วันเพ็ญเดือนสิบสอง
..............
.........เพ็ญเดือนสิบสอง สำคัญสำหรับพระภิกษุและชาวพุทธเรา เพราะเป็นกำหนดสิ้นสุดเขตจีวรกาล
สิ้นสุดเขต กฐินกาล และกิจกรรมลอยกระทง รวม 3 เรื่อง
.........จีวรกาล ช่วงเวลาการหาผ้ามาเปลี่ยนใหม่ ชุดเก่าใช้มา 1 ปี เก่ามากแล้ว ให้เวลา 1 เดือนนับแต่ออก พรรษา หมดเขตก็เพ็ญเดือนสิบสองนั่นและ คำว่าจีวร หมายถึงผ้าทุกอย่าง แต่ผ้าที่ใช้นุ่งห่มมี 3 ชนิดคือ อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม)และ สังฆาฎิ (ผ้าซ้อนห่มเวลาหนาว) รวมเรียก ไตรจีวร นอกจากนี้ เรียก อติเรกจีวร ถ้ามีคนถวายก็นำไปมอบให้สงฆ์แล้วขอยืมมาใช้ วินัยพระเยี่ยมยอดมาก สมัยพุทธกาล ผ้าหายาก ชาวบ้านเขาทอผ้าใช้กันเอง ร้านขายผ้าหายาก พระมาก ๆ จะเปลี่ยนผ้าที เป็นเรื่องยาก เดินทางไป เห็นเศษผ้าพอจะใช้ได้ก็เก็บมาเรียกว่าผ้าบังสุกุล ปังสุ=ฝุ่น กุล=เปื้อน หาได้ตามกองขยะนอกเขตบ้านที่เขา เอามาทิ้ง หรือไม่ก็ไปป่าช้า แขกเขานิยมใช้ผ้าพันศพไปทิ้ง ไม่เผา ศพเน่าเปื่อยผ้ายังดีอยู่ เอามาซักล้าง สะอาดดีแล้วก้ใช้ประโยชน์ได้ หาผ้าบังสุกุลได้มา ฝากสงฆ์ไว้ เลี่ยงอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ จนผ้าพอแล้ว จะตัดเย็บค่อยไปขอเบิกจากสงฆ์มาตัดเย็บ มีเวลา 30 วัน ทำให้เสร็จ จีวรกาลสมัยโน้นจึงสำคัญมาก บางที หาผ้าไม่ครบซักที เพราะทุกคนก็หาเช่นกัน ถ้ามีพระจำนวนมาก เลยเรียกร้องหาการกราลกฐิน จะได้ขยาย จีวรกาลออกไปถึงกลางเดือนสี่ วิธีกราลก็แสนจะง่าย ใครได้ผ้าครบพอจะทำจีวรได้ ก็บอกกล่าวกัน ประชุม กราลกฐินกัน ทำเสร็จก็ได้อานิสงส์กฐินและขยายจีวรกาลออกไปได้ สมัยปัจจุบันการผลัดเปลี่ยนจีวรง่ายมีผ้า จำหน้ายที่ร้างสังฆภัณฑ์ พระไปเลือกซื้อหามาผลัดเปลี่ยน วันเดียวก็จบ ไม่ต้องใช้เวลา 30 วันหรอก ไม่ต้อง รอรับกฐินเพื่อขยายเขตจีวรกาลไปถึงกลางเดือนสี่ มันไม่มีความจำเป็นอะไรนี่
.........กฐินกาล มีผลสำหรับชาวบ้านที่คิดจะทำบุญกฐิน คือหมดเวลาแล้ว รุ่งขึ้น แรม 1 ค่ำ เดือนสิบสอง
ไม่มีวัดไหนรับกฐินแล้ว พระพุทธเจ้าท่านอนุญาตไว้แค่นั้น วัดก็รับกฐินได้ภายในเขตกฐินกาล รับมิใช่แค่รับ ประเคนนะ แต่ต้องทำกิจกรรม กรานกฐิน กันให้เสร็จภายในวันเดียวด้วย พิธีกราลกฐิน ก็คือ พระภิกษุในวัด อย่างน้อย 5 รูป ช่วยกันตัดเย็บผ้า 1 ผืน มอบให้พระ 1 ใน 5 รูปนั่นแหละ ใช้ผลัดเปลี่ยนแทนผ้าเก่า สมัย ก่อนพระต้องใช้ไม้แบบ กางทาบผ้าแล้วตัดเป็นชิ้น ๆ แล้วมาเย็บติดกันเป็นตา ๆ ค่อยนำไปย้อมสี จึงนำมา ใช้ได้ ไม้แบบนั่นแหละท่านเรียกไม้สะดึง บาลีเรียก กฐิน เลยเรียกกันติดปากว่า บุญกฐิน ซึ่งพอจะสรุปได้ เป็นการสามัคคีกันของพระ 5 รูปขึ้นไป ช่วยกันตัดเย็บผ้าจีวร 1 ผืน เสร็จ ในวันเดียว มอบถวายพระรูปหนึ่ง นำไปใช้ พระทั้งหมดร่วมแสดงความยินดีด้วย เรียกอนุโมทนากฐิน ได้อานิสงส์กฐิน เท่า ๆ กัน
......การตัดเย็บผ้าจีวรใช้ ผ้า 2 เมตร ตัดเย็บเป็นผ้าสบงได้ วัดที่ไม่มีใครทอดกฐิน ไปหาผ้ามาสิ แล้วช่วยกัน ตัดเย็บทำสบง ถวายเจ้าอาวาส เรียกว่าพระวัดนี้ กราลกฐินกัน เรียบร้อย ไม่ต้องรอมหากฐินมาทอดหรอก แต่ดูเหมือนพระท่านไม่เดือดร้อน ไม่มีคนทอดกฐินก็ไม่เป็นไร ผ้าจีวรไม่ได้หายากเย็นอะไร เดินไปหาผ้าที่ ตลาดจะเอาเป็นไตร 3 ผืน ครบเลย วันเดียวเปลี่ยนหมดได้เลย ฉะนั้นเข้าใจกันซะใหม่ หาผ้าใหม่มาเปลี่ยน สมัยนี้ไม่ยุ่งยากเหมือนสมัยพุทธกาล วันเดียวจบ ขนาดยกกฐินไปทอดถวาย การกราลกฐินก็ไม่ค่อยจะทำ จุลกฐินที่ถวายผ้าทอใหม่ ๆ นั่นแหละจะเห็นพระกราลกฐิน วุ่นวายน่าดู ต้องรีบตัดผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดเป็นตา ๆซักสะอาดดีนำไปย้อม ตากแห้งแล้วนำไปถวายพระรูปที่จะกราลกฐิน ได้เห็นพระกรานกฐินวุ่นวายทั้งวัดเลย กฐินทั่วไปใช้ผ้าสำเร็จรูปแล้ว พระเพียงเลือกมาผืนหนึ่ง มอบให้องค์ครองกฐิน รับไปดำเนินการ ซัก ตัด เย็บ ให้เป็นผ้าที่ผ่านการตัดเย็บแล้ว นำมาผลัดเปลี่ยนและกรานกฐินด้วยผ้าผืนนั้น วิธีการง่ายกว่ากันเยอะเลย
.......การกรานกฐินเป็นหน้าที่ของพระ การหาผ้ามาทำพิธีกรานกฐิน ก็เป็นหน้าที่ของพระ โยมก็แค่อำนวย
ความสะดวกจัดหาผ้าไปถวายเท่านั้นเอง เดี๋ยวนี้พระไม่แสวงหาผ้าไปตัดเย็บจีวรกันแล้ว ผ้าของสงฆ์ก็เต็มตู้ พระอยากได้จีวรไปขอเจ้าอาวาสเบิกของสงฆ์มาใช้ผลัดเปลี่ยนได้ ทุกวัดผ้าของสงฆ์มีมากมาย ไม่ขาดแคลน
.......กิจกรรมในวันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองตลิ่ง ชวนกันไปลอยกระทง งานชุมนุมกันของชาวบ้าน ก็เกิด
กิจกรรมสนุกสนานกัน ได้ทำกระทงไปลอยน้ำ มีมหรสพให้ชม ได้พบปะกันของหนุ่มสาว เป็นประเพณีที่อ้าง อิงคติพราหมณ์ เน้นบูชาเทพ บูชาแม่คงคา ก็ว่ากันไป เรื่องที่สนุกสนานชาวบ้านเขาไม่ถือหรือ ปีใหม่ไทย สงกรานต์ก็สนุก ปีใหม่ฝรั่งคือตรุษฝรั่งก็สนุก ปีใหม่จีน ตรุษจีนก็สนุก ปีใหม่สากล หยุดให้ด้วย เห็นไหม ชาว บ้านสนุกได้ทุกตรุษนั่นแหละ ลอยกระทงก็สนุกได้เช่นกัน สวัสดีครับ
----------------
ขุนทอง ศรีประจง
เขียน 10 พฤศจิกายน 2559
โพส 15พฤจิกายน 2559
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น