม้แบบ(กฐิน) ก็ไม่เรียกทำบุญกฐิน จะเรียกบุญกฐินก็เมื่อต้องการ ให้ได้รับอานิสงส์กฐิน แบบนี้ต้องทำให้ถูกต้องตามระเบียบวินัย กฐินจะเน้นความสามัคคี
..........พระภิกษุ 5 รูป เหมาะทำสังฆกรรมกฐินสามัคคี ได้ โดย 4 รูปเป็นคณะสงฆ์ อีก 1 รูปถือครองผ้าที่ตัดเย็บเสร็จในเวลา 1 วัน
..........ปฐมเหตุอนุญาตกฐินสามัคคี พระชาวเมืองปาฐา 30 รูป จำพรรษาที่เดียวกัน แต่การทำกฐินที่อนุญาต ทำกันที่วัดเชตวัน จะถือเป็นเกณฑ์คงไม่ได้ เพราะทำนอกวัด ที่อยู่จำพรรษา ตอนจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกต กฐินที่อนุญาตทำที่เชตวันกรุงสาวัตถีย์ ปัจจุบันมีเรื่องราว มากมายเกี่ยวกับการทำบุญกฐิน จนลืมไปว่าคนทำกฐินคือพระภิกษุ ไม่ใช่ชาวบ้าน การหาผ้าก็ลืมต้องรอให้ชาวบ้านนำกองกฐินมาถวายก่อน หลายวัดไม่มีคนนำกฐินมาถวาย เลยไม่ได้ทำกฐิน หมดโอกาสได้อานิสงส์กฐิน ความจริงชาวบ้านนำกองกฐินมาถวาย กฐินก็ยังไม่เกิด อานิสงส์กฐินก็ยังไม่ได้ จนกว่าคณะสงฆ์ อนุญาตให้มีการตัดเย็บจีวร เสร็จถวายพระรูปหนึ่งถือครองและอนุโมทนา แจ้งคณะสงฆ์ร่วมอนุโมทนา เป็นอันจบ การทำกฐินของคณะสงฆ์ จึงจะได้อานิสงส์ทั้ง 5 ข้อ ขยายจีวรกาลให้อีก 3 เดือน
.........พระภิกษุหาผ้ามาทำกฐินเองได้ไหม เพราะไม่มีคนนำกฐินมาถวาย เปิดตำราพระ วินัยดู ไม่เห็นมีตรงไหนบอกว่า ชาวบ้านทำกฐิน พระภิกษุต่างหากทำกฐิน ไม่มีคนนำ กองกฐินมาทอด นั่งเฉยอยู่ทำไมล่ะถ้าอยากได้อานิสงส์กฐิน หาผ้ามาตัดเย็บไตรจีวร สมัยนี้ง่ายจะตาย ขอเปิดตู้เก็บของเจ้าอาวาสดูสิ ขอผ้าสองสามชิ้นนะหลวงพ่อ เลือกเอา ที่สวย ๆ แพง ๆนั่นแหละ เอามา เลาะตะเข็บออก ตรงชายผ้าซักคืบ เย็บใหม่ เรียกว่าผ้า ผืนนี้ตัดเย็บแล้ว สีใช้ได้ไม่ต้องย้อมใหม่ แค่ซัก ตากแห้ง รีดหน่อยจะได้เรียบ ๆ ใช้ได้ แล้ว เอาไปถวายเจ้าอาวาสนั่นแหละ ให้ท่านอธิษฐานเป็นผ้ากฐินและถือครองแทนผ้าเก่า แบบนี้ใช้ได้ไหม แน่นอนใช้ได้ เพราะการทำไตรจีวรเป็นภาระหน้าที่ของพระภิกษุ
.........พระภิกษุกี่รูปรับกฐินได้ รับจากชาวบ้าน รูปเดียวก็รับได้ เห็นอ้างว่าเขาถวายสงฆ์ 5 รูปขึ้นไปถึงรับได้ คิดมากไปเองรับจากชาวบ้าน จะใช้พระกี่รูปก็เป็นแค่การรับไทยทาน ถึงคำกล่าวถวายจะออกชื่อ 
กฐินัง อตถริตุง ก็ยังไม่เป็นกฐิน จนกว่าพระจะเอาไปตัดเย็บ และอธิษฐานเป็นผ้าครองและอธิษฐาน
กฐินโน่นแหละ ถึงมีผ้ากฐินเกิดขึ้น เสร็จก็รายงาน ต่อคณะสงฆ์ สงฆ์อนุโมทนาก็จบกฐิน ยังอ้างอีกคำถวายออกคำว่าสงฆ์ต้อง 5 รูปสิ แสดง ว่าไม่เคยเห็นเขาถวายสังฆทาน ทั้งวัดมีพระรูปเดียว ไม่เห็นเถียงกันว่าไม่เป็นสังฆทาน ดีกว่าถวายผ้านะ เพราะภัตตาหาร ถวายเสร็จเป็นสังฆทานได้เลย แต่ผ้ากฐิน ถวายยังไง ก็ไม่เป็นกฐิน พระภิกษุต้องไปทำต่อจนเสร็จถึงจะเป็นกฐิน
.........จีวรกาล 1 เดือนนับแต่ออกพรรษา ไปจบวันเพ็ญเดือนสิบสองโน่นแหละ ถ้ามี กิจกรรมกฐินที่วัดก็ขยายออกไปถึงกลางเดือนสี่ จีวรกาลสำคัญอย่างไร เป็นช่วงเวลาหา ผ้ามาผัดเปลี่ยน อนุญาตให้หาในช่วงเวลานี้ สมัยก่อนผ้าหายากจึงสำคัญมาก ต้องรีบหามา ผัดเปลี่ยนให้เรียบร้อย ไม่ทันก็ใช้ผ้าเก่าไปอีกปีหนึ่ง สมัยก่อนจึงเป็นเรื่องใหญ่ สมัยนี้ไม่ สำคัญแล้วเพราะไตรจีวรหาง่าย ที่ตลาดมีจำหน่ายให้ทุกชนิดหลายราคา จนพระลืมจีวร กาลไปเลย ใช้เวลาวันเดียวก็ผัดเปลี่ยนได้เรียบร้อย
.........คุยยาวไปมากแล้ว ออกพรรษาเรื่องของพระภิกษุ แรม 1 ค่ำเดือนสิบสองนอก เขตพรรษาแล้ว เป็นช่วงจีวรกาล เวลาสำหรับหาผ้ามาผัดเปลียนซึ่งอนุญาตให้หาได้ปีละ ครั้ง พระไม่ค่อยชำนาญการตัดเย็บ ต้องมีแบบ(กฐิน)ช่วยตัดผ้าเป็นชิ้น ๆ นำมาเย็บเป็นไตร จีวรถูกต้องตามแบบที่วินัยอนุญาต ทุกวัดต้องมีแบบ(กฐิน)ไว้ให้พระนำไปใช้ตัดเย็บจีวร ปัจจุบันไม่ต้องแล้ว จีวรสำเร็จรูปมีมากมายหลายราคาให้เลือก บุญกฐินที่ชาวบ้านทำก็เป็น การทำบุญช่วงเทศกาลกฐิน แต่กฐินยังไม่เกิด เพราะชาวบ้านทำกฐินไม่ได้ คนทำกฐินคือ พระภิกษุ ถ้าพระภิกษุสามสี่รูปตัดเย็บผ้าใช้กัน ก็ไม่เรียกทำกฐินเป็นเพียงกิจกรรมช่วยเหลือกันและกันตามปกติ แต่เพราะกฐินตามพระวินัยเป็นกิจของสงฆ์ ต้องมี 4 รูปเป็นคณะสงฆ์จตุวรรค อีกรูปหนึ่งเป็นผู้ครองผ้า เลยต้องมีพระ 5 รูปถึงทำสังฆกรรมกฐินได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น