ของรักษา หมอธรรม
----------------
..............เมื่อพ.ศ. 2494 หมู่บ้านของกระผมอยู่ชนบท ขึ้นอยู่กับอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ สมัยนั้น ยังพอมีป่าหลงเหลืออยู่บ้าง ถนนหนทางไม่สะดวก ชาวบ้านไปมาหาสู่กันโดยทางเกวียน จะไปอำเภอที่อยู่ ห่างแค่ 7 กิโลเมตรต้องเดินกันหลายชั่วโมง ชาวบ้านเป็นอยู่กันแบบพอเพียงจริง ๆ ทุกครอบครัวทำนา มีข้าว ใส่ยุ้งฉางไว้กินตลอดปี ใครมีนามากก็ต้องทำยุ้งฉางขนาดใหญ่ รั้วบ้านเป็นรั้วกินได้เพราะปลูกกะถิน ตำลึง ชะอม ที่ทุ่งนาจะมีบ่อปลาไว้ดักปลาที่ขึ้นมาหน้าน้ำจากลำน้ำชี เด็ก ๆถูกสอนให้รู้จักการจับปูปลา รู้จักหากบ หาเขียด ไม่มีตลาดสด การซื้อขายใช้วิธีแลกเปลี่ยน เช่นมีปลาไปแลกพริก แตง มะไฟไปแลกเกลือ ฟักแฟง แลกข้าวเปลือก ชาวบ้านอยู่กันมีความสุขตามสมควร ก็ขอเล่าย่อ ๆ พอให้ทราบว่าชีวิตชาวชนบทสมัยนั้นอยู่กันแบบง่าย ๆครับ
..............ของรักษา เป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับทุกครอบครัว เพราะของรักษาเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สามารถปกปักรักษาทุกคนให้อยู่เย็นเป็นสุขยามปกติ ยามเจ็บป่วยก็ช่วยเยียวยาให้หายเจ็บป่วย ยามทุกข์ร้อน ก็ช่วยปัดเป่าให้บรรเทาหรือหายไป หัวหน้าครอบครัวจะเป็นสมาชิกหมอรักษาอย่างใดอย่างหนึ่ง ลูกหลานในครอบครัวก็เป็นสมาชิกตามโดยปริยาย เวลามีเขยมีสะใภ้ถ้าเป็นสมาชิกของรักษาประเภทเดียวกัน ก็อาจให้อยู่กับหมอรักษาคนเดิม ถ้าเป็นหมอรักษาคนละประเภทนิยมแนะนำให้
ลาออกมาเข้าหมอรักษาใหม่..............ของรักษาที่นิยมกันสมัยนั้นมี หมอเทวดา หมอธรรมและหมอผีฟ้า หมอแต่ละคนมักเป็นผู้สูง
อายุ ได้ รับการครอบครูมาจากหมอคนก่อน ๆ ต้องร่ำเรียนวิชาอาคมต่างๆ หลายคนชำนาญวิชาหมอดู ทุกหมอต้องมี วิชาอาคมขับภูติผีปีศาจ หลายคนเชี่ยวชาญการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เพราะฉะนั้นพ่อหมอแม่หมอจึงมักจะมี ความผูกพันกับบรรดาลูกศิษย์กันมาก เหมือนครูเหมือนญาติเวลาเจ็บไข้ ได้เจอหน้าพ่อหมอมาเยี่ยมพร้อม ย่ามยาสมุนไพรใบใหญ่ วัวควายหายพ่อหมอจับยามให้ ทะเลาะเบาะแว้งกันพ่อหมอทำหน้าที่ผู้ใกล่เกลี่ย
..............หมอเทวดาคุณพ่อกระผมครอบครูมาจากคุณปู่มีสมาชิกเป็นคนในตระกูลเดียวกันประมาณ10 ครอบครัว ที่บ้านพ่อทำหิ้งบูชาจำได้ว่าใช้ไม้ยอ 2 ท่อน วางพาดขื่อ ตรงกลางห้องทำเป็นที่วางเครื่องบูชาพวกดอกไม้ธูปเทียนและน้ำหอม พ่อมาทำพิธีบูชาทุกวันพระ นั่งสวดมนต์อยู่ราว30 นาที กระผมชอบมานั้งฟัง แต่จำไม่ได้ สวดเสร็จแกก็เอาน้ำหอมมาพรมศีรษะให้ประจำ เดือนเมษายนทุกปีจะมีพิธีเลี้ยงของรักษาสมาชิกบ้านใกล้มากันทุกคน บ้านไกลมีตัวแทนมา มีการเปลี่ยนดอกไม้บนหิ้ง แจกฝ้ายผูกคอ ผูกข้อมือ เป็นด้ายสีแดงสลับดำฟั้นเป็นเกลียว แจกให้คนละ 2 เส้น คนไม่มาก็ฝากไปให้ มีการนำข้าวปลาอาหารมารวมกัน เพื่อจัดเลี้ยงกันทั้งเช้ากลางวันและตอนเย็น การดูแลลูกศิษย์ก็จะดูแลกันตลอดปีไม่มีวันหยุด ขอเพียงทราบใครไม่สบาย ใครถูกผีทำร้าย ใครวัวควายหาย พ่อหมอจะไปเยี่ยมโดยไม่ต้องเชิญ สมาชิกจึงเคารพนับถือพ่อหมอกันมาก...............หมอธรรม ที่หมู่บ้านเรามีหมอธรรมหลายคน จุดเด่นของหมอธรรมคือเรียนวิชาอาคมค่อนข้างมาก เก่งในเรื่องปราบผี โดยเฉพาะผีปอบที่ดุ ๆ ต้องเรียกหาหมอธรรม พี่ชายกระผมศรัทธาหมอธรรมมาก เลยขออนุญาตพ่อไปเรียนเป็นหมอธรรม พ่อก็ไม่ขัดข้อง พี่ชายก็กลายเป็นหมอธรรมมาจนทุกวันนี้ ถามวิธีการของ หมอธรรมก็พบว่าคล้ายกันกับหมอเทวดา คือพ่อหมอต้องได้รับการครอบครูมาจากอาจารย์หมอธรรม ร่ำ เรียนวิชาอาคมจากอาจารย์ ปฏิบัติตนเคร่งครัดตามข้อกำหนดข้อคะลำ ดูแลครอบครัวและสมาชิก มีการชุมนุมกันปีละครั้ง เห็นเลือกกันเดือนเมษายนเหมือนกัน มีการรดน้ำมนต์แจกด้ายผูกข้อมือเช่นกัน..............หมอผีฟ้า เป็นหมอรักษาทำนองเดียวกับหมอเทวดาและหมอธรรม ที่หมู่บ้านเราไม่มีหมอผีฟ้า แต่มีสมาชิกหมอผีฟ้า 2-3 ครอบครัว ทราบว่าหมอผีฟาครอบครูมาจากหมอผีฟ้ารุ่นก่อน ๆ สิ่งที่เคารพนับถือก็คือ ผีฟ้า มีการสวดมนต์บูชาผีฟ้า ขออำนาจผีฟ้าปกปักรักษาและคุ้มครอง เคยไปดูเวลาหมอผีฟ้ารักษาคนป่วย หมอให้แต่งเครื่องบูชาเป็นใบศรีและพานดอกไม้ พานธูปเทียน การรักษาจะใช้วิธีขับลำมีดนตรีคือเสียงแคนประกอบการขับร้องและฟ้อนรำ คนป่วยก็นนอนอยู่ตรงกลาง หมอผีฟ้าเป็นผู้หญิงร้องรำและฟ้อนนำหน้า สมาชิก 3-4 คน ร่ายรำวนรอบ ๆคนป่วย ทำพิธีกันวันละ 3 รอบเช้ากลางวันและเย็น มีหยูกยาให้กินด้วย รดน้ำมนต์ด้วย หลายวันเหมือนกันคนป่วยก็หายเป็นปกติ.................หมอรักษาทั้ง 3 แบบที่เล่ามาเป็นเพียงเล่าตามที่เห็น เสียดายไม่มีรายละเอียดเพราะตอนนี้กระผม หันมานับถือพุทธศาสนาแล้วที่พึ่งของกระผมคือ พระรัตนตรัย เลยไม่ได้สนใจหารายละเอียดของหมอรักษา มากไปกว่านี้ ขอฝากท่านที่มีข้อมูลของรักษานำมาเล่าสูกันฟังบ้าง จะเป็นพระคุณมากครับ
คลังบทความของบล็อก
- มกราคม (3)
- ธันวาคม (4)
- ตุลาคม (3)
- กันยายน (2)
- สิงหาคม (8)
- กรกฎาคม (11)
- มีนาคม (1)
- กุมภาพันธ์ (6)
- มกราคม (5)
- ธันวาคม (1)
- ตุลาคม (1)
- กันยายน (1)
- สิงหาคม (3)
- กรกฎาคม (2)
- มิถุนายน (8)
- พฤษภาคม (4)
- เมษายน (2)
- มีนาคม (2)
- กุมภาพันธ์ (4)
- มกราคม (1)
- ธันวาคม (7)
- พฤศจิกายน (5)
- ตุลาคม (1)
- กันยายน (2)
- สิงหาคม (8)
- กรกฎาคม (29)
- ธันวาคม (1)
- พฤศจิกายน (1)
- กรกฎาคม (2)
ขอบคุณมากค่ะ
ตอบลบ