...........เปิดซีดีหลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชโช วัดสวนสันติธรรม ท่านบรรยายธรรมมะเข้าใจง่าย มีอยู่ประโยคหนึ่ง กระทบใจมาก ท่าถามคนนั่งฟังเทศน์ว่า วันหนึ่งรู้สึกตัวกี่ครั้ง ลืมตัวกี่ครั้ง ฟังผิวเผินก็ไม่มีอะไร แค่ขำ ๆ แต่ความจริง นี่คือหลักปฏิบัติธรรมที่สำคัญที่สุด พุทธศาสนิกชน มาศึกษาดูซิว่ารู้สึกตัว ลืมตัว มันสำคัญอย่างไร ดูความหมายด้านถ้อยคำภาษา
พจนานุกรมไทย ฉับบราชบัณฑิต ฯ ให้ความหมายไว้ว่า ก. รู้สึกตัว เช่น โดนล้วงกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว รู้มาก่อน เช่น ได้รับแต่งตั้งโดยไม่รู้ตัว รู้เนื้อรู้ตัว ก็ว่า รู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายแก่ตัวเช่น ผู้ร้ายรู้ตัวว่าจะถูกจับเลยชิงหนีไปเสียก่อน รู้ว่าใครเป็นผู้ทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น รู้ตัวคนส่งบัตรสนเท่ห์ รู้ตัวคนส่งดอกไม้มาอวยพรวันเกิด.
พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร ก. รู้ทัน, รู้เรื่องของตัว.
............นอกจากคำแปลดังกล่าว ยังมีคำอื่น ๆ ที่หมายความคล้าย ๆ กัน เช่น รู้เนื้อรู้ตัว ตกใจ บังเอิญ รู้สึก สะกิดใจ นึกได้ ไหวตัว
...........ความหมายในแง่ถ้อยคำภาษา คล้ายกับคำที่พระท่านเทศน์ แต่ที่พระเทศน์ไม่ได้ตีความมากมายอย่างนั่น ท่านพูดถึงตัว รู้ และ ลืม คงไม่มีคนไม่รู้จักตัว และทุกคนน่าจะเข้าใจว่า รู้ตัว ลืมตัว ต่างกันอย่างไร กระผมจะลองหยิบ คำที่พระท่านถามมาศึกษาดู ตัว ก็คือตัวของเรานี่แหละ มีคนละ 1 ตัว แม้บางคนจะได้รับฉายาแปลก ๆ เช่น สองหัว หัวงู แต่ก็มีตัวเดียว นั่นเอง ตัวนี้และที่เราใช้มันมาตั้งแต่เกิด ตัวทารก ตัวเด็ก ตัวหนุ่ม ตัวผู้ใหญ่ ตัวแก่เฒ่า มีตัวเดียวเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ ของธรรมชาติ ลองเอารูปทารก กับรูปปัจจุบันมาเทียบกันดู ไม่ใช่เราดูแล้วไม่แน่ใจหรอกว่าเป็นตัวเดียวกัน มันเปลี่ยนไป
............รู้ตัว ที่หลวงพ่อพูดก็คือ ระลึกได้ว่า นี่ตัวเรานะ รู้สึกได้ว่าตัวทำอะไรอยู่ ยืน เดิน นั่ง นอน เคลื่อนไหวอิริยาบท ทำงาน ฯลฯ รู้ตัวนี่มีรายละเอียดมาก เพราะตัวแต่ละคนมีอาการแตกต่างกัน การรู้ตัวตามแนวหลวงพ่อพูดเป็นการรู้ตัว โดยอาศัย"สติสัมปขัญญะ" มีกันทุกคนแหละ ไม่ต้องสงสัยว่า สติคือความสามารถในการระรึกรู้ อ้อนี่ตัวเราเอง กำลังทำ อะไรอยู่ สติช่วยให้จำได้ สัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว ต้องมาพร้อมสติถึงจะมีค่ามาก ช่วยให้รู้สึกตัว และเป็นปัจจุบัน ตัวอย่าง ตัว นั่งบนเก้าอี้ สติระรึกรู้ว่า ตัวกำลังนั่ง สัมปชัญญะ รู้สึกได้ทันทีขณะนี้กำลังนั่งเฉย ๆ เขียนหนังสือ สติระรึกรู้ จะเขียนหนังสือ สัมปชัญญะรู้สึกได้เลยกำลังหยิบกระดาษปากกา สติรู้กำลังนึกเรื่องจะเขียนสัมปปชัญญะรู้สึกได้กำลังจรด ปากกาเขียนไปตามที่นึกไว้ ตัวกำลังนั่งหน้ารถ สติระรึกรู้ได้ว่ากำลังนั่งที่คนขับ สัมปชัญญะรู้สึกตัวว่ากำลังจะขับรถ สติ สัมปปชัญญะจะช่วยกำกับการทำงานขับรถให้ทำได้ถูกต้องไม่ผิดพลาด เพราะ รู้ตัวตลอดเวลา เมื่อใดขาดสติสัมปชัญญะ ก็คือขับรถแบบคน ไม่รู้ตัว อันตรายมากนะ
...........ลืมตัวก็คือสติสัมปชัญญะออกไปที่อื่น แล้วแต่ใจจะชักจูงไป ทำงานอยู่ดี ๆ คิดถึงลูกเมีย เบรกไม่อยู่ สติแวบไป แล้ว ลูกร้องไหม เมียยุ่งหรือเปล่า กำลังลืมตัว ดึงกลับมาด่วน ก็ทำงานต่อไปได้ ลืมตัวบางครั้งก็ทำให้งานชะงักได้ เพราะ สติสัมปชัญญะไม่ว่าง คนที่ไม่ฝึกควบคุมสติสัมปชัญญะ จะทำให้สติหลุดไปข้างนอกง่าย เป็นผลเสียต่อเราเอง พระท่าน จึงสอนพุทธศาสนิกชน ให้หมั่นฝึกให้สติตั้งมั่น ควรแก่การงาน สติที่ฝึกดีแล้วจะเกิดคุณประโยชน์มากมายแก่เราเอง จะคิด จะพูด จะทำการงาน ก็ไม่ค่อยเผลอ ไม่ค่อยพลาด สติที่เข้มแข็งคือพื้นฐานของวิปัสสนา มรรคผลนิพพานนั่นเอง ที่ท่านชักชวนให้ฝึกสติปัฎฐาน ก็คือฝึกควบคุมสติสัมปชัญญะให้อยู่กับตัว ให้รู้สึกตัว ไม่ปล่อยให้สติหลุดไปที่อื่น เพราะนั่น
คือการลืมตัว ไม่เป็นประโยชน์อาจเกิดโทษได้ด้วย
........สรุปว่าวันหนึ่ง ๆ เรามีสติรู้ตัวเสมอ เมื่อเรารู้จักตัวเอง เมื่อเราทำงานที่ตั้งใจทำ ส่วนลืมตัวเกิดบ่อยมาก ทุกครั้งที่เผลอ สติหลุดไปหาเรื่องอื่นที่มิใช่ตัวเรา ท่านเรียกว่า การลืมตัว มันเกิดบ่อยมากจนนับครั้งไม่ถ้วน ท่านให้กำลังใจว่า คนที่รุ้ตัว น้อย ลืมตัวมาก คือปุถุชนคนธรรมดา คนที่รู้สึกตัวตลอดเวลา ลืมตัวน้อยหรือไม่มีเลย คือพระอรหันต์ โห สติ นี่ไม่ใช่ ธรรมดาจริง ๆ มาสนใจฝึกสติกันเถอะ
............นอกจากคำแปลดังกล่าว ยังมีคำอื่น ๆ ที่หมายความคล้าย ๆ กัน เช่น รู้เนื้อรู้ตัว ตกใจ บังเอิญ รู้สึก สะกิดใจ นึกได้ ไหวตัว
...........ความหมายในแง่ถ้อยคำภาษา คล้ายกับคำที่พระท่านเทศน์ แต่ที่พระเทศน์ไม่ได้ตีความมากมายอย่างนั่น ท่านพูดถึงตัว รู้ และ ลืม คงไม่มีคนไม่รู้จักตัว และทุกคนน่าจะเข้าใจว่า รู้ตัว ลืมตัว ต่างกันอย่างไร กระผมจะลองหยิบ คำที่พระท่านถามมาศึกษาดู ตัว ก็คือตัวของเรานี่แหละ มีคนละ 1 ตัว แม้บางคนจะได้รับฉายาแปลก ๆ เช่น สองหัว หัวงู แต่ก็มีตัวเดียว นั่นเอง ตัวนี้และที่เราใช้มันมาตั้งแต่เกิด ตัวทารก ตัวเด็ก ตัวหนุ่ม ตัวผู้ใหญ่ ตัวแก่เฒ่า มีตัวเดียวเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ ของธรรมชาติ ลองเอารูปทารก กับรูปปัจจุบันมาเทียบกันดู ไม่ใช่เราดูแล้วไม่แน่ใจหรอกว่าเป็นตัวเดียวกัน มันเปลี่ยนไป
............รู้ตัว ที่หลวงพ่อพูดก็คือ ระลึกได้ว่า นี่ตัวเรานะ รู้สึกได้ว่าตัวทำอะไรอยู่ ยืน เดิน นั่ง นอน เคลื่อนไหวอิริยาบท ทำงาน ฯลฯ รู้ตัวนี่มีรายละเอียดมาก เพราะตัวแต่ละคนมีอาการแตกต่างกัน การรู้ตัวตามแนวหลวงพ่อพูดเป็นการรู้ตัว โดยอาศัย"สติสัมปขัญญะ" มีกันทุกคนแหละ ไม่ต้องสงสัยว่า สติคือความสามารถในการระรึกรู้ อ้อนี่ตัวเราเอง กำลังทำ อะไรอยู่ สติช่วยให้จำได้ สัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว ต้องมาพร้อมสติถึงจะมีค่ามาก ช่วยให้รู้สึกตัว และเป็นปัจจุบัน ตัวอย่าง ตัว นั่งบนเก้าอี้ สติระรึกรู้ว่า ตัวกำลังนั่ง สัมปชัญญะ รู้สึกได้ทันทีขณะนี้กำลังนั่งเฉย ๆ เขียนหนังสือ สติระรึกรู้ จะเขียนหนังสือ สัมปชัญญะรู้สึกได้เลยกำลังหยิบกระดาษปากกา สติรู้กำลังนึกเรื่องจะเขียนสัมปปชัญญะรู้สึกได้กำลังจรด ปากกาเขียนไปตามที่นึกไว้ ตัวกำลังนั่งหน้ารถ สติระรึกรู้ได้ว่ากำลังนั่งที่คนขับ สัมปชัญญะรู้สึกตัวว่ากำลังจะขับรถ สติ สัมปปชัญญะจะช่วยกำกับการทำงานขับรถให้ทำได้ถูกต้องไม่ผิดพลาด เพราะ รู้ตัวตลอดเวลา เมื่อใดขาดสติสัมปชัญญะ ก็คือขับรถแบบคน ไม่รู้ตัว อันตรายมากนะ
...........ลืมตัวก็คือสติสัมปชัญญะออกไปที่อื่น แล้วแต่ใจจะชักจูงไป ทำงานอยู่ดี ๆ คิดถึงลูกเมีย เบรกไม่อยู่ สติแวบไป แล้ว ลูกร้องไหม เมียยุ่งหรือเปล่า กำลังลืมตัว ดึงกลับมาด่วน ก็ทำงานต่อไปได้ ลืมตัวบางครั้งก็ทำให้งานชะงักได้ เพราะ สติสัมปชัญญะไม่ว่าง คนที่ไม่ฝึกควบคุมสติสัมปชัญญะ จะทำให้สติหลุดไปข้างนอกง่าย เป็นผลเสียต่อเราเอง พระท่าน จึงสอนพุทธศาสนิกชน ให้หมั่นฝึกให้สติตั้งมั่น ควรแก่การงาน สติที่ฝึกดีแล้วจะเกิดคุณประโยชน์มากมายแก่เราเอง จะคิด จะพูด จะทำการงาน ก็ไม่ค่อยเผลอ ไม่ค่อยพลาด สติที่เข้มแข็งคือพื้นฐานของวิปัสสนา มรรคผลนิพพานนั่นเอง ที่ท่านชักชวนให้ฝึกสติปัฎฐาน ก็คือฝึกควบคุมสติสัมปชัญญะให้อยู่กับตัว ให้รู้สึกตัว ไม่ปล่อยให้สติหลุดไปที่อื่น เพราะนั่น
คือการลืมตัว ไม่เป็นประโยชน์อาจเกิดโทษได้ด้วย
........สรุปว่าวันหนึ่ง ๆ เรามีสติรู้ตัวเสมอ เมื่อเรารู้จักตัวเอง เมื่อเราทำงานที่ตั้งใจทำ ส่วนลืมตัวเกิดบ่อยมาก ทุกครั้งที่เผลอ สติหลุดไปหาเรื่องอื่นที่มิใช่ตัวเรา ท่านเรียกว่า การลืมตัว มันเกิดบ่อยมากจนนับครั้งไม่ถ้วน ท่านให้กำลังใจว่า คนที่รุ้ตัว น้อย ลืมตัวมาก คือปุถุชนคนธรรมดา คนที่รู้สึกตัวตลอดเวลา ลืมตัวน้อยหรือไม่มีเลย คือพระอรหันต์ โห สติ นี่ไม่ใช่ ธรรมดาจริง ๆ มาสนใจฝึกสติกันเถอะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น