วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

หลักภาษาเพื่อร้อยกรอง







พื้นฐานการศึกษาหลักภาษาไทยเพื่อการแต่งร้อยกรอง 

-----------------

........ผมเป็นคนเรียนหนังสือที่ไม่ชอบท่องจำ วิชาที่ได้คะแนนแย่มาก ๆคือไวยากรณ์ไทย ซึ่ง พัฒนามาเป็นวิชาหลักภาษาไทย ในปัจจุบัน แต่ผมก็เอาตัวรอดได้นะ โดยพยายามทำความเข้าใจ และหาข้อสังเกตให้ได้ว่าทำไมเป็นอย่างนั้น แล้วก็ไม่ลืมบันทึกไว้ เวลาหลงลืมก็เอาออกมาอ่าน ทบทวน บันทึกชุดนี้คือเรื่องที่ต้องเปิดดูบ่อย ๆ เวลาแต่งร้อยกรอง ใครอยากอ่านก็ลองดูครับ อาจได้ประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย อ้อ ไม่ใช่ตำรานะครับ อย่าไปคิดว่านี่ถูกต้องแล้ว
ขุนทอง ศรีประจง 
(ปรับปรุง 15 มิย.2560)
.......1. เสียง พยางค์ คำ
.......1.1 เสียงสระ เสียงที่เปล่งออกมาได้โดยอิสระ แต่ในความเป็นจริง สระออกเสียงตามลำพัง ไม่ได้ คนจะรู้สระอะไร ต้องพึ่ง พยัญชนะ อ นักภาษาเขาเล่าว่าสระทุกตัวเป็น นิสัย คือยอมให้ พัญชนะเข้ามาอาศัยออกเสียงได้
.......1.2 เสียงพยัญชนะ ทุกตัว เป็นนิสิต ต้องพึ่งสระ ถึงออกเสียงได้ กิจกรรมท้าทาย (มีคำถามเล่น ๆ ลองออกเสียงสระ โดย ไม่ต้องอาศัย ตัว อ ถ้าทำได้  ดูซิ ออกเสียงได้ไหม เป็นเสียงอะไร ) (ลอง ใช้ อัก กลาง ตัวอื่น ๆ คือ ก จ ด ต บ ป ฎ ฏ ประสมสระ แทน ตัว อ ดู ได้เสียงอะไร ถามว่า งั้นเราเรียก สระ กะ สระ กา แทน อะ อา ดีไหม ขอเปลี่ยนชื่อบ้าง คนยังเปลี่ยนชื่อกัน บ่อย ๆ)
.......1.3 พยัญชนะไทย สังเกตการออกเสียงประสมเสียง ออ เช่น กอ ขอ คอ จะจำแนก พยัญชนะที่มีเสียงสามัญ กับเสียงจัตวา มีข้อควรสังเกตคือ ตัวมีพื้นเสียงเสียงจัตวามี 11 ตัว เป็นอักษรสูงครบ 11 ตัวพอดี เหลืออีก 33 ตัว สามารถแยกได้สองกลุ่มคือ กลุ่มที่ประสม เสียง ออ แล้วผันด้วย วรรณยกต์ เอก ตัวไหนผันแล้วอ่านออกเสียงเอกได้ กลุ่มหนึ่ง อีกกลุ่มผันวรรณยุกต์เอก แต่อ่านออก เสียง โท กลุ่มอ่านออกเสียงเอก มี 9 ตัว คือ อักรกลางนั่นเอง ส่วนที่ออกเสียงโท มี 24 ตัว เป็นกลุ่มที่เรียกชื่อ เป็นอักษาต่ำ ตัวอย่าง  กอ ขอ คอ กลุ่มออกเสียงแบบ ขอ เช่น ฉอ ถอ ผอ เป็นต้น กลุ่ม กอ กับ คอ ต้องใช้วรรณยุกต์เอกช่วยแยกเช่น ก่อ...ค่อ จอ่.... ต่อ ช่อ ท่อ แบบนี้ ผมแยกอักษรสามหมู่ได้โดยวิธีนี้ ไม่ต้องท่องจำยาก
........1.4 เสียงพยัญชนะไทย 44 ตัว แจงนับเสียงที่ไม่ซ้ำกันได้เพียง 21 เสียง ที่เสียงโดดเดี่ยว ไม่มีเพื่อน ได้แก่ ก ง จ บ ป ม ร ว และ อ รวม 9 ตัว ที่เหลือ12 ตัว มีเพื่อน อย่างน้อย 1 ตัว และ มากสุด 5 ตัว ได้แก่ ข (ขอขวด ค  คอคน ฆ) ฉ ( ช ฌ) ซ (ศ ษ ส) ญ (ย) ฎ(ด) ฏ (ต) ณ(น) ฐ ถ(ฑ ฒ ท ธ) ผ(พ ภ) ฝ(ฟ) ห (ฮ) ความเข้าใจเรื่องนี้เอาไว้ใช้ตอน สงสัยเสียงที่ใช้ รับส่งสัมผัส เช่นคำรูปพยัญชนะต่างกัน แต่เสียงคล้ายกัน เข่น ขน...คน ฉัน...ชัน ซน...สน ไม่ควรใช้ รับส่งสัมผัสบังคับ
        2. สัมผัส ในการแต่งร้อยกรอง ใช้สัมผัส 2 อย่างคือ สัมผัสนอก กับสัมผัสใน สัมผัสนอกเป็นสัมผัสสระ บังคับให้แต่งตาม ข้อบังคับของคำร้อยกรองชนิดนั้น ๆ ส่วนสัมผัสในเป็นสัมผัสที่แต่งเสริมเพิ่มเข้าไป ไม่ได้บังคับ ใช้กันทั้งสัมผสสระและพยัญชนะ (สัมผัสนอก สัมผัสใน คืออะไร  หมายถึงการที่คำหนึ่งไปสัมผัสกับคำอื่น ถ้าอยู่นอกวรรคเรียกสัมผัสนอก อยู่ในวรรคเดียวกันเรียกสัมผัสใน)
.........2.1 สระในภาษาไทย มี 32 เสียง แยกเป็น สระเดี่ยวที่เรียกสระแท้ จับคู่ สั้น-ยาว ได้ 9 คู่ สระประสม เกิดจากการนำสระเดี่ยวมาประสมกันได้เสียงใหม่ จัดเป็นคู่เสียงสั้นและยาว ได้ 3 คู่ นอกนั้นจัดกลุ่มยากรวม ๆ เรียกสระเกิน รายละเอียด ดังนี้
........สระเดี่ยว 9 คู่ได้แก่ อะ-อา/ อิ-อี/ อึ-อือ/ อุ-อู/ เอะ-เอ/ แอะ-แอ/ โอะ-โอ /เอาะ-ออ/ เออะ-เออ
........สระประสม 3 คู่ได้แก่ เอียะ(อิ+อะ) - เอีย(อี+อา) เอือะ(อึ+อะ) - เอือ(อือ+อา) อัวะ(อุ+อะ) - อัว(อู+อา)
........สระเกิน อำ(อะ+ม) ไอ(อะ+ย) ใอ(อะ+ย) เอา(อะ+ว) ฤ(ร+อึ) ฤๅ(ร+อือ) ฦ(ล+อึ) ฦๅ(ล+อือ) มีเสียงยาว คือ รื กับ ลือ
........การสร้างคำในภาษาไทย จะต้องใช้พยัญชนะประสมสระถึงจะได้ พยางค์และคำ ดังนั้นทุกคำ/พยางค์ จึงมีเสียงสระแทรกอยู่ จะปรากฏหรือลดรูปก็ตาม เสียงต้องคงอยู่ เว้นแต่จะถุก ฆาต มิให้ออกเสียง เช่น จันทร์ สิงห์ ในการแต่งร้อยกรองจึงต้องรู้ว่าคำ หรือพยางค์ที่ใช้นั้น ประสมสระอะไร เสียงสั้นหรือยาว อาจต้องลงลึกไปถึงระดับเสียงวรรณยุกต์ รู้ชัดเจนแล้วค่อยน้ำไปใช้
........2.2 สัมผัสสระ ได้แก่คำที่ประสมสระเสียงเดียวกัน ในแม่ ก กา หรือคำประสมสระเดียวกันในแม่ กง กน กม เกย เกว กก กด และกบ มีข้อสังเกตคือ ต้องออกเสียงสระตัวเดียวกัน ถ้ามีตัวสะกด ก็ต้องมาตราเดียวกันด้วย เช่น
......กา ขา กา มา นา อา เสียงอา ในแม่ก กา พยัญชนะต้นต่างกัน เอาไปใช้ ส่ง-รับ สัมผัสในตำแหน่งสัมผัสนอก ได้ แต่กรณีต่าง ระดับเสียงสั้นยาว ห้ามมิให้ใช้เช่น กะ-ขา ริ-รี รึ-ฤๅ กัด-กาด ใคร-คาย พบ-โลภ
......พยัญชนะต้นที่เป็นอักษรคู่ ประสมสระเดียวกัน หรือมีตัวสะกดก็มาตราเดียวกัน ถือว่าเป็นคำมีเสียงซ้ำกัน ไม่ควรเป็นสัมผัสนอก เช่น ใส ไทร ไซ อาศัย กษัย เสียง อัย แถมพยัญชนะเสียง ซอ เหมือนกัน หรือ คำ คา ขา ฆ่า ถือเป็นคำมีเสียงซ้ำคือ พยัญชนะต้นเสียง คอ ประสม สระอา
......คำพยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน ประสมสระเสียงเดียวกัน หรือมีตัวสะกดมาตราเดียวกัน ต่างระดับวรรณยุกต์ ถึงเป็นคนละคำ ก็ไม่ควรใช้สัมผัสนอกคือสัมผัสบังคับ เช่น (กา---ก่า---ก้า---ก๋า) ( การ...ก่าน...ก้าน) ( คา...ข่า...ฆ่า...ค้า...ขา)
…….คำที่มีเสียงอ่านทำให้เข้าใจผิดบ่อย ๆ ได้แก่ คำที่ประสมเสียงสระ อำ ไอ ใอ เอา
........2.3 สัมผัสอักษร ความจริงควรเรียก สัมผัสพยัญชนะ ทบทวนให้ก็ได้ อักษรไทยจำแนกออกเป็น สระ พยัญชนะ ตัวเลข วรรณยุกต์และเครื่องหมายต่าง ๆ เมื่อมีสัมผัสระ ก็ควรเรียกสัมผัสอักษรเป็น สัมผัสพยัญชนะ จะได้ตรงกับลักษณะที่เรียก สัมผัสพยัญชนะนิยมใช้เป็นสัมผัสใน ของร้อยกรอง
.......3. คณะ ร้อยกรองประเภทฉันท์ มีคำนำนำเรื่อง กลุ่มคำครุลหุ 3 พยางค์ ว่า ครุ-ลหุ วางอย่างไร มีแนะนำไว้ 8 คณะ คือ   ม คณะ (ครุ-ครุ-ครุ) น คณะ (ลหุ-ลหุ-ลหุ) ภ คณะ (ครุ-ลหุ-ลหุ) ย คณะ (ลหุ-ครุ-ครุ) ช คณะ (ลหุ-ครุ-ลหุ) ร คณะ (ครุ-ลหุ-ครุ)   ส คณะ (ลหุ-ลหุ-ครุ) ต คณะ (ครุ-ครุ-ลหุ)
.....4. วรรณยุกต์ เป็นเครื่องบอกระดับเสียงของ อักษรและคำ มี 4 รูป 5 ระดับเสียง กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
จัดได้ 2 ประเภท
.....4.1 วรรณยุกต์ แสดงรูป วรรณยุกต์ที่ปรากฏเห็น จ่า จ้า จ๊า จ๋า
.....4.2 วรรณยุตต์ไม่แสดงรูป แต่มีระดับเสียงอยู่ เช่น พยัญชนะทุกตัว จะมี 2 กลุ่มเมื่อประสมสระ
อ คือกลุ่มเสียงสามัญ กับกลุ่มเสียงจัตวา เช่น ก อ จอ ดอ ตอ และ ขอ ฉอ ถอ ผอ หอ
......คำที่ไม่ปรากฏเครื่องหมายวรรณยุกต์ มีระดับเสียงวรรณยุกต์อยู่ทุกพยางค์ ผู้ออกเสียงต้อง วิเคราะห์ดูเองถึงจะทราบเช่นคำว่า กาด (เอก) คาด (โท)คะ (ตรี) ควรฝึกวิเคราะห์บ่อย ๆ ร้อยกรอง บางชนิดกำหนดให้ใช้ระดับเสียงวรรณยุกต์ด้วย
.......5. ครุ ลหุ คำร้อยกรองประเภทฉันท์ ระบุให้แต่งตามกรอบคำครุลหุ ผู้แต่งควรศึกษาเรื่องคำที่มีเสียง ครุ ลหุ ด้วย
......5.1 คำครุ เป็นคำที่ออกเสียงหนัก หรือค่อนข้างยาว ได้แก่
...........คำ/พยางค์ ประสมสระเสียงยาวในแม่ ก กา
...........คำ/พยางค์ ที่มีตัวสะกด
......5.2 คำลหุ ออกเสียงเบา สั้น ๆ ได้แก่ คำ/พยางประสมสระเสียงสั้นในแม่ ก กา
.......6. คำเป็น คำตาย คำไทยบางคำออกเสียงง่าย โดยเฉพาะผันวรรณยุกต์ได้หลายเสียง แต่บางคำ
ก็ออกเสียงยาก ยิ่ง ผันวรรณยุกต์ก็ยิ่งยาก ก็เลยเรียกคำเป็น กับคำตาย
..........6.1 คำเป็น ได้แก่คำ/พยางค์ ประสมสระเสียวยาวแม่ ก กา และคำที่สะกดในแม่ กง กน
กม เกย เกว
..........6.2 คำตาย ได้แก่ คำ/พยางค์ที่ประสมสระเสียงสั้น แม่ ก กา และคำสะกด แม่ กก กด กบ
.......7. คำพ้อง
.......7.1..คำพ้องรูป ได้แก่คำที่บังเอิญ สะกดเหมือนกัน แต่อ่านออกเสียง ต่างกัน ความหมายต่างกัน เรียก พ้องรูป เช่น เพลา อ่านเพ-ลา หมายถึงเวลา อ่านเพลา หมายถึงตัก ล้อเกวียน เสลา อ่านเส-ลา หมายถึงหิน อ่านสะเหลา หมายถึงต้นไม้ ฯลฯ
.....7.2 ..คำบางคำออกเสียงเหมือนกัน แต่สะกดต่างกัน ความหมายก็ต่างกัน เรียกคำพ้องเสียง เช่น เสียง จัน สะกดได้หลายรูป จัน จันทร์ จันทน์ ออกเสียงสัน สะกดเป็น สัน สรรพ์ สรรค์ เป็นต้น
.......8. คำนำ คำประพันธ์หลายชนิด มีกำหนดใช้คำนำ แตกต่างกันไปตามเนื้อหา และชนิดของคำ ประพันธ์ เช่น เมื่อนั้น บัดนั้น. มาจะกล่าวบทไป ...เอ๋ย...สักวา.... ผู้แต่งต้องศึกษาและเลือก ใช้ให้เหมาะสม
.......9. คำสร้อย คำร้อยกรองประเภท โคลงร่าย นิยมใช้คำสร้อย ท้ายวรรค บางวรรค หรือตอนจบ มีคำ ทิ่นิยมใช้ เช่นพ่อ แม่ พี่ เลย นา นอ บารนี รา ฤๅ เนอฮา แฮ แล ก็ดี อา เอย เฮย ส่วนสร้อย เจตนัง เป็นสร้อยที่ผู้แต่งเจตนาใช้ กรณีที่ร้อยกรองไม่ใช่แต่งเป็น แบบแผน
......10. คำแนะนำจากกวีรุ่นเก่า แนะนำไว้ สัมผัสเลือน สัมผัสซ้ำ สัมผัสเกิน (สองคำในที่รับ) สัมผัส แย่ง สัมผัสเผลอ สัมผัสเพี้ยน … เป็นอย่างไร
......สัมผัสเลือน จุดรับสัมผัสนอก ปกติใช้คำเดียว ในวรรค รองและวรรค ส่ง ถ้ามีมากกว่า 1 คำ เรียกว่าสัมผัสเลือน คือเลือนลาง หรือจางลงไป
......สัมผัสซ้ำ....จุดรับสัมผัสนอก ใช้เสียงสระเดียวกัน แต่พยัญชนะต้องต่างเสียงกัน ถ้าเป็น พยัญชนะตัวเดียวกันถึงต่างระดับ เสียงวรรณยุกต์ก็ไม่ควรใช้เช่น ขัน ขั้น แม้พยัญชนะคู่ ก็ไม่ควร ใช้ เช่น คัน คั่น คั้น
......สัมผัสเกิน ...จุดรับสัมผัสนอก ปกติใช้คำเดียว ถ้ามีสองคำติด ๆ มันก็เกินนั่นแหละ พวก คำยมก เห็นได้ง่ายเช่นรับสัมผัสด้วย คำ นานา ดีดี
......สัมผัสแย่ง สัมผัสนอกเขากำหนดตำแหน่งไว้แล้ว ดันมีคำอื่นดักตัดหน้าไปก่อน เรียกว่า แย่งสัมผัส หรือชิงสัมผัส ในวรรค รอง เกิดบ่อย
......สัมผัสเผลอ เกิดจากคำที่ประสมสระเสียงสั้นกับเสียงยาว จับมาสัมผัสกัน เช่น น้ำ--ความ
เจ้า--จ้าว ใจ--กาย ริด--รีด
.......สัมผัสเพี้ยน รูปและเสียงอาจใกล้กัน จนลืมเอามารับส่งสัมผัสกันเช่น เล็ก---เผ็ด เวร--เป็ด
แข็ง--แรง
........ละลอกทับ ละลอกฉลอง เป็นข้อห้ามของคนสมัยก่อนบอกต่อ ๆกันมา ว่า คำลงท้ายวรรค กลอนแปด ไม่ควรลงด้วยคำ ที่มีรูปวรรณยุกต์ เอก/โท ที่ท้ายวรรค ที่ 2 /3/4 ในแผนผังกลอนแปด ไม่ได้มีข้อบังคับเรื่องวรรณยุกต์แบบโคลง ถ้ามีละลอก ทับละลอกฉลอง น่าจะเป็นเพียงทำให้กลอนไม่สวยงาม อ่านไม่รื่นหู ประมาณนี้มากกว่าจะไปชี้ว่า ผิดฉันทลักษณ์ การอธิบาย ละลอกทับละลอกฉลอง จากข้อมูลที่ได้มาพอ สรุป 4 ประเด็นคือ
........คำเอกโท ท้ายวรรคที่ 4 เรียกละลอกทับ
........คำเอก/โท ท้ายวรรค 2 หรือวรรค 3 ละลอกทับ
........คำเอก/โท ท้ายวรรค 2 เรียก ละลอกฉลอง
........คำเอก/โท ท้ายวรรค 3 เรียก ละลอกฉลอง
......(มีสับสนในคำอธิบายที่ 2 และ 3/4 มีเวลาจะตามสืบค้นดูอีกที) 

------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น