..................แต่งกลอนใคร ๆ ก็หัดแต่งกันได้ มี 2 วิธี คือ เขียนข้อความร้อยแก้วก่อนค่อยปรับแก้ไขให้เป็นกลอนภายหลัง กับวิธีศึกษาแผนผังกลอนแปดแล้วแต่งตามแผนผัง
........วิธีแรกเขียนข้อความถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นถ้อยคำธรรมดา ๆก่อน พยายามให้มีใจความต่อเนื่องเป็นเรื่องราว แก้ไขเรียบร้อยแล้วค่อยนำมาจัดกลุ่มทีละแปดคำคล้ายกลอนแปด ทีนี้ไป ดูแผนผังกลอนแปด เราต้องปรับแก้ตรงไหนให้มีสัมผัสระหว่างวรรค ระหว่างบท อาจต้องลบบางคำออก เติมคำใหม่แทนสุดท้ายจะได้กลอนแปด
ตัวอย่าง
..........1. เขียนข้อความธรรมดาความยาว 8 x 8 = 64 คำ
........อยากเดินชมสวนดอกไม้หลังบ้าน....ลูกหลานวิ่งตามอยากไปกับตา.....นั่นดอกเล็บมือนางกำลังบาน ...กลิ่นหอมจับใจมีผึ้งตอมอยู่.....นั่นดอกกระดังงาหอมเย็นชื่นใจ นกกางเขนมันกำลังหาหนอน นึกว่ามันกำลังชมดอกกระดังงา นึกอิจฉานกจริงจริง
...........2. จับมาจัดวรรคตอน ใหม่
........อยากเดินชมสวนดอกไม้หลังบ้าน....ลูกหลานวิ่งตามอยากไปกับตา
.นั่นดอกเล็บมือนางกำลังบาน ...................กลิ่นหอมจับใจมีผึ้งตอมอยู่.
.นั่นดอกกระดังงาหอมเย็นชื่นใจ................นกกางเขนมันกำลังหาหนอน
นึกว่ามันกำลังชมดอกกระดังงา............... นึกอิจฉานกจริงจริง
นึกว่ามันกำลังชมดอกกระดังงา ............. นึกอิจฉานกแมลงเสียจริง ๆ
วรรคแรก ย้ายคำ สวน ไปไว้หน้าคำ หลังบ้าน อ่านง่าย ดี
วรรค 2 คำ หลาน รับสัมผัสคำ บ้าน ได้ อัตโนมัติ คำไม่ค่อยรื่นไหล แก้เป็น ลูกหลานวิ่งตามไปกับคุณตา
วรรค 3 จังหวะติดขัด ต้องลงท้ายเสียง อา แก้เป็น เล็บมือนางผลิบานลมพัดมา
วรรค 4 รับสัมผัส อา แก้เป็น กลิ่นหอมพาภู่ผึ้งเที่ยวบินจร
วรรค 5 จังหวะติดขัด แก้เป็น กระดังงา หอมรื่น ชื่นดวงจิต
วรรค 6 แก้ไข....กางเขนคิด ทำอะไร ใช่จับหนอน
วรรค 7 แก้ไข....นึกว่าชม ดวงดอกบินแวะวอน
วรรค 8 หักคอจบ อยากแรมรอนดังแมลงเสียจริง ๆ
แก้เป็นดังนี้
อยากเดินชมดอกไม้สวนหลังบ้าน...........ลูกหลานวิ่ง ตามไป กับคุณตา
.เล็บมือนาง ผลิบาน ลมพัดมา.................กลิ่นหอมพา ภู่ผึ้ง เที่ยวบินจร
.กระดังงาหอมรื่นชื่นดวงจิต......................กางเขนคิด ทำอะไร ใช่จับหนอน
นึกว่าชม ดอกไว้ เทียวแวะวอน................อยากแรมรอน ดังแมลง เสียงจริงจริง ฯ
..........2. ศึกษาแผนผังบังคับกลอนก่อน ค่อยลองแต่ง .. ท่องบทกลอนมา 4 บรรทัด
แล้วมาเขียนแผนผังกัน เช่น บทอาขยานจากเรื่องพระอภัยมณี
....แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
มนุษย์นี่ที่รักอยู่สองสถาน บิดามารดารักมักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา
กลอนแปด บทหนึ่งมี 4 วรรค ตัวอย่างนี้มี 8 วรรคคือ 2 บทนั่นเอง
............วรรคแรก จบตรงคำว่า มนุษย์............วรรคสองรับสัมผัสด้วยคำ สุด และจบคำว่ากำหนด
............วรรค 3 คำท้ายวรรค ลด รับสัมผัส..... วรรค 4 คำ คด รับสัมผัส เป็นอันจบทที่ 1
............คำสุดท้ายบทที่1 คือคำ คน ส่งสัมผัสให้บทถัดไปคือบทที่ 2
............ในบทที่ 2 การแต่งสัมผัสในบทคล้ายกับบทที่ 1 บทที่ 2 ต้องแต่รับสัมผัสจากบทที่ 1 ซึ่งส่ง
คำว่าคนมาให้ บทที่ 2 ใช้คำท้ายวรรคที่ 2 รับสัมผัสคือคำ ผล
............มาดูสัมผัสภายในบทที่ 2 กัน
วรรคแรกจบวรรคด้วยคำ สถาน.............. ...วรรคที่ 2 รับด้วยคำ มาร..ดา จบวรรคด้วยคำ ผล ............วรรคที่ 3 ใช้ท้ายวรรคคือคำ ตน รับสัมผัส...วรรคที่ 4 รับด้วยคำ คน
ฝึกแต่งกลอนแปดคำจำแผนแล้ว............นึกหาคำสัมผัสเสียง แอว..(แนว แถว แคล้ว แวว )
ถือเป็นแนวจัดครบจบวรรคหนา.............นึกหาคำสัมผัสเสียง อา.(มา พา ลา กา ทา ครา วา ยา)
ตรวจสัมผัสไปด้วยช้วยจัดมา.......หาคำเสียง อา (มา พา ลา กา ทา ครา วา ยา)
เสียงเพราะพาเป็นกลอนสอนตนเอง หาคำเสียง อา (มา พา ลา กา ทา ครา วา ยา)
อันนี้แค่เบื้องต้น แต่งเป็นกลอนให้ได้ก่อน ส่วนแต่ให้เพราะ อ่านข้อเขียนอีกบท ครับ
พื้นฐานการศึกษาหลักภาษาไทยเพื่อการแต่งร้อยกรอง
-----------------
........ผมเป็นคนเรียนหนังสือที่ไม่ชอบท่องจำ วิชาที่ได้คะแนนแย่มาก ๆคือไวยากรณ์ไทย ซึ่ง พัฒนามาเป็นวิชาหลักภาษาไทย ในปัจจุบัน แต่ผมก็เอาตัวรอดได้นะ โดยพยายามทำความเข้าใจ และหาข้อสังเกตให้ได้ว่าทำไมเป็นอย่างนั้น แล้วก็ไม่ลืมบันทึกไว้ เวลาหลงลืมก็เอาออกมาอ่าน ทบทวน บันทึกชุดนี้คือเรื่องที่ต้องเปิดดูบ่อย ๆ เวลาแต่งร้อยกรอง ใครอยากอ่านก็ลองดูครับ อาจได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย อ้อ ไม่ใช่ตำรานะครับ อย่าไปคิดว่านี่ถูกต้องแล้ว
ขุนทอง ศรีประจง
(ปรับปรุง 15 มิย.2560)
.......1. เสียง พยางค์ คำ.......1.1 เสียงสระ เสียงที่เปล่งออกมาได้โดยอิสระ แต่ในความเป็นจริง สระออกเสียงตามลำพัง ไม่ได้ คนจะรู้สระอะไร ต้องพึ่ง พยัญชนะ อ นักภาษาเขาเล่าว่าสระทุกตัวเป็น นิสัย คือยอมให้ พัญชนะเข้ามาอาศัยออกเสียงได้
.......1.2 เสียงพยัญชนะ ทุกตัว เป็นนิสิต ต้องพึ่งสระ ถึงออกเสียงได้ กิจกรรมท้าทาย (มีคำถามเล่น ๆ ลองออกเสียงสระ โดย ไม่ต้องอาศัย ตัว อ ถ้าทำได้ ดูซิ ออกเสียงได้ไหม เป็นเสียงอะไร ) (ลอง ใช้ อัก กลาง ตัวอื่น ๆ คือ ก จ ด ต บ ป ฎ ฏ ประสมสระ แทน ตัว อ ดู ได้เสียงอะไร ถามว่า งั้นเราเรียก สระ กะ สระ กา แทน อะ อา ดีไหม ขอเปลี่ยนชื่อบ้าง คนยังเปลี่ยนชื่อกัน บ่อย ๆ)
.......1.3 พยัญชนะไทย สังเกตการออกเสียงประสมเสียง ออ เช่น กอ ขอ คอ จะจำแนก พยัญชนะที่มีเสียงสามัญ กับเสียงจัตวา มีข้อควรสังเกตคือ ตัวมีพื้นเสียงเสียงจัตวามี 11 ตัว เป็นอักษรสูงครบ 11 ตัวพอดี เหลืออีก 33 ตัว สามารถแยกได้สองกลุ่มคือ กลุ่มที่ประสม เสียง ออ แล้วผันด้วย วรรณยกต์ เอก ตัวไหนผันแล้วอ่านออกเสียงเอกได้ กลุ่มหนึ่ง อีกกลุ่มผันวรรณยุกต์เอก แต่อ่านออก เสียง โท กลุ่มอ่านออกเสียงเอก มี 9 ตัว คือ อักรกลางนั่นเอง ส่วนที่ออกเสียงโท มี 24 ตัว เป็นกลุ่มที่เรียกชื่อ เป็นอักษาต่ำ ตัวอย่าง กอ ขอ คอ กลุ่มออกเสียงแบบ ขอ เช่น ฉอ ถอ ผอ เป็นต้น กลุ่ม กอ กับ คอ ต้องใช้วรรณยุกต์เอกช่วยแยกเช่น ก่อ...ค่อ จอ่.... ต่อ ช่อ ท่อ แบบนี้ ผมแยกอักษรสามหมู่ได้โดยวิธีนี้ ไม่ต้องท่องจำยาก
........1.4 เสียงพยัญชนะไทย 44 ตัว แจงนับเสียงที่ไม่ซ้ำกันได้เพียง 21 เสียง ที่เสียงโดดเดี่ยว ไม่มีเพื่อน ได้แก่ ก ง จ บ ป ม ร ว และ อ รวม 9 ตัว ที่เหลือ12 ตัว มีเพื่อน อย่างน้อย 1 ตัว และ มากสุด 5 ตัว ได้แก่ ข (ขอขวด ค คอคน ฆ) ฉ ( ช ฌ) ซ (ศ ษ ส) ญ (ย) ฎ(ด) ฏ (ต) ณ(น) ฐ ถ(ฑ ฒ ท ธ) ผ(พ ภ) ฝ(ฟ) ห (ฮ) ความเข้าใจเรื่องนี้เอาไว้ใช้ตอน สงสัยเสียงที่ใช้ รับส่งสัมผัส เช่นคำรูปพยัญชนะต่างกัน แต่เสียงคล้ายกัน เข่น ขน...คน ฉัน...ชัน ซน...สน ไม่ควรใช้ รับส่งสัมผัสบังคับ
2. สัมผัส ในการแต่งร้อยกรอง ใช้สัมผัส 2 อย่างคือ สัมผัสนอก กับสัมผัสใน สัมผัสนอกเป็นสัมผัสสระ บังคับให้แต่งตาม ข้อบังคับของคำร้อยกรองชนิดนั้น ๆ ส่วนสัมผัสในเป็นสัมผัสที่แต่งเสริมเพิ่มเข้าไป ไม่ได้บังคับ ใช้กันทั้งสัมผสสระและพยัญชนะ (สัมผัสนอก สัมผัสใน คืออะไร หมายถึงการที่คำหนึ่งไปสัมผัสกับคำอื่น ถ้าอยู่นอกวรรคเรียกสัมผัสนอก อยู่ในวรรคเดียวกันเรียกสัมผัสใน)
.........2.1 สระในภาษาไทย มี 32 เสียง แยกเป็น สระเดี่ยวที่เรียกสระแท้ จับคู่ สั้น-ยาว ได้ 9 คู่ สระประสม เกิดจากการนำสระเดี่ยวมาประสมกันได้เสียงใหม่ จัดเป็นคู่เสียงสั้นและยาว ได้ 3 คู่ นอกนั้นจัดกลุ่มยากรวม ๆ เรียกสระเกิน รายละเอียด ดังนี้
........สระเดี่ยว 9 คู่ได้แก่ อะ-อา/ อิ-อี/ อึ-อือ/ อุ-อู/ เอะ-เอ/ แอะ-แอ/ โอะ-โอ /เอาะ-ออ/ เออะ-เออ
........สระประสม 3 คู่ได้แก่ เอียะ(อิ+อะ) - เอีย(อี+อา) เอือะ(อึ+อะ) - เอือ(อือ+อา) อัวะ(อุ+อะ) - อัว(อู+อา)
........สระเกิน อำ(อะ+ม) ไอ(อะ+ย) ใอ(อะ+ย) เอา(อะ+ว) ฤ(ร+อึ) ฤๅ(ร+อือ) ฦ(ล+อึ) ฦๅ(ล+อือ) มีเสียงยาว คือ รื กับ ลือ
........การสร้างคำในภาษาไทย จะต้องใช้พยัญชนะประสมสระถึงจะได้ พยางค์และคำ ดังนั้นทุกคำ/พยางค์ จึงมีเสียงสระแทรกอยู่ จะปรากฏหรือลดรูปก็ตาม เสียงต้องคงอยู่ เว้นแต่จะถุก ฆาต มิให้ออกเสียง เช่น จันทร์ สิงห์ ในการแต่งร้อยกรองจึงต้องรู้ว่าคำ หรือพยางค์ที่ใช้นั้น ประสมสระอะไร เสียงสั้นหรือยาว อาจต้องลงลึกไปถึงระดับเสียงวรรณยุกต์ รู้ชัดเจนแล้วค่อยน้ำไปใช้
........2.2 สัมผัสสระ ได้แก่คำที่ประสมสระเสียงเดียวกัน ในแม่ ก กา หรือคำประสมสระเดียวกันในแม่ กง กน กม เกย เกว กก กด และกบ มีข้อสังเกตคือ ต้องออกเสียงสระตัวเดียวกัน ถ้ามีตัวสะกด ก็ต้องมาตราเดียวกันด้วย เช่น
......กา ขา กา มา นา อา เสียงอา ในแม่ก กา พยัญชนะต้นต่างกัน เอาไปใช้ ส่ง-รับ สัมผัสในตำแหน่งสัมผัสนอก ได้ แต่กรณีต่าง ระดับเสียงสั้นยาว ห้ามมิให้ใช้เช่น กะ-ขา ริ-รี รึ-ฤๅ กัด-กาด ใคร-คาย พบ-โลภ
......พยัญชนะต้นที่เป็นอักษรคู่ ประสมสระเดียวกัน หรือมีตัวสะกดก็มาตราเดียวกัน ถือว่าเป็นคำมีเสียงซ้ำกัน ไม่ควรเป็นสัมผัสนอก เช่น ใส ไทร ไซ อาศัย กษัย เสียง อัย แถมพยัญชนะเสียง ซอ เหมือนกัน หรือ คำ คา ขา ฆ่า ถือเป็นคำมีเสียงซ้ำคือ พยัญชนะต้นเสียง คอ ประสม สระอา
......คำพยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน ประสมสระเสียงเดียวกัน หรือมีตัวสะกดมาตราเดียวกัน ต่างระดับวรรณยุกต์ ถึงเป็นคนละคำ ก็ไม่ควรใช้สัมผัสนอกคือสัมผัสบังคับ เช่น (กา---ก่า---ก้า---ก๋า) ( การ...ก่าน...ก้าน) ( คา...ข่า...ฆ่า...ค้า...ขา)
…….คำที่มีเสียงอ่านทำให้เข้าใจผิดบ่อย ๆ ได้แก่ คำที่ประสมเสียงสระ อำ ไอ ใอ เอา
........2.3 สัมผัสอักษร ความจริงควรเรียก สัมผัสพยัญชนะ ทบทวนให้ก็ได้ อักษรไทยจำแนกออกเป็น สระ พยัญชนะ ตัวเลข วรรณยุกต์และเครื่องหมายต่าง ๆ เมื่อมีสัมผัสระ ก็ควรเรียกสัมผัสอักษรเป็น สัมผัสพยัญชนะ จะได้ตรงกับลักษณะที่เรียก สัมผัสพยัญชนะนิยมใช้เป็นสัมผัสใน ของร้อยกรอง
.......3. คณะ ร้อยกรองประเภทฉันท์ มีคำนำนำเรื่อง กลุ่มคำครุลหุ 3 พยางค์ ว่า ครุ-ลหุ วางอย่างไร มีแนะนำไว้ 8 คณะ คือ ม คณะ (ครุ-ครุ-ครุ) น คณะ (ลหุ-ลหุ-ลหุ) ภ คณะ (ครุ-ลหุ-ลหุ) ย คณะ (ลหุ-ครุ-ครุ) ช คณะ (ลหุ-ครุ-ลหุ) ร คณะ (ครุ-ลหุ-ครุ) ส คณะ (ลหุ-ลหุ-ครุ) ต คณะ (ครุ-ครุ-ลหุ)
.....4. วรรณยุกต์ เป็นเครื่องบอกระดับเสียงของ อักษรและคำ มี 4 รูป 5 ระดับเสียง กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
จัดได้ 2 ประเภท
.....4.1 วรรณยุกต์ แสดงรูป วรรณยุกต์ที่ปรากฏเห็น จ่า จ้า จ๊า จ๋า
.....4.2 วรรณยุตต์ไม่แสดงรูป แต่มีระดับเสียงอยู่ เช่น พยัญชนะทุกตัว จะมี 2 กลุ่มเมื่อประสมสระ
อ คือกลุ่มเสียงสามัญ กับกลุ่มเสียงจัตวา เช่น ก อ จอ ดอ ตอ และ ขอ ฉอ ถอ ผอ หอ
......คำที่ไม่ปรากฏเครื่องหมายวรรณยุกต์ มีระดับเสียงวรรณยุกต์อยู่ทุกพยางค์ ผู้ออกเสียงต้อง วิเคราะห์ดูเองถึงจะทราบเช่นคำว่า กาด (เอก) คาด (โท)คะ (ตรี) ควรฝึกวิเคราะห์บ่อย ๆ ร้อยกรอง บางชนิดกำหนดให้ใช้ระดับเสียงวรรณยุกต์ด้วย
.......5. ครุ ลหุ คำร้อยกรองประเภทฉันท์ ระบุให้แต่งตามกรอบคำครุลหุ ผู้แต่งควรศึกษาเรื่องคำที่มีเสียง ครุ ลหุ ด้วย
......5.1 คำครุ เป็นคำที่ออกเสียงหนัก หรือค่อนข้างยาว ได้แก่
...........คำ/พยางค์ ประสมสระเสียงยาวในแม่ ก กา
...........คำ/พยางค์ ที่มีตัวสะกด
......5.2 คำลหุ ออกเสียงเบา สั้น ๆ ได้แก่ คำ/พยางประสมสระเสียงสั้นในแม่ ก กา
.......6. คำเป็น คำตาย คำไทยบางคำออกเสียงง่าย โดยเฉพาะผันวรรณยุกต์ได้หลายเสียง แต่บางคำ
ก็ออกเสียงยาก ยิ่ง ผันวรรณยุกต์ก็ยิ่งยาก ก็เลยเรียกคำเป็น กับคำตาย
..........6.1 คำเป็น ได้แก่คำ/พยางค์ ประสมสระเสียวยาวแม่ ก กา และคำที่สะกดในแม่ กง กน
กม เกย เกว
..........6.2 คำตาย ได้แก่ คำ/พยางค์ที่ประสมสระเสียงสั้น แม่ ก กา และคำสะกด แม่ กก กด กบ
.......7. คำพ้อง
.......7.1..คำพ้องรูป ได้แก่คำที่บังเอิญ สะกดเหมือนกัน แต่อ่านออกเสียง ต่างกัน ความหมายต่างกัน เรียก พ้องรูป เช่น เพลา อ่านเพ-ลา หมายถึงเวลา อ่านเพลา หมายถึงตัก ล้อเกวียน เสลา อ่านเส-ลา หมายถึงหิน อ่านสะเหลา หมายถึงต้นไม้ ฯลฯ
.....7.2 ..คำบางคำออกเสียงเหมือนกัน แต่สะกดต่างกัน ความหมายก็ต่างกัน เรียกคำพ้องเสียง เช่น เสียง จัน สะกดได้หลายรูป จัน จันทร์ จันทน์ ออกเสียงสัน สะกดเป็น สัน สรรพ์ สรรค์ เป็นต้น
.......8. คำนำ คำประพันธ์หลายชนิด มีกำหนดใช้คำนำ แตกต่างกันไปตามเนื้อหา และชนิดของคำ ประพันธ์ เช่น เมื่อนั้น บัดนั้น. มาจะกล่าวบทไป ...เอ๋ย...สักวา.... ผู้แต่งต้องศึกษาและเลือก ใช้ให้เหมาะสม
.......9. คำสร้อย คำร้อยกรองประเภท โคลงร่าย นิยมใช้คำสร้อย ท้ายวรรค บางวรรค หรือตอนจบ มีคำ ทิ่นิยมใช้ เช่นพ่อ แม่ พี่ เลย นา นอ บารนี รา ฤๅ เนอฮา แฮ แล ก็ดี อา เอย เฮย ส่วนสร้อย เจตนัง เป็นสร้อยที่ผู้แต่งเจตนาใช้ กรณีที่ร้อยกรองไม่ใช่แต่งเป็น แบบแผน
......10. คำแนะนำจากกวีรุ่นเก่า แนะนำไว้ สัมผัสเลือน สัมผัสซ้ำ สัมผัสเกิน (สองคำในที่รับ) สัมผัส แย่ง สัมผัสเผลอ สัมผัสเพี้ยน … เป็นอย่างไร
......สัมผัสเลือน จุดรับสัมผัสนอก ปกติใช้คำเดียว ในวรรค รองและวรรค ส่ง ถ้ามีมากกว่า 1 คำ เรียกว่าสัมผัสเลือน คือเลือนลาง หรือจางลงไป
......สัมผัสซ้ำ....จุดรับสัมผัสนอก ใช้เสียงสระเดียวกัน แต่พยัญชนะต้องต่างเสียงกัน ถ้าเป็น พยัญชนะตัวเดียวกันถึงต่างระดับ เสียงวรรณยุกต์ก็ไม่ควรใช้เช่น ขัน ขั้น แม้พยัญชนะคู่ ก็ไม่ควร ใช้ เช่น คัน คั่น คั้น
......สัมผัสเกิน ...จุดรับสัมผัสนอก ปกติใช้คำเดียว ถ้ามีสองคำติด ๆ มันก็เกินนั่นแหละ พวก คำยมก เห็นได้ง่ายเช่นรับสัมผัสด้วย คำ นานา ดีดี
......สัมผัสแย่ง สัมผัสนอกเขากำหนดตำแหน่งไว้แล้ว ดันมีคำอื่นดักตัดหน้าไปก่อน เรียกว่า แย่งสัมผัส หรือชิงสัมผัส ในวรรค รอง เกิดบ่อย
......สัมผัสเผลอ เกิดจากคำที่ประสมสระเสียงสั้นกับเสียงยาว จับมาสัมผัสกัน เช่น น้ำ--ความ
เจ้า--จ้าว ใจ--กาย ริด--รีด
.......สัมผัสเพี้ยน รูปและเสียงอาจใกล้กัน จนลืมเอามารับส่งสัมผัสกันเช่น เล็ก---เผ็ด เวร--เป็ด
แข็ง--แรง
........ละลอกทับ ละลอกฉลอง เป็นข้อห้ามของคนสมัยก่อนบอกต่อ ๆกันมา ว่า คำลงท้ายวรรค กลอนแปด ไม่ควรลงด้วยคำ ที่มีรูปวรรณยุกต์ เอก/โท ที่ท้ายวรรค ที่ 2 /3/4 ในแผนผังกลอนแปด ไม่ได้มีข้อบังคับเรื่องวรรณยุกต์แบบโคลง ถ้ามีละลอก ทับละลอกฉลอง น่าจะเป็นเพียงทำให้กลอนไม่สวยงาม อ่านไม่รื่นหู ประมาณนี้มากกว่าจะไปชี้ว่า ผิดฉันทลักษณ์ การอธิบาย ละลอกทับละลอกฉลอง จากข้อมูลที่ได้มาพอ สรุป 4 ประเด็นคือ
........คำเอกโท ท้ายวรรคที่ 4 เรียกละลอกทับ
........คำเอก/โท ท้ายวรรค 2 หรือวรรค 3 ละลอกทับ
........คำเอก/โท ท้ายวรรค 2 เรียก ละลอกฉลอง
........คำเอก/โท ท้ายวรรค 3 เรียก ละลอกฉลอง
......(มีสับสนในคำอธิบายที่ 2 และ 3/4 มีเวลาจะตามสืบค้นดูอีกที)
------------------
รักจะเล่นแต่งกลอนแบบมีสัมผัสใน
---------------
-----------------------
...............ได้อ่านบทกลอนที่นักกลอนรุ่นใหม่เขียน เก่งครับเขียนได้ดีทีเดียว น่าอ่าน สำนวนหวือหวาดี สัมผัสในแพรวพราว เคยทักท้วงว่ามันมากไป อาจผิดแผนผังบังคับได้นะ ก็โดนค้านว่าไม่ผิดหรอก เอาอย่างมาจากกลอน กวีโบราณ ก็เลยอยากนำบทกลอนสุนทรภู่มาแฉให้ดู ว่ากวีโบราณ ที่เล่นสัมผัสในเก่ง ๆ คือกวีท่านนี้ ท่านเล่นแบบมีหลักมีเกณฑ์ ไม่ผิดแบบแผนหรอก มาดูกันครับ จะหยิบกลอนนิราศภูเขาทอง มาเป็นตัวอย่างแล้วกัน
----------------
..........ถึงหน้าวังดังหนึ่งใจจะขาด คิดถึงบาทบพิตรอดิศร
โอ้ผ่านเกล้าเจ้าประคุณของสุนทร แต่ปางก่อนเคยเฝ้าทุกเช้าเย็น
พระนิพพานปานประหนึ่งศีรษะขาด ด้วยไร้ญาติยากแค้นถึงแสนเข็ญ
ทั้งโรคซ้ำกรรมซัดวิบัติเป็น ไม่เล็งเห็นที่ซึ่งจะพึ่งพา
จึงสร้างพรตอตส่าห์ส่งส่วนบุญถวาย ประพฤติฝ่ายสมถะทั้งวสา
เป็นสิ่งของฉลองคุณมุลิกา ขอเป็นข้าเคียงบาททุกชาติไป ฯ
-----------------
..............บทกลอนจากนิราศภูเขาทอง กระผมชอบมาก ขนาดเอามาใช้ทำสื่อการสอนตอนทำวิทยานิพนธ์ เลยต้องอ่านหลาย ๆ รอบ สุนทรภู่ท่านแต่งได้ยอดเยี่ยมจริง ๆ อ่านเล่นก็เพราะ อ่านทำนองเสนาะก็รื่นไหลไม่ติดขัด ถ่ายทอดอารมณ์กวีได้ดีมาก ๆ
------------------
.......1. เสียงเสนาะทุกวรรคตอน ที่นักกลอนรุ่นหลัง ๆ พูดถึงคำลงท้ายวรรคกลอน กลอนท่านสุนทรภู่
นี่เองที่พอจะยกมาเป็นตัวอย่างการเลือกใช้คำลงท้ายวรรคได้เป็นอย่างดี
------------------
สังเกตดูกลอนที่นำมาเป็นตัวอย๋าง 3 บท จะพบการใช้คำลงท้ายวรรคต่าง ๆ ดังนี้
บทที่ 1 ลงท้าย 4 วรรคด้วยเสียงอะไรบ้าง เอก........จัตวา สามัญ......สามัญ
บทที่ 2 ลงท้าย 4 วรรคด้วยเสียงอะไรบ้าง เอก..... . จัตวา สามัญ......สามัญ
บทที่ 3 ลงท้าย 4 วรรคด้วยเสียงอะไรบ้าง จัตวา... ..จัตวา สามัญ......สามัญ
.............แค่ 3 บทที่ยกมา เห็นได้ชัดว่า วรรคแรก ชอบใช้เสียงสูงกว่าสามัญ ใช้เสียง เอก กับจัตวา
อ่าน รื่น ๆ ดี คำท้ายวรรค 2 ชอบ เสียงจัตวา มากกว่าเสียงอื่น วรรคที่ 3 และ 4 ชอบ เสียงสามัญ
----------------
.......2...การใช้สัมผัสในไม่มีผิดฉันทลักษณ์ พยายามจะใส่สัมผัสในวรรคละ 2 แห่ง มาดูกัน
บทที่ 1
บทที่ 2
บทที่ 3
.................จะคัดกลอนบทต่อ ๆไปให้อ่านดู เพื่อจะได้สังเกตว่า มหากวีสุนทรภู่ ท่านเล่นสัมผัสใน
วรรครับ และวรรคส่ง อย่างไร ไม่มีผิดฉันทลักษณ์หรอก สังเกตคำรับสัมผัสบังคับ ใช้คำที่ 3 ตามปกติ
ดูว่าสัมผัสในตรงนี้ ถ้าเล่น เล่นอย่างไร
O..ถึงหน้าแพแลเห็นเรือที่นั่ง.............คิดถึงครั้งก่อนมาน้ำตาไหล ครั้ง.........ไม่เล่น
เคยหมอบรับกับพระจมื่นไวย...............แล้วลงในเรือที่นั่งบัลลังก์ทอง ใน......ไม่เล่น
เคยทรงแต่งแปลงบทพจนารถ.............เคยรับราชโองการอ่านฉลอง ราช......ไม่เล่น
จนกฐินสิ้นแม่น้ำแลลำคลอง................มิได้ข้องเคืองขัดหัทยา ข้อง.... ..เคือง (สัมผัสพยัญชนะ)
เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ..........ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา อบ.........ไม่เล่น
สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา.....................วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์ฯ วาสนา......ไม่เล่น
O..ดูในวังยังเห็นหอพระอัฐิ....................ตั้งสติเติมถวายฝ่ายกุศล สติ......เติม (สัมผัสพยัญชนะ)
ทั้งปิ่นเกล้าเจ้าพิภพจบสกล...............ไม่เห็นหลักลือเล่าว่าเสาหิน หลัก... ลือ....เล่า(สัมผัสพยัญชนะ)
เป็นสำคัญปันแดนในแผ่นดิน...............มิรู้สิ้นสุดชื่อที่ลือชา สิ้น.....สุด (สัมผัสพยัญชนะ)
ขอเดชะพระพุทธคุณช่วย..................แม้นมอดม้วยกลับชาติวาสนา ม้วย....ไม่เล่น
อายุยืนหมื่นเท่าเสาศิลา....................อยู่คู่ฟ้าดินได้ดังใจปอง ฟ้า..... ..ไม่เล่น
ไปพ้นวัดทัศนาริมท่าน้ำ....................แพประจำจอดรายเขาขายของ จำ........จอด (สัมผัสพยัญชนะ)
มีแพรผ้าสารพัดสีม่วงตอง..................ทั้งสิ่งของขาวเหลืองเครื่องสำเภาฯ ของ...ขาว(สัมผัสพยัญชนะ)
O..ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง......มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา โพง....ผูก (สัมผัสพยัญชนะ)
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา..........ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย เมา...เหมือน (สัมผัสยัญชนะ)
ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ.............สรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย เพชญ..โพธิ (สัมผัส พยัญชนะ)
ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย...................ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป กราย..แกล้ง (สัมผัส พยัญชนะ)
ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก..........สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน หัก.....ห้าม (สัมผัสพยัญชนะ)
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป...............แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ ใจ.....ประจำ (สัมผัสพยัญชนะ)
..............
O..ถึงบางจากจากวัดพลัดพี่น้อง.........มามัวหมองม้วนหน้าไม่ฝ่าฝืน หมอง...ม้วน (สัมผัสพยัญชนะ)
เพราะรักใคร่ใจจืดไม่ยืดยืน...............จึงต้องขืนในพรากมาจากเมือง ขืน.............ไม่เล่น
ถึงบางพลูคิดถึงคู่เมื่ออยู่ครอง.............เคยใส่ซองส่งให้ล้วนใบเหลือง ซอง.........ส่ง (สัมผัสพยัญชนะ)
ถึงบางพลัดเหมือนพี่พลัดมาขัดเคือง....ทั้งพลัดเมืองพลัดสมรมาร้อนรน เมือง......สมร (สัมผัสพยัญชนะ)
ถึงบางโพธิ์โอ้พระศรีมหาโพธิ์.............ร่มริโรธรุกขมูลให้พูนผล นิโรธ....รุกข (สัมผัสพยัญชนะ)
ขอเดชะอานุภาพพระทศพล...............ให้ผ่องพ้นภัยพาลสำราญกายฯ พ้น...ภัยพาล (สัมผัสพยัญชนะ)
..............สังเกตดู วรรครอง และวรรค ส่ง ท่านแต่งด้วยความระมัดระวัง มิให้มีคำรับสัมผัสเกินมา ด้วย
ไม่เล่นสัมผัสสระ ถ้าจะแต่งให้มีสัมผัสใน ก็เลี่ยงไปเล่นสัมผัสพยัญชนะแทน หวังว่าท่านที่ได้อ่าน
ข้อความที่นำเสนอนี้ จะเข้าใจลีลากลอนที่ไพเราะแบบของสุนทรภู่ ได้ดีขึ้น ถึงท่านจะชอบเล่นสัมผัส
ใน ท่านก็เล่นไม่ผิดฉันทลักษณ์ นะครับ ฝากบทกลอนเตือนนักกลอนร่วมสมัย ด้วยนะครับ อาจนำไปใช้
พัฒนาการแต่งกลอนของท่านได้ (อ้อจริญญา แสงทอง ชื่ออีเมล ที่ใช้สมัครเวบบลอก ร้อยกรอง บลอกของผมเอง มี 3 เวบบลอกคือ เยี่ยมยามอีสาน วิถีชีวิตอีสาน และร้อยกรอง)
----------------
..........ถึงหน้าวังดังหนึ่งใจจะขาด คิดถึงบาทบพิตรอดิศร
โอ้ผ่านเกล้าเจ้าประคุณของสุนทร แต่ปางก่อนเคยเฝ้าทุกเช้าเย็น
พระนิพพานปานประหนึ่งศีรษะขาด ด้วยไร้ญาติยากแค้นถึงแสนเข็ญ
ทั้งโรคซ้ำกรรมซัดวิบัติเป็น ไม่เล็งเห็นที่ซึ่งจะพึ่งพา
จึงสร้างพรตอตส่าห์ส่งส่วนบุญถวาย ประพฤติฝ่ายสมถะทั้งวสา
เป็นสิ่งของฉลองคุณมุลิกา ขอเป็นข้าเคียงบาททุกชาติไป ฯ
-----------------
..............บทกลอนจากนิราศภูเขาทอง กระผมชอบมาก ขนาดเอามาใช้ทำสื่อการสอนตอนทำวิทยานิพนธ์ เลยต้องอ่านหลาย ๆ รอบ สุนทรภู่ท่านแต่งได้ยอดเยี่ยมจริง ๆ อ่านเล่นก็เพราะ อ่านทำนองเสนาะก็รื่นไหลไม่ติดขัด ถ่ายทอดอารมณ์กวีได้ดีมาก ๆ
------------------
.......1. เสียงเสนาะทุกวรรคตอน ที่นักกลอนรุ่นหลัง ๆ พูดถึงคำลงท้ายวรรคกลอน กลอนท่านสุนทรภู่
นี่เองที่พอจะยกมาเป็นตัวอย่างการเลือกใช้คำลงท้ายวรรคได้เป็นอย่างดี
------------------
สังเกตดูกลอนที่นำมาเป็นตัวอย๋าง 3 บท จะพบการใช้คำลงท้ายวรรคต่าง ๆ ดังนี้
บทที่ 1 ลงท้าย 4 วรรคด้วยเสียงอะไรบ้าง เอก........จัตวา สามัญ......สามัญ
บทที่ 2 ลงท้าย 4 วรรคด้วยเสียงอะไรบ้าง เอก..... . จัตวา สามัญ......สามัญ
บทที่ 3 ลงท้าย 4 วรรคด้วยเสียงอะไรบ้าง จัตวา... ..จัตวา สามัญ......สามัญ
.............แค่ 3 บทที่ยกมา เห็นได้ชัดว่า วรรคแรก ชอบใช้เสียงสูงกว่าสามัญ ใช้เสียง เอก กับจัตวา
อ่าน รื่น ๆ ดี คำท้ายวรรค 2 ชอบ เสียงจัตวา มากกว่าเสียงอื่น วรรคที่ 3 และ 4 ชอบ เสียงสามัญ
----------------
.......2...การใช้สัมผัสในไม่มีผิดฉันทลักษณ์ พยายามจะใส่สัมผัสในวรรคละ 2 แห่ง มาดูกัน
บทที่ 1
1.1 วรรคสดับ วัง...ดัง ใจ....จะ (สัมผัสพยัญชนะ) มีสัมผัสในครบ 2 คู่
1.2 วรรครับ บาท...บพิตร (สัมผัสพยัญชนะ) บพิตร..อดิศร มีสัมผัสในครบ 2 คู่
1.3 วรรครอง เกล้า...เจ้า คุณ......สุนทร มีสัมผัสในครบ 2 คู่
1.4 วรรคส่ง ก่อน......(ไม่มี) เฝ้า.....เช้า มีสัมผัสใน 1 คู่
2.1 วรรคสดับ พาน......ปาน .....ช่วงหลังไม่มีสัมผัสใน วรรคนี้มีสัมผัสใน 1 คู่
2.2 วรรครับ ญาติ....ยาก (สัมผัสพยัญชนะ) แค้น....แสน วรรคนี้มีสัมผัสใน 2 คู่
2.3 วรรครอง ซ้ำ......กรรม ซัด.....วิบัติ วรรคนี้มีสัมผัสใน 2 คู่
2.4 วรรคส่ง เห็น.....(ไม่มี) ซึ่ง......พึ่ง วรรคนี้มีสัมผัสใน 1 คู่
บทที่ 3
3.1 วรรคสดับ พรต.......อต ส่ง...ส่วน (สัมผัสพยัญชนะ) วรรคนี้มีสัมผัสใน 2 คู่
3.2 วรรครับ ฝ่าย.......(ไม่มี) สมถะ.....วสา วรรคนี้มีสัมผัสใน 1 คู่
3.3 วรรครอง ของ.......ฉลอง คุณ...มุลลิกา วรรคนี้มีสัมผัสใน 2 คู่
3.4 วรรคส่ง ข้า... .....เคียง (สัมผัสพยัญชนะ) บาท.....ชาติ วรรคนี้มีสัมผัสใน 2 คู่
...........บทกลอนที่มหากวีสุนทรภู่ท่านแต่ง แม้ท่านจะชอบแต่งสัมผัสใน แต่ก็ไม่จำเป็นต้องมี วรรค
ละ 2 แห่งเสมอไป เพราะกลอนต้องมีเนื้อหาที่กวีต้องการสื่อ สัมผัสในอาจตกหล่นไปบ้างก็ไม่เป็นไร
เพราะสัมผัสในมิใช่สัมผัสบังคับ มีข้อควรสังเกตคือ วรรครับ และวรรคส่ง ถ้าจะใส่สัมผัสใน 2 คู่ คู่แรก
คือคำที่ 3 และคำที่ 4 เป็นสัมผัสพยัญชะเท่านั้น เล่นสัมผัสสระไม่ได้ เพราะคำที่ 3 เป็นสัมผัสบังคับ มี
แนวทางแก้ไข ถ้าจะเล่นสัมผัสสระ คำที่ 3...4ต้องย้ายสัมผัสบังคับเป็นคำที่ 1 หรือ 2 แทน ปล่อยคำที่
3 ไว้เล่นสัมผัสใน ตัวอย่าง
อันความรักปักอกเหมือนตกเหว...............ซ้ำถูกเปลวปานไฟลามไหม้สุม
รัก...ปัก อก....ตก เปลว...ปาน ไฟ...ไหม้ (วรรคละสองคู่)
.............วรรคที่สอง เปลวกับปาน เป็นสัมผัสพยัญชนะ อยากเล่นสัมผัสสระ ต้องใช้คำที่ 1 หรือคำที่ 2
รับสัมผัสบังคับ เพื่อ ให้คำที่ 3 ว่าง จะได้ใช้เล่นสัมผัสใน เช่น
อันความรักปักอกเหมือนตกเหว...............ปานเปลวไฟไหม้สุมร้อนรุ่มเหลือ
รัก...ปัก อก....ตก ย้ ายคำรับสัมผัส คือคำ เปลว มาอยู่ตำแหน่งคำที่ 2 คำที่ 3
คือ ไฟ เลยว่าง เล่นสัมผัสสระได้คือคำที่ 3...4 เป็น ไฟ...ไหม้ ร้อน...รุ่ม (สัมผัสพยัญชนะ) รุ่ม....สุม ได้สัมผัสใน
3 คู่ ไปเลย
................ถ้ารักชอบสัมผัสในก็อย่าให้ผิดฉันทลักษณ์ ถ้าปล่อยคำที่ 3 ที่เป็นสัมผัสบังคับตามแผนผัง แล้ว ยังสัมผัสสระกับคำ ที่ 4 อีก ก็จะมีคำรับสัมผัสบังคับ 2 คำ ก็คือผิดฉันทลักษณ์นั่นเอง
อันความรักปักอกเหมือนตกเหว..............ซ้ำถูกเปลวเหวนรกไฟตกสุม
ดูคำ เปลว...เหว นรก...ตก
สัมผัสใน 2 คู่ จริงแต่เป็นการแต่งผิดฉันทลักษณ์
.................จะคัดกลอนบทต่อ ๆไปให้อ่านดู เพื่อจะได้สังเกตว่า มหากวีสุนทรภู่ ท่านเล่นสัมผัสใน
วรรครับ และวรรคส่ง อย่างไร ไม่มีผิดฉันทลักษณ์หรอก สังเกตคำรับสัมผัสบังคับ ใช้คำที่ 3 ตามปกติ
ดูว่าสัมผัสในตรงนี้ ถ้าเล่น เล่นอย่างไร
O..ถึงหน้าแพแลเห็นเรือที่นั่ง.............คิดถึงครั้งก่อนมาน้ำตาไหล ครั้ง.........ไม่เล่น
เคยหมอบรับกับพระจมื่นไวย...............แล้วลงในเรือที่นั่งบัลลังก์ทอง ใน......ไม่เล่น
เคยทรงแต่งแปลงบทพจนารถ.............เคยรับราชโองการอ่านฉลอง ราช......ไม่เล่น
จนกฐินสิ้นแม่น้ำแลลำคลอง................มิได้ข้องเคืองขัดหัทยา ข้อง.... ..เคือง (สัมผัสพยัญชนะ)
เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ..........ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา อบ.........ไม่เล่น
สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา.....................วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์ฯ วาสนา......ไม่เล่น
O..ดูในวังยังเห็นหอพระอัฐิ....................ตั้งสติเติมถวายฝ่ายกุศล สติ......เติม (สัมผัสพยัญชนะ)
ทั้งปิ่นเกล้าเจ้าพิภพจบสกล...............ไม่เห็นหลักลือเล่าว่าเสาหิน หลัก... ลือ....เล่า(สัมผัสพยัญชนะ)
เป็นสำคัญปันแดนในแผ่นดิน...............มิรู้สิ้นสุดชื่อที่ลือชา สิ้น.....สุด (สัมผัสพยัญชนะ)
ขอเดชะพระพุทธคุณช่วย..................แม้นมอดม้วยกลับชาติวาสนา ม้วย....ไม่เล่น
อายุยืนหมื่นเท่าเสาศิลา....................อยู่คู่ฟ้าดินได้ดังใจปอง ฟ้า..... ..ไม่เล่น
ไปพ้นวัดทัศนาริมท่าน้ำ....................แพประจำจอดรายเขาขายของ จำ........จอด (สัมผัสพยัญชนะ)
มีแพรผ้าสารพัดสีม่วงตอง..................ทั้งสิ่งของขาวเหลืองเครื่องสำเภาฯ ของ...ขาว(สัมผัสพยัญชนะ)
O..ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง......มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา โพง....ผูก (สัมผัสพยัญชนะ)
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา..........ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย เมา...เหมือน (สัมผัสยัญชนะ)
ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ.............สรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย เพชญ..โพธิ (สัมผัส พยัญชนะ)
ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย...................ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป กราย..แกล้ง (สัมผัส พยัญชนะ)
ไม่เมาเหล้าแล้วแต่เรายังเมารัก..........สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน หัก.....ห้าม (สัมผัสพยัญชนะ)
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป...............แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ ใจ.....ประจำ (สัมผัสพยัญชนะ)
..............
O..ถึงบางจากจากวัดพลัดพี่น้อง.........มามัวหมองม้วนหน้าไม่ฝ่าฝืน หมอง...ม้วน (สัมผัสพยัญชนะ)
เพราะรักใคร่ใจจืดไม่ยืดยืน...............จึงต้องขืนในพรากมาจากเมือง ขืน.............ไม่เล่น
ถึงบางพลูคิดถึงคู่เมื่ออยู่ครอง.............เคยใส่ซองส่งให้ล้วนใบเหลือง ซอง.........ส่ง (สัมผัสพยัญชนะ)
ถึงบางพลัดเหมือนพี่พลัดมาขัดเคือง....ทั้งพลัดเมืองพลัดสมรมาร้อนรน เมือง......สมร (สัมผัสพยัญชนะ)
ถึงบางโพธิ์โอ้พระศรีมหาโพธิ์.............ร่มริโรธรุกขมูลให้พูนผล นิโรธ....รุกข (สัมผัสพยัญชนะ)
ขอเดชะอานุภาพพระทศพล...............ให้ผ่องพ้นภัยพาลสำราญกายฯ พ้น...ภัยพาล (สัมผัสพยัญชนะ)
..............สังเกตดู วรรครอง และวรรค ส่ง ท่านแต่งด้วยความระมัดระวัง มิให้มีคำรับสัมผัสเกินมา ด้วย
ไม่เล่นสัมผัสสระ ถ้าจะแต่งให้มีสัมผัสใน ก็เลี่ยงไปเล่นสัมผัสพยัญชนะแทน หวังว่าท่านที่ได้อ่าน
ข้อความที่นำเสนอนี้ จะเข้าใจลีลากลอนที่ไพเราะแบบของสุนทรภู่ ได้ดีขึ้น ถึงท่านจะชอบเล่นสัมผัส
ใน ท่านก็เล่นไม่ผิดฉันทลักษณ์ นะครับ ฝากบทกลอนเตือนนักกลอนร่วมสมัย ด้วยนะครับ อาจนำไปใช้
พัฒนาการแต่งกลอนของท่านได้ (อ้อจริญญา แสงทอง ชื่ออีเมล ที่ใช้สมัครเวบบลอก ร้อยกรอง บลอกของผมเอง มี 3 เวบบลอกคือ เยี่ยมยามอีสาน วิถีชีวิตอีสาน และร้อยกรอง)
-------------คำเตือนของครูเมือหนูจะเขียนกลอน-----------------
-------------------------
............ครูสอนภาษาไทย อยากใด้บทกลอนแนะนำการเขียนกลอน พูดให้ฟังแล้ว อยากได้เอกสาร แถมเอาแบบเป็นคำกลอนด้วย บังอาจสั่งให้ครูแต่งกลอนให้ ก็เคยสอนมาแต่มัธยม ได้โอกาสเอาใหญ่เลย เอ้า เขียนก็เขียน
----------------------
กลอนสุภาพ
กลอนสุภาพ
......................เริ่มฝึกเขียนกลอนกานท์มานานโข...........ตั้งนโมไหว้ครูผู้สั่งสอน |
.................สมัยอยู่มัธยมยินแต่งกลอน.........................สุดรุ่มร้อนทุกข์หนักยากจักกรอง |
.................สมัยเรียนธรรมศึกษาตรีโทเอก.....................เหมือนปลุกเสกจรินยาพาสนอง |
.................อ่านบาลีไวยากรณ์ชอบครรลอง...................มันสอดคล้องหลักภาษาน่ายินดี |
.................แถมมีกาพย์โคลงฉันท์ให้หัดแต่ง.................พอเห็นแสงลางลางทางวิถี |
.................ได้เรียนครูเหมาะเลยร้อยกรองมี...................สนุกตีแตกกระจายมิอายใคร |
.................คุณครูมีเมตตาพาฝึกฝน..............................แนะกลอนกลเทคนิคพลิกแพลงไฉน |
.................จนวันนี้เขียนง่ายสบายใจ............................จดจำได้คำสอนกลกลอนครู |
.................สัมผัสนอกบังคับตามแบบแผน.....................อย่าหมิ่นแคลนขาดเกินเพลินนะหนู |
.................ส่งคำเดียวรับคำเดี่ยวทุกจุดชู......................ขอจงรู้สัมผัสซ้ำอย่าให้มี |
.................ถ้ารับสองหรือสามเรียกมันเลื่อน...................กลอนเลยเปื้อนแปดปนหม่นหมองศรี |
.................วรรครองใช้คำท้ายรับเข้าที..........................แต่มิดีหากลักดักหน้ากัน |
.................เขาเรียกพวกนักวิ่งชิงสัมผัส.........................แบบนี้จัดผิดแผนมิสร้างสรรค์ |
.................กลอนด้อยค่าหมดลายเสียดายครัน...............ความสำคัญสัมผัสนอกพึงระวัง |
.................สัมผัสในสองอย่างข้างครูเล่า.......................จดจำเอาพยัญชนะเสียงจะขลัง |
.................เสียงเดียวกันจัดได้ตามกำลัง.......................ตราบที่ยังมิเฝือตามสบาย |
.................สัมผัสเสียงสระระวังหน่อย...........................ดูร่อยรอยสัมผัสนอกเขามีสาย |
.................อย่ากระทบของเขาพลอยวุ่นวาย..................เป็นตัวร้ายเกิดเลื่อนเคลื่อนลัดชิง |
.................สัมผัสเผลอเจอสระยาวกับสั้น......................เสียงคล้ายกัน อัย-อายหมายบอกหญิง |
.................เอ็นกับเอนต่างกันนั่นต่างจริง.......................อย่าแอบอิงสัมผัสขัดคำครู |
.................สัมผัสเพี้ยนแบบไหนจะได้เห็น....................ดูอย่างเช่นตาม-น้ำนั่นแหละหนู |
.................เป็ดกับเณรเล็กกับเผ็ดเด็ดยามดู...................วิเคราะห์รู้ต่างสระอย่ากระทำ |
.................อีกละลอกทับแลฉลองควรละเว้น.................ตัวอย่างเช่นเอกโทโผล่มิหนำ |
.................ท้ายวรรคหนึ่งถึงสามความจงจำ...................เขาเรียกคำละลอกฉลองมิควรมี |
.................อยู่ท้ายบทละลอกทับขับห่างหาย................จักทำลายกลอนมิงามตามวิถี |
.................ส่วนเรื่องเสียงระดับไหนจึงจักดี....................เหมือนเติมสีท้ายวรรคจักงดงาม |
.................วรรคสลับคำท้ายควรเสียงเต้น......................คืองดเว้นเสียงสามัญครั้นลองถาม |
.................ท้ายวรรครับจัตวาน่าติดตาม.........................โทเอกงามเช่นกันสรรแต่งดู |
.................วรรครองเสียงสามัญงดงามนัก.....................บางคนรักเสียงตรีก็ดีหนู |
.................วรรคส่งเสียงสามัญมือชั้นครู........................คนที่รู้ว่าตรีดีคำกลอน |
.................ขอหยุดไว้แรกเขียนเพียรเสนอ....................ใครอ่านเจอสารประจักษ์ตามอักษร |
จริญญา แสงทอง : 3 /12/2558
-----------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น