วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ประเพณีเดือนเจ็ด

.....บุญซำฮะเมืองไพศาลี

........เริ่มเรียนวิชาพุทธประวัติเพื่อสอบนักธรรมตรี อ่านหนังสือจากตู้หนังสือของวัดอัมพวันซึ่งไม่มีคน
ใช้มาหลายปีแล้ว ปี 2510 พวกเราเพื่อนกัน 5-6 คน ชวนกันบวชช่วงเข้าพรรษา ผมอายุมากกว่าเพื่อเลย เป็นหัวโจก แต่หัวโจกคนนี้ชอบการศึกษาเล่าเรียน เลยชวนเพื่อนลงสมัครสอบนักธรรมตรี ไม่มีครูสอน
 ก็ไปปรึกษาพระอนุสาวนาจารย์ วัดบ้านใกล้กัน ห่างกันแค่ 1.5 กม.เองท่านแนะนำหลักสูตรที่ต้องสอบ 

มีสี่วิชาคือ กระทู้ ธรรมะ พุทธและวินัยทานชี้ให้ดูตู้หนังสือมีหนังสือมากมายเอามาอ่านได้ นี่เองจุดเริ่มการอ่านหนังสือพุทธประวัติ
........มีเรื่องเลาว่าสมัยพุทธกาลชมพูทวีปมีแคว้นใหญ่ ๆ 5 แคว้นคือ    1. แคว้นมคธ เมืองหลวงชื่อราชคฤห์ พระราชานามว่า พระเจ้าพิมพิสาร 2. แคว้นโกศล เมืองหลวงชื่อ เมืองสาวัตถีย์ พระราชาที่ 

รู้จักกันดีคือ พระเจ้าปัทเสนทิโกศล 3. แคว้นวังสะ เมืองหลวงชื่อโกสัมพีพระราชานามพระเจ้าอุเทน
 4. แคว้นอวันตี เมืองหลวงชื่ออุชเชนี พระราชานามพระเจ้าจัณฑปัตโชติ และ 5 แคว้นวัชชี เมืองหลวงชื่อเวสาลี มีสภาพเป็นการรวมตัวของแคว้นเล็ก ๆหลายเมือง ปกครองกันแบบสามัคคีธรรม ผัดเปลี่ยน  กัน ผู้ปกครองเรียก เจ้าลิจฉวี
........เกิดภัยคือความแห้งแล้งที่แคว้นวัชชีติดต่อกันนาน 7 ปี ความอดอยากแห้งแล้งกระจายไปทั่ว มีเรื่องเล่าว่าภูติผีปีศาจทำร้ายผู้คน ซ้ำยังเกิดโรคห่าระบาดคนล้มตาย ไปเป็นอันมาก นับเป็น 3 ภัยร้าย  แรง กษัตริย์ลิจฉวีกว่า 7 พันคน (พวกชนชั้นกษัตริย์ จากการแบ่งแยก วรรณะ 4 ชนชั้นปกครองคือ

วรรณะกษัตริย์)จึงประชุมกันหาทางระงับภัยและได้มีมติให้ไปทูลขอบารมีพระพุทธเจ้าตอนนั้นพำนัก    อยู่ที่กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ทูตลัจฉวี 2 คน เดินทางไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร ขอความช่วยเหลือ กราบทูลเชิญพระพุทธเจ้าให้เสด็จไปโปรดเมืองไพศาลี พระเจ้าพิมพ์พิสารจึงให้ทั้งสองไปกราบทูลพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง พระพุทธองค์ตอบรับจะไปเยี่ยมเมืองไพศาลีตามคำเชิญ
.........ขบวนพระพุทธเจ้าและสงฆ์สาวกเสด็จไปยังเมืองไพศาลีระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร พระเจ้า
พิมพิสารส่งเสด็จถึงครึ่งทางจึงหยุดพักรอพระพุทธเจ้าเสด็จกลับตรงริมฝั่งแม่น้ำคงคา ส่วนขบวนของพระพุทธเจ้าเสด็จข้ามแม่น้ำไป บังเอิญเกิดเมฆตั้งเค้ามาแต่เช้าแล้วพอเสด็จข้ามฝั่งฝนก็เทลงมาน้ำ ท่วมสูงถึงเข่า ถึงสะเอว แต่ขบวนเสด็จก็ยังดำเนินไป ผลที่ฝนตกหนักมีผลดีต่อเมืองไพศาลีคือสิ่ง  ปฏิกูลต่าง ๆถูกน้ำพัดพาลงแม่น้ำไป บ้านเมืองสะอาด การแพร่กระจายโรคร้ายต่าง ๆ ก็เบาบางลง     ง่ายต่อการเยียวยา
.........ในส่วนของพระสงฆ์พระพุทธเจ้าโปรดให้พระอานนท์เรียนรัตนสูตร นำไปสวดในพื้นที่ ตรีบูร ระหว่างกำแพงเมือง 3 ชั้น ผลทำให้เทวดาอาลักษณ์มเหศักดิ์ตามไปอวยชัยให้กำลังใจแก่พระสงฆ์ บรรดาภูติผีก็แตกกระจายหนีไป พระอานทน์สาธยายรัตนสูตรทั่วถึงทั้ง 3 ชั้นของกำแพงเมือง กินเวลาหลายวันเหตุการณ์ก็เริ่มสงบ
.......พระพุทธเจ้าประทับอยู่เมืองไพศาลี 7 วัน แสดงเทศนารัตนสูตรทุกวัน เมื่อเห็นชาวเมืองสงบสุขไม่
หวาดกลัวภัยแล้วก็อำลากลับวัดพระเชตวัน ชาวมืองมากมายตามส่งเสด็จจนถึงแม่น้ำคงคา ที่พระเจ้า
พิมพิสารรอรับเสด็จอยู่
.......การเสด็จไปเมืองไพศาลีครั้งนี้ เนื่องจากภัยความแห้งแล้ง ทำให้เกิดความอดอยากเกิดเจ็บป่วยคน
ล้มตายเป็นอันมากเกิดเป็นปัญหาการควบคุมโรคติดต่อ ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมกษัตริย์ลิจฉวีถึงคิดว่าพระพุทธเจ้าจะช่วยแก้ปัญหาได้ พระพุทธเจ้าน่าจะทรงทราบว่าปัญหาภัยธรรมชาติแบบนี้ต้องอาศัย
ธรรมชาติช่วยแก้ พระองค์ไม่ได้ทำอะไรมาก เพียงแต่อธิษฐานบุญบารมีให้ช่วยประชาชน ฝนที่ไม่ตกมา
7 ปี ตั้งเค้ามาตกเจ็ดวันเจ็ดคืน น้ำท่วมถึงเข่า กวาดซากศพ ขยะปฏิกูลไปกับน้ำหมดเกลี้ยง เทวาอา
ลักษณ์ในเมืองปกติก็มีแต่เป็นพวกศักดิ์น้อย ภูติผีจึงข่มเหงไม่เกรงกลัว พอพระพุทธเจ้าเสด็จเล่าว่า พระ
อินทร์และบริวารมากันเต็มเมืองไพศาลี แถมพระอินทร์ตามหลังพระอานนท์ ที่สวดมนต์รัตนสูตรที่
พระพุทธเจ้าสั่งให้ท่องไปสวดทั่วเมือง ภูติผีก็แตกกระเจิง ภัยแล้งและอมนุษย์ที่ทำร้ายก็ถูกกำจัดไป เหลือแต่การบำบัดรักษาคนที่เจ็บป่วย เพียงเจ็ดวันก็เห็นทางเอาชนะภัยได้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้เล่าลือกันมานานว่าเป็นการ ชำระสะสางบ้านเมือง กำจัดสิ่งไม่ดี ไม่งามช่วยให้บ้านเมืองกลับคืนสู่ความสงบ
.......มีผู้ศรัทธาวิธีการชำระสิ่งชั่วร้ายของบ้านเมืองแบบชาวเมืองไพศาลี และนำมาใช้เมื่อมีเหตุการณ์
คล้าย ๆกัน เช่นสมัยต้นรัตนโกสินทร์ 2363 โรคระบาดเล่าว่ามาจากอินเดียปินัง เข้าทางสมุทรปราการ
ระบาดเพียงสองสัปดาห์คนล้มตายเป็นหมื่น รัชกาลที่ 2 โปรดให้ตั้งพิธีอาพาธพินาศ นิมนต์พระมาเจริญ
พระปริตต์ ทำน้ำพุทธมนต์ เสกทราย อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบรมสารีริกธาตุออกมาแห่ มีพระ
ประพรหมน้ำมนต์ โปรยทรายเสก นั่นคือเรื่องราวที่มีบันทึกไว้ และสมัยต่อ ๆ มาก็คงจะมีทำกันทั่วไป จน
เกิดประเพณีซำฮะ ช่วงเดือนเจ็ด ในหลายท้องถิ่น







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น